สำนวนไทยในวรรณคดี

กระทู้สนทนา
เราเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบวรรณคดีไทย รู้สึกหลงใหลตั้งแต่ตอน ม.ปลาย เรื่องที่ชอบที่สุดน่าจะเป็นบทประพันธ์เรื่อง "อิเหนา" พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

..หลายครั้งที่ได้ยินคำว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง" เรายังไม่ค่อยเข้าใจความหมาย ต่อมาจึงได้ค้นพบคำตอบว่าสำนวนนี้มีที่มาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาซึ่งมีเนื้อหาสำคัญว่า อิเหนาซึ่งเป็นคู่หมั้นของนางบุษบา ไม่ยอมแต่งงานกับนางบุษบาเพราะหลงนางจินตะหรา  บิดาของนางบุษบาจึงยกนางให้จรกา แต่วิหยาสะกำซึ่งหลงรูปนางบุษบาได้ยกกองทัพมาเพื่อแย่งชิงบุษบา เกิดเป็นศึกที่เมืองดาหา.. อิเหนาจำต้องจากจินตะหราเพื่อมาช่วยศึกเมืองดาหา จึงตำหนิจรกากับวิหยาสะกำว่าหลงนางบุษบาได้อย่างไรกัน แต่เมื่อตนเองมาพบบุษบาก็กลับหลงรักจนต้องทำอุบายเผาเมืองดาหาเพื่อชิงตัวนางบุษบา การกระทำของอิเหนาทำให้เกิดเป็นสำนวนว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง"

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"

ใครพอจะทราบที่มาของสำนวนอื่นๆ รบกวนแบ่งปันเกร็ดความรู้ให้ฟังบ้างนะคะ..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่