ถึงสื่อต่างๆ .... พระภิกษุลาสิกขา (ไม่ใช่ลาสิกขาบท) ...

หงุดหงิดๆ เวลาได้ยินในสื่อทีวีที่เสนอข่าวพระมิตซูโอะ แล้วใช้คำผิดๆ ตลอดเวลา
ทั้งอ่านข่าวและตัวหนังสือหน้าจอ แปลกใจกับสื่อทีวีสมัยนี้อ่อนภาษาไทยกันจริงๆ
(ฝ่ายข่าวมีเป็นสิบเป็นร้อยคน ได้ยินคำว่า "พระ... ลาสิกขาบท" ก็น่าจะรู้สึกสะดุดกันบ้างไรบ้าง)

เลยไปค้นมาให้.... ดังนี้


“ลาสิกขา” (คำที่ถูกต้อง) และ “ลาสิกขาบท” (คำที่ใช้ผิด)
                    
            ส่วนคำว่า “ลาสิกขา” (คำที่ถูกต้อง) และ “ลาสิกขาบท” (คำที่ใช้ผิด) นั้นหมายถึง การที่คน
ที่บวชเป็นพระหรือภิกษุอยู่แล้ว ถึงเวลาจะลาจากเพศบรรพชิตกลับมาสู่เพศฆราวาสหรือคนธรรมดา

            คำว่า “สิกขา” เป็นคำบาลี (เทียบกับสันสกฤตก็คือ “ศึกษา”) ก็คือ “การศึกษา การเล่าเรียน
ข้อปฏิบัติ” (ซึ่งประกอบด้วย ๓ อย่างคือ ศีล สมาธิ และปัญญา ที่เรียกว่า ไตรสิกขา”)

            การบวชเป็นพระ คือการเข้าไปสู่เพศแห่งการเรียนรู้ธรรมะหรือการศึกษา เมื่อจะออกจากเพศ
(คือที่เราเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่า “สึก”) นั้น จึงถือว่าเป็น “การลา” เช่นกัน เพราะมีพิธีลาที่เป็น
กิจลักษณะ ไม่ใช่อยากจะถอดผ้าเหลืองออก (และห่มใหม่) เมื่อไรก็ทำได้ อย่างพวกทุศีลหรือ
พวกเดียรถีร์ทำกัน คำศัพท์ที่ใช้ถูกต้องก็คือ “ลาสิกขา” หรือ “ลาสึก”

            แต่ไม่ใช่ “ลาสิกขาบท” เพราะ “สิกขาบท” ก็คือ “ข้อธรรมะหรือข้อปฏิบัติ” หรือ
“ข้อห้ามหรือศีล” นั่นเอง การจะพ้นจากเพศบรรพชิตจึงไม่ต้องไปลาข้อห้ามหรือข้อปฏิบัติเหล่านั้น
คนที่พูดว่า “ลาสิกขาบท” คือคนที่พูดเลยเถิด จะด้วยความไม่ตั้งใจหรือไม่รู้คำแปล
หรือความหมายจริงๆมากกว่า

โดย  สุดสงวน  sakulthai.com ฉบับที่ 2623 ปีที่  51
http://www.infoforthai.com/forum/topic/1585
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่