ผมแตกไลน์ขยายกิจการจากการเปิดร้านกิ๊ฟช็อปอย่างเดี่ยวมาเป็นร้านเครื่องเขียนและกิ๊ฟช็อป
ย้ายร้านใหม่ ใหญ่กว่าเก่า ลงทุนเพิ่ม ... ด้วยขนาดกิจการที่ใหญ่ขึ้น ค่าใช้จ่ายคงที่เพิ่มขึ้นมาก
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ... ผมเปิดร้านใหม่มาได้ สองเดือนกว่าๆ
ผลออกมาเป็นเช่นนี้ ...
เดือนแรก
ขาดทุน ไปร่วมสี่หมื่น
เดือนที่สอง
ขาดทุน ตุนเพิ่มไปอีกสามหมื่นเศษ
เดือนนี้คงไม่แคล้ว
ขาดทุนอีก!!! …
“ลงทุนไปหลายแสนแล้ว ... เปิดมาจะสามเดือนแล้วยังขาดทุน ...
กำไรยังไม่พอค่าใช้จ่าย ค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าพนักงาน ค่าบ้าบออะไรไม่รู้อย่างเยอะ
ตายแน่ตรู ... เข้าเนื้อเดือนละสองหมื่นแบบนี้ ... ตายๆ ... ลนลาน ...
ทำอย่างไรดี ... เริ่มซีด ... กุมขมับ ... เครียด ... ตาเหลือก ... ไร้สติ ...
โทษดินน้ำลมไฟไปก่อน ... โทษมันไปทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวเอง ...
เฮ้ย!!! ไม่ไหวแล้วโว้ย ปิดแม่มเลยดีกว่า!!!!”
... ผมคงพูดแบบนี้ถ้าเป็นผมเมื่อหลายปีก่อน เหมือนที่ผมเคยเมื่อทำกิจการแรกเจ้งคงมือ
แต่ผมในวันนี้ขอเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ด้วยบทความนี้ครับ
ร้านค้าที่เปิดตัวขึ้นใหม่ๆ ผมเชื่อว่าทุกๆกิจการที่เปิดใหม่เหล่านี้จะประสบกับสารพันปัญหา
และปัญหาที่ที่กิจการเปิดใหม่ๆจำนวนมากจะพบเจอคือสภาวะ
“การขาดทุน”
การขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่เปิดกิจการ อาจเกิดจาก การขาย เช่นขายไม่ออกยอดขายน้อย
สินค้าหรือบริการยังไม่เป็นที่รู้จัก ลูกค้าไม่รู้ ฯลฯ หรือ ต้นทุนที่สูงเกินไปทำให้กำไรน้อย
และอีกสารพันปัญหา หรือ อาจจะกล่าวรวมๆได้ว่า
แผนที่วางไว้ไม่รัดกุมมากพอ ...
แผนไม่รัดกุมเป็นอย่างไร ... อันนี้เกิดจากขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบเห็นได้บ่อยเช่น
- วางแผนเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ... หวังผลเลิศ คาดหวังกำไรสุดยอด ประมาณต้นทุนต่ำไป
- ประมาทเรื่องเงินลงทุน ... จัดการเงินลงทุนไม่ดี ทุนบานปลาย ... กระทบเงินส่วนอื่น เงินขาด
สองประเด็นนี้เป็นเงื่อนไขอันตราย ที่พบเจอบ่อยๆกับร้านกิจการใหม่ๆ ... โปรดระวัง!!!
ถ้าเปิดกิจการใหม่ หรือ โครงการใหม่ๆ ผมจะใช้สองหลักการนี้ในการวางแผนเสมอคือ
ประมาณยอดขายและกำไรที่ต่ำที่สุด เลวร้ายที่สุดที่จะเป็นไปได้ และ ประมาณต้นทุนที่สูงที่สุดที่เราจะพบเจอ
ในกิจการนี้ก็เช่นเดียวกัน จากสองหลักการนี้ ทำให้แผนดูแย่ลง แต่หนักแน่นมากขึ้น!!!
เพราะจากสองหลักนี้ จะทำให้เรารู้ว่าถึงแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเราก็จะผ่านมันไปได้
ถ้าแย่ที่สุด ... จากแผนการที่คาดไว้ว่า กิจการนี้น่าจะ
“ขาดทุนต่อเนื่อง” ไปหลายเดือน
น่าจะเห็นกำไรได้เมื่อขึ้นเดือนที่เจ็ดเป็นอย่างน้อย ... เมื่อเห็นแผนดังนั้น
ผมก็ เตรียมใจรับสภาพขาดทุน และ จัดเตรียมเงินทุนสำรอง
ผมกันเงินลงทุนไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมสำรองไว้สำหรับการขาดทุนในปีแรกนี้โดยเฉพาะ
เพราะถ้าไม่กันไว้ ผมเชื่อว่าสารพันปัญหาจะถาโถมเข้ามาจากต้นเหตุที่ว่า ...
เงินช็อต (ขาดสภาพคล่อง)
ถึงแม้ว่าผมจะวางแผนการใช้ต้นทุน และ วางแผนการประหยัดเงินไว้อย่างรัดกุม
คือพยายามต่อเติมน้อยที่สุด ชั้นวางสินค้าไปหาซื้อมาจากร้านมือสองหรือไม่ก็ชั้นเชื่อมทำเอง
ถึงกระนั้น งบประมาณด้านตกแต่ง ที่วางไว้ก็ยังเกินแผนไป ... หลักแสนบาท
ดั้งนั้น ...
จงเผื่อค่าใช้จ่ายเอาไว้มากๆ!!!
เงินทุนในการทำกิจการมีจำกัด ต้องวางแผนการใช้เงินให้รอบครอบ จัดสรรปันส่วนให้ชัดเจน
กิจการนี้เป็นกิจการซื้อมาขายไป ความเป็นไปได้ที่จะหลงทาง คาดการณ์ผิดมีสูง
นอกจากการกันเงินสำรองเผื่อขาดทุนแล้ว ผมยังเลือกที่จะเก็บเงินลงทุนไว้บางส่วน ...
อีกเทคนิคหนึ่งที่ผมนำมาใช้ลดความเสี่ยงของกิจการ คือ
การทยอยลงทุน
ผมจะไม่ลงเงินตูมเดียวทั้งหมดที่มี ... ไปก่อนเปิดร้าน
กรณีนี้ ผมเลือกที่จะลงทุนไปราว 60-70 % ของเงินทุนก่อนเปิดร้าน ...
เปิดร้าน ไปแล้วรอดูผลตอบรับจากลูกค้า ... ขายไปวิเคราะห์ไป
สอบถามถึงความต้องการของลูกค้าตลอด ว่าร้านเราขาดเหลือ ขาดตกสิ่งใด
อยากให้มีอะไรขายเป็นพิเศษ ลูกค้าใช้ตัวไหนมากตัวไหนน้อย แล้วค่อยลงทุนเพิ่มเติม
วันนี้กิจการเปิดมาได้สองเดือน เข้าเดือนที่สามแต่ผมยังเหลือเงินลงทุนบางส่วน
เงินส่วนนี้ ผมเก็บไว้เพื่อ ... พัฒนาปรับปรุงร้านหรือลงสินค้าให้โดนใจลูกค้าตามคำบอกมากขึ้น
(เทคนิคนี้มีข้อเสียเช่นช่วงแรกที่เปิดร้าน สินค้าเราจะน้อยโดยเพาะถ้าทุนน้อยอย่างผมในกรณีนี้
ช่วงแรกเรียกได้ว่าของโหรงเหรงเลย แต่เทคนิคนี้จะทำให้เราลงสินค้าได้ตรงจุดมากขึ้น)
ในขณะนี้ยอดขายต่อเดือนของกิจการนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับ เริ่มมีลูกค้าขาประจำ
ที่สำคัญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเริ่มรู้จักเรามากขึ้น เริ่มเข้ามาสั่งซื้อสินค้าจากเรามากขึ้น
กอปรกับเงื่อนไขต่างๆที่ติดพันมาในเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ เราจัดการให้มันน้อยลงอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ที่เป็น และ น่าจะเป็น ...
เดือนแรกตัวเลขการขาดทุน
สี่หมื่น
เดือนที่สองตัวเลขการขาดทุน
สามหมื่นกว่า
เดือนนี้ เดือนที่สาม ขาดทุนประมาณว่าน่าจะ
สองหมื่น
เดือนที่สี่ ตัวเลขการขาดทุน น่าจะไปอยู่ที่
หมื่นต้น
เดือนที่ห้า ตัวเลขการขาดทุน น่าจะ
ต่ำกว่าหมื่น
เดือนที่หก ตัวเลขการขาดทุนน่าจะ
หลักพัน
เดือนที่เจ็ด ตัวเลข
พลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในที่สุด
สำหรับผมการขาดทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราคาดการณ์ไว้แล้วว่าเราต้องเจอ
เราเตรียมทุนเตรียมและเตรียมใจมาแล้ว แต่ในทางกลับกัน ...
ถ้าการขาดทุนนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน เตรียมรับสภาพได้เลย
เพราะถ้าเป็นแบบนั้น นั่นคือ หายนะแน่นอน ...
ขอให้บทความชิ้นนี้จงได้สร้างประโยชน์ให้แก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน
ขอให้ความร่ำรวยและความสุขสวัสดิ์จงมาสถิตแด่ท่าน
…[^_^]…
ร้านผมเปิดมาร่วมสามเดือน ... ตอนนี้ ... ขาดทุนเดือนละ 30,000!!
ย้ายร้านใหม่ ใหญ่กว่าเก่า ลงทุนเพิ่ม ... ด้วยขนาดกิจการที่ใหญ่ขึ้น ค่าใช้จ่ายคงที่เพิ่มขึ้นมาก
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ... ผมเปิดร้านใหม่มาได้ สองเดือนกว่าๆ
ผลออกมาเป็นเช่นนี้ ...
เดือนแรก ขาดทุน ไปร่วมสี่หมื่น
เดือนที่สอง ขาดทุน ตุนเพิ่มไปอีกสามหมื่นเศษ
เดือนนี้คงไม่แคล้ว ขาดทุนอีก!!! …
“ลงทุนไปหลายแสนแล้ว ... เปิดมาจะสามเดือนแล้วยังขาดทุน ...
กำไรยังไม่พอค่าใช้จ่าย ค่าเช่า ค่าน้ำค่าไฟ ค่าพนักงาน ค่าบ้าบออะไรไม่รู้อย่างเยอะ
ตายแน่ตรู ... เข้าเนื้อเดือนละสองหมื่นแบบนี้ ... ตายๆ ... ลนลาน ...
ทำอย่างไรดี ... เริ่มซีด ... กุมขมับ ... เครียด ... ตาเหลือก ... ไร้สติ ...
โทษดินน้ำลมไฟไปก่อน ... โทษมันไปทุกอย่างที่ไม่ใช่ตัวเอง ...
เฮ้ย!!! ไม่ไหวแล้วโว้ย ปิดแม่มเลยดีกว่า!!!!”
... ผมคงพูดแบบนี้ถ้าเป็นผมเมื่อหลายปีก่อน เหมือนที่ผมเคยเมื่อทำกิจการแรกเจ้งคงมือ
แต่ผมในวันนี้ขอเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ด้วยบทความนี้ครับ
ร้านค้าที่เปิดตัวขึ้นใหม่ๆ ผมเชื่อว่าทุกๆกิจการที่เปิดใหม่เหล่านี้จะประสบกับสารพันปัญหา
และปัญหาที่ที่กิจการเปิดใหม่ๆจำนวนมากจะพบเจอคือสภาวะ “การขาดทุน”
การขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่เปิดกิจการ อาจเกิดจาก การขาย เช่นขายไม่ออกยอดขายน้อย
สินค้าหรือบริการยังไม่เป็นที่รู้จัก ลูกค้าไม่รู้ ฯลฯ หรือ ต้นทุนที่สูงเกินไปทำให้กำไรน้อย
และอีกสารพันปัญหา หรือ อาจจะกล่าวรวมๆได้ว่า แผนที่วางไว้ไม่รัดกุมมากพอ ...
แผนไม่รัดกุมเป็นอย่างไร ... อันนี้เกิดจากขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบเห็นได้บ่อยเช่น
- วางแผนเข้าข้างตัวเองมากเกินไป ... หวังผลเลิศ คาดหวังกำไรสุดยอด ประมาณต้นทุนต่ำไป
- ประมาทเรื่องเงินลงทุน ... จัดการเงินลงทุนไม่ดี ทุนบานปลาย ... กระทบเงินส่วนอื่น เงินขาด
สองประเด็นนี้เป็นเงื่อนไขอันตราย ที่พบเจอบ่อยๆกับร้านกิจการใหม่ๆ ... โปรดระวัง!!!
ถ้าเปิดกิจการใหม่ หรือ โครงการใหม่ๆ ผมจะใช้สองหลักการนี้ในการวางแผนเสมอคือ
ประมาณยอดขายและกำไรที่ต่ำที่สุด เลวร้ายที่สุดที่จะเป็นไปได้ และ ประมาณต้นทุนที่สูงที่สุดที่เราจะพบเจอ
ในกิจการนี้ก็เช่นเดียวกัน จากสองหลักการนี้ ทำให้แผนดูแย่ลง แต่หนักแน่นมากขึ้น!!!
เพราะจากสองหลักนี้ จะทำให้เรารู้ว่าถึงแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเราก็จะผ่านมันไปได้
ถ้าแย่ที่สุด ... จากแผนการที่คาดไว้ว่า กิจการนี้น่าจะ “ขาดทุนต่อเนื่อง” ไปหลายเดือน
น่าจะเห็นกำไรได้เมื่อขึ้นเดือนที่เจ็ดเป็นอย่างน้อย ... เมื่อเห็นแผนดังนั้น
ผมก็ เตรียมใจรับสภาพขาดทุน และ จัดเตรียมเงินทุนสำรอง
ผมกันเงินลงทุนไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมสำรองไว้สำหรับการขาดทุนในปีแรกนี้โดยเฉพาะ
เพราะถ้าไม่กันไว้ ผมเชื่อว่าสารพันปัญหาจะถาโถมเข้ามาจากต้นเหตุที่ว่า ... เงินช็อต (ขาดสภาพคล่อง)
ถึงแม้ว่าผมจะวางแผนการใช้ต้นทุน และ วางแผนการประหยัดเงินไว้อย่างรัดกุม
คือพยายามต่อเติมน้อยที่สุด ชั้นวางสินค้าไปหาซื้อมาจากร้านมือสองหรือไม่ก็ชั้นเชื่อมทำเอง
ถึงกระนั้น งบประมาณด้านตกแต่ง ที่วางไว้ก็ยังเกินแผนไป ... หลักแสนบาท
ดั้งนั้น ... จงเผื่อค่าใช้จ่ายเอาไว้มากๆ!!!
เงินทุนในการทำกิจการมีจำกัด ต้องวางแผนการใช้เงินให้รอบครอบ จัดสรรปันส่วนให้ชัดเจน
กิจการนี้เป็นกิจการซื้อมาขายไป ความเป็นไปได้ที่จะหลงทาง คาดการณ์ผิดมีสูง
นอกจากการกันเงินสำรองเผื่อขาดทุนแล้ว ผมยังเลือกที่จะเก็บเงินลงทุนไว้บางส่วน ...
อีกเทคนิคหนึ่งที่ผมนำมาใช้ลดความเสี่ยงของกิจการ คือ การทยอยลงทุน
ผมจะไม่ลงเงินตูมเดียวทั้งหมดที่มี ... ไปก่อนเปิดร้าน
กรณีนี้ ผมเลือกที่จะลงทุนไปราว 60-70 % ของเงินทุนก่อนเปิดร้าน ...
เปิดร้าน ไปแล้วรอดูผลตอบรับจากลูกค้า ... ขายไปวิเคราะห์ไป
สอบถามถึงความต้องการของลูกค้าตลอด ว่าร้านเราขาดเหลือ ขาดตกสิ่งใด
อยากให้มีอะไรขายเป็นพิเศษ ลูกค้าใช้ตัวไหนมากตัวไหนน้อย แล้วค่อยลงทุนเพิ่มเติม
วันนี้กิจการเปิดมาได้สองเดือน เข้าเดือนที่สามแต่ผมยังเหลือเงินลงทุนบางส่วน
เงินส่วนนี้ ผมเก็บไว้เพื่อ ... พัฒนาปรับปรุงร้านหรือลงสินค้าให้โดนใจลูกค้าตามคำบอกมากขึ้น
(เทคนิคนี้มีข้อเสียเช่นช่วงแรกที่เปิดร้าน สินค้าเราจะน้อยโดยเพาะถ้าทุนน้อยอย่างผมในกรณีนี้
ช่วงแรกเรียกได้ว่าของโหรงเหรงเลย แต่เทคนิคนี้จะทำให้เราลงสินค้าได้ตรงจุดมากขึ้น)
ในขณะนี้ยอดขายต่อเดือนของกิจการนี้เพิ่มขึ้นตามลำดับ เริ่มมีลูกค้าขาประจำ
ที่สำคัญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเริ่มรู้จักเรามากขึ้น เริ่มเข้ามาสั่งซื้อสินค้าจากเรามากขึ้น
กอปรกับเงื่อนไขต่างๆที่ติดพันมาในเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ เราจัดการให้มันน้อยลงอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ที่เป็น และ น่าจะเป็น ...
เดือนแรกตัวเลขการขาดทุน สี่หมื่น
เดือนที่สองตัวเลขการขาดทุน สามหมื่นกว่า
เดือนนี้ เดือนที่สาม ขาดทุนประมาณว่าน่าจะ สองหมื่น
เดือนที่สี่ ตัวเลขการขาดทุน น่าจะไปอยู่ที่ หมื่นต้น
เดือนที่ห้า ตัวเลขการขาดทุน น่าจะ ต่ำกว่าหมื่น
เดือนที่หก ตัวเลขการขาดทุนน่าจะ หลักพัน
เดือนที่เจ็ด ตัวเลข พลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในที่สุด
สำหรับผมการขาดทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เราคาดการณ์ไว้แล้วว่าเราต้องเจอ
เราเตรียมทุนเตรียมและเตรียมใจมาแล้ว แต่ในทางกลับกัน ...
ถ้าการขาดทุนนี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน เตรียมรับสภาพได้เลย
เพราะถ้าเป็นแบบนั้น นั่นคือ หายนะแน่นอน ...
ขอให้บทความชิ้นนี้จงได้สร้างประโยชน์ให้แก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน
ขอให้ความร่ำรวยและความสุขสวัสดิ์จงมาสถิตแด่ท่าน
…[^_^]…