เนื่องจากว่าผมไม่ได้รับความกระจ่างจากการอธิบายของคุณฤทธีในกระทู้ก่อนหน้า ก็เลยต้องขออนุญาตตั้งกระทู้แยกออกมาโดยเฉพาะ
(
http://ppantip.com/topic/30591521)
อธิบายก่อนว่า ในกระทู้ "ผู้หญิงท้องป่อง"คุณฤทธี หรือคุณจ้าวนครเมฆขาวอะไรก็แล้วแต่ (คือพี่แกเล่นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายชื่อแล้วแต่ละชื่อก็อ่านยากทั้งนั้น) ได้พูดถึงเรื่องสัตว์เกิดในครรภ์ แล้วก็เรื่องอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผมก็ไม่อยากจะไปร่วมคุยอะไรกับเรื่องนี้ด้วย เพราะไม่ได้สนใจเป็นพิเศษ
แต่ปัญหาคือศัพท์ คพฺภสฺส ที่คุณจ้าวนครบอกว่า คำนี้มาจาก คพฺภ + อสฺส แล้วก็แปลว่า ท้องป่อง ซึ่งเขาก็แปลศัพท์ อสฺส ออกมาว่าแปลว่าสิ่งที่แบกหรือสะพาย แล้วก็สรุปว่าท้องป่อง อะไรก็แล้วแต่
แต่ปัญหาคือ คพฺภสฺส เป็นศัพท์ที่ไม่ได้มาจาก คพฺภ + อสฺส อย่างแน่นอน ซึ่งผมก็ได้วิเคราะห์ในเรื่องนี้ไปแล้ว แต่คุณจ้าวนคร น่าจะไม่เคยอ่านหนังสือบาลีไวยากรณ์ เรื่องการแจกนาม แจกวิภัตติ จึงไม่รู้ว่า คพฺภสฺส มันเป็นศัพท์มายังไงกันแน่
และอีกประการหนึ่ง ต่อให้ คพฺภสฺสนี้ มาจาก คพฺภ + อสฺส จริง ๆ มันก็น่าจะต้องเป็นศัพท์ที่ประกอบรูปวิภัตติเสียก่อน จึงจะมาอยู่ในประโยคบาลีได้ และแปลออกตามวิภัตตินั้นๆ
ถ้าแจกวิภัตติตามปุงลิงค์ (สมมติว่าเป็น อ การันต์) ก็คงจะต้องเป็น คพฺภสฺโส คพฺภสฺสา คภฺพสฺสํ คพฺภสฺเส ฯลฯ อะไรทำนองนี้ แล้วก็แปลว่า อันว่าท้องป่อง ซึ่งท้องป่อง ด้วยท้องป่อง แก่ท้องป่อง ของท้องป่อง หรืออะไรก็ว่าไปตามวิภัตติ
แต่ขออภัยครับ ผมไม่เจอคำประกอบวิภัตติแบบนี้ในพระไตรปิฎกบาลีเลย พบแต่ คพฺภสฺส แห่งเดียวในพระสูตรดังกล่าว รวมถึงในพระสูตรอื่น ๆ ที่พูดถึงเรื่องการเกิดในครรภ์
ถ้าคพฺภสฺส มาจาก คพฺภ + อสฺส อย่างที่คุณฤทธีว่าจริง ๆ ก็แสดงว่าคำนี้ต้องเป็นคำที่ไม่ประกอบวิภัตติ แต่คำที่ไม่ประกอบวิภัตติ ไม่น่าจะมาใช้ในประโยคบาลีได้
แต่อาจเป็นไปได้ว่า คำนี้อาจเป็นวิภัตติที่ ๘ คือ อาลปน วิภัตติ ซึ่งจะดูเป็นรูปศัพท์เดิม ถ้าแจกตามปุริโส ก็จะเป็น คพฺภสฺส (คงรูปเดิมไว้)
แต่ถ้าเป็นอาลปนวิภัตติ ซึ่งกำหนดให้แปลว่า แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ อย่างใดอย่างหนึ่ง คำนี้ก็ต้องแปลว่า
"แน่ะ ท้องป่อง", "ดูก่อน ท้องป่อง", "ข้าแต่ ท้องป่อง"
แล้วอีกอย่าง ถ้าหาก คพฺภ + อสฺส จริง ก็น่าจะมีปัญหา คือในเมื่อ การันต์ท้ายของ คพฺภ เป็น อ การันต์ แต่พอประกอบกับศัพท์ อสฺส (อย่างที่คุณว่ามันเป็นศัพท์ประกอบกัน) ซึ่งอาจจะเป็นสมาส หรือเป็นเพียงการสนธิศัพท์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งศัพท์ อสฺส สระอะ เป็นบทหน้า กลับไม่ทีฆะสระ แต่เอามาจับคงเดิมไว้เลย ทั้ง ๆ ที่มันน่าจะเป็น คพฺภาสส มากกว่า แต่กลับคงรูปคพฺภสฺส ไว้เฉยๆ ซึ่งอาจจะมีจริงอยู่ว่ามันพอเป็นไปได้บ้างในบางศัพท์ หรรือบางวิธีในสมาส แต่ผมคงต้องขอให้คุณฤทธีช่วยอธิบายหน่อยว่า ศัพท์นี้น่ะ... มันมีรูปวิเคราะห์ยังไง
ดังนั้นก็ต้องบอกกันตามตรงว่า คพฺภสฺส ในที่นี้ ไม่ได้มาจากคพฺภ (ครรภ์) อสฺส (ยื่น, ป่อง) อะไรที่ว่านั่นเลย
แต่คือศัพท์ว่า คพฺภ (ครรภ์) เฉย ๆ นั่นแหละ แต่ประกอบกับฉัฏฐีวิภัตติ ซึ่งมี ส วิภัตติ เวลาประกอบวิภัตติแล้ว ก็เลยเป็น คพฺภสฺส
แล้วทีนี้เมื่อจะแปล ตามหลักบาลี บางครั้ง สามารถแปลหักฉัฏฐีวิภัตติ เป็น ทุติยาวิภัตติ (แปลว่า ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้ แล้วก็จะเข้ากันได้กับบทบาลีดังกล่าว เช่น คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ ซึ่ง อวกฺกนฺติ ในที่นี้ แปลว่า การก้าวลง, การหยั่งลง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังนั้นประโยคนี้ก็จะแปลว่า อวกฺกนฺติ - การก้าวลง คพฺภสฺส สู่ครรภ์ หรือ การหยั่งลง สู่ครรภ์
แต่ถ้าคุณฤทธีจะดืัอดึงแปลคำว่า คพฺภสฺส ว่า ท้องป่อง (ท้องป่องโดดๆ ) บทว่า คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ ก็จะต้องแปลว่า "การก้าวลง ...ท้องป้อง" หรือ การหยั่งลง ท้องป่อง ซึ่งมันเป็นคำแปลที่แปลกประหลาดสุดๆ และไม่รู้หมายถึงอะไร
ดีไม่ดี คพฺภสฺส อาจจะเป็นการประกอบวิภัตติอาลปน ซึ่งมันก็จะแปลว่า "การก้าวลง...ดูก่อนท้องป่อง", "การหยั่งลง ... ข้าแต่ท้องป่อง"
ผมว่าคนที่แปลและแยกศัพท์บาลีว่า คพฺภสฺส = คพฺภ + อสฺส นี่ ควรจะได้รับพัดเปรียญ ๑๘ ประโยค ในฐานะที่เสนอการแปลและการแยกศัพท์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในพระพุทธศาสนาเถรวาท รวมถึงควรอัญเชิญไปจำพรรษาที่ "โลหิตปฏลาราม" (แปลว่า อารามหลังคาแดง) หรือไม่ก็ "ศรีธัญญาราม" นะครับ
ปัญหาการแปลบาลี คพฺภสฺส = คพฺภ + อสฺส ของคุณจ้าวนครเมฆขาว
(http://ppantip.com/topic/30591521)
อธิบายก่อนว่า ในกระทู้ "ผู้หญิงท้องป่อง"คุณฤทธี หรือคุณจ้าวนครเมฆขาวอะไรก็แล้วแต่ (คือพี่แกเล่นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายชื่อแล้วแต่ละชื่อก็อ่านยากทั้งนั้น) ได้พูดถึงเรื่องสัตว์เกิดในครรภ์ แล้วก็เรื่องอะไรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผมก็ไม่อยากจะไปร่วมคุยอะไรกับเรื่องนี้ด้วย เพราะไม่ได้สนใจเป็นพิเศษ
แต่ปัญหาคือศัพท์ คพฺภสฺส ที่คุณจ้าวนครบอกว่า คำนี้มาจาก คพฺภ + อสฺส แล้วก็แปลว่า ท้องป่อง ซึ่งเขาก็แปลศัพท์ อสฺส ออกมาว่าแปลว่าสิ่งที่แบกหรือสะพาย แล้วก็สรุปว่าท้องป่อง อะไรก็แล้วแต่
แต่ปัญหาคือ คพฺภสฺส เป็นศัพท์ที่ไม่ได้มาจาก คพฺภ + อสฺส อย่างแน่นอน ซึ่งผมก็ได้วิเคราะห์ในเรื่องนี้ไปแล้ว แต่คุณจ้าวนคร น่าจะไม่เคยอ่านหนังสือบาลีไวยากรณ์ เรื่องการแจกนาม แจกวิภัตติ จึงไม่รู้ว่า คพฺภสฺส มันเป็นศัพท์มายังไงกันแน่
และอีกประการหนึ่ง ต่อให้ คพฺภสฺสนี้ มาจาก คพฺภ + อสฺส จริง ๆ มันก็น่าจะต้องเป็นศัพท์ที่ประกอบรูปวิภัตติเสียก่อน จึงจะมาอยู่ในประโยคบาลีได้ และแปลออกตามวิภัตตินั้นๆ
ถ้าแจกวิภัตติตามปุงลิงค์ (สมมติว่าเป็น อ การันต์) ก็คงจะต้องเป็น คพฺภสฺโส คพฺภสฺสา คภฺพสฺสํ คพฺภสฺเส ฯลฯ อะไรทำนองนี้ แล้วก็แปลว่า อันว่าท้องป่อง ซึ่งท้องป่อง ด้วยท้องป่อง แก่ท้องป่อง ของท้องป่อง หรืออะไรก็ว่าไปตามวิภัตติ
แต่ขออภัยครับ ผมไม่เจอคำประกอบวิภัตติแบบนี้ในพระไตรปิฎกบาลีเลย พบแต่ คพฺภสฺส แห่งเดียวในพระสูตรดังกล่าว รวมถึงในพระสูตรอื่น ๆ ที่พูดถึงเรื่องการเกิดในครรภ์
ถ้าคพฺภสฺส มาจาก คพฺภ + อสฺส อย่างที่คุณฤทธีว่าจริง ๆ ก็แสดงว่าคำนี้ต้องเป็นคำที่ไม่ประกอบวิภัตติ แต่คำที่ไม่ประกอบวิภัตติ ไม่น่าจะมาใช้ในประโยคบาลีได้
แต่อาจเป็นไปได้ว่า คำนี้อาจเป็นวิภัตติที่ ๘ คือ อาลปน วิภัตติ ซึ่งจะดูเป็นรูปศัพท์เดิม ถ้าแจกตามปุริโส ก็จะเป็น คพฺภสฺส (คงรูปเดิมไว้)
แต่ถ้าเป็นอาลปนวิภัตติ ซึ่งกำหนดให้แปลว่า แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ อย่างใดอย่างหนึ่ง คำนี้ก็ต้องแปลว่า
"แน่ะ ท้องป่อง", "ดูก่อน ท้องป่อง", "ข้าแต่ ท้องป่อง"
แล้วอีกอย่าง ถ้าหาก คพฺภ + อสฺส จริง ก็น่าจะมีปัญหา คือในเมื่อ การันต์ท้ายของ คพฺภ เป็น อ การันต์ แต่พอประกอบกับศัพท์ อสฺส (อย่างที่คุณว่ามันเป็นศัพท์ประกอบกัน) ซึ่งอาจจะเป็นสมาส หรือเป็นเพียงการสนธิศัพท์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งศัพท์ อสฺส สระอะ เป็นบทหน้า กลับไม่ทีฆะสระ แต่เอามาจับคงเดิมไว้เลย ทั้ง ๆ ที่มันน่าจะเป็น คพฺภาสส มากกว่า แต่กลับคงรูปคพฺภสฺส ไว้เฉยๆ ซึ่งอาจจะมีจริงอยู่ว่ามันพอเป็นไปได้บ้างในบางศัพท์ หรรือบางวิธีในสมาส แต่ผมคงต้องขอให้คุณฤทธีช่วยอธิบายหน่อยว่า ศัพท์นี้น่ะ... มันมีรูปวิเคราะห์ยังไง
ดังนั้นก็ต้องบอกกันตามตรงว่า คพฺภสฺส ในที่นี้ ไม่ได้มาจากคพฺภ (ครรภ์) อสฺส (ยื่น, ป่อง) อะไรที่ว่านั่นเลย
แต่คือศัพท์ว่า คพฺภ (ครรภ์) เฉย ๆ นั่นแหละ แต่ประกอบกับฉัฏฐีวิภัตติ ซึ่งมี ส วิภัตติ เวลาประกอบวิภัตติแล้ว ก็เลยเป็น คพฺภสฺส
แล้วทีนี้เมื่อจะแปล ตามหลักบาลี บางครั้ง สามารถแปลหักฉัฏฐีวิภัตติ เป็น ทุติยาวิภัตติ (แปลว่า ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น อย่างใดอย่างหนึ่ง) ได้ แล้วก็จะเข้ากันได้กับบทบาลีดังกล่าว เช่น คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ ซึ่ง อวกฺกนฺติ ในที่นี้ แปลว่า การก้าวลง, การหยั่งลง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังนั้นประโยคนี้ก็จะแปลว่า อวกฺกนฺติ - การก้าวลง คพฺภสฺส สู่ครรภ์ หรือ การหยั่งลง สู่ครรภ์
แต่ถ้าคุณฤทธีจะดืัอดึงแปลคำว่า คพฺภสฺส ว่า ท้องป่อง (ท้องป่องโดดๆ ) บทว่า คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ ก็จะต้องแปลว่า "การก้าวลง ...ท้องป้อง" หรือ การหยั่งลง ท้องป่อง ซึ่งมันเป็นคำแปลที่แปลกประหลาดสุดๆ และไม่รู้หมายถึงอะไร
ดีไม่ดี คพฺภสฺส อาจจะเป็นการประกอบวิภัตติอาลปน ซึ่งมันก็จะแปลว่า "การก้าวลง...ดูก่อนท้องป่อง", "การหยั่งลง ... ข้าแต่ท้องป่อง"
ผมว่าคนที่แปลและแยกศัพท์บาลีว่า คพฺภสฺส = คพฺภ + อสฺส นี่ ควรจะได้รับพัดเปรียญ ๑๘ ประโยค ในฐานะที่เสนอการแปลและการแยกศัพท์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในพระพุทธศาสนาเถรวาท รวมถึงควรอัญเชิญไปจำพรรษาที่ "โลหิตปฏลาราม" (แปลว่า อารามหลังคาแดง) หรือไม่ก็ "ศรีธัญญาราม" นะครับ