คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ความจริงแล้ว ความผิดกฎหมายอาญาทุกประเภทรัฐเป็นผู้เสียหายครับ เพราะว่ารัฐมีหน้าที่ที่สำคัญคือ การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เมื่อเกิดการกระทำที่ทำให้สังคมเกิดความไม่สงบขึ้น รัฐก็ย่อมที่จะเป็นผู้เสียหายทุกกรณี
แต่สิ่งที่คนพูดกันว่า ความผิดอาญามีสองประเภทคือ ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหายกับความผิดที่ปัจเจกบุคคลเป็นผู้เสียหาย อันที่จริงแล้วเป็นการแบ่งประเภทความผิดอาญาประเภทอาศัยเกณฑ์ "กล่าวโทษ" หรือ "ร้องทุกข์"
การกล่าวโทษ หมายถึง การที่พลเมืองผู้ใดก็ได้สามารถแจ้งความให้มีการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่กระทำผิด เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ "รัฐ" ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถ "ร้องทุกข์" เองได้ จึงต้องอาศัยการกล่าวโทษของพลเมืองเป็นเครื่องมือ และนี่เอง คือ ความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่พูดกันว่า "รัฐ" เป็นผู้เสียหาย และไม่อาจยอมความได้ เพราะรัฐไม่ใช่บุคคล ไม่มีจิตใจ ก็เลยไม่รู้ว่าจะยอมความอย่างไร
การร้องทุกข์ หมายถึง การที่ปัจเจกบุคคลได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด ปัจเจกบุคคลผู้นี้จึงมีสิทธิที่จะเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำตนเองได้ ความผิดประเภทที่ต้อง "ร้องทุกข์" นี้ อันที่จริงมีผู้เสียหายสองคน คือ "รัฐ" กับ "ปัจเจกบุคคล" แต่หากปัจเจกบุคคลไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อ ก็สามารถ "ยอมความได้" และ "รัฐ" ก็ย่อมไม่ติดใจไปด้วย เพราะในเมื่อตัวผู้เสียหายโดยตรงไม่เอาเรื่องแล้ว รัฐก็ต้องไม่เอาเรื่องด้วย เพื่อความสงบสุขของสังคม และนี้เอง คือ ความผิดชนิดที่ยอมความได้
ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ ความผิดอาญาทุกประเภท "รัฐ"ย่อมเป็นผู้เสียหาย การแบ่งโดยใช้เกณฑ์ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงเป็นการแบ่งที่ไม่ถูกต้อง การแบ่งที่ถูกต้อง คือ ต้องแบ่งว่า ความผิดอาญา มีสองประเภทคือ แบบยอมความไม่ได้ และแบบยอมความได้
แต่สิ่งที่คนพูดกันว่า ความผิดอาญามีสองประเภทคือ ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหายกับความผิดที่ปัจเจกบุคคลเป็นผู้เสียหาย อันที่จริงแล้วเป็นการแบ่งประเภทความผิดอาญาประเภทอาศัยเกณฑ์ "กล่าวโทษ" หรือ "ร้องทุกข์"
การกล่าวโทษ หมายถึง การที่พลเมืองผู้ใดก็ได้สามารถแจ้งความให้มีการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่กระทำผิด เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ "รัฐ" ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถ "ร้องทุกข์" เองได้ จึงต้องอาศัยการกล่าวโทษของพลเมืองเป็นเครื่องมือ และนี่เอง คือ ความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่พูดกันว่า "รัฐ" เป็นผู้เสียหาย และไม่อาจยอมความได้ เพราะรัฐไม่ใช่บุคคล ไม่มีจิตใจ ก็เลยไม่รู้ว่าจะยอมความอย่างไร
การร้องทุกข์ หมายถึง การที่ปัจเจกบุคคลได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด ปัจเจกบุคคลผู้นี้จึงมีสิทธิที่จะเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำตนเองได้ ความผิดประเภทที่ต้อง "ร้องทุกข์" นี้ อันที่จริงมีผู้เสียหายสองคน คือ "รัฐ" กับ "ปัจเจกบุคคล" แต่หากปัจเจกบุคคลไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อ ก็สามารถ "ยอมความได้" และ "รัฐ" ก็ย่อมไม่ติดใจไปด้วย เพราะในเมื่อตัวผู้เสียหายโดยตรงไม่เอาเรื่องแล้ว รัฐก็ต้องไม่เอาเรื่องด้วย เพื่อความสงบสุขของสังคม และนี้เอง คือ ความผิดชนิดที่ยอมความได้
ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ ความผิดอาญาทุกประเภท "รัฐ"ย่อมเป็นผู้เสียหาย การแบ่งโดยใช้เกณฑ์ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จึงเป็นการแบ่งที่ไม่ถูกต้อง การแบ่งที่ถูกต้อง คือ ต้องแบ่งว่า ความผิดอาญา มีสองประเภทคือ แบบยอมความไม่ได้ และแบบยอมความได้
แสดงความคิดเห็น
จะรู้ได้อย่างไรครับว่าความผิดอาญาฐานใดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
1. จะรู้ได้อย่างไรว่าความผิดอาญาฐานใดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ประเด็นคือรู้เพียงว่าว่ากฎหมายบางฉบับ เช่นพระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติอาวุธปืน เป็นกฎหมายที่มีความผิดอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหาย แต่ไม่รู้ว่าจะดูอย่างไรว่าความผิดอาญาฐานหนึ่ง ๆ รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผมจึงอยากทราบว่าในการที่เราจะรู้ว่าความผิดอาญาฐานหนึ่ง ๆ รัฐเป็นผู้เสียหายหรือไม่ จะต้องพิจารณาจากจุดไหน
2. สำหรับในเรื่องนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะไหมครับ หรือว่าเป็นแนวคำพิพากษาศาลฎีกา
ขอบคุณสำหรับการตอบของทุกท่านครับ