มุมมองอีกด้านหนึ่งของนักวิชาการที่ต้องการ
ให้ความเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่
ไม่ใช่เอาการเมืองเข้าไปโยงใยทุกเรื่องสร้างความ
เสียหายให้กับเกษตรกร ทั้งๆ ที่ราคาไข่ไก่ขึ้นอยู่
กับอุปสงค์-อุปทาน เป็นตัวควบคุมราคา
ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของ
อาจารย์ ดร.สิทธิชัย ฝรังทอง ที่ได้ให้ข้อมูลความเห็น
ที่ดีเป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข จึงขอนำบทความ
มาลงให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน
*********************************************
ราคาไข่ไก่! กับความเป็นธรรมที่สังคมจำเป็นต้องมีแก่เกษตรกร
ประเด็นของราคาไข่ไก่ที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงนี้
สะท้อนภาพอย่างชัดเจนว่า “ไข่ไก่” ถูกนำไปโยงใยการเมือง
สร้างความเสียหายและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่
อย่างไร้ความเป็นธรรม
ผมคุ้นเคยกับราคาไข่ไก่ที่ขึ้นๆลงๆ อยู่เสมอตามแต่ละช่วงเวลาที่มี
ปัจจัยเข้ามากระทบกับปริมาณไข่ไก่ รวมถึงอัตราความต้องการบริโภคในแต่ละวาระ
แต่ละเทศกาล หรือเรียกว่า อุปสงค์-อุปทาน เป็นตัวควบคุมราคา
ไม่ต่างจากมะนาวหน้าแล้ง ที่นอกจากจะไม่มีน้ำแล้ว ยังมีราคาแพงแทบซื้อไม่ลง
แต่น่าแปลกตรงที่พอเป็นมะนาว ผู้คนกลับยอมรับได้
แล้วทำไมพอเป็น“ไข่ไก่” จึงเป็นปัญหา …ไข่ไก่ขยับราคาบ้างในบางช่วงไม่ได้หรือไร?
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เป็นอาชีพที่น่าเห็นใจ เพราะเจอภาวะราคาไข่ไก่ตกต่ำมาตลอด
โดยปกติใน 1 ปีจะมีช่วงราคาไข่ตกต่ำอยู่ถึง 8 เดือน ได้แก่ มกราคม มีนาคม เมษายน
กรกฎาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม กลายเป็นขาดทุนสะสม
รอวันลืมตาอ้าปากในช่วงที่ความต้องการบริโภคมากเข้ามาชดเชย
เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าชนิดอื่นที่มีการขึ้นราคาไปแล้วไม่รู้กี่เท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นทองคำ
น้ำมันปาล์ม หรือ น้ำมัน แต่พอระดับราคาไข่ไก่เริ่มขยับตัวขึ้นบ้างในบางช่วงเวลา
เช่น ช่วงเทศกาลต่างๆ ช่วงเปิดเทอม ภาครัฐส่วนใหญ่กลับออกมาควบคุมราคาทันที
ถือเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรที่กำลังจะลืมตาอ้าปากหลังต้องแบกภาระภาวะขาดทุนสะสม
จากช่วงราคาไข่ตกต่ำ แต่ครั้งนี้ต้องชมเชย คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ที่กล้าสวนกระแสการคุมราคาไข่ไก่ของทุกรัฐบาลที่ผ่านมา โดยตั้งกรอบราคาไข่ไก่ไม่ให้เกิน 3.30 บาทต่อฟอง
ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ เนื่องเพราะมีความเข้าใจธรรมชาติของสินค้าเกษตรประเภท “ไข่ไก่” มากขึ้น ดังนี้
1.) ภาวะอากาศร้อนจัดในช่วงปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส สร้างความเครียดให้แม่ไก่
และส่งผลกระทบต่อผลผลิตไข่ไก่หายไปจากระบบ 10% ทุกวัน
2.) แม่ไก่ไข่ที่ปลดระวางมีราคาดี ทำให้เกษตรกรหลายฟาร์มจับแม่ไก่เหล่านี้ขาย
แม้แม่ไก่บางตัวยังพอให้ไข่ได้ก็ตาม
3.) ข่าวโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในจีน ทำให้เกษตรกรต่างชะลอการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นใหม่
รอดูสถานการณ์ก่อน แม้ปัจจัยนี้มีไม่มากนักแต่ก็ส่งผลต่อการผลิตไข่ไก่เช่นกัน
4.) โรคไข่ลด เป็นอีกปัจจัยที่กระทบปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในหลายพื้นที่
5.) อีกไม่นานจะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่แม่ไก่จะเย็นสบาย
สดชื่น ซึ่งจะมีปริมาณไข่ออกสู่ท้องตลาดที่มากขึ้น จนกระทั่งอาจนำมาไปสู่ปัญหาผลผลิตไข่ไก่ที่ล้นตลาด
6.) ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ที่ระดับ 2.70-2.80 บาทต่อฟองในขณะนี้ ยังไม่รวมต้นทุนแฝง
เช่น ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ก็ประสบปัญหาขาดทุนสะสมมานานถึง 15-16 เดือนแล้ว
7.) ราคาไข่ไก่คละ 3.30 บาท ไม่ใช่ทุกฟองจะขายได้ในราคานี้ แน่นอนว่าตราบใดผลผลิตน้อยลง
ขณะที่ความต้องการยังเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าทุกชนิดต้องปรับขึ้น เพราะสินค้าไม่เพียงพอต่อการบริโภค
อย่างไรก็ตาม หากเทียบตัวเลขต้นทุนเฉลี่ยของไข่ไก่ไตรมาสแรก ปี 2556 อยู่ที่ 2.66 บาท
ขณะที่ราคาขายไข่คละหน้าฟาร์มในกรอบเวลาเดียวกัน คือ เดือนมกราคม 2556 เฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 2.60 บาท
กุมภาพันธ์ 2.70 บาท และมีนาคม 2.70 บาท ซึ่งถ้าคำนวณราคาขายเฉลี่ยทั้งไตรมาส 1 ปี 2556
ก็จะอยู่ที่ฟองละ 2.66 บาทเท่าทุนเจ๊ากันไป ไม่ได้มีกำไรเลย เข้าไตรมาส 2 ราคาไข่ไก่เพิ่งขยับ
เพราะเมษายนอากาศร้อนมาก เพิ่งจะเริ่มขายไข่ไก่ในราคาแตะ 3 บาท ในช่วงปลายเดือนเมษายน
ซึ่งเมื่อคำนวณราคาเฉลี่ยไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ตั้งแต่ มกราคม –พฤษภาคม 2556
จะอยู่ที่ 2.79 บาทต่อฟองเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยในช่วงเดียวกันอยู่ที่ 2.75 บาทต่อฟอง
ได้กำไรเฉลี่ยแค่ฟองละ 4 สตางค์เท่านั้น
เห็นข้อมูลขนาดนี้แล้วฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ยังใจร้ายหยิบยกไข่ไก่ขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมือง
ผมยังจำได้ไม่ลืมกับวิธีแก้ปัญหาราคาไข่ไก่ของรัฐบาลที่แล้ว ที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยล้มหายตายจากไปมากมาย
เพียงเพื่อเอาใจผู้บริโภคและสร้างภาพว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะบริหารเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรเลย
อนึ่ง ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และไข่ไก่ ต่างก็เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
แต่ผู้คนกลับยอมรับการขึ้นราคาของค่าไฟฟ้าและน้ำมันได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะที่กลุ่มคนเลี้ยงไก่ไข่
ซึ่งเป็นเกษตรกรตัวเล็กๆ มีปากเสียงน้อยที่สุด มักจะได้รับการคัดค้านเสมอเมื่อมีภาวะไข่ขยับราคาขึ้น
ทั้งๆที่ราคาไข่ไก่มีขึ้นมีลง หรือนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน น่าจะลองมาเลี้ยงไก่ไข่บ้าง
คงจะช่วยให้เข้าใจความรู้สึกคนผลิตไข่ได้บ้างไม่มากก็น้อย...
จะได้ “หยุด” นำไข่ไก่ ไปเป็นประเด็นทางการเมืองเสียที...
และปล่อยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ลืมตาอ้าปากบ้าง!!
ราคาไข่ไก่! กับความเป็นธรรมที่สังคมจำเป็นต้องมีแก่เกษตรกร
ให้ความเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่
ไม่ใช่เอาการเมืองเข้าไปโยงใยทุกเรื่องสร้างความ
เสียหายให้กับเกษตรกร ทั้งๆ ที่ราคาไข่ไก่ขึ้นอยู่
กับอุปสงค์-อุปทาน เป็นตัวควบคุมราคา
ผมได้มีโอกาสอ่านบทความของ
อาจารย์ ดร.สิทธิชัย ฝรังทอง ที่ได้ให้ข้อมูลความเห็น
ที่ดีเป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข จึงขอนำบทความ
มาลงให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกัน
*********************************************
ราคาไข่ไก่! กับความเป็นธรรมที่สังคมจำเป็นต้องมีแก่เกษตรกร
ประเด็นของราคาไข่ไก่ที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงนี้
สะท้อนภาพอย่างชัดเจนว่า “ไข่ไก่” ถูกนำไปโยงใยการเมือง
สร้างความเสียหายและก่อให้เกิดความเข้าใจผิดต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่
อย่างไร้ความเป็นธรรม
ผมคุ้นเคยกับราคาไข่ไก่ที่ขึ้นๆลงๆ อยู่เสมอตามแต่ละช่วงเวลาที่มี
ปัจจัยเข้ามากระทบกับปริมาณไข่ไก่ รวมถึงอัตราความต้องการบริโภคในแต่ละวาระ
แต่ละเทศกาล หรือเรียกว่า อุปสงค์-อุปทาน เป็นตัวควบคุมราคา
ไม่ต่างจากมะนาวหน้าแล้ง ที่นอกจากจะไม่มีน้ำแล้ว ยังมีราคาแพงแทบซื้อไม่ลง
แต่น่าแปลกตรงที่พอเป็นมะนาว ผู้คนกลับยอมรับได้
แล้วทำไมพอเป็น“ไข่ไก่” จึงเป็นปัญหา …ไข่ไก่ขยับราคาบ้างในบางช่วงไม่ได้หรือไร?
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เป็นอาชีพที่น่าเห็นใจ เพราะเจอภาวะราคาไข่ไก่ตกต่ำมาตลอด
โดยปกติใน 1 ปีจะมีช่วงราคาไข่ตกต่ำอยู่ถึง 8 เดือน ได้แก่ มกราคม มีนาคม เมษายน
กรกฎาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม กลายเป็นขาดทุนสะสม
รอวันลืมตาอ้าปากในช่วงที่ความต้องการบริโภคมากเข้ามาชดเชย
เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าชนิดอื่นที่มีการขึ้นราคาไปแล้วไม่รู้กี่เท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นทองคำ
น้ำมันปาล์ม หรือ น้ำมัน แต่พอระดับราคาไข่ไก่เริ่มขยับตัวขึ้นบ้างในบางช่วงเวลา
เช่น ช่วงเทศกาลต่างๆ ช่วงเปิดเทอม ภาครัฐส่วนใหญ่กลับออกมาควบคุมราคาทันที
ถือเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรที่กำลังจะลืมตาอ้าปากหลังต้องแบกภาระภาวะขาดทุนสะสม
จากช่วงราคาไข่ตกต่ำ แต่ครั้งนี้ต้องชมเชย คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ที่กล้าสวนกระแสการคุมราคาไข่ไก่ของทุกรัฐบาลที่ผ่านมา โดยตั้งกรอบราคาไข่ไก่ไม่ให้เกิน 3.30 บาทต่อฟอง
ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ เนื่องเพราะมีความเข้าใจธรรมชาติของสินค้าเกษตรประเภท “ไข่ไก่” มากขึ้น ดังนี้
1.) ภาวะอากาศร้อนจัดในช่วงปีที่ผ่านมา บางพื้นที่ร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส สร้างความเครียดให้แม่ไก่
และส่งผลกระทบต่อผลผลิตไข่ไก่หายไปจากระบบ 10% ทุกวัน
2.) แม่ไก่ไข่ที่ปลดระวางมีราคาดี ทำให้เกษตรกรหลายฟาร์มจับแม่ไก่เหล่านี้ขาย
แม้แม่ไก่บางตัวยังพอให้ไข่ได้ก็ตาม
3.) ข่าวโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในจีน ทำให้เกษตรกรต่างชะลอการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นใหม่
รอดูสถานการณ์ก่อน แม้ปัจจัยนี้มีไม่มากนักแต่ก็ส่งผลต่อการผลิตไข่ไก่เช่นกัน
4.) โรคไข่ลด เป็นอีกปัจจัยที่กระทบปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในหลายพื้นที่
5.) อีกไม่นานจะเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่แม่ไก่จะเย็นสบาย
สดชื่น ซึ่งจะมีปริมาณไข่ออกสู่ท้องตลาดที่มากขึ้น จนกระทั่งอาจนำมาไปสู่ปัญหาผลผลิตไข่ไก่ที่ล้นตลาด
6.) ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ที่ระดับ 2.70-2.80 บาทต่อฟองในขณะนี้ ยังไม่รวมต้นทุนแฝง
เช่น ค่าแรงงาน ค่าไฟฟ้า ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ก็ประสบปัญหาขาดทุนสะสมมานานถึง 15-16 เดือนแล้ว
7.) ราคาไข่ไก่คละ 3.30 บาท ไม่ใช่ทุกฟองจะขายได้ในราคานี้ แน่นอนว่าตราบใดผลผลิตน้อยลง
ขณะที่ความต้องการยังเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าทุกชนิดต้องปรับขึ้น เพราะสินค้าไม่เพียงพอต่อการบริโภค
อย่างไรก็ตาม หากเทียบตัวเลขต้นทุนเฉลี่ยของไข่ไก่ไตรมาสแรก ปี 2556 อยู่ที่ 2.66 บาท
ขณะที่ราคาขายไข่คละหน้าฟาร์มในกรอบเวลาเดียวกัน คือ เดือนมกราคม 2556 เฉลี่ยอยู่ที่ฟองละ 2.60 บาท
กุมภาพันธ์ 2.70 บาท และมีนาคม 2.70 บาท ซึ่งถ้าคำนวณราคาขายเฉลี่ยทั้งไตรมาส 1 ปี 2556
ก็จะอยู่ที่ฟองละ 2.66 บาทเท่าทุนเจ๊ากันไป ไม่ได้มีกำไรเลย เข้าไตรมาส 2 ราคาไข่ไก่เพิ่งขยับ
เพราะเมษายนอากาศร้อนมาก เพิ่งจะเริ่มขายไข่ไก่ในราคาแตะ 3 บาท ในช่วงปลายเดือนเมษายน
ซึ่งเมื่อคำนวณราคาเฉลี่ยไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม ตั้งแต่ มกราคม –พฤษภาคม 2556
จะอยู่ที่ 2.79 บาทต่อฟองเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยในช่วงเดียวกันอยู่ที่ 2.75 บาทต่อฟอง
ได้กำไรเฉลี่ยแค่ฟองละ 4 สตางค์เท่านั้น
เห็นข้อมูลขนาดนี้แล้วฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ยังใจร้ายหยิบยกไข่ไก่ขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมือง
ผมยังจำได้ไม่ลืมกับวิธีแก้ปัญหาราคาไข่ไก่ของรัฐบาลที่แล้ว ที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยล้มหายตายจากไปมากมาย
เพียงเพื่อเอาใจผู้บริโภคและสร้างภาพว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะบริหารเศรษฐกิจได้ดี ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรเลย
อนึ่ง ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง และไข่ไก่ ต่างก็เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
แต่ผู้คนกลับยอมรับการขึ้นราคาของค่าไฟฟ้าและน้ำมันได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะที่กลุ่มคนเลี้ยงไก่ไข่
ซึ่งเป็นเกษตรกรตัวเล็กๆ มีปากเสียงน้อยที่สุด มักจะได้รับการคัดค้านเสมอเมื่อมีภาวะไข่ขยับราคาขึ้น
ทั้งๆที่ราคาไข่ไก่มีขึ้นมีลง หรือนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน น่าจะลองมาเลี้ยงไก่ไข่บ้าง
คงจะช่วยให้เข้าใจความรู้สึกคนผลิตไข่ได้บ้างไม่มากก็น้อย...
จะได้ “หยุด” นำไข่ไก่ ไปเป็นประเด็นทางการเมืองเสียที...
และปล่อยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้ลืมตาอ้าปากบ้าง!!