นิทานชาวสวน ๑๘ พ.ค.๕๖
ผู้เฒ่าเล่าอดีต (๑๒) คนมีเวร
คนมีเวร
ผู้เฒ่าเล่าอดีต (๑๒)
คนมีเวร
ในทางธรรมะนั้น มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร หรือ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เราก็จำไม่ค่อยแม่นนัก แต่ในทางทหารจำได้แม่นว่า เวรย่อมระงับได้ด้วยการอยู่เวร เพราะทหารกับการอยู่เวรนั้น นับว่าเป็นของคู่กันเหมือนช้อนกับส้อม มาตั้งแต่โบราณกาล ใครที่แต่งเครื่องแบบทหารแล้วไม่เคยเข้าเวรยาม น่าจะเป็นทหารที่แปลกประหลาดมาก นอกจากทหารหญิงบางคนเท่านั้น
ส่วนตัวเราเองนั้นคุยได้ว่าผ่านมาแล้วทุกประเภท นับแต่เข้ามาอาศัยร่มไม้ชายคาอยู่ในกรมการทหารสื่อสาร ค่ายสะพานแดง ตอนแรกเป็นนักเรียนนายสิบก็เริ่มเป็นเวรโรงนอน ซึ่งมีหน้าที่เข้าเวรตั้งแต่เป่าแตรนอนสามทุ่ม ผลัดละ ๒ ชั่วโมง ไปจนถึงตีห้าเป่าแตรปลุก คอยตรวจตราดูแลเพื่อนนักเรียนให้เข้านอนโดยเรียบร้อย สวมเสื้อคอกลม นุ่งกางเกงขาสั้น มีผ้าห่มปิดหน้าอกทุกคน ไม่ว่าอากาศจะร้อนแค่ไหน จะมานอนเปลือยกาย หรือนุ่งผ้าขาวม้าตัวเดียวไม่ได้เด็ดขาด และต้องคอยดูแลให้ผู้ที่ขออนุญาตไปทำธุระส่วนตัวทั้งเบาและหนัก ให้กลับมานอนในเวลาอันสมควร ไม่ใช่แอบซุกเครื่องแต่งตัวแบบพลเรือนปีนรั้วออกไปเที่ยวข้างนอก หรือหนีกลับบ้านไปเลย
เวรอีกประเภทหนึ่งของนักเรียนนายสิบก็คือ เวรห้องอาวุธ มีหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าห้องเก็บอาวุธหัวโรง ซึ่งมีแต่ปืนเล็กยาวและดาบปลายปืนสำหรับฝึกเท่านั้น ไม่มีลูกกระสุน เวรแต่งเครื่องแบบปกติคือเสื้อคอกลมสีขาวตุ่น กางเกงขาสั้นสีกากี สวมรองเท้าไอ้โอ๊บหัวงอน คาดเข็มขัดหนังสีน้ำตาลห้อยดาบปลายปืนที่เอว และต้องยืนประจำอยู่ภายในวงกลม ที่เขียนเอาไว้บนพื้น ถ้าล้ำออกมานอกเส้น หรือยืนไม่เรียบร้อยในท่าตามระเบียบพัก หรือพูดคุยเล่นหยอกล้อกับเพื่อน เป็นต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน
เป็นต้นว่าวิดพื้นหรือดันพื้น กระโดดสลับเข่า เดินเป็ด คือเอามือเท้าเอวทั้งสองข้าง ย่อตัวลงครึ่งหนึ่ง แล้วก็เดินไปตามที่สั่ง หรือให้เดินช้าง คือเอามือจับข้อเท้าทั้งสองข้าง แล้วเดินไปเป็นวงกลม หรืออาจจะมีอย่างอื่นแล้วแต่ปัญญาของสิบเวร จะคิดให้มันแผลงออกไปได้อีก
จบจากการเรียนมาเป็นนายสิบแล้ว ก็ต้องไปเข้าเสมียนเวรประจำกองบัญชาการกรมการทหารสื่อสาร ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง พอเป็นสิบเอกแล้วก็เลื่อนเป็นผู้ช่วยนายทหารเวรกรม บังคับบัญชาเสมียนเวรและพลทหารที่เป็นพลแตรเดี่ยวอีกที
สมัยโน้นกองบัญชาการเก่า ด้านหน้ามีระเบียงยาวตลอด ตรงกลางตั้งโต๊ะสูงขนาดใหญ่ เหมือนบัลลังก์ของศาล เป็นที่นั่งของเวร คอยรับเอกสารจากภายนอก รับโทรศัพท์จากภายนอก แล้วก็ติดต่อทางโทรศัพท์ภายใน ตามคนที่จะต้องพูดโทรศัพท์ ในกองฝ่ายอำนวยการมารับสาย เพราะขณะนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ประจำแทบทุกโต๊ะ หรือมีโทรศัพท์ส่วนตัวพกพา เหมือนสมัยนี้
ด้านขวามือเป็นห้องประชุมใหญ่ ด้านซ้ายมือเป็นห้องทำงานของ เสนาธิการกรม ผู้ช่วยเจ้ากรม รองเจ้ากรม และเจ้ากรมการทหารสื่อสาร เรียงกันไปจนสุด ห้องสุดท้ายของท่าน เจ้ากรมมีตู้เก็บธงชัยเฉลิมพล ของกองพันทหารสื่อสาร ต้องมีทหารถือปืนติดดาบเฝ้าหน้าห้อง ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงเหมือนกัน
พลแตรเดี่ยวจะมีหน้าที่ เคาะระฆังแผ่นเหล็กที่แขวนอยู่ริมระเบียงบอกเวลาทุกชั่วโมง และเป่าแตรตามเวลา เริ่มตั้งแต่แตรปลุกลงฝึก รับประทานอาหารเช้า เคารพธงชาติ เข้าทำงาน รับประทานอาหารกลางวัน เลิกงาน รับประทานอาหารเย็น ชักธงชาติลง แตรสวดมนต์และเคารพเวลาทหารร้องเพลงสรรญเสริญพระบารมี สุดท้ายแตรนอน และถ้ามีเหตุฉุกเฉินเช่นไฟไหม้ ก็เป่าแตรเหตุสำคัญ ซึ่งไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้จะมีใครเป่าได้บ้าง
ผู้มีเวรทั้งสามคนนี้ จะต้องแบ่งเวลากันนอน ซึ่งมีเตียงสนามเล็ก ๆ กางเรียงไว้ริมระเบียง ส่วนเครื่องนอนต้องหอบหิ้วเอามาเอง ส่วนใหญ่ผู้ช่วยซึ่งอาวุโสสูงกว่าเพื่อนก็จะนอนก่อน แล้วเสมียนเวรก็นอน สุดท้ายพลแตรเดี่ยวก็ฟุบหลับอยู่บนโต๊ะ ใกล้กับโทรศัพท์โดยไม่มีใครปลุกใคร ยามหน้าห้องเจ้ากรมก็กอดปืนยืนหลับ ถ้านายทหารเวรซึ่งนอนที่กองรักษาการณ์ เดินมาตรวจเจอตอนดึก ก็อาจจะต้องลุกขึ้นวิ่งให้ตาสว่างกันบ้าง
เมื่อมีอาวุโสมากขึ้น หน้าที่เวรยามก็มีความรับผิดชอบมากขึ้นตามลำดับ ถ้าเป็นนายสิบอาวุโสเข้าผู้ช่วยผู้บังคับกองรักษาการณ์ ถ้าเป็นจ่านายสิบเข้าเวรผู้บังคับกองรักษาการณ์ ต้องประจำอยู่ที่กองรักษาการณ์ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องดูแลพลทหารยาม ซึ่งสมัยนั้นมีผลัดละ ๖ คน คือยามช่องทาง ๑ ด้านถนนพระรามที่ ๕ ช่องทาง ๒ และช่องทางสโมสร ด้านถนนทหาร ช่องทาง ๓ ด้านตรอกวัดประชาระบือธรรม ยามประจำคลังอาวุธซึ่งอยู่ใกล้พิพิธภัณฑ์ และได้รื้อเพื่อขยายกองบัญชาการใหม่ไปแล้ว ยามประจำที่ควบคุม และยามประจำธงชัยเฉลิมพล รวม ๔ ผลัด ให้เปลี่ยนกันตามเวลา ผลัดละสองชั่วโมง
ทหารที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามนั้น เป็นผู้ที่มีกรรมจริง ๆ สมดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย และจะต้องเป็นผู้รับกรรมนั้น อย่างจริงแท้แน่นอน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปได้เลย
ในตลอดชีวิตของการอยู่เวรของเรา แทบจะไม่เคยได้พบเห็นคำชมเชย สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามเลย อาจจะมีบ้างสัก ๒ - ๓ เรื่อง ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะได้รับแต่คำตำหนิ หรือคาดโทษ หรือถูกลงโทษอยู่บ่อยมาก
เมื่อสมัยที่เราปฏิบัติหน้าที่นายทหารเวรใหม่ ๆ ในตอนเช้าตรู่วันหนึ่งซึ่งเป็นเวลาก่อนเจ็ดนาฬิกา เราได้รับโทรศัพท์จากนายทหารคนสนิทของท่านเจ้ากรม เรียกให้เราไปพบที่บ้าน เราก็ดีใจว่าท่านจะเรียกไปใช้ให้ทำอะไร จึงรีบเดินจากหน้ากองบัญชาการเก่า ไปถึงหลังสโมสรอย่างเร่งรีบจนเหงื่อท่วมตัว เพราะเราขี่รถจักรยานสองล้อไม่เป็น เขามีไว้ให้เป็นพาหนะของนายทหารเวร เราก็เอาไปพิงไว้เฉย ๆ
เมื่อไปถึงบ้านท่านเจ้ากรม ยังไม่ทันจะย่างก้าวเข้าไปในเขตรั้วบ้าน ก็ได้ยินเสียงตะโกนออกมาว่า สายป่านนี้แล้วทำไมยังไม่ปิดไฟที่เสาไฟฟ้า มัวไปทำอะไรอยู่ คงจะไม่ใช่ประโยคอย่างนี้ทีเดียว แต่ก็ได้ความทำนองนี้แหละ เราตกใจยืนงงแทบจะลืมทำความเคารพ เพราะยังไม่เห็นตัวท่านเลย ต้องตั้งสติอยู่ชั่วอึดใจ จึงเห็นว่าท่านยืนอยู่บนระเบียงหน้าบ้าน ท่านคงเห็นเรายืนเฉยเป็นสากกระเบือ ก็เลยไล่ให้ไปจัดการเสีย
เราก็รีบทำความเคารพรับคำเสียงสนั่น แล้วก็หันหลังจ้ำกลับไปทางเก่า ให้พ้นหูพ้นตาท่านโดยเร็วที่สุด เดินไปจนถึงทางแยกช่องทาง ๒ แล้ว เราก็ยังนึกไม่ออกว่าเราจะปิดไฟฟ้าตามเสาในกรมทั้งหมดได้อย่างไร เพราะเราไม่รู้ว่าสวิทช์นั้นมันอยู่ที่ไหน เรารู้แต่เพียงว่าอีกสักสิบนาที ถ้าไฟฟ้ายังไม่ดับ เราคงจะดับแน่
ด้วยความรู้ที่ว่า กิจการสาธารณูปโภคของกรมการทหารสื่อสาร อยู่ในความดูแลของกองบริการ เราก็ตั้งใจจะไปถามที่กองร้อยโยธา ซึ่งรับผิดชอบในด้านนี้
แต่ขาก็เดินไม่ทันใจเลย พอผ่านหน้าโรงพิมพ์ทหารสื่อสารเจอเพื่อน ซึ่งเป็นคนขยันมาทำงานแต่เช้าทุกวัน เขาทักทายก็เลยปรับทุกข์ให้เขาฟัง เขาก็หัวเราะบอกว่าสวิทช์อันนั้นมันอยู่ที่เสาไฟฟ้าหน้าโรงพิมพ์นี้เอง มีคัทเอาท์ตัวหนึ่งและมีป้ายแปะไว้ว่าเปิดเวลา ๑๘๓๐ ปิดเวลา ๐๗๐๐ หรืออะไรทำนองนี้แหละ จำไม่ได้แน่เพราะมันนานมาแล้ว ก็รีบยกคัทเอาท์ตัวนั้นขึ้น ไฟฟ้าตามเสารอบกรมมันก็ดับหมด
เราถอนใจด้วยความโล่งอก แล้วก็เลยลืมถามเพื่อนว่า มันมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร และเป็นหน้าที่ของใครที่จะเปิดและปิดคัทเอาท์ตัวนี้
แล้วทำไมเขาไม่มาปิดคัทเอาท์ตามเวลา จนเกือบทำให้นายทหารเวรต้องมารับกรรม โดยไม่รู้อิโหน่อิ เหน่ เสียแล้ว.
#################
วางเมื่อ เวลา ๐๘.๓๑
นิทานชาวสวน ๑๘ พ.ค.๕๖
ผู้เฒ่าเล่าอดีต (๑๒) คนมีเวร
คนมีเวร
ผู้เฒ่าเล่าอดีต (๑๒)
คนมีเวร
ในทางธรรมะนั้น มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร หรือ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เราก็จำไม่ค่อยแม่นนัก แต่ในทางทหารจำได้แม่นว่า เวรย่อมระงับได้ด้วยการอยู่เวร เพราะทหารกับการอยู่เวรนั้น นับว่าเป็นของคู่กันเหมือนช้อนกับส้อม มาตั้งแต่โบราณกาล ใครที่แต่งเครื่องแบบทหารแล้วไม่เคยเข้าเวรยาม น่าจะเป็นทหารที่แปลกประหลาดมาก นอกจากทหารหญิงบางคนเท่านั้น
ส่วนตัวเราเองนั้นคุยได้ว่าผ่านมาแล้วทุกประเภท นับแต่เข้ามาอาศัยร่มไม้ชายคาอยู่ในกรมการทหารสื่อสาร ค่ายสะพานแดง ตอนแรกเป็นนักเรียนนายสิบก็เริ่มเป็นเวรโรงนอน ซึ่งมีหน้าที่เข้าเวรตั้งแต่เป่าแตรนอนสามทุ่ม ผลัดละ ๒ ชั่วโมง ไปจนถึงตีห้าเป่าแตรปลุก คอยตรวจตราดูแลเพื่อนนักเรียนให้เข้านอนโดยเรียบร้อย สวมเสื้อคอกลม นุ่งกางเกงขาสั้น มีผ้าห่มปิดหน้าอกทุกคน ไม่ว่าอากาศจะร้อนแค่ไหน จะมานอนเปลือยกาย หรือนุ่งผ้าขาวม้าตัวเดียวไม่ได้เด็ดขาด และต้องคอยดูแลให้ผู้ที่ขออนุญาตไปทำธุระส่วนตัวทั้งเบาและหนัก ให้กลับมานอนในเวลาอันสมควร ไม่ใช่แอบซุกเครื่องแต่งตัวแบบพลเรือนปีนรั้วออกไปเที่ยวข้างนอก หรือหนีกลับบ้านไปเลย
เวรอีกประเภทหนึ่งของนักเรียนนายสิบก็คือ เวรห้องอาวุธ มีหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าห้องเก็บอาวุธหัวโรง ซึ่งมีแต่ปืนเล็กยาวและดาบปลายปืนสำหรับฝึกเท่านั้น ไม่มีลูกกระสุน เวรแต่งเครื่องแบบปกติคือเสื้อคอกลมสีขาวตุ่น กางเกงขาสั้นสีกากี สวมรองเท้าไอ้โอ๊บหัวงอน คาดเข็มขัดหนังสีน้ำตาลห้อยดาบปลายปืนที่เอว และต้องยืนประจำอยู่ภายในวงกลม ที่เขียนเอาไว้บนพื้น ถ้าล้ำออกมานอกเส้น หรือยืนไม่เรียบร้อยในท่าตามระเบียบพัก หรือพูดคุยเล่นหยอกล้อกับเพื่อน เป็นต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน
เป็นต้นว่าวิดพื้นหรือดันพื้น กระโดดสลับเข่า เดินเป็ด คือเอามือเท้าเอวทั้งสองข้าง ย่อตัวลงครึ่งหนึ่ง แล้วก็เดินไปตามที่สั่ง หรือให้เดินช้าง คือเอามือจับข้อเท้าทั้งสองข้าง แล้วเดินไปเป็นวงกลม หรืออาจจะมีอย่างอื่นแล้วแต่ปัญญาของสิบเวร จะคิดให้มันแผลงออกไปได้อีก
จบจากการเรียนมาเป็นนายสิบแล้ว ก็ต้องไปเข้าเสมียนเวรประจำกองบัญชาการกรมการทหารสื่อสาร ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง พอเป็นสิบเอกแล้วก็เลื่อนเป็นผู้ช่วยนายทหารเวรกรม บังคับบัญชาเสมียนเวรและพลทหารที่เป็นพลแตรเดี่ยวอีกที
สมัยโน้นกองบัญชาการเก่า ด้านหน้ามีระเบียงยาวตลอด ตรงกลางตั้งโต๊ะสูงขนาดใหญ่ เหมือนบัลลังก์ของศาล เป็นที่นั่งของเวร คอยรับเอกสารจากภายนอก รับโทรศัพท์จากภายนอก แล้วก็ติดต่อทางโทรศัพท์ภายใน ตามคนที่จะต้องพูดโทรศัพท์ ในกองฝ่ายอำนวยการมารับสาย เพราะขณะนั้นยังไม่มีโทรศัพท์ประจำแทบทุกโต๊ะ หรือมีโทรศัพท์ส่วนตัวพกพา เหมือนสมัยนี้
ด้านขวามือเป็นห้องประชุมใหญ่ ด้านซ้ายมือเป็นห้องทำงานของ เสนาธิการกรม ผู้ช่วยเจ้ากรม รองเจ้ากรม และเจ้ากรมการทหารสื่อสาร เรียงกันไปจนสุด ห้องสุดท้ายของท่าน เจ้ากรมมีตู้เก็บธงชัยเฉลิมพล ของกองพันทหารสื่อสาร ต้องมีทหารถือปืนติดดาบเฝ้าหน้าห้อง ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงเหมือนกัน
พลแตรเดี่ยวจะมีหน้าที่ เคาะระฆังแผ่นเหล็กที่แขวนอยู่ริมระเบียงบอกเวลาทุกชั่วโมง และเป่าแตรตามเวลา เริ่มตั้งแต่แตรปลุกลงฝึก รับประทานอาหารเช้า เคารพธงชาติ เข้าทำงาน รับประทานอาหารกลางวัน เลิกงาน รับประทานอาหารเย็น ชักธงชาติลง แตรสวดมนต์และเคารพเวลาทหารร้องเพลงสรรญเสริญพระบารมี สุดท้ายแตรนอน และถ้ามีเหตุฉุกเฉินเช่นไฟไหม้ ก็เป่าแตรเหตุสำคัญ ซึ่งไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้จะมีใครเป่าได้บ้าง
ผู้มีเวรทั้งสามคนนี้ จะต้องแบ่งเวลากันนอน ซึ่งมีเตียงสนามเล็ก ๆ กางเรียงไว้ริมระเบียง ส่วนเครื่องนอนต้องหอบหิ้วเอามาเอง ส่วนใหญ่ผู้ช่วยซึ่งอาวุโสสูงกว่าเพื่อนก็จะนอนก่อน แล้วเสมียนเวรก็นอน สุดท้ายพลแตรเดี่ยวก็ฟุบหลับอยู่บนโต๊ะ ใกล้กับโทรศัพท์โดยไม่มีใครปลุกใคร ยามหน้าห้องเจ้ากรมก็กอดปืนยืนหลับ ถ้านายทหารเวรซึ่งนอนที่กองรักษาการณ์ เดินมาตรวจเจอตอนดึก ก็อาจจะต้องลุกขึ้นวิ่งให้ตาสว่างกันบ้าง
เมื่อมีอาวุโสมากขึ้น หน้าที่เวรยามก็มีความรับผิดชอบมากขึ้นตามลำดับ ถ้าเป็นนายสิบอาวุโสเข้าผู้ช่วยผู้บังคับกองรักษาการณ์ ถ้าเป็นจ่านายสิบเข้าเวรผู้บังคับกองรักษาการณ์ ต้องประจำอยู่ที่กองรักษาการณ์ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ต้องดูแลพลทหารยาม ซึ่งสมัยนั้นมีผลัดละ ๖ คน คือยามช่องทาง ๑ ด้านถนนพระรามที่ ๕ ช่องทาง ๒ และช่องทางสโมสร ด้านถนนทหาร ช่องทาง ๓ ด้านตรอกวัดประชาระบือธรรม ยามประจำคลังอาวุธซึ่งอยู่ใกล้พิพิธภัณฑ์ และได้รื้อเพื่อขยายกองบัญชาการใหม่ไปแล้ว ยามประจำที่ควบคุม และยามประจำธงชัยเฉลิมพล รวม ๔ ผลัด ให้เปลี่ยนกันตามเวลา ผลัดละสองชั่วโมง
ทหารที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามนั้น เป็นผู้ที่มีกรรมจริง ๆ สมดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย และจะต้องเป็นผู้รับกรรมนั้น อย่างจริงแท้แน่นอน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปได้เลย
ในตลอดชีวิตของการอยู่เวรของเรา แทบจะไม่เคยได้พบเห็นคำชมเชย สำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามเลย อาจจะมีบ้างสัก ๒ - ๓ เรื่อง ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะได้รับแต่คำตำหนิ หรือคาดโทษ หรือถูกลงโทษอยู่บ่อยมาก
เมื่อสมัยที่เราปฏิบัติหน้าที่นายทหารเวรใหม่ ๆ ในตอนเช้าตรู่วันหนึ่งซึ่งเป็นเวลาก่อนเจ็ดนาฬิกา เราได้รับโทรศัพท์จากนายทหารคนสนิทของท่านเจ้ากรม เรียกให้เราไปพบที่บ้าน เราก็ดีใจว่าท่านจะเรียกไปใช้ให้ทำอะไร จึงรีบเดินจากหน้ากองบัญชาการเก่า ไปถึงหลังสโมสรอย่างเร่งรีบจนเหงื่อท่วมตัว เพราะเราขี่รถจักรยานสองล้อไม่เป็น เขามีไว้ให้เป็นพาหนะของนายทหารเวร เราก็เอาไปพิงไว้เฉย ๆ
เมื่อไปถึงบ้านท่านเจ้ากรม ยังไม่ทันจะย่างก้าวเข้าไปในเขตรั้วบ้าน ก็ได้ยินเสียงตะโกนออกมาว่า สายป่านนี้แล้วทำไมยังไม่ปิดไฟที่เสาไฟฟ้า มัวไปทำอะไรอยู่ คงจะไม่ใช่ประโยคอย่างนี้ทีเดียว แต่ก็ได้ความทำนองนี้แหละ เราตกใจยืนงงแทบจะลืมทำความเคารพ เพราะยังไม่เห็นตัวท่านเลย ต้องตั้งสติอยู่ชั่วอึดใจ จึงเห็นว่าท่านยืนอยู่บนระเบียงหน้าบ้าน ท่านคงเห็นเรายืนเฉยเป็นสากกระเบือ ก็เลยไล่ให้ไปจัดการเสีย
เราก็รีบทำความเคารพรับคำเสียงสนั่น แล้วก็หันหลังจ้ำกลับไปทางเก่า ให้พ้นหูพ้นตาท่านโดยเร็วที่สุด เดินไปจนถึงทางแยกช่องทาง ๒ แล้ว เราก็ยังนึกไม่ออกว่าเราจะปิดไฟฟ้าตามเสาในกรมทั้งหมดได้อย่างไร เพราะเราไม่รู้ว่าสวิทช์นั้นมันอยู่ที่ไหน เรารู้แต่เพียงว่าอีกสักสิบนาที ถ้าไฟฟ้ายังไม่ดับ เราคงจะดับแน่
ด้วยความรู้ที่ว่า กิจการสาธารณูปโภคของกรมการทหารสื่อสาร อยู่ในความดูแลของกองบริการ เราก็ตั้งใจจะไปถามที่กองร้อยโยธา ซึ่งรับผิดชอบในด้านนี้
แต่ขาก็เดินไม่ทันใจเลย พอผ่านหน้าโรงพิมพ์ทหารสื่อสารเจอเพื่อน ซึ่งเป็นคนขยันมาทำงานแต่เช้าทุกวัน เขาทักทายก็เลยปรับทุกข์ให้เขาฟัง เขาก็หัวเราะบอกว่าสวิทช์อันนั้นมันอยู่ที่เสาไฟฟ้าหน้าโรงพิมพ์นี้เอง มีคัทเอาท์ตัวหนึ่งและมีป้ายแปะไว้ว่าเปิดเวลา ๑๘๓๐ ปิดเวลา ๐๗๐๐ หรืออะไรทำนองนี้แหละ จำไม่ได้แน่เพราะมันนานมาแล้ว ก็รีบยกคัทเอาท์ตัวนั้นขึ้น ไฟฟ้าตามเสารอบกรมมันก็ดับหมด
เราถอนใจด้วยความโล่งอก แล้วก็เลยลืมถามเพื่อนว่า มันมาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร และเป็นหน้าที่ของใครที่จะเปิดและปิดคัทเอาท์ตัวนี้
แล้วทำไมเขาไม่มาปิดคัทเอาท์ตามเวลา จนเกือบทำให้นายทหารเวรต้องมารับกรรม โดยไม่รู้อิโหน่อิ เหน่ เสียแล้ว.
#################
วางเมื่อ เวลา ๐๘.๓๑