วันนี้ 16 พ.ค.56 ที่ห้องพิจารณา 704 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานโจทก์ คดีดำ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการหรือ นปช. กับพวกรวม 24 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย,ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, และฝ่าฝืน พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุเกิดระหว่างวันที่ 28 ก.พ. -20 พ.ค.2553 ต่อเนื่องกัน เพื่อกดดันให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา
โดยวันนี้ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พยานโจทก์ เบิกความเป็นนัดที่สามสรุปว่า ช่วงที่กลุ่ม นปช.เรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ได้มีการเจรจากันระหว่างตัวแทนนปช.และตัวแทนของรัฐบาล 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้เนื่องจากแกนนำ นปช. ต้องการให้รัฐบาลยุบสภาทันที และมีการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลเสนอ จะยุบสภาภายใน 9-10 เดือน โดยผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทน นปช.คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคำพิพากษาศาล ทั้งเชื่อว่า การชุมนุมเดือนเม.ย. 2553 หวังผลที่จะล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ให้ได้ และรัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณ สนับสนุนแพ้เสียงโหวตในสภาฯ
ประกอบกับ ปี 2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก2 ปี ในคดีจัดซื้อที่ดินรัชดา และวันที่ 26 ก.พ. 2553 ศาลฎีกาฯ พิพากษายึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อมาวันที่ 7 เม.ย. 2553 นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง นำมวลชนคนเสื้อแดงไปปิดล้อมรัฐสภา ปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ และคุกคามสมาชิกรัฐสภา เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และส.ส. อีกหลายคน จนต้องหนีออกทางด้านหลังรัฐสภา
นายถวิล เบิกความอีกว่า เหตุการณ์ทีเกิดขึ้นควบคู่กับการชุมนุมของกลุ่มนปช. คือมีคนกลุ่มหนึ่งใช้อาวุธคุกคามต่อสถานที่ องค์กร และสถาบันที่อยู่ตรงข้ามกับ นปช. และพรรคพลังประชาชน ตลอดการชุมนุม มีการใช้อาวุธสงครามนานาชนิดยิงเข้าใส่สถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญ ธนาคารกรุงเทพฯ หลายสาขา ซึ่งกลุ่ม นปช.เชื่อว่า ธ.กรุงเทพฯ เป็นผู้สนับสนุนพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่กลุ่มนปช.ต่อต้านในฐานะเป็นอำมาตย์
อดีตเลขาฯ สมช. เบิกความอีกว่า ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอมีคำสั่งให้นปช.ยุติการชุมนุมที่ราชประสงค์ ซึ่งศาลมีคำวินิจฉัยว่า การชุมนุมของกลุ่มนปช. มีการปิดเส้นทางการจราจร กระทบกับการใช้ชีวิตปกติของประชาชน ขัดต่อความมั่นคงและเสรีภาพของประชาชนเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลได้ยกคำร้องอ้างว่า รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานที่ฉุกเฉิน มีอำนาจทางกฎหมายที่จะดำเนินการได้อยู่แล้ว และวันที่ 23 เม.ย. 2553 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งให้มีคำสั่งชั่วคราวไม่ให้รัฐบาลสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ แต่ศาลมีคำสั่งว่า มาตรการปิดล้อมการชุมนุมของรัฐบาลเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจกระทำได้ จึงให้ยกคำร้อง
ส่วนการบุกสภาของนายอริสมันต์ รัฐบาลเห็นว่าสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นจึงได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นห้ามการชุมนุมตั้งแต่5คนขึ้นไป ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามเข้าไปใช้สถานที่หรืออาคารที่กำหนด ห้ามชุมนุมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล บางแห่งและบางอำเภอในจ. พนะนครศรีอยุธยาด้วย แต่การชุมนุม กลับทวีความรุนแรงมากขึ้น และเมื่อวันที่ 8 - 9 เม.ย. 2553 กลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกเข้าไปในสถานีดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อไม่ให้รัฐบาลตัดสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชลแนล ของกลุ่ม นปช.
ต่อมาวันที่ 10 เม.ย.2553 รัฐบาลได้ออกมาตรการขอคืนพื้นที่บริเวณ ถ.ราชดำเนินเนื่องกลุ่ม นปช.ใช้พื้นที่จำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ร่วมชุมนุมโดยมีเป้าหมายที่จะเปิดเส้นทางการจราจรสะพานพระปิ่นเกล้าและสะพานพระรามแปด เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ทั้งรัฐบาลถูกวิจารณ์ว่า ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ทั้งนี้ได้รับรายงานจากหน่วยปฏิบัติมายัง ศอฉ. ว่า การผลักดันได้เริ่มตั้งแต่ช่วงสายวันที่ 10 เม.ย.53 โดยเคลียร์พื้นที่และผลักดันผู้ชุมนุมแยกมิสกวันไปแยกกองทัพบก แต่ถูกต่อต้านจากกลุ่มนปช. มาปิดล้อมที่กองทัพบก โดยแกนนำคือนายขวัญชัย ไพรพนา เจ้าหน้าที่จึงใช้แก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำ เกราะ โล่ กระบอง เป็นเครื่องมือ
ภายหลังทราบว่ามีประชาชนถูกยิงเสียชีวิต1 คนที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นมีการผลักดันที่ ถ.ราชดำเนิน แต่ครั้งนี้มีการต่อต้านจากกลุ่มผู้ใช้อาวุธ เป็นเหตุการณ์ที่มีทหารเสียชีวิต 5 นาย ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 21 คน ทหารบาดเจ็บประมาณ 300 นาย ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 500 คน เหตุที่ทหารบาดเจ็บจำนวนมากเนื่องจากมีการใช้อาวุธจริง และการสูญเสียครั้งนี้ยิ่งกว่าในสนามรบ
พยานเบิกความเรื่องอื่นแล้วเสร็จ ศาลจึงนัดสืบพยานต่อไปวันที่ 17 พ.ค. นี้ เวลา 09.00 น.
ที่มา:
http://www.naewna.com/politic/51957
ปล.ความจริงมันก็คือความจริง ...เอิ๊ก ๆ ๆ
'ถวิล' ให้การแดงก่อการร้าย สูญทหารมากกว่าในสนามรบ!
โดยวันนี้ นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พยานโจทก์ เบิกความเป็นนัดที่สามสรุปว่า ช่วงที่กลุ่ม นปช.เรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ได้มีการเจรจากันระหว่างตัวแทนนปช.และตัวแทนของรัฐบาล 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้เนื่องจากแกนนำ นปช. ต้องการให้รัฐบาลยุบสภาทันที และมีการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลเสนอ จะยุบสภาภายใน 9-10 เดือน โดยผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจแทน นปช.คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคำพิพากษาศาล ทั้งเชื่อว่า การชุมนุมเดือนเม.ย. 2553 หวังผลที่จะล้มรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ให้ได้ และรัฐบาลที่พ.ต.ท.ทักษิณ สนับสนุนแพ้เสียงโหวตในสภาฯ
ประกอบกับ ปี 2551 พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินจำคุก2 ปี ในคดีจัดซื้อที่ดินรัชดา และวันที่ 26 ก.พ. 2553 ศาลฎีกาฯ พิพากษายึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อมาวันที่ 7 เม.ย. 2553 นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง นำมวลชนคนเสื้อแดงไปปิดล้อมรัฐสภา ปลดอาวุธเจ้าหน้าที่ และคุกคามสมาชิกรัฐสภา เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และส.ส. อีกหลายคน จนต้องหนีออกทางด้านหลังรัฐสภา
นายถวิล เบิกความอีกว่า เหตุการณ์ทีเกิดขึ้นควบคู่กับการชุมนุมของกลุ่มนปช. คือมีคนกลุ่มหนึ่งใช้อาวุธคุกคามต่อสถานที่ องค์กร และสถาบันที่อยู่ตรงข้ามกับ นปช. และพรรคพลังประชาชน ตลอดการชุมนุม มีการใช้อาวุธสงครามนานาชนิดยิงเข้าใส่สถานที่ราชการ บ้านพักบุคคลสำคัญ ธนาคารกรุงเทพฯ หลายสาขา ซึ่งกลุ่ม นปช.เชื่อว่า ธ.กรุงเทพฯ เป็นผู้สนับสนุนพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่กลุ่มนปช.ต่อต้านในฐานะเป็นอำมาตย์
อดีตเลขาฯ สมช. เบิกความอีกว่า ต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ขอมีคำสั่งให้นปช.ยุติการชุมนุมที่ราชประสงค์ ซึ่งศาลมีคำวินิจฉัยว่า การชุมนุมของกลุ่มนปช. มีการปิดเส้นทางการจราจร กระทบกับการใช้ชีวิตปกติของประชาชน ขัดต่อความมั่นคงและเสรีภาพของประชาชนเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ศาลได้ยกคำร้องอ้างว่า รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานที่ฉุกเฉิน มีอำนาจทางกฎหมายที่จะดำเนินการได้อยู่แล้ว และวันที่ 23 เม.ย. 2553 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งให้มีคำสั่งชั่วคราวไม่ให้รัฐบาลสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ แต่ศาลมีคำสั่งว่า มาตรการปิดล้อมการชุมนุมของรัฐบาลเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจกระทำได้ จึงให้ยกคำร้อง
ส่วนการบุกสภาของนายอริสมันต์ รัฐบาลเห็นว่าสถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นจึงได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นห้ามการชุมนุมตั้งแต่5คนขึ้นไป ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามเข้าไปใช้สถานที่หรืออาคารที่กำหนด ห้ามชุมนุมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล บางแห่งและบางอำเภอในจ. พนะนครศรีอยุธยาด้วย แต่การชุมนุม กลับทวีความรุนแรงมากขึ้น และเมื่อวันที่ 8 - 9 เม.ย. 2553 กลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกเข้าไปในสถานีดาวเทียมไทยคม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เพื่อไม่ให้รัฐบาลตัดสัญญาณสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชลแนล ของกลุ่ม นปช.
ต่อมาวันที่ 10 เม.ย.2553 รัฐบาลได้ออกมาตรการขอคืนพื้นที่บริเวณ ถ.ราชดำเนินเนื่องกลุ่ม นปช.ใช้พื้นที่จำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ร่วมชุมนุมโดยมีเป้าหมายที่จะเปิดเส้นทางการจราจรสะพานพระปิ่นเกล้าและสะพานพระรามแปด เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชน ทั้งรัฐบาลถูกวิจารณ์ว่า ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ทั้งนี้ได้รับรายงานจากหน่วยปฏิบัติมายัง ศอฉ. ว่า การผลักดันได้เริ่มตั้งแต่ช่วงสายวันที่ 10 เม.ย.53 โดยเคลียร์พื้นที่และผลักดันผู้ชุมนุมแยกมิสกวันไปแยกกองทัพบก แต่ถูกต่อต้านจากกลุ่มนปช. มาปิดล้อมที่กองทัพบก โดยแกนนำคือนายขวัญชัย ไพรพนา เจ้าหน้าที่จึงใช้แก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำ เกราะ โล่ กระบอง เป็นเครื่องมือ
ภายหลังทราบว่ามีประชาชนถูกยิงเสียชีวิต1 คนที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นมีการผลักดันที่ ถ.ราชดำเนิน แต่ครั้งนี้มีการต่อต้านจากกลุ่มผู้ใช้อาวุธ เป็นเหตุการณ์ที่มีทหารเสียชีวิต 5 นาย ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 21 คน ทหารบาดเจ็บประมาณ 300 นาย ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 500 คน เหตุที่ทหารบาดเจ็บจำนวนมากเนื่องจากมีการใช้อาวุธจริง และการสูญเสียครั้งนี้ยิ่งกว่าในสนามรบ
พยานเบิกความเรื่องอื่นแล้วเสร็จ ศาลจึงนัดสืบพยานต่อไปวันที่ 17 พ.ค. นี้ เวลา 09.00 น.
ที่มา:http://www.naewna.com/politic/51957
ปล.ความจริงมันก็คือความจริง ...เอิ๊ก ๆ ๆ