ทำไม "โค้ก" จึงต้องมี "คาเฟอีน" และมีสีดำ ด้วยครับ

กระทู้คำถาม
ทำไม "โค้ก" จึงต้องมี "คาเฟอีน" และมีสีดำ ด้วยครับในเมื่อ มันไม่ได้ผลิตมาจากใบโคล่า และน้ำตาลที่ใช้ ก็เป็นน้ำตาลข้าวโพด (ของเมริกา) ที่ไม่น่าจะมีคาเฟอีนผสมอยู่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
***

     เรื่องของ "คาเฟอีน" นั้นเป็นผลมาจากการใช้พืชชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า "โคคา" เป็นส่วนผสมในการผลิตครับ  โดยเจ้า "โคคา" นี้มีคาเฟอีนและฤทธิื์์์ในการกระตุ้นประสาทแบบอ่อนๆอยู่เป็นทุนเดิมแล้ว  ซึ่งสมัยแรกๆนั้นมันมีกระทั่ง "โคเคน" ผสมอยู่ด้วยครับเพราะโคเคนก็คือสารที่สกัดมาจากต้นโคคาเหมือนกัน  ทว่าหลังมีการค้นพบข้อเสียของ "โคเคน" ในช่วงต้นคริสศตวรรษที่20จึงทำให้บริษัทโคล่าต่างๆทยอยตัดโคเคนออกไปจากส่วนผสมในที่สุด  ส่วนเรื่องสีดำของโค้กนั้นเป็นเพราะตอนแรกที่มีการวางจำหน่ายในร้านขายยามันมีสีนี้ตั้งแต่แรกแล้วจากสูตรในการปรุงครับ  กระทั่งเมื่อตัวเครื่องดื่มเริ่มได้รับความนิยมและมีการปรับสูตรอีกครั้งก็ยังคงเอกลักษณ์เป็นสีดำอยู่เช่นเคยไม่มีการเปลี่ยนเพราะทางบริษัทผู้ผลิตนั้นถือว่ามันเป็นเอกลักษณ์ของน้ำอัดลมประเภทโคล่าไปแล้ว  

     ทว่าในยุคหนึ่งบริษัท "โคคา-โคล่า" ที่มะริกันเองก็เคยมีแผนการจะทำ "โค้กไร้สี"   ขึ้นมาด้วยนะครับ  โดยตัวเครื่องดื่มนั้นจะมีสีใสเหมือนกับเหล้า "ว๊อดก้า" ที่ชาวรัสเซียนิยมชมชอบกันครับ  ทั้งนี้เพราะ "โคคา-โคล่า" เตรียมจะนำโค้กไร้สีตัวนี้ไปจำหน่ายในดินแดนสหภาพโซเวียต  แต่ต่อมาได้เกิดปัญหาทางการเมืองอย่างรุนแรงระหว่าง "มะริกัน" และ "โซเวียต" จนส่งผลให้มีการบอยคอตสินค้าทุกอย่างของมะริกันและโลกตะวันตกในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์  ดังนั้นโครงการโค้กไร้สีตัวนี้จึงต้องถูกพับเก็บลงไปอย่างน่าเสียดายครับ

**ประวัติของโคล่า**

     โดยก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่อง "โคล่า" นั้นเพื่อนๆทุกท่านต้องทำความเข้าใจกันอย่างหนึ่งก่อนครับว่า  ความจริงแล้วมันมีน้ำอัดลมที่มีรสซาบซ่าอยู่ตัวหนึ่งซึ่งได้ถูกคิดค้นแลพัฒนาขึ้นมาก่อนหน้าโคล่าเป็นระยะเวลานานแล้วครับโดยเจ้าน้ำดังกล่าวนั้นก็คือ "โซดา" นั่นเองครับ  จากบันทึกหลายแห่งเชื่อว่าผู้ที่คิดค้นโซดาเป็นคนแรกก็คือนักวิทยศาสตร์ชาวผู้ดีตีนแดงอังกฤษที่ชื่อว่า "โจเซฟ พริสต์ลีย์"  ซึ่งในวงการเคมีจะยกย่องกันให้บุรุษผู้นี้เป็น "บิดาแห่งก๊าซ" ครับ  เพราะพี่แกเล่นค้นพบก๊าซต่างๆจากการทดลองเป็นจำนวนมากทั้ง ออกซิเจน คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไนตรัส แอมโมเนีย แลก๊าซที่เราๆท่านๆรู้จักกันดีอีกหลายตัวนั่นเอง

(รูปของนาย "โจเซฟ พริสต์ลีย์" บิดาแห่งก๊าซ)




     โดยต้นกำเนิดของ "โซดา" นั้นมาจากการที่วันหนึ่ง "พริสต์ลีย์" มานั่งพินิจดูฟองอากาศแปลกๆในถังหมักเบียร์แลเกิดความสงสัยว่าเจ้าฟองนี้มันคืออะไรกันแน่  เขาจึงได้ทดลองจุดเทียนเพื่อตรวจสอบดูจนพบว่าก๊าซในถังเบียร์สามารถเหนี่ยวนำควันของเทียนให้ไหลไปตามถังไม้โอ๊คได้  ดังนั้นเขาจึงนำแก้วน้ำสองใบมาเทสลับกันไปมาอย่างรวดเร็วเหนือถังหมักเบียร์ที่มีฟองฟอด  กระทั่งปรากฏว่าเจ้าก๊าซในถังได้ผสมเข้ากับน้ำเปล่าในแก้วจนเกิดฟองขึ้นมา  แลเมื่อ "พริสต์ลีย์" ทดลองชิมจึงพบว่ามันมีรสซาบซ่านอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนซึ่งนี่จึงเป็นต้น กำเนิดของ "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" แล "น้ำโซดา" นั่นเองครับ

(รูปเครื่องไม้เครื่องมือในห้องทดลองของ "โจเซฟ พริสต์ลีย์" ครับ)




     แลด้วยการค้นพบอันสุดวิเศษนี้เองจึงทำให้ "พริสต์ลีย์" เขียนผลการทดลองแลวิจัยออกมาให้ผู้คนในวงกว้างได้ทราบ  นอกจากนี้เขายังได้ทำการปรับปรุงวิธีผลิตน้ำโซดาขึ้นใหม่ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้หลักการถ่ายเทของก๊าซ(ตามรูปด้านล่างครับ)  แลยังได้เขียนหนังสือเรื่อง "Impregnating water with fixed air" ขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1772 เพื่อเผยแพร่สรรพคุณของน้ำโซดาซึ่งเขาอ้างว่าสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วยครับ  ทว่าถึงแม้ "พริสต์ลีย์" จะเป็นบิดาของน้ำโซดาก็ตามแต่เรื่องตลกอย่างหนึ่งก็คือคนที่สามารถหากำไรเข้ากระเป๋าจากโซดานั้นกลับเป็นเภสัชกรชาวอังกฤษชื่อ "โทมัส เฮนรี่"  ที่คิดค้นอุปกรณ์ผลิตน้ำโซดาจากน้ำแร่ซึ่งเขาเชื่อว่ามีสรรพคุณมากกว่าน้ำธรรมดาทั่วไป  อีกทั้งนายเฮนรี่ยังได้ทดลองใส่ส่วนผสมจำพวกน้ำตาลแลน้ำมะนาวเข้าไป  จนเกิดเป็นน้ำอัดลมรสหวานซาบซ่านตัวแรกของโลกขึ้นอีกด้วยครับ

(รูปของอุปกรณ์ผลิตน้ำโซดาเวอร์ชั่นปรับปรุงของนาย"พริสต์ลีย์"  ซึ่งถูกนักธุรกิจหัวเสรายอื่นนำไปดัดแปลงจนนำไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตน้ำอัดลมในเวลาต่อมา)




     ดังนั้นจึงทำให้ในประเทศอังกฤษช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่18 นั้นมีนักธุรกิจจำนวนมากต่างพากันผลิตน้ำอัดลมออกมาวางขายกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันซึ่งก็มีทั้งที่ประสบความสำเร็จแลล้มเหลว  แต่ทว่าในสงครามโซดาครั้งนี้กลับมีชายสองคนที่สามารถก้าวขึ้นมายืนอยู่ในหัวแถวได้ก็ คือ "นาย นิโคลาส พอล" กับ "นาย จาคอป ชเวป" นั่นเองครับ  โดยสองคนนี้แต่แรกนั้นเป็นคู่หูในการทำธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จจนร่ำรวยเพราะสามารถส่งน้ำอัดลมรสหวานไปขายยังตลาดต่างประเทศได้ตอนช่วงปี ค.ศ.1800  แต่เพราะเงินทองแลผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลนี้เองที่เป็นตัวการทำให้ความสัมพันธ์ของชายทั้งสองต้องขาดสะบั้น  กระทั่งในที่สุดต่างฝ่ายจึงต่างแยกย้ายไปขายน้ำอัดลมในแบรนด์ของตัวเอง  ซึ่งนาย "ชเวป" นั้นดูจะสามารถผลิตน้ำอัดลมซึ่งเป็นที่นิยมของผู้คนได้มากกว่า (เห็นได้จากน้ำอัดลมแบรนด์ "ชเวป" ของเขายังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนั่นเองครับ)

(รูปขวดบรรจุน้ำอัดลมยุคแรกๆของบริษัท "ชเวป" ครับ)




**ขอแทรกนิดหน่อย**

สำหรับเพื่อนสมาชิกท่านใดก็ตามที่มีอายุอานามเลยย่ายหลักสี่ไปแล้วคงจะจำได้ว่าในเมืองไทยสมัยก่อนก็เคยมีน้ำมะนาวโซดาที่ได้รับความนิยมอยู่เหมือนกัน  ซึ่งน้ำแบบนี้จะมาพร้อมเอกลักษณ์คือขวดที่มีฝาปิดเป็นลูกแก้วสีสดใส  โดยน้ำอัดลมที่ใส่ขวดลูกแก้วแบบนี้คนไทยในสมัยก่อนเขาจะเรียกว่า "น้ำมะเหน็ด" ครับ(เพี้ยนมาจากชื่อน้ำคือ "Lemonade")  โดยมันจะเป็นน้ำอัดลมรสมะนาวซึ่งเวลาดื่มจะต้องกระแทกตัวลูกแก้วกลมๆลงไปในร่องของขวดก่อน  ซึ่งลูกแก้วนี้มีไว้เพื่อกันก๊าซที่อัดไว้ในด้านในเล็ดรอดออกมาจนน้ำในขวดเสียรสชาติไปครับ

(รูปขวดชนิดนี้ซึ่งภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Codd Bottle" โดยมาจากชื่อของคนที่คินค้นก็คือนาย "Hiram Codd" นั่นเองครับ)




     โดยวิธีบรรจุขวดแบบนี้ค่อนข้างวุ่นวายครับเพราะมันต้องอาศัยหลักการของแรงดันอากาศเวลาใส่น้ำเข้าไปเพื่อให้ลูกแก้วสามารถล็อคติดกับยางที่ขอควดได้(เหมือนในภาพ)  พอเวลาเราจะกินก็เปิดฝาแล้วเอานิ้วกระแทกลูกแก้วลงไปซึ่งมันจะมีร่องซึ่งทางผู้ผลิตเขาทำเอาไว้กันลูกแก้วไหลย้อนมาปิดทางออกของน้ำครับ  แต่ด้วยขั้นตอนอันวุ่นวายบวกกับการที่กรรมวิธีในการผนึกขวดน้ำอัดลมได้ถูกพัฒนาไปมากแล้ว  ปัจจุบันน้ำอัดลมที่บรรจุขวดแบบนี้จึงมีเหลืออยู่น้อยเต็มทนแล้วครับ

(รูปขวดของน้ำมะเหน็ดที่ยังมีการผลิตและวางจำหน่ายในญี่ปุ่นครับ)




     ตอนนี้ขอพักเรื่องของโซดาในเกาะอังกฤษไว้ก่อนแล้วมองมายังแผ่นดินอเมริกาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำอัดลมโคล่าอันลือชื่อบ้างครับ  โดยต้นกำเนิดของโคล่าในมะริกันนั้นต้องกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งคือ "นายเบนจามิน ซิลลิแมน"  ซึ่งเขาเป็นนักเคมีที่ออกเดินทางไปยังเกาะอังกฤษเพื่อค้นคว้าหาตำรับตำราแลอุปกรณ์ซึ่งจำเป็นต่อการเรียนการสอนใน "มหาวิทยาลัยเยล" ที่เขาเป็นอาจารย์อยู่  โดยที่อังกฤษนี้นาย "เบนจามิน" พบว่าผู้คนส่วนมากล้วนชอบดื่มน้ำอัดลมยี่ห้อ "ชเวป" กัน อย่างเป็นล่ำเป็นสัน  นายเบนจามินเลยนำวิธีผลิตน้ำโซดารสหวานนั้นกลับมาทำที่อเมริกาจนพัฒนากลายเป็นกิจการที่ทำกำไรให้แก่เขาได้จำนวนหนึ่ง

     กระทั่งในที่สุดธุรกิจผลิตโซดานี้ก็เริ่มแผ่ขยายไปทั่วอเมริกาอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  แต่ชาวอเมริกันส่วนมากในยุคนั้นก็ยังมองว่าโซดาเป็นเพียงยาแขนงหนึ่งที่ใช้รักษาโรคเล็กๆน้อยๆเท่านั้น  ทำให้ในยุคแรกๆชาวอเมริกันจึงมักจะสามารถหาซื้อ "น้ำโซดา" ได้ตามร้านขายยาต่างๆ  จนกระทั่งได้มีหนุ่มหัวเสนาม "โจเซฟ ฮอกกินส์" ผลิตอุปกรณ์ซึ่งมีชื่อว่า "น้ำพุโซดา" ขึ้นมา(Fountain Soda)  โดยใช้หลักการให้น้ำโซดาในถังเก็บไหลผ่านท่อเหล็กมายังก๊อกจนเป็นต้นกำเนิดของเครื่องกดน้ำอัดลมอัตโนมัติในสมัยนี้นั่นเองครับ

(รูป "เครื่องน้ำพุโซดา" ในช่วงประมาณปี1890ครับ)




     แลเมื่อมีการคิดค้นเครื่องน้ำพุโซดาออกมาธุรกิจการบรรจุโซดาใส่ขวดก็เริ่มซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด  เพราะผู้คนมักจะออกไปซื้อหาโซดาใส่แก้วเย็นเจี๊ยบจากเครื่องพวกนี้ตามร้านขายยามากกว่านั่นเองครับ  จนกระทั่งช่วงปลายคริสตศตวรรษที่19ซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมกำลังรุ่งเรืองแลเครื่องจักรไอน้ำก็กำลังเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศใหญ่ๆ  "นายจอห์น แมททิวส์" ชาวมะริกันจึงได้ประดิษฐ์เครื่องผลิตโซดาบรรจุขวดซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่การเติมน้ำ อัดก๊าซ ใส่รสชาติ ยันล้างทำความสะอาดขวดออกมา  ซึ่งเครื่องจักรของนายแมททิวส์นี้เองที่เป็นตัวเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมน้ำอัดลมบรรจุขวดอีกครั้ง  เพราะมันสามารถลดเวลาการผลิตแลจำนวนแรงงานลงไปได้มากธุรกิจการผลิตโซดาบรรจุขายในขวดจึงเริ่มกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งพร้อมๆกับการกำเนิดของน้ำโคล่านั่นเอง  

     แลจุดเริ่มต้นของการใช้โคล่ามาทำเครื่องดื่มนั้น "เจไดหนุ่ม" จะต้องขอเล่าย้อนไปในทวีปอเมริกาใต้ยุคบุกเบิกครับ  โดยในสมัยก่อนนั้นชาวอเมริกาใต้เช่นเผ่า "อินคา" รึ "มายัน" นั้นได้มีการรู้จักแลเพาะปลูกพืชที่ชื่อว่า "โคคา" มานมนานแล้ว  โดยใบของต้นโคคานั้นจะมี "สารอัคคาลอยด์" ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีในชื่อของ "โคเคน" ที่มีฤทธิ์ไปกระตุ้นการทำงานของประสาทได้อย่างดีทำให้ "ใบโคคา" จึงมักถูกนำไปใช้ทำยากระตุ้นแลรักษาอาการเหนื่อยล้า  จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่19ก็ได้มีการสกัดสารเสพย์ติดโคเคนออกมาจากใบโคคาได้สำเร็จแลใช้เป็นยารักษาอาการป่วยบางโรค  โดยคนสมัยนั้นเองก็ยังไม่รู้ซึ้งว่าความจริงแล้วโคเคนก็ไม่ต่างกับ "ฝิ่น" ซึ่งเป็นสารเสพย์ติดอันตรายซึ่งมีการปลูกในประเทศจีนเลยนั่นเอง

(รูปของเครื่องผลิตโซดาบรรจุขวดฝีมือ "นายจอห์น แมททิวส์" ครับ)




     แลเพราะความวิเศษของเจ้าต้นโคคานี่เองจึงทำให้มีเภสัชกรจากเมืองแอตแลนต้าชื่อนาย "จอห์น เพมเบอร์ตัน" ซึ่งก็มีความคิดเหมือนหมอคนอื่นๆในยุคนั้นที่ได้ทดลองนำใบแลสารสกัดจากต้นโคคาไปทำยารักษาโรคแขนงต่างๆ  แล้วเรื่องบังเอิญที่จะต้องถูกจารึกในประวัติศาสตร์วงการน้ำอัดลมของโลกก็บังเกิดแก่เขาในช่วงปีค.ศ.1886  เมื่อนาย "เพมเบอร์ตัน" รู้สึกปวดหัวมากจึงได้อาศัยประสบการณ์ของเภสัชกรนำตัวยาหลายขนานรวมทั้ง "ใบโคคา" มาปรุงรวมกันจนกลายเป็นของเหลวข้นหนืดสีน้ำตาลเข้ม  ก่อนที่จะมีการนำยาตำรับนี้ไปผสมกับน้ำโซดาในภายหลังจนกลายเป็นเครื่องดื่มโคล่าอย่างที่เราๆท่านๆรู้จักกันในทุกวันนี้นั่นเองครับ

** สูตรในการทำหัวเชื้อของน้ำอัดลมโคคา-โคล่านั้นถูกปิดเป็นความลับมาตลอดเวลา  แม้กระทั่งในยุคปัจจุบันคนที่รู้ก็จะมีเพียงผู้บริหารแลนักวิจัยระดับสูงของบริษัทเท่านั้น**

     แต่ก็มิใช่ว่าความสำเร็จจะมาเยือนนาย "เพมเบอร์ตัน" เสียทีเดียวเมื่อโคล่าในยุคแรกยังมีรสประหลาดๆคล้ายยาแลต้องใช้ "แอลกออลล์" เป็นส่วนผสมจนถูกต่อต้านจากทางการ  ทำให้นายเพมเบอร์ตันต้องปรับปรุงสูตรอีกครั้งโดยตัดแอลกอฮอลล์ทิ้ง ลดโคเคน แลเพิ่มความหวานเข้าไปก่อนจะตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า "โคคา-โคล่า" ตามส่วนผสมที่ใช้ทำแลเริ่มออกวางขายให้ผู้คนทั่วไปได้ลิ้มลอง  นอกจากนี้เขายังว่าจ้างให้นาย "แฟรงค์ โรบินสัน" หุ้นส่วนของต
ความคิดเห็นที่ 9
***

    แลจากยุค80'มาจนถึงสมัยปัจจุบันดูเหมือนว่า "สงครามโคล่า" ของบริษัทสองยักษ์ใหญ่นั้นยังไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้นลงง่ายๆ  โดยในช่วงนี้เองที่โคล่าได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องรสชาติ ผลิตภัณฑ์ แลภาพลักษณ์ออกมาสู่สายตาของผู้บริโภคอย่างมากมายหลายหลาก  ซึ่งเมื่อเราเหลียวมองย้อนกลับไปในสมัยที่ "โจเซฟ พริสลี่ย์" ค้นพบน้ำโซดาแล "โรเบิร์ต แพมเบอร์ตั้น" คิดค้นเครื่องดื่มโคล่าตัวแรกของโลกขึ้นมาเป็นผลสำเร็จนั้น  

     คงไม่มีใครคิดว่ามันจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของมนุษยชาติอย่างมากมายหลายต่อหลายครั้ง  จนกลายเป็นบ่อเกิดของเครื่องดื่มซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนทั่วโลก  แลแปรสภาพเป็นสัญลักษณ์อันเอกอุของประเทศยักษ์ใหญ่มหาอำนาจอย่างที่เราๆท่านๆได้ประสบพบเจอกันอย่างในทุกวันนี้  แลตราบใดที่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติยังคงวนเวียนเป็นกงล้อวัฏจักรต่อไปอย่างไม่จบสิ้น  ผมเชื่อว่าตราบนั้นประวัติศาสตร์ของเครื่องดื่มโคล่าก็จะเดินเคียงคู่เราไปจวบจนสิ้นยุคของมนุษย์ชาติเช่นกันครับ...

...สวัสดี...

(May the Spoil be with you)
ขอสปอยล์จงสถิตย์อยู่กับท่าน

ความคิดเห็นที่ 4
**ขอลองใหม่อีกรอบนะครับ เซ็งเลยเสียเวลาไปครึ่งชั่วโมง  ถ้าทางเว็บจำกัดจำนนตัวอักษรต่อ1โพสท์  ก็น่าจะขึ้นข้อความเตือนด้วยนะครับ  นี่ผมต้องมาเสียเวลาจัดข้อความรูปและคลิปใหม่เลย**

     แต่ก็มิใช่ว่าความสำเร็จจะมาเยือนนายเพมเบอร์ตันเสียทีเดียวเมื่อโคล่าในยุคแรกยังมีรสประหลาดๆคล้ายยาแลต้องใช้ "แอลกออลล์" เป็นส่วนผสมจนถูกต่อต้านจากทางการ  ทำให้นายเพมเบอร์ตันต้องปรับปรุงสูตรอีกครั้งโดยตัดแอลกอฮอลล์ทิ้ง ลดโคเคน แลเพิ่มความหวานเข้าไปก่อนจะตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า "โคคา-โคล่า" ตามส่วนผสมที่ใช้ทำแลเริ่มออกวางขายให้ผู้คนทั่วไปได้ลิ้มลอง  

     นอกจากนี้เขายังว่าจ้างให้นาย "แฟรงค์ โรบินสัน" หุ้นส่วนของตนให้โหมกระหน่ำโฆษณาในสื่อต่างๆรวมทั้งสร้างตัวอักษร "โคคา-โคล่า" อันเป็นที่จดจำง่าย  ซึ่งต่อมาตัวอักษรที่ออกแบบโดยนายโรบินสันนั้นจะเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ที่จะใช้อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ทว่าแม้หนทางข้างหน้าจะดูสดใสแต่ผู้ที่สามารถคว้าชิ้นปลามันของธุรกิจ "โคคา-โคล่า" ไปครองจากมือ "นายเพมเบอร์ตั้น" นั้นกลับเป็นบุคคลอีกนายหนึ่งแทนครับ

(รูปภาพนาย "จอห์น เพมเบอร์ตัน" บิดาของน้ำอัดลม "โคคา-โคล่า" หรือ "โค้ก" ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง)




     ตอนนี้ความร่ำรวยดูเหมือนจะมาเยือนนายแพมเบอร์ตันอย่างรวดเร็วเพราะเขาสามารถขายน้ำโคล่าจำนวนมากให้แก่ร้านขายยาต่างๆทั่วเมืองแอตแลนต้าที่ตนเองอาศัยอยู่  โคล่าแลเครื่องน้ำพุโซดาจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในภาพลักษณ์ของร้านขายยายุคนั้นที่ผู้คนทั่วไปคุ้นตากันแล้วทว่าเค้าลางแห่งความวุ่นวายก็ตามมาเมื่อลิขสิทธิ์ในการผลิตโคล่าได้ถูกขายต่อไปให้นักธุรกิจจำนวนหลายต่อหลายคน  ทั้งนี้เป็นเพราะนาย "เพมเบอร์ตั้น" ต้องการหาเงินมารักษาโรคมะเร็งที่ตนเองเป็นอยู่  จนลิขสิทธิ์นี้มาถึงมือของนาย "อาซา คันเลอด์" ซึ่งซื้อมันมาด้วยเงิน 2,300 ดอลลาร์จนกระทั่งนายเพมเบอร์ตันเสียชีวิตลงในเดือนสิงหาคมปี1888  นาย "อาซา คันเลอด์" จึงกลายเป็นผู้ผูกขาดการผลิตน้ำดำยี่ห้อโคคา-โคล่าแต่เพียงเจ้าเดียวในอเมริกาแทนครับ

    ซึ่งแม้ช่วงแรกคันเลอด์จะสามารถขายโคล่าได้มากแค่ไหนแต่เขาเองก็ยังเป็นแค่เภสัชกรครับ  ดังนั้นการวางจำหน่ายโคล่าของเขาจึงมีเพียงแค่การผลิตหัวเชื้อจากโรงงานแล้วส่งไปขายตามร้านยาต่างๆเพื่อเอาไปใส่ในเครื่องน้ำพุโซดาทำให้ธุรกิจโคล่านี้ได้แผ่ขยายแตกกระจายออกไปยังหลายๆมลรัฐทั่วอเมริกา  กระทั่งในปีค.ศ.1899ได้มีนักธุรกิจหัวเส2คนซึ่งกำลังจะกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีในอนาคตข้างหน้าก็คือ "นายเบนจามิน โทมัส"กับ "นายโจเซฟ ไวต์เฮด" มาขอคันเลอด์ว่า "เราสองคนอยากจะเอาโคล่านี่ไปบรรจุขวดขายจะได้ไหม?"  ซึ่งนับเป็นความผิดพลาดเมื่อคันเลอด์เองกลับมองการณ์ใกล้ๆไม่ต่างจากเจ้าของผู้บุกเบิก "ร้านอาหารแมคโดนัลด์" เลยตอบไปแบบลอยๆประมาณว่า "เอ็งอยากจะเอาไปบรรจุขวดบรรจุหม้อบรรจุปิ๊ปอะไรวางขายก็ช่างเถอะ  อั๊วไม่สนใจอยู่แล้ว"  นั่นก็เพราะในตอนนั้นคันเลอด์เชื่อว่าต่อให้2คนนี้นี่ขายดียังไงแต่หัวเชื้อน้ำโคล่าที่ใช้ก็ต้องสั่งจากเขาเท่านั้น  ดังนั้น2นักธุรกิจหัวเสจึงสามารถนำโคล่ามาใส่ขวดขายในชื่อ "โคคา-โคล่า" ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์อะไรให้คันเลอด์เลยซักแดงเดียว

(รูปขวดโคคา-โคล่าในยุคแรกๆที่มีการออกวางจำหน่ายครับ)


ความคิดเห็นที่ 6
***

     แม้สงครามจะดำเนินไปอย่างดุเดือดโคค่า-โคล่าจำนวนมากก็ยังถูกผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่กองทัพอย่างเต็มที่  แลเมื่อกองทัพมะริกันสามารถเข้าควบคุมแลปลดปล่อยฝรั่งเศสรวมถึงประเทศในแถบที่ราบต่ำได้  เวลานี้ชาวยุโรปจำนวนมากต่างก็ได้ลิ้มรสของเครื่องดื่มอันสุดแสนจะวิเศษ  นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่โคคา-โคล่าได้เข้าไปทำตลาดในประเทศแถวยุโรปจนเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนในเวลาต่อมา  กระทั่งเยอรมันแลญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรในปี ค.ศ.1945  ทหารจี.ไอ.จำนวนมากได้พกพาชัยชนะกลับสู่แผ่นดินบ้านเกิดของตัวเอง  

     แต่ทว่าจาการที่อเมริกาได้ทิ้งกองกำลังทหารไว้เพื่อควบคุมดูแลกรุงเบอร์ลินแลยุโรป  นั่นจึงทำให้สายการผลิตแลจัดส่งโคล่าในยุโรปไม่ได้ขาดตอนไปด้วย  จนนำไปสู่การตั้งโรงงานแลวางขายโคคาโคล่ากันอย่างจริงจังนั่นเองครับ  ทว่าเมื่อสงครามเย็นระหว่างอเมริกาแลโซเวียตเริ่มระอุ "โคล่า" ก็เริ่มถูกแบนในประเทศคอมมิวนิสต์  เพราะชาวค้อนเคียวจะถือกันว่า "โคล่า" เป็นสินค้าตัวแทนของพวกทุนนิยมอเมริกันครับ  ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ทางบริษัทโคคา-โคล่ากำลังเตรียมจะผลิต "โคล่าไร้สี" ซึ่งมีรูปลักษณ์เหมือน "เหล้าว๊อดก้า" ของชาวรัสเซียไปส่งขายอยู่ทีเดียวเชียว  แต่เพราะความขัดแย้งดังกล่าวโครงการนี้จึงต้องล้มเลิกไปอย่างน่าเสียดาย

(รูปอันโด่งดังที่ประธานาธิบดี "นิกิต้า ครุสชอฟ" แห่งโซเวียตกับรองประธานาธิบดี "ริชาร์ด นิกสัน" กำลังดื่มโคล่ายี่ห้อ "เป็ปซี่" ที่ซุ้มในงานมหกรรมสินค้ากลางกรุงมอสโคว์เมื่อปีค.ศ.1959ครับ)




     เมื่อเวลาดำเนินผ่านไปพร้อมๆกับที่สงครามเย็นเริ่มครุกกรุ่น  บัดนี้ดูจะเป็นที่แน่นอนเสียแล้วว่าโคล่าของบริษัท "โคคา-โคล่า" แลคู่แข่งเจ้าอื่นๆกำลังเสียสิทธิ์ในการจะผันตัวเองเข้าไปเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของชาวค้อนเคียวคอมมิวนิสต์  เพราะเนื่องมาจากคำสั่งห้ามของบรรดาสหายท่านผู้นำที่ทำให้ภาพของโคล่ามะริกันกลายเป็นสิ่งต้องห้าม  โดยในดินแดนโซเวียตสมัยนั้นการจะหาซื้อโคคา-โคล่าซักขวดดูจะเป็นเรื่องที่ยากแลวุ่นวายมากกว่าการงมเข็มในมหาสมุทรเสียอีกครับ  เนื่องจากโคล่าจำนวนน้อยนิดนั้นล้วนมีขายอยู่ในร้านค้าซึ่งจำหน่ายสินค้าของฝั่งประเทศโลกเสรี  แถมไม่ต้องมาพูดเรื่องราคาเนื่องจากสินค้าแต่ละตัวในร้านจำพวกนี้ล้วนแพงระยับจนคนธรรมดาทั่วไปไม่อาจเอื้อม  จะมีก็เพียงสมาชิกระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์แลผู้มีเงินถุงเงินถังเท่านั้นที่มีสิทธิ์ซื้อสินค้าดังกล่าวมาใช้  

     แม้ว่าชาวคอมมิวนิสต์พากันแบนโคล่าของฝั่งอเมริกาแต่มีรึว่าโคล่าจะหยุดการเติบโตไปด้วยเพราะด้วยปณิธานที่ว่า "ในเมื่อขายที่นี่ไม่ได้ก็ไปขายมันที่อื่นซะสิ"  โคล่าจึงได้แพร่กระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆในประเทศโลกเสรีทั้งเอเซียตะวันออก แอฟริกา อเมริกาใต้  ตะวันออกกลางจนเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนที่ต้องการแสวงหาความสดชื่นในราคาย่อมเยา  ส่วนในประเทศไทยเองนั้นโคล่าเจ้าแรกๆที่มีการนำเข้ามาขายอย่างเป็นทางการก็คือ "โค้ก"  ซึ่งมาถึงประมาณปีพ.ศ. 2492 พร้อมๆกับพวกทหารจี.ไอ.อเมริกาที่เข้ามาตั้งฐาน ทัพในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง (เป็นเวลาประมาณ60ปีมาแล้วซึ่งเวลานั้นเป็นช่วงก่อนสงครามเกาหลีนิดเดียวครับ)

(รูปใบโฆษณาของโคคา-โคล่าในประเทศไทยยุคแรกๆ)




     ทว่าเรื่องตลกร้ายอย่างนึงก็บังเกิดกับโคล่าของสองผู้ผลิตยักษ์ใหญ่  นั่นก็คือสงครามระหว่างชาวอิสราเอลกับบรรดาประเทศอาหรับซึ่งปะทุขึ้นอย่างรุนแรงครับ  โดยฝ่ายอาหรับนั้นมี "อียิปต์" ซึ่งตอนนี้เป็นเอกราชจากอังกฤษแล้วเป็นหัวหอก  โดยฝ่ายอาหรับจำนวนมากล้วนได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจากฝั่งโซเวียต  ขณะที่อิสราเอลนั้นได้รับการสนับสนุนด้านกำลังอาวุธยุทธภัณท์จากพวกมะริกันแลบางประเทศในยุโรปครับ  ซึ่งในเวลานั้นโคล่าของ "โคคา-โคล่า"ร้องไห้โค้ก) เองได้มีการวางจำหน่ายในดินแดนตะวันออกกลางของชาวอาหรับมาเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว  

     แต่เมื่อเกิดสงครามขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษที่ 60' ทำให้ชาวอาหรับลูกค้าคนสำคัญของ "โคคา-โคล่า" ต่างเริ่มพากันบอยค็อตโคล่าครับ  สาเหตุก็มาจากการที่บริษัทเตรียมจะเข้าไปจำหน่ายหัวเชื้อให้แก่โรงงานบรรจุใน "อิสราเอล" ซึ่งเป็นศัตรูของพวกอาหรับ  โดยการรบของสงครามครั้งนั้นผลไปจบลงที่อิสราเอลสามารถตีโต้พวกอาหรับแลยึดพื้นที่ในแหลมไซนายจวบจนไปสุดที่คลองสุเอชซึ่งแต่เดิมเป็นของชาวอียิปต์ได้ (เหตุการณ์นี้จะเป็นชนวนนำไปสู่ "สงครามยมคิปปูร์" ในเวลาต่อมาซึ่งอิสราเอลต้องเจ็บหนักที่สุดตั้งแต่รบกับอาหรับมา)

    ส่วนสงครามน้ำอัดลมนั้นไปสิ้นสุดเมื่อ "โคคา-โคล่า" ตัดสินใจยกเลิกการจำหน่ายสินค้าของตนแก่ประเทศแถบอาหรับเพื่อรักษาลูกค้าชาวยิวจำนวนมากในดินแดนมะริกัน (โค้กกลับมาทำตลาดในแถบนี้อีกครั้งช่วงทศวรรษที่80จนถึงปัจจุบันครับ)  ซึ่งในห้วงเวลานั้นทำให้ "เป๊ปซี่" มีโอกาสเข้าไปสร้างแบรนด์ของตนจนกลายเป็น "โคล่า" ยอดนิยมของชาวอาหรับแทน "โค้ก" ไปโดยปริยายครับ

(รูปขวดโค้กที่มีการวางจำหน่ายอยู่ใน "อิสราเอล" ยุคปัจจุบันครับ)


ความคิดเห็นที่ 8
***

     จวบจนกระทั่งยุค70'เริ่มขึ้นพร้อมๆกับการพ่ายแพ้สงครามในเวียดนามของยักษ์ใหญ่อเมริกาจนสร้างความตื่นตระหนกให้แก่บรรดาประเทศเสรีทั่วโลก (ยกเว้นโซเวียตและพลพรรคคอมมิวนิสต์ที่นั่งขำแลยิ้มร่าจนฟันแทบหลุด)  ทว่าแม้อเมริกาจะแพ้แต่โคล่าก็ไม่ได้แพ้ครับเพราะในยุคนี้ "สื่อทีวี" ได้มีอิทธิพลมากขึ้นกว่าทุกคราจนสามรถสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่ๆมากมาย  ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นผลจากการที่ราคาของทีวีรุ่นต่างๆนั้นถูกลงจนประชาชนคนมะริกันต่างมีทีวีไว้ติดบ้านกันแทบทุกครัวเรือน  

     นั่นจึงมาถึงยุคของ "สงครามโฆษณา" ที่โคล่าของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็คิดค้นกลเม็ดเด็ดพรายในการเรียกลูกค้ามาบลัฟใส่กันอย่างสุดฝีมือ  เพราะนอกจากจะต้องเผชิญกับโคล่าของคู่แข่งแล้วยังต้องมาเจอกับเครื่องดื่มชนิดอื่นทั้ง ชา กาแฟ น้ำหวาน หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มชูกำลังซึ่งกำลังเริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเช่นกัน  จนโคล่าของสองยักษ์ใหญ่ได้มีการใช้ดาราแลศิลปินที่ประชาชนชื่นชอบมาเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้าของตนเองเรื่อยมาอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันครับ

โฆษณาของโคคา-โคล่าที่ออกฉายในช่วงยุค80'ครับ









   ซึ่งทริคในการใช้พรีเซ็นเตอร์เป็นคนดังนั้นดูท่าโคล่าของบริษัทเป๊ปซี่จะ เดินเกมส์ได้เก่งกว่าโค้กอยู่หลายเท่าตัว  จะเห็นได้จากการที่ในยุค80'-90'เป๊ปซี่ได้ปรับแบรนด์สินค้าของตนเองให้กลายเป็นเครื่องดื่มของคนยุคใหม่ภายใต้สโลแกน "New Generation"  จึงทำให้ยอดขายของทั้งเป๊ปซี่แลโค้กสูสีคู่คี่กันมาติดๆ  แต่แล้วบริษัทโคคาโคล่าก็ทำผิดพลาดครั้งใหญ่หลวงในช่วงกลางยุคทศวรรษ80'เมื่อมีการผลิตโค้กรสชาติใหม่ออกมา  โดยนักวิจัยแลผู้บริหารของบริษัทนั้นหมายมั่นปั้นมือว่าโค้กรสชาติใหม่นี้จะสามารถมาแทนที่โค้กรสชาติเดิมๆที่วางขายกันมาหลายสิบปีได้  

(นี่คือคลิปโฆษณาในตำนานของพรีเซ็นเตอร์เป๊ปซี่รายนึงที่ทุกท่านน่าจะรู้จักกันดี  ซึ่งในยุคหนึ่งนั้นถือกันว่าบุคคลในคลิปดังกล่าวนี้อาจจะเป็นผู้ที่สามารถทำรายได้ให้แก่เป๊ปซี่อย่างมากมายเป็นกอบเป็นกำที่สุดคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ)





   ทว่าเมื่อตัวสินค้าวางตลาดออกไปจริงๆเสียงบ่นจากผู้บริโภคก็ดังระงมไปทั่ว ถึงความไม่ถูกปาก  นั่นก็เพราะผู้คนจำนวนมากต่างคุ้นเคยในรสชาติของโค้กรสดั้งเดิมไปแล้ว  ดังนั้นการจะมาเปลี่ยนรสชาติไปดื้อๆแบบนี้จึงมีแต่ผลเสียกับเสีย  ซึ่งผลของความผิดพลาดครั้งนั้นคือโคคาโคล่าต้องขาดทุนมหาศาลกับการผลิต "โค้กรสชาติใหม่" ซึ่งทำยอดขายขาดทุนบานเบอะจนต้องนำสินค้าบางส่วนไปโยนทิ้ง  แลหวนกลับมาผลิตโค้กรสชาติเก่าโดยได้นำคำว่า "Classic" มาต่อท้ายเพื่อตอกย้ำถึงรสชาติแบบดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ซึ่งผู้คนทั่ว ไปชื่นชอบนั่นเองครับ

(รูปของ "นิวโค้ก" ที่ออกวางขายตอนช่วงปี ค.ศ. 1985 ครับ  สังเกตุว่าตัวอักษรโคคาโคล่าแบบเดิมนั้นถูกดีไซน์ใหม่แลเปลี่ยนเป็นคำว่าโค้ก  ส่วนด้านขวาคือ "โค้ก" รสดั้งเดิมที่ออกวางขายใหม่หลังจากนิวโค้กเจ๊งไม่เป็นท่า  จนโคคาโคล่าต้องเอาคำว่า "Classic" มาต่อท้ายเพื่อบอกผู้บริโภคว่า "โค้กรสดั้งเดิมกลับมาแล้วนะ"



(คลิปโฆษณาของ "เป็ปซี่" ที่ทำออกมาเกทับ "โค้ก"ครับ  โดยในปีค.ศ.1985นั้นเมื่อ "นิวโค้ก" เริ่มไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคแลออกแววเจ๊งไม่เป็นท่า  เป๊ปซี่เลยรีบฉวยโอกาสเอาโฆษณาตัวนี้ออกฉายกระหน่ำทางทีวีเลยครับ  ซึ่งดูแล้วเป็นการจิกกัดได้แสบสันต์พอสมควรเลย)


"They change my Coke"



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่