ในชัปปสูตร ตรัสว่าให้ "ทานโดยตั้งใจเป็นกุศล" อย่างไรก็เป็นบุญแน่ ๆ แม้กระทั่งล้างภาชนะหวังเป็นทานแก่สัตว์ในน้ำครำ จะป่วยการกล่าวอะไรการให้ทานมนุษย์
ในกัญจิสังขารสูตร (แปลฉบับมหาจุฬาฯ เรียก ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร) ตรัสว่า ผู้ถึงพร้อมสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญ (บาลี: ทกฺขิเณยฺยฐ) ภายนอกศาสนานี้
ข้อถาม
1. การทำทานแก่คนหรือองค์กรการกุศลในศาสนาอื่น "เข้าข่าย" เป็นการแสวงหาทักขิณานอกศาสนาพุทธหรือไม่
2. ถ้าเข้าข่าย ถือว่าพระสูตรสองพระสูตรนี้ มีความขัดแย้งกันเองได้หรือไม่ เพราะโดยกัญจิสังขารสูตร อริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปไม่สามารถให้ทานแก่คนหรือองค์กรการกุศลต่างศาสนาได้ แต่โดยชัปปสูตร การให้ทานโดยตั้งใจเป็นกุศลล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น
3. ถ้าไม่เข้าข่าย สงสัยว่า ทาน, บุญ, ทักขิณา ต่างกันยังไงครับ
หมายเหตุ:
เรื่องของเรื่อง มาจากคลิปนี้ครับ
พุทธวจนสนทนา ช่วงหลังฉัน_2013-03-02 (นาทีที่ 1:44:36)
http://www.youtube.com/watch?v=LRaisTgfgGo&t=1h44m36s
ข้อมูลพระสูตรด้านล่างนำมาจากโปรแกรม www.etipitaka.com ครับ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๐
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๒
องฺคุตฺตรนิกายสฺส เอก-ทุก-ติกนิปาตา
เล่มที่ 20
หน้าที่ 205
ข้อที่ 496
ชัปปสูตร
เย เต วจฺฉ เอวมาหํสุ สมโณ โคตโม เอวมาห มยฺหเมว
ทานํ ทาตพฺพํ ฯเปฯ นาญฺเญสํ สาวกานํ ทินฺนํ มหปฺผลนฺติ
น เม เต วุตฺตวาทิโน อพฺภาจิกฺขนฺติ จ ปน มํ เต อสตา
อภูเตน โย โข วจฺฉ ปรํ ทานํ ททนฺตํ วาเรติ โส ติณฺณํ
อนุตรายกโร โหติ ติณฺณํ ปาริปนฺถิโก กตเมสํ ติณฺณํ ทายกสุส
ปุญฺญนฺตรายกโร โหติ ปฏิคฺคาหกานํ ลาภนฺตรายกโร โหติ ปุพฺเพว
โข ปนสฺส อตฺตา ขโต จ โหติ อุปหโต จ โย โข วจฺฉ
ปรํ ทานํ ททนฺตํ วาเรติ โส อิเมสํ ติณฺณํ อนฺตรายกโร โหติ
ติณฺณํ ปาริปนฺถิโก ฯ อหํ โข ปน วจฺฉ เอวํ วทามิ เยปิ เต
จนฺทนิกาย วา โอลิคฺคลฺเล วา ปาณา ตตฺรปิ โย ถาลิโธวนํ วา
สราวโธวนํ วา ฉฑฺเฑติ เย ตตฺถ ปาณา เต เตน ๑ ยาเปนฺตูติ
ตโตนิทานํ อหํ วจฺฉ ปุญฺญสฺส อาคมํ วทามิ โก ปน วาโท
มนุสฺสภูเต ฯ
แปลฉบับหลวง
ดูกรวัจฉะ ผู้ใดพูดว่า พระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้
ทานแก่เราคนเดียว ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ หามีผลมากไม่ ดังนี้
ผู้นั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด ทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง ดูกรวัจฉะ
ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกระทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ย่อมทำอันตรายแก่บุญ
ของทายก ๑ ย่อมทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก ๑ ตนของบุคคลนั้น ย่อมเป็น
อันถูกกำจัดและถูกทำลายก่อนทีเดียวแล ๑ ดูกรวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้
ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่างนี้
ดูกรวัจฉะ ก็เราพูดเช่นนี้ว่าผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะ หรือน้ำล้างขันไป แม้
ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้านด้วยตั้งใจว่า
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้ ดูกรวัจฉะ
เรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้างภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ จะป่วย
กล่าวไปไยถึงในสัตว์มนุษย์เล่า
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๒
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๔
องฺคุตฺตรนิกายสฺส ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา
เล่มที่ 22
หน้าที่ 489
ข้อที่ 364
ฉบับบาลี
[๓๖๔] ๙๓ ฉยิมานิ ภิกฺขเว อภพฺพฏฺฐานานิ กตมานิ ฉ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล กฐฺจิ สงฺขารฐ นิจฺจโต อุปคนฺตุฐ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล กฐฺจิ สงฺขารฐ สุขโต อุปคนฺตุฐ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล กฐฺจิ ธมฺมฐ อตฺตโต อุปคนฺตุฐ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล อนนฺตริยกมฺมฐ กาตุฐ อภพฺโพ ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน
ปุคฺคโล โกตุหลมงฺคเลน สุทฺธึ ปจฺจาคนฺตุฐ อภพฺโพ ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน
ปุคฺคโล อิโต พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยฐ คเวสิตุฐ อิมานิ โข ภิกฺขเว ฉ
อภพฺพฏฺฐานานีติ ฯ
แปลไทยฉบับหลวง
๙. กัญจิสังขารสูตร
[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ
โดยความเป็นอัตตา ๑เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือความ
บริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ
แปลไทยฉบับมหาจุฬาฯ
๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๒
{๓๖๔}[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นของเที่ยง
๒. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นสุข
๓. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือธรรมว่าเป็นอัตตา
๔. เป็นผู้ไม่อาจทำอนันตริยกรรม๓
๕. เป็นผู้ไม่อาจเชื่อความบริสุทธิ์โดยถือมงคลตื่นข่าว๔
๖. เป็นผู้ไม่อาจแสวงหาเขตบุญนอกศาสนานี้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ทุติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๙ จบ
แปลไทยฉบับมหามกุฎฯ
๙. กัญจิสังขารสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ
[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
ยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขาร
ไร ๆ โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไร ๆ โดยความ
เป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
เชื่อถือความบริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญ
ภายนอกศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ
นี้แล.
อริยบุคคลให้ทานแก่บุคคลหรือองค์กรการกุศลต่างศาสนา ได้หรือไม่? ทาน, บุญ, ทักขิณา ต่างกันอย่างไร?
ในกัญจิสังขารสูตร (แปลฉบับมหาจุฬาฯ เรียก ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร) ตรัสว่า ผู้ถึงพร้อมสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญ (บาลี: ทกฺขิเณยฺยฐ) ภายนอกศาสนานี้
ข้อถาม
1. การทำทานแก่คนหรือองค์กรการกุศลในศาสนาอื่น "เข้าข่าย" เป็นการแสวงหาทักขิณานอกศาสนาพุทธหรือไม่
2. ถ้าเข้าข่าย ถือว่าพระสูตรสองพระสูตรนี้ มีความขัดแย้งกันเองได้หรือไม่ เพราะโดยกัญจิสังขารสูตร อริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปไม่สามารถให้ทานแก่คนหรือองค์กรการกุศลต่างศาสนาได้ แต่โดยชัปปสูตร การให้ทานโดยตั้งใจเป็นกุศลล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น
3. ถ้าไม่เข้าข่าย สงสัยว่า ทาน, บุญ, ทักขิณา ต่างกันยังไงครับ
หมายเหตุ:
เรื่องของเรื่อง มาจากคลิปนี้ครับ
พุทธวจนสนทนา ช่วงหลังฉัน_2013-03-02 (นาทีที่ 1:44:36)
http://www.youtube.com/watch?v=LRaisTgfgGo&t=1h44m36s
ข้อมูลพระสูตรด้านล่างนำมาจากโปรแกรม www.etipitaka.com ครับ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๐
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๒
องฺคุตฺตรนิกายสฺส เอก-ทุก-ติกนิปาตา
เล่มที่ 20
หน้าที่ 205
ข้อที่ 496
ชัปปสูตร
เย เต วจฺฉ เอวมาหํสุ สมโณ โคตโม เอวมาห มยฺหเมว
ทานํ ทาตพฺพํ ฯเปฯ นาญฺเญสํ สาวกานํ ทินฺนํ มหปฺผลนฺติ
น เม เต วุตฺตวาทิโน อพฺภาจิกฺขนฺติ จ ปน มํ เต อสตา
อภูเตน โย โข วจฺฉ ปรํ ทานํ ททนฺตํ วาเรติ โส ติณฺณํ
อนุตรายกโร โหติ ติณฺณํ ปาริปนฺถิโก กตเมสํ ติณฺณํ ทายกสุส
ปุญฺญนฺตรายกโร โหติ ปฏิคฺคาหกานํ ลาภนฺตรายกโร โหติ ปุพฺเพว
โข ปนสฺส อตฺตา ขโต จ โหติ อุปหโต จ โย โข วจฺฉ
ปรํ ทานํ ททนฺตํ วาเรติ โส อิเมสํ ติณฺณํ อนฺตรายกโร โหติ
ติณฺณํ ปาริปนฺถิโก ฯ อหํ โข ปน วจฺฉ เอวํ วทามิ เยปิ เต
จนฺทนิกาย วา โอลิคฺคลฺเล วา ปาณา ตตฺรปิ โย ถาลิโธวนํ วา
สราวโธวนํ วา ฉฑฺเฑติ เย ตตฺถ ปาณา เต เตน ๑ ยาเปนฺตูติ
ตโตนิทานํ อหํ วจฺฉ ปุญฺญสฺส อาคมํ วทามิ โก ปน วาโท
มนุสฺสภูเต ฯ
แปลฉบับหลวง
ดูกรวัจฉะ ผู้ใดพูดว่า พระสมณโคดมตรัสว่า พึงให้
ทานแก่เราคนเดียว ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ หามีผลมากไม่ ดังนี้
ผู้นั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด ทั้งกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่ดี ไม่เป็นจริง ดูกรวัจฉะ
ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมกระทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง
เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ย่อมทำอันตรายแก่บุญ
ของทายก ๑ ย่อมทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก ๑ ตนของบุคคลนั้น ย่อมเป็น
อันถูกกำจัดและถูกทำลายก่อนทีเดียวแล ๑ ดูกรวัจฉะ ผู้ใดแลห้ามผู้อื่นซึ่งให้
ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่างนี้
ดูกรวัจฉะ ก็เราพูดเช่นนี้ว่าผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะ หรือน้ำล้างขันไป แม้
ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้านด้วยตั้งใจว่า
สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ดังนี้ ดูกรวัจฉะ
เรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้างภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ จะป่วย
กล่าวไปไยถึงในสัตว์มนุษย์เล่า
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๒
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๔
องฺคุตฺตรนิกายสฺส ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา
เล่มที่ 22
หน้าที่ 489
ข้อที่ 364
ฉบับบาลี
[๓๖๔] ๙๓ ฉยิมานิ ภิกฺขเว อภพฺพฏฺฐานานิ กตมานิ ฉ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล กฐฺจิ สงฺขารฐ นิจฺจโต อุปคนฺตุฐ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล กฐฺจิ สงฺขารฐ สุขโต อุปคนฺตุฐ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล กฐฺจิ ธมฺมฐ อตฺตโต อุปคนฺตุฐ อภพฺโพ
ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ปุคฺคโล อนนฺตริยกมฺมฐ กาตุฐ อภพฺโพ ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน
ปุคฺคโล โกตุหลมงฺคเลน สุทฺธึ ปจฺจาคนฺตุฐ อภพฺโพ ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน
ปุคฺคโล อิโต พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยฐ คเวสิตุฐ อิมานิ โข ภิกฺขเว ฉ
อภพฺพฏฺฐานานีติ ฯ
แปลไทยฉบับหลวง
๙. กัญจิสังขารสูตร
[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไรๆ
โดยความเป็นอัตตา ๑เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือความ
บริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ
แปลไทยฉบับมหาจุฬาฯ
๙. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ ๒
{๓๖๔}[๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
๑. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นของเที่ยง
๒. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นสุข
๓. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือธรรมว่าเป็นอัตตา
๔. เป็นผู้ไม่อาจทำอนันตริยกรรม๓
๕. เป็นผู้ไม่อาจเชื่อความบริสุทธิ์โดยถือมงคลตื่นข่าว๔
๖. เป็นผู้ไม่อาจแสวงหาเขตบุญนอกศาสนานี้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ ๖ ประการนี้แล
ทุติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ ๙ จบ
แปลไทยฉบับมหามกุฎฯ
๙. กัญจิสังขารสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ
[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
ยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขาร
ไร ๆ โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไร ๆ โดยความ
เป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ
เชื่อถือความบริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญ
ภายนอกศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ
นี้แล.