จากหนังสือเรื่อง "การพัฒนาจิตใจเพื่อคลายเครียด"
ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนหรือสังคมใด คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ โดยที่ความเครียดจะฟ้องออกมาทางร่างกายด้วยอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์ (distress) หงุดหงิดง่าย ว้าวุ่นใจ ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้ที่มีความเครียดสูงเป็นเวลานานจะเกิดอารมณ์เศร้าได้ง่าย ทำให้ความรับผิดชอบต่อการงาน ครอบครัวและสังคมลดลง มีโอกาสที่จะติดยาและสารเสพติดได้ง่าย เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจนต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ถึง 70 % ของการเจ็บป่วยทั้งหมด นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างขยายวงกว้างในโลกยุคที่ไร้พรมแดน ปัญหาของสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ที่เพิ่มมากขึ้นนั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจนั้นมีอยู่จริงและเป็นไปอย่างซับซ้อน มีการค้นพบความสัมพันธ์ของจิตใจ, ระบบประสาท, ระบบต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายว่าทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลา ดังเช่นการพบว่า emotional stress จะเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่เป็น duodenal ulcer มากกว่ากลุ่มคนปกติ, ผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ rhinovirus ทำให้เป็นหวัดได้ง่าย, พบมี recurrent herpes simplex ในผู้ป่วยซึมเศร้าหรือมีความเครียดในระดับรุนแรง, เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตทำให้ความต้านทานต่อเชื้อวัณโรคลดลง ทำให้เกิดอาการของวัณโรค และมีผลต่อการดำเนินโรคของผู้ป่วยด้วย ผู้ที่มีความโกรธบ่อยๆ ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคของหลอดเลือดและยังพบอีกว่าในผู้ป่วยเบาหวานชนิด NIDDM ที่มีความเครียดเรื้อรัง เซลล์ในร่างกายจะไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้การรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดไม่ค่อยได้ผล
ในทางตรงข้าม มีตัวอย่างการศึกษาเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่าการมีสภาพจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวลจะช่วยให้ผลการรักษาโรคทางกายและจิตดีขึ้น เช่น การฝึกผ่อนคลายแบบ guided imagery โดยใช้จินตนาการถึงภาพที่มีความสุขสงบ ภาพธรรมชาติช่วยลดความวิตกกังวล, หวาดกลัวการรักษาและลดการใช้ยาระงับประสาทในผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วย interventional radiology การฝึกสมาธิชนิด mindfulness meditation คือให้มีสติระลึกถึงสภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะในสภาพแวดล้อมที่สงบ ช่วยลดความวิตกกังวลและ panic attack ได้ การทำจิตบำบัดที่เน้นความเชื่อทางศาสนา (religious psychotherapy) เสริมกับการให้ยาและจิตบำบัดแบบประคับประคอง โดยให้มีการสนทนาเรื่องราวในคัมภีร์และสวดมนต์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคประสาทวิตกกังวลมีอาการดีขึ้น
การพัฒนาจิตใจเพื่อคลายเครียด
ความเครียดได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่พูดถึงกันโดยทั่วไปในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนหรือสังคมใด คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงสัญญาณที่ผิดปกติบางอย่างภายในร่างกายและจิตใจ โดยที่ความเครียดจะฟ้องออกมาทางร่างกายด้วยอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ แน่นหน้าอก โรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง ในทางจิตใจภาวะความเครียดทำให้ใจรู้สึกเป็นทุกข์ (distress) หงุดหงิดง่าย ว้าวุ่นใจ ความคิดสับสน ขาดความสามารถในการคิดและตัดสินใจอย่างรอบคอบ ผู้ที่มีความเครียดสูงเป็นเวลานานจะเกิดอารมณ์เศร้าได้ง่าย ทำให้ความรับผิดชอบต่อการงาน ครอบครัวและสังคมลดลง มีโอกาสที่จะติดยาและสารเสพติดได้ง่าย เมื่อกล่าวโดยรวมแล้ว ความเครียดนั้นมีส่วนให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจนต้องเข้ารับบริการทางการแพทย์ถึง 70 % ของการเจ็บป่วยทั้งหมด นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างขยายวงกว้างในโลกยุคที่ไร้พรมแดน ปัญหาของสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ที่เพิ่มมากขึ้นนั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนมีส่วนร่วมสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าความเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจนั้นมีอยู่จริงและเป็นไปอย่างซับซ้อน มีการค้นพบความสัมพันธ์ของจิตใจ, ระบบประสาท, ระบบต่อมไร้ท่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายว่าทำงานสัมพันธ์กันตลอดเวลา ดังเช่นการพบว่า emotional stress จะเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่เป็น duodenal ulcer มากกว่ากลุ่มคนปกติ, ผู้ที่มีความเครียดสูงจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ rhinovirus ทำให้เป็นหวัดได้ง่าย, พบมี recurrent herpes simplex ในผู้ป่วยซึมเศร้าหรือมีความเครียดในระดับรุนแรง, เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตทำให้ความต้านทานต่อเชื้อวัณโรคลดลง ทำให้เกิดอาการของวัณโรค และมีผลต่อการดำเนินโรคของผู้ป่วยด้วย ผู้ที่มีความโกรธบ่อยๆ ทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตต้องทำงานมากขึ้น จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคของหลอดเลือดและยังพบอีกว่าในผู้ป่วยเบาหวานชนิด NIDDM ที่มีความเครียดเรื้อรัง เซลล์ในร่างกายจะไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้การรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดไม่ค่อยได้ผล
ในทางตรงข้าม มีตัวอย่างการศึกษาเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่าการมีสภาพจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่วิตกกังวลจะช่วยให้ผลการรักษาโรคทางกายและจิตดีขึ้น เช่น การฝึกผ่อนคลายแบบ guided imagery โดยใช้จินตนาการถึงภาพที่มีความสุขสงบ ภาพธรรมชาติช่วยลดความวิตกกังวล, หวาดกลัวการรักษาและลดการใช้ยาระงับประสาทในผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วย interventional radiology การฝึกสมาธิชนิด mindfulness meditation คือให้มีสติระลึกถึงสภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะในสภาพแวดล้อมที่สงบ ช่วยลดความวิตกกังวลและ panic attack ได้ การทำจิตบำบัดที่เน้นความเชื่อทางศาสนา (religious psychotherapy) เสริมกับการให้ยาและจิตบำบัดแบบประคับประคอง โดยให้มีการสนทนาเรื่องราวในคัมภีร์และสวดมนต์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคประสาทวิตกกังวลมีอาการดีขึ้น