นายชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า การฝึกทำสมาธิเป็นการดูแลสุขภาพอีกวิธีหนึ่ง เป็นเทคนิคของการผ่อนคลายความเครียดที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ใช้แก้ปัญหาได้ดี ลึกซึ้ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนไทย เพราะเมื่อจิตใจสงบปราศจากความคิดที่ฟุ้งซ่าน ซ้ำซาก จะทำให้เกิดสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต ลดอาการวิตกกังวล ความเศร้าโศก และความโกรธได้ หากทำสมาธิเป็นประจำ จะทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ การเผาผลาญพลังงาน ความดันโลหิต และคลื่นสมอง ทำงานเป็นปกติ จิตใจเบิกบาน อารมณ์เย็น สมองแจ่มใส ไม่เครียด
นายชลน่านกล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลทุกระดับ ใช้เสียงตามสายประชาสัมพันธ์วิธีการฝึกสมาธิขั้นพื้นฐานง่ายๆ ให้แก่ประชาชนที่มารับบริการทั้งผู้ป่วยและญาติ รู้จักวิธีการทำสมาธิระหว่างรอรับบริการ ซึ่งใช้เวลาไม่มาก ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ขณะนี้มีโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนดำเนินการแล้วร้อยละ 65 นอกจากจะช่วยให้จิตใจสงบแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความเครียด เช่น ไมเกรน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากเมื่อร่างกายมีความเครียดจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน หลอดเลือดแดงจะเกิดการเสื่อมสภาพ อาจทำให้หลอดเลือดแตกหรือตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดปัญหาหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา จนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย และเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ การทำสมาธิจะทำให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ช่วยให้ร่างกายสดชื่นมีภูมิต้านทานโรค โดยจากผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการฝึกทำสมาธิโดยการหายใจช้าและลึก วันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกทำสมาธิ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEV4TURNMU5nPT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4TVE9PQ==
รพ.ใกล้บ้าน ช่วงพักกลางวันมีประกาศเสียงตามสายให้คนใน รพ.ทำสมาธิกันประมาณ 5 นาที แต่ที่ดูจากสายตาคนยังสนใจทำตามกันน้อย
กิจกรรมหรือพิธีการในวัดควรให้มีการทำสมาธิ วิปัสสนาสอดแทรกอยู่ด้วย เช่น สวดมนต์งานศพเสร็จแล้วให้มีการนั่งสมาธิด้วย คนมาปิดทองไว้พระก็จัดหามุมให้นั่งสมาธิด้วยสักห้านาที
การทำสมาธิเบื้องต้น สามารถทำได้ทุกเวลา ทุกอริยบท ใช้เวลาสักนาทีสองนาทีแต่ทำพยายามทำให้ได้บ่อยๆ ในระหว่างวัน ก็จะเกิดประโยชน์มาก เป็นการนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
สธ.หนุนร.พ.ในสังกัดให้ทำสมาธิ เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคจากความเครียด
นายชลน่านกล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมให้โรงพยาบาลทุกระดับ ใช้เสียงตามสายประชาสัมพันธ์วิธีการฝึกสมาธิขั้นพื้นฐานง่ายๆ ให้แก่ประชาชนที่มารับบริการทั้งผู้ป่วยและญาติ รู้จักวิธีการทำสมาธิระหว่างรอรับบริการ ซึ่งใช้เวลาไม่มาก ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ขณะนี้มีโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนดำเนินการแล้วร้อยละ 65 นอกจากจะช่วยให้จิตใจสงบแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากความเครียด เช่น ไมเกรน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากเมื่อร่างกายมีความเครียดจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หากปล่อยให้ความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน หลอดเลือดแดงจะเกิดการเสื่อมสภาพ อาจทำให้หลอดเลือดแตกหรือตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดปัญหาหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา จนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย และเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ การทำสมาธิจะทำให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphine) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ช่วยให้ร่างกายสดชื่นมีภูมิต้านทานโรค โดยจากผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีการฝึกทำสมาธิโดยการหายใจช้าและลึก วันละประมาณ 15 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกทำสมาธิ
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEV4TURNMU5nPT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4TVE9PQ==
รพ.ใกล้บ้าน ช่วงพักกลางวันมีประกาศเสียงตามสายให้คนใน รพ.ทำสมาธิกันประมาณ 5 นาที แต่ที่ดูจากสายตาคนยังสนใจทำตามกันน้อย
กิจกรรมหรือพิธีการในวัดควรให้มีการทำสมาธิ วิปัสสนาสอดแทรกอยู่ด้วย เช่น สวดมนต์งานศพเสร็จแล้วให้มีการนั่งสมาธิด้วย คนมาปิดทองไว้พระก็จัดหามุมให้นั่งสมาธิด้วยสักห้านาที
การทำสมาธิเบื้องต้น สามารถทำได้ทุกเวลา ทุกอริยบท ใช้เวลาสักนาทีสองนาทีแต่ทำพยายามทำให้ได้บ่อยๆ ในระหว่างวัน ก็จะเกิดประโยชน์มาก เป็นการนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง