ดิฉันขอสนับสนุนการยุบโรงเรียนขนาดเล็กค่ะ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของรัฐบาลไหน

กระทู้สนทนา
ดิฉันยินดีมาก  สนับสนุน  แม้จะรู้ว่ามันเริ่มจากสมัยนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี  และดำเนินเรื่อยมาจนถึงยุคนี้ที่เป็นรัฐบาลเพื่อไทย  และคิดว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลไหน  เพราะนี้คือกรอบของแผนปฏิรูปการศึกษา  ที่เขาระดมสมองจากทุกฝ่ายมากำหนดแนวทางปฎิบัติ  

ใครที่ออกมาโจมตีว่านโยบายนี้เลวร้ายอย่างโน้นอย่างนี้ เพราะคิดว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์  ตอนนี้ก็เงิบไปพอสมควรแล้ว ใครจะเงิบก็เงิบไป  ดิฉันไม่สนใจ  ให้รู้ว่าข้อมูลในหัวของคุณบกพร่องก็พอ  แต่ถ้าแถกต่อเพราะหาทางลงไม่เจอ  ก็พอเถอะค่ะ  รำคาญเหลือหลาย  

วันนี้เอาข่าวมาฝาก  เป็นข่าวเก่าตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้ว  ไม่ต้องอ่านเยอะค่ะ คนพูดกันมาเยอะแล้ว อ่านแค่ที่ขีดเส้นใต้ก็พอ

รองเลขาธิการสพฐ. เผยแผนยุบโรงเรียนขนาดเล็ก50%ภายใน 10ปี ทุ่มสร้างโรงเรียนดีประจำท้องถิ่น หวังดึงนักเรียนเข้า ที่เหลือถูกทิ้งยุบเองโดยปริยาย
นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) กล่าวว่า ภายใต้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2561 นั้น สพฐ.ตั้งเป้าว่า เมื่อสิ้นสุดการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 แล้ว จะส่งผลให้เกิดการยุบรวมร.ร.ขนาดเล็กได้โดยไม่ต้องบีบบังคับใดๆ ได้ประมาณ 7,000 โรง หรือ 50 % ของร.ร.ขนาดเล็กที่มีอยู่ถึง 14,000 ร.ร.ทั่วประเทศในขณะนี้ ซึ่งจะทำให้การบริการจัดการทรัพยากรและงบประมาณด้านการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องกระจายงบประมาณไปตามโรงเรียนขนาดเล็กที่มีอยู่เป็นหมื่นโรง ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งเองก็ไม่สามารถจัดการเรียนการสอยได้คุณภาพเพราะต้องบริหารจัดการในภาวะขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร

อย่างไรก็ตาม การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้น สพฐ.จะไม่ใช่วิธีบีบบังคับแต่จะปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่การคมนาคมที่สะดวกขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เด็กเคลื่อนย้ายไปโรงเรียนดีๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนในโรงเรียนใกล้บ้านเหมือนในอดีต โรงเรียนขนาดเล็กหลายแห่งจึงมีจำนวนนักเรียนน้อยลง อีกทั้ง สพฐ.ยังมีโครงการต่างๆ โดยเฉพาะ โครงการโรงเรียนดีประจำตำบลที่กำลังจะดำเนินการในปีการศึกษา 53 นี้ จำนวน 182 แห่ง เพื่อให้แต่ละตำบลมีโรงเรียนดีอย่างน้อย 1 หรือ 2 โรงเรียน โรงเรียนดีประจำตำบลนี้จะเป็นทางเลือกและเป็นตัวดูดเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กข้างเคียงให้เข้ามาเรียน ซึ่งโรงเรียนดีประจำตำบลหลายบแห่งตั้งอยู่ศูนย์กลางโรงเรียนเครือข่ายที่เป็นโรงเรียนขาดเล็กอยู่แล้ว เมื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพแล้ว เด็กก็จะเคลื่อนย้ายมาเรียนที่โรงเรียนดีประจำตำบลแทน โรงเรียนขนาดเล็กรอบข้างบางแห่งก็จะต้องยุบไปโดยอัตโนมัติเมื่อไม่มีนักเรียน

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องตำแหน่งผู้บริหารร.ร.ขนาดเล็กที่ต้องถูกยุบนั้นได้มองแนวทางเยียวยาไว้แล้วว่าจะตั้งให้เป็นผอ.ร.ร.ร่วมในร.ร.ดีประจำตำบล โดยในร.ร.ดีประจำตำบลอาจมีผอ.ร.ร.ร่วมกันหลายคน แบ่งกันรับผิดชอบหน้าที่ และเมื่อใดที่ร.ร.สังกัดสพฐ.มีตำแหน่งผอ.ว่าง ผอ.ร.ร.ที่ถูกยุบนั้นจะได้รับสิทธิ์ลำดับต้นในการย้ายไปบริหารในร.ร.ที่มีตำแหน่งว่าง แนวทางนี้มั่นใจว่าสามารถเยียวยาให้ไม่เกิดการต่อต้านในหมู่บุคลากรสายบริหารได้

อมยิ้ม36และตบท้ายด้วยแนวคิดที่ จขกท.เห็นด้วยค่ะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่