เห็นใจทั้งแบงค์ชาติและคลังนะครับ

กระทู้สนทนา
ธปท.ยัน แม้แบงก์ชาติมีอิสระในการบริหาร แต่ที่ผ่านมาการดำเนินนโยบายการเงินสอด
คล้องกับเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล   

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อสาธารณชน ถึงข้อเท็จจริง
เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ธปท. ในประเด็นต่างๆ โดยมีเนื้อหาว่า ในระยะ
นี้ มีกระแสข่าวตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ดูแลเศรษฐกิจของ ธปท. ซึ่งอาจทำให้สาธารณ
ชนเกิดความสับสนและกระทบต่อความเชื่อมั่นในการทาหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศได้ ธปท.
จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
    สำหรับเรื่องบทบาทหน้าที่และความเป็นอิสระของ ธปท.นั้น หน่วยงานหลักด้าน
เศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น ธปท. หรือกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นใด ต่างมีจุดมุ่ง
หมายสูงสุดร่วมกัน คือ ความกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจสามารถ
เติบโตได้เต็มศักยภาพอย่างยั่งยืน ไม่สะดุดหยุดลงจากปัญหาวิกฤตเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน
ตลอดจนมี การกระจายรายได้ที่ทั่วถึงและเป็นธรรม ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ไม่ว่าจะ
เป็นนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลัง ต่างต้องสอดประสานให้เหมาะสมกับภาวะและพื้นฐาน
ของเศรษฐกิจ
    พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย1 หรือ พรบ.ธปท. กำหนดพันธกิจหลักของ
ธปท. ไว้อย่างชัดเจนตามมาตรา 7 คือการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน และเสถียรภาพของ
ระบบสถาบันการเงินและระบบการชำระเงิน โดยต้องคำนึงถึงการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ
ของรัฐบาลด้วย และมาตรา 28/8 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จัดทำเป้า
หมายของนโยบายการเงินทุกปี โดยทำความ ตกลงร่วมกับรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะ
รัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ นอกจากนี้ ธปท. มีหน้าที่ตาม มาตรา 60 และ 61 ในการจัดทำ
รายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินเสนอต่อรัฐมนตรีเป็นประจาทุกเดือน และรายงานผลการดาเนิน
นโยบายของ ธปท. ต่อคณะรัฐมนตรีทุก 6 เดือน
    ในทางปฏิบัติ กระทรวงการคลังและ ธปท. ได้มีการประชุมหารือและประสานงานกัน
อย่างสม่ำเสมอ โดยมีผู้ว่าการ ธปท. หรือผู้แทนร่วมอยู่ในคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ
ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานด้านนโยบายเศรษฐกิจอื่นๆ ตลอดจนมีการเข้าชี้แจงต่อที่
ประชุมคณะทำงานกำกับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและ
ประชุมเป็นรายสัปดาห์
    ในการพิจารณาประเด็นเชิงนโยบายต่างๆ นั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ว่าการ ธปท. และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาจมีความเห็นหรือมุมมองที่แตกต่างกันได้ โดยเฉพาะการให้
น้าหนักกับเศรษฐกิจในระยะสั้นกับระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยการหารือและพิจารณาในภาพรวมว่า
การดำเนินการอย่างไรจะเป็นผลดีที่สุดต่อประเทศ ในเมื่อทุกๆ ฝ่ายต่างมีความหวังดีต่อประเทศ
เป็นที่ตั้ง ดังนั้น การร่วมกันพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยยึดประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ย่อมจะ
นำไปสู่ข้อสรุปที่เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
    ประเทศไทยเลือกใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Inflation
Targeting ใน การดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นแนวทางที่ธนาคารกลางใช้กันแพร่หลายใน
ปัจจุบัน แม้จะมีชื่อว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ แต่ในการตัดสินนโยบายนั้นมีการพิจารณาด้านการ
เติบโตของเศรษฐกิจด้วยเสมอ การที่ ธปท. เลือกใช้เป้าหมายเงินเฟ้อในการดูแลเสถียรภาพของ
เศรษฐกิจ ก็เพราะการมีระดับอัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น (prerequisite) ที่จะช่วย
ให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ประชาชนกินดีอยู่ดี
    ในการพิจารณาตัดสินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมายที่คณะ
รัฐมนตรีอนุมัติไว้นั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งประกอบด้วยทั้งผู้บริหารระดับสูง
ของ ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ที่ผ่านกระบวนการคัดสรรมาแล้วว่าเป็นผู้มีความรู้และ
ประสบการณ์สูง จะพิจารณาข้อมูลรอบด้านและตัดสินนโยบายในลักษณะมองไปข้างหน้า ไม่ได้มุ่ง
ให้ความสาคัญแต่เฉพาะเสถียรภาพด้านราคาหรือ เงินเฟ้อ แต่ให้ความสาคัญกับการเติบโตของ
เศรษฐกิจ และคำนึงถึงการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ในขณะนั้นด้วย โดยมุ่งให้
เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องใกล้เคียงศักยภาพ ตลอดจนพยายามรักษาสมดุลของภาคส่วน
ต่างๆ ของเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ
    ทั้งนี้ จากผลการศึกษาและการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ ตลอดจนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา2 สะท้อนว่าการดำเนิน
นโยบายการเงินของไทยเป็นที่เชื่อถือและยอมรับ มีกระบวนการที่ชัดเจน มีความโปร่งใส เป็นไป
ตามมาตรฐานสากล ตลอดจนมีประสิทธิภาพในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี                
                


รายงาน   โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
เรียบเรียง โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร
อนุมัติ    โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
อีเมล์แสดงความคิดเห็น  commentnews@efinancethai.com




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย     วันที่   10/05/13   เวลา   12:53:21
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่