......................จำนำ ข้าว "พ่นพิษ" ใส่หยง ล้มระเนระนาด ที่หยุดไปแล้วมีมากกว่า 20 ราย เหตุรัฐบาลทำตัวเป็นเจ้ามือค้าข้าวคนเดียวในประเทศ ตั้งจำนำราคาสูงผิดปกติของการทำการค้า ส่งออกเองในนาม G to G ด้านนายกหยงวอนรัฐ ครอปใหม่ขอให้ลดราคารับจำนำลง
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานผลของนโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาสูง นอกจากรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบไม่สามารถชี้แจงได้ว่า ขายข้าวไปให้ใคร-ที่ไหนเท่าไหร่-ราคาเท่าใด โดยอ้างแต่ G to G บอกใครไม่ได้แล้ว นโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าข้าวไทย (หยง) ซึ่งเป็น "ตัวกลาง" ในการจัดหารวบรวมข้าวระหว่างโรงสีกับผู้ส่งออกโดยตรง
ล่า สุดผู้ค้าข้าว (หยง) จำนวนมากได้หยุดการประกอบกิจการ และบางรายได้ลาออกจากสมาคมค้าข้าวไทยไปแล้ว ในจำนวนนี้มีหยงเก่าแก่ 2 ราย สาเหตุมาจากรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ตั้งตัวเป็นผู้ค้าข้าวแข่งกับหยง เนื่องจากรัฐประกาศใช้โครงการรับจำนำข้าวในราคาจำนำที่สูงกว่าราคาตลาด
อาทิ ข้าวขาวจำนำตันละ 15,000 บาท จากราคาตลาดที่ไม่เกินตันละ 10,000-11,000 บาท ส่วนข้าวหอมมะลิตั้งราคาจำนำตันละ 20,000 บาท จากราคาตลาดที่ไม่เกินตันละ 17,000-18,000 บาท ผลจากการบิดเบือนกลไกตลาดทำให้ข้าวเกือบทั้งประเทศไหลสู่โครงการรับจำนำ ทำให้รัฐเป็นผู้กุมสต๊อกข้าวไว้มากกว่า 14 ล้านตัน
"รัฐบาลยัง พยายามขายข้าวด้วยตัวเอง กลายเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายข้าวรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ถือเป็นการตัดวงจรการทำธุรกิจข้าวในประเทศ "หยง" จึงได้รับผลกระทบมากเพราะไม่สามารถปรับตัวได้ อย่างธุรกิจโรงสีที่กลายสภาพมาเป็นผู้รับจ้างสีแปรข้าวในรัฐบาล ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวไม่เกิน 5 รายในประเทศที่สามารถซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาล ด้วยวิธีไม่โปร่งใสผ่าน "นายหน้า" เนื่องจากรัฐไม่ยอมเปิดประมูลขายข้าวในสต๊อก อ้างแต่จะส่งข้าว G to G ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้อย่างเดียว"
นายสุพจน์ วงศ์จิรัฐิติกาล นายกสมาคมค้าข้าวไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้หยงรายกลางรายย่อยหยุดกิจการไปแล้วกว่า 20 ราย เหลือเพียง 60 กว่ารายที่พยายามจะทำการค้าอยู่ เนื่องจาก 1-2 ปีหลังจากรัฐบาลดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ยอดขายข้าวของหยงบางรายมีไม่ถึง 10,000 กระสอบ/วัน จากปกต่เคยขายได้ 200,000-300,000 กระสอบ คิดรายได้จากการขายเปอร์เซ็นต์ลูกละ 50-75 สตางค์ จึงไม่คุ้มค่าค่าใช้จ่าย บางรายต้องมีเม็ดเงินหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 300,000-500,000 บาท จึงต้องเลิกหยุดกิจการและลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคม
"ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทเหรียญฟ้าของผม ยอดขายข้าวหายไป 50-60% หากรัฐบาลยังดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อไป หยงจะหยุดกิจการมากขึ้น สุดท้ายเหลือแค่ไหนไม่สามารถตอบได้ หยงเป็นคนกลางซื้อข้าวจากโรงสีขายให้ผู้ส่งออก แต่ตอนนี้รัฐบาลกลับเป็นเจ้ามือซื้อเอง ส่งข้าวออกเอง ทาง G to G โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจำนำรับจ้างสีแปรสภาพให้รัฐบาลก็อยู่ได้ ส่วนผู้ส่งออกบางกลุ่มที่เข้าถึงข้าวสต๊อกรัฐบาลก็ไปทำตลาดให้ต่างประเทศ"
ใน ส่วนของหยงที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ปัจจุบันต้องปรับตัว หากพอมีศักยภาพก็อาศัยทำตลาดให้ข้าวนึ่งกับข้าวหอมมะลิ บางส่วนที่ยังพอมีส่งออกบ้าง เพราะระบบรับจำนำไม่ได้รับจำนำข้าวมาปรับปรุงเพื่อทำข้าวนึ่งและตลาดข้าว นึ่งปกติส่งออกได้ปีละ 3 ล้านตัน จึงมีโรงสีที่ทำข้าวนึ่งนำข้าวนึ่งที่รับฝากจากเกษตรกรมาสีปรับปรุงเป็นข้าว นึ่งก่อน พอทำให้หยงทำตลาดได้ ส่วนข้าวหอมมะลิก็ต้องมีการซื้อขายผ่านหยง
นาย สุพจน์กล่าวว่า ข้อเสนอของสมาคมหยงไม่ได้ให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว แต่ควรทำควบคู่กันไป โดยปรับลดราคาจำนำลงเหลือ 13,000 บาท ไม่ให้ราคารับจำนำสูงผิดปกติแบบนี้ และเสริมการให้ความช่วยเหลือเรื่องวัสดุทางการเกษตรแทน เพราะการจำนำข้าวที่ราคาสูงเป็นดาบสองคม เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเร่งผลิต และยังมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ส่งออกข้าวไม่ได้
ยก ตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิ แม้ปีนี้การส่งออกยังมีแนวโน้มว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลิในประเทศจะลดลงจากภัยแล้ง แต่หากคำนวณจากต้นทุนรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่สูงถึง 20,000 บาท/ตัน เมื่อสีแปรแล้วคิดเป็นต้นทุน 33,000 บาท/ตัน รวมปลายข้าวอีกคิดเป็นต้นทุน 35,000-36,000 บาท ขายออกตันละ 38,000 บาท/ตัน หรือราคาต้องมากกว่า 1,200 เหรียญสหรัฐ ถือว่า "สูงมาก" เมื่อเทียบกับข้าวกัมพูชาคุณภาพดีราคาต่ำกว่าไทยตันละ 400 เหรียญสหรัฐ ในอนาคตพม่าก็่น่ากลัว เพราะอดีต 30-40 ปีก่อน เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของโลก เมื่อการเมืองในพม่าเปลี่ยนไปอาจมีต่างชาติเข้ามาสนับสนุน ทำให้การส่งออกข้าวของพม่าเพิ่มขึ้นได้ปีละ 1.5-2.0 ล้านตัน "เป็นเสือตัวใหม่ที่น่ากลัว"
ขณะที่ตลาดข้าวขาวของไทยขณะนี้แทบไม่มี ตลาดเลย จากที่เคยส่งออกข้าวขาวได้ปีละ 2-3 ล้านตัน ป็นผลจากราคาข้าวขาวไทยสูงกว่าคู่แข่ง รัฐบาลรับจำนำมาตันละ 15,000 บาท เท่ากับสีแปรคิดเป็นต้นทุน 24,000 บาท ต้องขายข้าวขาวให้ได้ 750 เหรียญ แต่ตอนนี้ไทยขายข้าวขาวได้แค่ 540-550 เหรียญสหรัฐ/ตัน สูงกว่าเวียดนามที่ขายเพียงตันละ 390 เหรียญสหรัฐ/ตันเท่านั้น ราคาข้าวไทยแพงกว่าตันละ 150 เหรียญสหรัฐ ตลาดหลักอย่างฟิลิปปินส์ หรือไนจีเรีย หันไปนำเข้าข้าวขาวจากเวียดนามและอินเดียที่ราคาถูกกว่าข้าวไทยมาก
ที่มา
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1367864972&grpid=02&catid=19&subcatid=1900
ผู้ค้าข้าวปิดตัวเซ่นนโยบายจำนำข้าว รัฐผูกขาดตั้งตัวเป็นผู้ค้า-ผู้ส่งออก
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานผลของนโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาสูง นอกจากรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบไม่สามารถชี้แจงได้ว่า ขายข้าวไปให้ใคร-ที่ไหนเท่าไหร่-ราคาเท่าใด โดยอ้างแต่ G to G บอกใครไม่ได้แล้ว นโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าข้าวไทย (หยง) ซึ่งเป็น "ตัวกลาง" ในการจัดหารวบรวมข้าวระหว่างโรงสีกับผู้ส่งออกโดยตรง
ล่า สุดผู้ค้าข้าว (หยง) จำนวนมากได้หยุดการประกอบกิจการ และบางรายได้ลาออกจากสมาคมค้าข้าวไทยไปแล้ว ในจำนวนนี้มีหยงเก่าแก่ 2 ราย สาเหตุมาจากรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ตั้งตัวเป็นผู้ค้าข้าวแข่งกับหยง เนื่องจากรัฐประกาศใช้โครงการรับจำนำข้าวในราคาจำนำที่สูงกว่าราคาตลาด
อาทิ ข้าวขาวจำนำตันละ 15,000 บาท จากราคาตลาดที่ไม่เกินตันละ 10,000-11,000 บาท ส่วนข้าวหอมมะลิตั้งราคาจำนำตันละ 20,000 บาท จากราคาตลาดที่ไม่เกินตันละ 17,000-18,000 บาท ผลจากการบิดเบือนกลไกตลาดทำให้ข้าวเกือบทั้งประเทศไหลสู่โครงการรับจำนำ ทำให้รัฐเป็นผู้กุมสต๊อกข้าวไว้มากกว่า 14 ล้านตัน
"รัฐบาลยัง พยายามขายข้าวด้วยตัวเอง กลายเป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายข้าวรายใหญ่ที่สุดของประเทศ ถือเป็นการตัดวงจรการทำธุรกิจข้าวในประเทศ "หยง" จึงได้รับผลกระทบมากเพราะไม่สามารถปรับตัวได้ อย่างธุรกิจโรงสีที่กลายสภาพมาเป็นผู้รับจ้างสีแปรข้าวในรัฐบาล ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวไม่เกิน 5 รายในประเทศที่สามารถซื้อข้าวในสต๊อกรัฐบาล ด้วยวิธีไม่โปร่งใสผ่าน "นายหน้า" เนื่องจากรัฐไม่ยอมเปิดประมูลขายข้าวในสต๊อก อ้างแต่จะส่งข้าว G to G ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้อย่างเดียว"
นายสุพจน์ วงศ์จิรัฐิติกาล นายกสมาคมค้าข้าวไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้หยงรายกลางรายย่อยหยุดกิจการไปแล้วกว่า 20 ราย เหลือเพียง 60 กว่ารายที่พยายามจะทำการค้าอยู่ เนื่องจาก 1-2 ปีหลังจากรัฐบาลดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ยอดขายข้าวของหยงบางรายมีไม่ถึง 10,000 กระสอบ/วัน จากปกต่เคยขายได้ 200,000-300,000 กระสอบ คิดรายได้จากการขายเปอร์เซ็นต์ลูกละ 50-75 สตางค์ จึงไม่คุ้มค่าค่าใช้จ่าย บางรายต้องมีเม็ดเงินหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 300,000-500,000 บาท จึงต้องเลิกหยุดกิจการและลาออกจากการเป็นสมาชิกสมาคม
"ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทเหรียญฟ้าของผม ยอดขายข้าวหายไป 50-60% หากรัฐบาลยังดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อไป หยงจะหยุดกิจการมากขึ้น สุดท้ายเหลือแค่ไหนไม่สามารถตอบได้ หยงเป็นคนกลางซื้อข้าวจากโรงสีขายให้ผู้ส่งออก แต่ตอนนี้รัฐบาลกลับเป็นเจ้ามือซื้อเอง ส่งข้าวออกเอง ทาง G to G โรงสีที่เข้าร่วมโครงการจำนำรับจ้างสีแปรสภาพให้รัฐบาลก็อยู่ได้ ส่วนผู้ส่งออกบางกลุ่มที่เข้าถึงข้าวสต๊อกรัฐบาลก็ไปทำตลาดให้ต่างประเทศ"
ใน ส่วนของหยงที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ปัจจุบันต้องปรับตัว หากพอมีศักยภาพก็อาศัยทำตลาดให้ข้าวนึ่งกับข้าวหอมมะลิ บางส่วนที่ยังพอมีส่งออกบ้าง เพราะระบบรับจำนำไม่ได้รับจำนำข้าวมาปรับปรุงเพื่อทำข้าวนึ่งและตลาดข้าว นึ่งปกติส่งออกได้ปีละ 3 ล้านตัน จึงมีโรงสีที่ทำข้าวนึ่งนำข้าวนึ่งที่รับฝากจากเกษตรกรมาสีปรับปรุงเป็นข้าว นึ่งก่อน พอทำให้หยงทำตลาดได้ ส่วนข้าวหอมมะลิก็ต้องมีการซื้อขายผ่านหยง
นาย สุพจน์กล่าวว่า ข้อเสนอของสมาคมหยงไม่ได้ให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว แต่ควรทำควบคู่กันไป โดยปรับลดราคาจำนำลงเหลือ 13,000 บาท ไม่ให้ราคารับจำนำสูงผิดปกติแบบนี้ และเสริมการให้ความช่วยเหลือเรื่องวัสดุทางการเกษตรแทน เพราะการจำนำข้าวที่ราคาสูงเป็นดาบสองคม เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเร่งผลิต และยังมีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ส่งออกข้าวไม่ได้
ยก ตัวอย่าง ข้าวหอมมะลิ แม้ปีนี้การส่งออกยังมีแนวโน้มว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลิในประเทศจะลดลงจากภัยแล้ง แต่หากคำนวณจากต้นทุนรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่สูงถึง 20,000 บาท/ตัน เมื่อสีแปรแล้วคิดเป็นต้นทุน 33,000 บาท/ตัน รวมปลายข้าวอีกคิดเป็นต้นทุน 35,000-36,000 บาท ขายออกตันละ 38,000 บาท/ตัน หรือราคาต้องมากกว่า 1,200 เหรียญสหรัฐ ถือว่า "สูงมาก" เมื่อเทียบกับข้าวกัมพูชาคุณภาพดีราคาต่ำกว่าไทยตันละ 400 เหรียญสหรัฐ ในอนาคตพม่าก็่น่ากลัว เพราะอดีต 30-40 ปีก่อน เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของโลก เมื่อการเมืองในพม่าเปลี่ยนไปอาจมีต่างชาติเข้ามาสนับสนุน ทำให้การส่งออกข้าวของพม่าเพิ่มขึ้นได้ปีละ 1.5-2.0 ล้านตัน "เป็นเสือตัวใหม่ที่น่ากลัว"
ขณะที่ตลาดข้าวขาวของไทยขณะนี้แทบไม่มี ตลาดเลย จากที่เคยส่งออกข้าวขาวได้ปีละ 2-3 ล้านตัน ป็นผลจากราคาข้าวขาวไทยสูงกว่าคู่แข่ง รัฐบาลรับจำนำมาตันละ 15,000 บาท เท่ากับสีแปรคิดเป็นต้นทุน 24,000 บาท ต้องขายข้าวขาวให้ได้ 750 เหรียญ แต่ตอนนี้ไทยขายข้าวขาวได้แค่ 540-550 เหรียญสหรัฐ/ตัน สูงกว่าเวียดนามที่ขายเพียงตันละ 390 เหรียญสหรัฐ/ตันเท่านั้น ราคาข้าวไทยแพงกว่าตันละ 150 เหรียญสหรัฐ ตลาดหลักอย่างฟิลิปปินส์ หรือไนจีเรีย หันไปนำเข้าข้าวขาวจากเวียดนามและอินเดียที่ราคาถูกกว่าข้าวไทยมาก
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1367864972&grpid=02&catid=19&subcatid=1900