ศาลรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในอำนาจตุลาการหรือเป็นอำนาจขององค์กรอิสระที่มาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกันแน่

กระทู้คำถาม
มีใครแยกแยะระหว่างอำนาจ ตุลาการ กับ อำนาจขององกรณ์อิสระ ให้อ่านได้ไหมคะ?

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คือ เพิ่งจะสงสัยไปเหมือนกัน ค่ะว่า ศรธน จะอยู่ใต้กระทรวงยุติธรรมไหมคะ?
คำว่า องกรณ์ อิสระ หมายถึง อิสระจากอำนาจรัฐ? หรือ อิสระ จากอะไรคะ?
แล้วหน่วยงานของรัฐ ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ กระทวง บวง กรม หรือหน่วยใดๆ หรือคะ?

คำถามเสริม ปปช ล่ะคะ?

เอามาถาม จะได้รับรู้โดยทั่วกัน อมยิ้ม17
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9

พระราชบัญญัติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. ๒๕๔๒

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน



             พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
             โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
             จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ รัฐสภาดังต่อไปนี้

             มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๒"

             มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

             มาตรา ๓ ให้มีสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นส่วนราชการที่เป็น หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน

             มาตรา ๔ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ทั่วไปของศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
             (๑) รับผิดชอบงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญ
             (๒) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล คำสั่ง และคำวินิจฉัยต่างๆ เกี่ยวกับงาน ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
             (๓) สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยและเผยแพร่กิจการของศาลรัฐธรรมนูญ
             (๔) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูฐมอบหมาย

             มาตรา ๕ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับ บรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัตินี้

             มาตรา ๖ ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกระเบียบหรือ ประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินการอื่นของศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ในเรื่องดังต่อไปนี้
             (๑) การแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและ ขอบเขตหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว
             (๒) การกำหนดคุณสมบัติ การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ การย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การเลื่อนขั้น เงินเดือน การออกจากราชการ การสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน วินัย การสอบสวนและการลงโทษทางวินัย การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษ สำหรับข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
             (๓) การรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งของ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
             (๔) การกำหนดวันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุด ราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
             (๕) การกำหนดเครื่องแบบและการแต่งกายของข้าราชการสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ
             (๖) การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็น ผู้ชำนาญการเฉพาะด้านอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งอัตราค่าตอบแทนการจ้างด้วย
             (๗) การแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตามแต่ จะมอบหมาย
             (๘) การบริหารจัดการงบประมาณและการพัสดุของสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ
             (๙) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่ข้าราชการสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ
             (๑๐) การรักษาทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
             (๑๑) การกำหนดกิจการอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ
             ระเบียบหรือประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็น ผู้ลงนามและเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับ

             มาตรา ๗ การกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนของข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในส่วนที่ เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุลม ทั้งนี้ คำว่า "ก.พ." ให้ หมายถึงคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และคำว่า "ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม และ มีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" ให้หมายถึงสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

             มาตรา ๘ อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่งและการให้ได้รับเงิน ประจำแหน่งของข้าราขการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญให้นำกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
             การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ราชการสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น


             มาตรา ๙ ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีเลขาธิการสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญคนหนึ่ง รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญขึ้นตรงต่อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะให้มีรองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ช่วยสั่ง และ ปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
             ในกิจการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้แทนของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อการนี้เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติราชการ เฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

             มาตรา ๑๐ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและ แต่งตั้ง
             (๑) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญด้วยความเห็นชอบของคณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ
             (๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุ

             มาตรา ๑๑ การโอนข้าราชการตามกฎมายอื่นมาบรรจุเป็นข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญอาจกระทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยมีอำนาจสั่งบรรจุทำ ความตกลงกับเจ้าสังกัดแล้วเสนอคณะตุลาการศาลรัฐธรรมูญเพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและได้รับเงินเดือนเท่าใด ให้คณะตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณากำหนด แต่เงินเดือนที่จะให้ได้รับจะต้องไม่สูงกว่า ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่มีคุณวุฒิ ความสามารถ และความชำนาญงาน ในระดับเดียวกัน
             เพื่อประโยชน์ในการนับเวลาราชการให้ถือเวลาราชการหรือเวลาทำงาน ของผู้ที่โอนมาตามวรรคหนึ่งในขณะที่เป็นข้าราชการนั้นเป็นเวลาราชการของข้าราชการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
             การโอนข้าราชการการเมืองและข้าราชการที่อยู่ในระหว่างทดลอง ปฏิบัติหน้าที่ราชการมาเป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัตินี้ จะกระทำมิได้

             มาตรา ๑๒ ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน

             มาตรา ๑๓ ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนองบประมาณรายจ่ายตาม มติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไว้ในร่างพระราขบัญญัติ แล้วแต่กรณี ในการนี้คณะรัฐมนตรีอาจทำความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณ ของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไว้ในรายงานการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติมด้วยก็ได้ และให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิเข้าชี้แจงงบประมาณ รายจ่ายประจำปีหรืองบประมาณรายจายเพิ่มเติมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้

             มาตรา ๑๔ เมื่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ทำการตรวจสอบรับรอง บัญชีและการเงินทุกประเภทของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาล รัฐธรรมนูญแล้ว ให้เสนอผลการสอบบัญชีโดยตรงต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และ คณะรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า

             มาตรา ๑๕ ในวาระเริ่มแรกก่อนที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้รับ งบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจัดทำแผนงานในการ ดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญ และแผนงานการจัดตั้งและการบริหารงานของ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอรับเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการและการบริหารงานตามแผนงานดังกล่าว
             ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรเงินประมาณรายจ่ายเป็นเงินอุดหนุน ทั่วไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแผนงานที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสนอตามความจำเป็น

             มาตรา ๑๖ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

            ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นายชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ
             เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการ คือ สำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการ อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ฉะนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


http://www.pub-law.net/library/act_concourt.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่