** ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก kapook.com น่ะค่ะ **
สายพันธุ์
พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 (Tioga)
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง ผลขนาดปานกลางถึงใหญ่ มีจำนวนผลต่อช่อมาก ผลแข็ง ผลผลิตสูง สีแดง ค่อนข้างทนต่อสภาพอุณหภูมิสูง ทนทานต่อการขนส่ง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุด เหมาะสำหรับการแปรรูป
พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia)
สามารถเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิตํ่า ให้ผลขนาดใหญ่ถึง 50 กรัม มีจำนวนผลต่อช่อน้อย ผลนิ่ม สีแดงสด กลิ่นหอม รสหวาน ทนทานต่อโรคใบจุด และ สภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ไม่ทนทานการขนส่ง
พันธุ์เนียวโฮ (Nyoho)
ใช้รับประทานผลสด รสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม เนื้อแข็งปานกลาง
พันธุ์เซลวา (Selva)
ใช้รับประทานผลสด เนื้อแข็ง
พันธุ์พระราชทาน 50 (B5) (พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี)
เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนัก/ผล 12-18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้ม ค่อนข้างแข็งไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
พันธุ์พระราชทาน 70 (Toyonoka) (ตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา)
เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนัก/ผล 11.5-13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสหวาน
พันธุ์พระราชทาน 72 (ตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา)
เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 น้ำหนัก/ผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่า มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
พันธุ์พระราชทาน 80 (ตรงกับปี พ.ศ.2550 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา)
เป็นพันธุ์รับประทานผลสด และเป็นพันธุ์ที่ต้องการอากาศหนาวเย็นมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ต้องปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16-20 องศาเซลเซียสไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งสถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขางจะเป็นพื้นที่ปลูกได้ผลดี เพราะมีความสูงประมาณ 1,400 เมตร เพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอกอย่างต่อเนื่อง และให้ได้ผลผลิตในปริมาณมากและยาวนานขึ้น และยังเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสและราแป้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นกว่าพันธุ์อื่น ๆ ตรงที่ผลสุกมีกลิ่นหอม และมีรสชาติหวานกว่า เนื้อผลแน่น สีแดงสด รูปร่างของผลสวยงาม โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกรวยถึงทรงกลมปลายแหลม ผิวไม่ขรุขระ ราก ลำต้นโตเร็วสมบูรณ์ ความสูงของทรงพุ่ม 20-30 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย 27 เซนติเมตร
สายพันธุ์นิยม
สายพันธุ์บริโภคสด : พันธุ์พระราชทานเบอร์ 60, 70, 80, 50, 20 และเนียวโฮพันธุ์เบอร์ 60 เป็นสายพันธุ์ที่ผสมในไทยโดยตรง จึงเหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทยมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ส่วนสายพันธุ์เบอร์ 70 จากญี่ปุ่น กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย
สายพันธุ์แปรรูป : พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 และเซลวา
[CR] Patjang คิืดถึง สตอร์เบอรี่ พันธุ์พระราชทาน 80 มาก
สายพันธุ์
พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 (Tioga)
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง ผลขนาดปานกลางถึงใหญ่ มีจำนวนผลต่อช่อมาก ผลแข็ง ผลผลิตสูง สีแดง ค่อนข้างทนต่อสภาพอุณหภูมิสูง ทนทานต่อการขนส่ง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุด เหมาะสำหรับการแปรรูป
พันธุ์พระราชทาน 20 (Sequoia)
สามารถเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิตํ่า ให้ผลขนาดใหญ่ถึง 50 กรัม มีจำนวนผลต่อช่อน้อย ผลนิ่ม สีแดงสด กลิ่นหอม รสหวาน ทนทานต่อโรคใบจุด และ สภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ไม่ทนทานการขนส่ง
พันธุ์เนียวโฮ (Nyoho)
ใช้รับประทานผลสด รสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม เนื้อแข็งปานกลาง
พันธุ์เซลวา (Selva)
ใช้รับประทานผลสด เนื้อแข็ง
พันธุ์พระราชทาน 50 (B5) (พระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี)
เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนัก/ผล 12-18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้ม ค่อนข้างแข็งไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
พันธุ์พระราชทาน 70 (Toyonoka) (ตรงกับปี พ.ศ.2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา)
เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนัก/ผล 11.5-13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสหวาน
พันธุ์พระราชทาน 72 (ตรงกับปี พ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา)
เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 น้ำหนัก/ผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่า มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
พันธุ์พระราชทาน 80 (ตรงกับปี พ.ศ.2550 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา)
เป็นพันธุ์รับประทานผลสด และเป็นพันธุ์ที่ต้องการอากาศหนาวเย็นมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ต้องปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16-20 องศาเซลเซียสไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งสถานีวิจัยเกษตรหลวงอ่างขางจะเป็นพื้นที่ปลูกได้ผลดี เพราะมีความสูงประมาณ 1,400 เมตร เพื่อกระตุ้นการสร้างตาดอกอย่างต่อเนื่อง และให้ได้ผลผลิตในปริมาณมากและยาวนานขึ้น และยังเป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสและราแป้งได้ดี นอกจากนี้ยังมีลักษณะเด่นกว่าพันธุ์อื่น ๆ ตรงที่ผลสุกมีกลิ่นหอม และมีรสชาติหวานกว่า เนื้อผลแน่น สีแดงสด รูปร่างของผลสวยงาม โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกรวยถึงทรงกลมปลายแหลม ผิวไม่ขรุขระ ราก ลำต้นโตเร็วสมบูรณ์ ความสูงของทรงพุ่ม 20-30 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ย 27 เซนติเมตร
สายพันธุ์นิยม
สายพันธุ์บริโภคสด : พันธุ์พระราชทานเบอร์ 60, 70, 80, 50, 20 และเนียวโฮพันธุ์เบอร์ 60 เป็นสายพันธุ์ที่ผสมในไทยโดยตรง จึงเหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทยมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ส่วนสายพันธุ์เบอร์ 70 จากญี่ปุ่น กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย
สายพันธุ์แปรรูป : พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 และเซลวา