แม้ BANPU มีแผนซื้อหุ้นคืน (สินสุดกลางเดือน ก.ย. 56) และราคาหุ้นยังถูกในเชิงประเมินมูลค่า โดยซื้อขายที่ระดับ PBV ปี 56 เพียง 1.1 เท่า (-1.5SD) แต่เราไม่เห็นปัจจัยบวกหนุนราคาหุ้น จากแนวโน้มปี 56 ที่เป็นปีที่ยากลำบากของบริษัท (คาดกำไรสุทธิลดลงแรง 36%YoY จากการลดลงของราคาขายเฉลี่ย และไม่มีกำไรจากรายการพิเศษ) ผนวกกับคดีหงสาที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ดังนั้น เราจึงคงคำแนะนำ “ทยอยขาย” (ลดราคาเป้าหมายปี 56 ประเมินโดยวิธี DCF ลงเป็น 402 บาท)
คาดกำไรสุทธิ 1Q56 ออกมาน่าผิดหวังแค่ 744 ล้านบาท
เราคาดกำไรสุทธิงวด 1Q56 ของ BANPU ยังน่าผิดหวังต่อเนื่อง ด้วยกำไรสุทธิเพียง 744 ล้านบาท (-73%YoY, -51%QoQ) ส่วนใหญ่เป็นกำไรของบริษัทร่วม (หลักๆจาก BLCP) ส่วนผลการดำเนินงานของ ITMG และ Centennial อ่อนตัวลง และคาดไม่มีกำไรจากสัญญาอนุพันธ์ (coal swap) และคาดไม่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาในไตรมาสดังกล่าว ดังนั้น เราคาดบริษัทมีกำไรปกติราว 758 ล้านบาท (-61%YoY, +6% QoQ) จากการลดลงของราคาขายเฉลี่ย และปริมาณการขาย (เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนของอินโดนีเซียและมีการย้ายเครื่องจักรในการผลิต (long wall) ที่เหมือง Mandalong ในประเทศออสเตรเลีย) ในขณะที่บริษัทอาจไม่สามารถประหยัดต้นทุนได้มากนัก เนื่องจากต้นทุนการเปิดหน้าดิน (overburden costs) ที่สูงขึ้นตามฤดูกาลใน 1Q และมีการย้ายเครื่องจักรในการผลิตดังกล่าวข้างต้น ซึ่งกดดันให้อัตรากำไรขั้นต้นจากเหมือง ITMG และเหมือง Centennial หดลงเป็น 33% และ 22% ตามลำดับ (รุปที่ 1)
ปรับประมาณการปี 56-57 ลง 15-20%
เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 56 ลง 20% เป็น 5.9 พันล้านบาท และปี 57 ลง 15% เป็น 7.6 พันล้านบาท หลักๆ มาจากการปรับลดอัตรากำไรเฉลี่ยจากธุรกิจถ่านหินลง 3% เป็น 36% และ 38% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนต้นทุนการเปิดหน้าดินของเหมืองในอินโดนีเซีย ที่ปกติจะสูงตามฤดูกาลในไตรมาส 1 และการย้ายเครื่องจักรในการผลิตที่เหมือง Mandalong ในออสเตรเลีย ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะทำให้บริษัทลดต้นทุนได้น้อยลงในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นเราจึงปรับลดราคาเป้าหมายปี 56 อิงวิธี DCF ลง 8% เป็น 402 บาท/หุ้น
ความต้องการใช้ถ่านหินแข็งแกร่งจากภาคการผลิตไฟฟ้า
แม้ความต้องการถ่านหินยังแข็งแกร่ง (โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย) แต่อุปทานถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้นจากอินโดนีเซียและออสเตรเลีย เราจึงคาดจะไม่เห็นการปรับขึ้นของราคาถ่านหินเหมือนช่วงปี 53 – 54 ที่เกิดภาวะอุปทานถ่านหินขาดแคลน (อนึ่ง ราคาถ่านหิน BJI ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน เฉลี่ยอยู่ที่ 92 เหรียญ/ตัน) ความต้องการถ่านหินที่แข็งแกร่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า (base load demand) รวมทั้งจากราคาถ่านหินที่ยังมีความได้เปรียบกว่าราคาก๊าซ (ราคาถ่านหิน FOB ถูกกว่าราคา LNG ราว 30% ซึ่งรวมถึงต้นทุนเนื้อก๊าซฯ, ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการแปลงเป็นก๊าซฯ)
ktzmico ออกบทวิเคราะห์ให้ขายบ้านปูแล้ว หลังจากปีที่แล้วทั้งปี ยังให้ซื้ออยู่
คาดกำไรสุทธิ 1Q56 ออกมาน่าผิดหวังแค่ 744 ล้านบาท
เราคาดกำไรสุทธิงวด 1Q56 ของ BANPU ยังน่าผิดหวังต่อเนื่อง ด้วยกำไรสุทธิเพียง 744 ล้านบาท (-73%YoY, -51%QoQ) ส่วนใหญ่เป็นกำไรของบริษัทร่วม (หลักๆจาก BLCP) ส่วนผลการดำเนินงานของ ITMG และ Centennial อ่อนตัวลง และคาดไม่มีกำไรจากสัญญาอนุพันธ์ (coal swap) และคาดไม่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาในไตรมาสดังกล่าว ดังนั้น เราคาดบริษัทมีกำไรปกติราว 758 ล้านบาท (-61%YoY, +6% QoQ) จากการลดลงของราคาขายเฉลี่ย และปริมาณการขาย (เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนของอินโดนีเซียและมีการย้ายเครื่องจักรในการผลิต (long wall) ที่เหมือง Mandalong ในประเทศออสเตรเลีย) ในขณะที่บริษัทอาจไม่สามารถประหยัดต้นทุนได้มากนัก เนื่องจากต้นทุนการเปิดหน้าดิน (overburden costs) ที่สูงขึ้นตามฤดูกาลใน 1Q และมีการย้ายเครื่องจักรในการผลิตดังกล่าวข้างต้น ซึ่งกดดันให้อัตรากำไรขั้นต้นจากเหมือง ITMG และเหมือง Centennial หดลงเป็น 33% และ 22% ตามลำดับ (รุปที่ 1)
ปรับประมาณการปี 56-57 ลง 15-20%
เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 56 ลง 20% เป็น 5.9 พันล้านบาท และปี 57 ลง 15% เป็น 7.6 พันล้านบาท หลักๆ มาจากการปรับลดอัตรากำไรเฉลี่ยจากธุรกิจถ่านหินลง 3% เป็น 36% และ 38% ตามลำดับ เพื่อสะท้อนต้นทุนการเปิดหน้าดินของเหมืองในอินโดนีเซีย ที่ปกติจะสูงตามฤดูกาลในไตรมาส 1 และการย้ายเครื่องจักรในการผลิตที่เหมือง Mandalong ในออสเตรเลีย ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะทำให้บริษัทลดต้นทุนได้น้อยลงในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นเราจึงปรับลดราคาเป้าหมายปี 56 อิงวิธี DCF ลง 8% เป็น 402 บาท/หุ้น
ความต้องการใช้ถ่านหินแข็งแกร่งจากภาคการผลิตไฟฟ้า
แม้ความต้องการถ่านหินยังแข็งแกร่ง (โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย) แต่อุปทานถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้นจากอินโดนีเซียและออสเตรเลีย เราจึงคาดจะไม่เห็นการปรับขึ้นของราคาถ่านหินเหมือนช่วงปี 53 – 54 ที่เกิดภาวะอุปทานถ่านหินขาดแคลน (อนึ่ง ราคาถ่านหิน BJI ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน เฉลี่ยอยู่ที่ 92 เหรียญ/ตัน) ความต้องการถ่านหินที่แข็งแกร่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า (base load demand) รวมทั้งจากราคาถ่านหินที่ยังมีความได้เปรียบกว่าราคาก๊าซ (ราคาถ่านหิน FOB ถูกกว่าราคา LNG ราว 30% ซึ่งรวมถึงต้นทุนเนื้อก๊าซฯ, ต้นทุนการขนส่ง และต้นทุนการแปลงเป็นก๊าซฯ)