ค่าปรับจราจร : รายได้ของรัฐ ถูกนำส่งเข้าคลังอย่างไรหรือเป็นรางวัลของใคร
ในบรรดาหน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจไทย งานหนึ่งที่ดูจะเกี่ยวข้องกับประชาชนไม่น้อยไปกว่างานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และดูจะเป็นที่กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งในแง่บวกและลบคือ งานจราจร ในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาหรือบางประเทศในแถบทวีปยุโรป งานจราจรอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แต่ในแถบทวีปเอเชียโดย เฉพาะไทย กัมพูชาหรือลาว นั้น งานจราจรยังเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
บทบาทตำรวจจราจรในประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเริ่ม ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนหรือบางช่วงก็ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฐานะ กล่าวคือ ในฐานะเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรบนท้องถนน และในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจราจร อันที่จริงหมวกทั้งสองใบที่สวมอยู่บนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่น่าจะก่อให้ความแตกต่างในเชิงบทบาทมากนักถ้าไม่มีเรื่องการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร ซึ่งเกี่ยวข้องกับโทษทางอาญาเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ข้อเท็จจริงนี้ดูจะไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะขึ้นชื่อว่ากฎหมายแล้วย่อมต้องมีการบังคับใช้ และหากมีการฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษตามอัตราที่กำหนดไว้
ประเด็นเรื่องการจราจรที่ดูจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้ง คือ การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การเลือกปฏิบัติ การทุจริตติดสินบนของตำรวจจราจร และเรื่องของเงินค่าปรับจราจรซึ่งประชาชนต้องถูกเปรียบเทียบปรับที่สถานีตำรวจ ในบทความนี้จะแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าปรับจราจรในฐานะรายได้ของรัฐ ซึ่งประชาชนทั่วไปต้องเสียให้แก่รัฐเมื่อกระทำผิดกฎหมายจราจร เพื่อชี้ให้เห็นว่าตามกฎหมายเมื่อผู้ขับขี่รถหรือเจ้าของรถเสียเงินค่าปรับจราจรไปแล้ว เงินเหล่านี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดสรรเป็นรายได้แผ่นดิน และย้อนกลับมาเป็นรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับอย่างไร
ประเภทของเงินค่าปรับจราจร
โดยทั่วไปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้รถใช้ถนนมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระ-ราชบัญญัติการจราจรทางบก, พระราชบัญญัติรถยนต์, พระราชบัญญัติขนส่ง, กฎกระทรวงต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินั้น และอาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษจำคุกด้วยหากมีกรณีที่มีการเฉี่ยวชนกันและมีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงเฉพาะในของเรื่องเงินค่าปรับจราจรแล้ว หลักเกณฑ์ในการนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินและการจัดสรรเงินที่เหลือเป็นรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุมเป็นไปตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี และระเบียบกระทรวงการคลังต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ค่าปรับจราจรที่ได้จากการเคลื่อนย้ายรถ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้รถเคลื่อนย้าย (เงินล็อคล้อ)
เงินค่าปรับประเภทนี้ดูจะเป็นที่หวาดกลัวของคนทั่วไปมากเป็นพิเศษ เพราะมีอัตราสูง สมัยผู้เขียนดำรงตำแหน่งเป็นรองสารวัตรสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจมักจะถูกร้องขอจากผู้ขับขี่รถที่ถูกล็อคล้อรถให้ช่วยปรับในอัตราขั้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีสาเหตุต่างๆ นานา แต่ก็ได้ตอบบุคคลเหล่านั้นว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำได้เพราะเงินค่าปรับประเภทนี้ถูกกำหนดไว้ค่อนข้างจะชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว กฎหมายจราจรกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อมีการใช้เครื่องมือบังคับล้อรถ และมีการสอบสวนแล้ว พบว่า เจ้าของรถจอดรถผิดกฎจราจรจริง ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถผู้ที่ประสงค์จะให้ปลดล็อคเครื่องมือบังคับล้อจะต้องถูกปรับในอัตรา 500 บาท ต่อคัน
สำหรับคำถามว่า เมื่อใดที่ตำรวจจะใช้เครื่องมือบังคับล้อ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องของนโยบายของการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าที่เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัว อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการบังคับล้อรถดูจะสัมพันธ์กับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความยำเกรงอยู่ ไม่น้อย จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับผู้บริหาร ทำให้ได้คำตอบว่า ส่วนใหญ่แล้ว เครื่องมือบังคับล้อรถจะถูกนำมาตามถนนเส้นสำคัญๆ หรือตรอก, ซอยที่มีการจราจรคับคั่ง โดยมุ่งหวังจะให้เกิดความหลาบจำ และเกรงกลัวที่จะกระทำผิดซ้ำอีก นั่นหมายความว่า หากผู้ที่เขียนใบสั่งจราจรพร้อมกับเครื่องมือบังคับล้อรถแล้ว ผู้ขับขี่หรือเจ้าของไม่สามารถจะขับรถต่อไปได้จนกว่าจะได้เสียค่าปรับก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ล็อคล้อรถจึงมาปลดเครื่องมือให้ ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่ต้องเสียเวลามากขึ้นกว่าการที่ ได้รับใบสั่งติดหน้ารถ ซึ่งมองดูเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่แข็งกร้าวมากกว่าการออกใบสั่ง แต่เพียงอย่างเดียว
ไม่เพียงแต่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถจะต้องเสียค่าบังคับล้อรถจำนวน 500 บาท แต่ยังจะต้องถูกปรับในเรื่องการจอดรถผิดที่ผิดทางอีก ในอัตราค่าปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน โดยสรุป ผู้ขับขี่จะต้องถูกปรับในอัตราขั้นต่ำที่สุด 600 บาทเงินค่าปรับในกลุ่มนี้ สถานีตำรวจท้องที่ผู้ทำการปรับจะถูกแยกส่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ เฉพาะค่าปรับกรณีการเคลื่อนย้ายรถ (รถยก) หรือการใช้เครื่องบังคับล้อ ซึ่งมีอัตรา 500 บาท ต่อคัน จะถูกนำส่งไปฝากไว้ที่กระทรวงการคลังโดยไม่มีหักออก เงินดังกล่าวจะยังอยู่กับกระทรวง การคลังจนกว่าจะมีการคำขอเบิกจ่ายเพื่อ เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ค่าเช่าสถานที่จอดรถกลาง ค่าจัดซื้อจัดหารถยนต์และอุปกรณ์ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน และไม่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณได้ ค่าป้าย เอกสารเครื่องหมาย ค่าซ่อมแซม บำรุงรักษารถยกอุปกรณ์ ค่าประกันภัย ค่าฝึกอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน1 เป็นต้น ส่วนที่สองคือ เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งสามารถปันส่วนเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วน ต่อไป
2. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
เงินค่าปรับในหมวดนี้ได้มาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เช่น การจอดรถที่ที่ห้ามจอด การขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจร การขับรถเฉี่ยวชนกันบนท้องถนน อัตราค่าปรับในตาม พ.ร.บ.จราจร มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่อัตราโทษปรับขั้นต่ำไม่เกิน 500 บาท จนถึง 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม การจัดสรรและจัดส่งจราจรในหมวดที่แล้ว หลักเกณฑ์การนำเงินส่งหน่วยการเงินที่เกี่ยวข้องในส่วนนี้สามารถแยกคิดคำนวณได้เป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
ขั้นตอนที่ 1 แบ่งเงินค่าปรับออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ครึ่งหนึ่งของเงินค่าปรับจะนำส่งกรุงเทพมหานคร ส่วนที่สอง อีกครึ่งหนึ่งจะนำมาคิดคำนวณใหม่โดยตั้งฐานแบบร้อยละอีกสองชั้น
ขั้นตอนที่ 2 นำเงินที่เหลือครึ่งหนึ่งของค่าปรับมาคิดหักเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 5 เปอร์เซนต์ หักนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง จัดสรรเป็นเงินรางวัลผู้จับกุมและผู้สนับสนุนตามขั้นตอนที่สาม
ขั้นตอนที่ 3 นำเงินที่เหลือจากหัก 5 เปอร์เซนต์แล้ว มาจัดสรรสำหรับเป็นรางวัลผู้จับกุมและผู้สนับสนุนงานจราจร ในอัตรา 60 : 40 กล่าวคือ ผู้จับกุมจะได้ส่วนแบ่งในอัตราร้อยละ 60 ส่วนผู้สนับสนุนจะได้ร้อยละ 40
ซึ่งสามารถเขียนแผนภาพประกอบความเข้าใจได้ดังนี้
ลองดูตัวอย่างประกอบแผนภาพดังต่อไปนี้ สมมติว่า นาย เอบี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรปรับในฐานความผิดจอดรถในบริเวณพื้นที่ ห้ามจอด และถูกปรับในอัตราขั้นต่ำ 400 บาท เงินจำนวนดังกล่าวสามารถคำนวณได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 200 บาท ส่งให้กับกรุงเทพมหานคร ที่เหลืออีก 200 บาท ส่งนำมาคิดคำนวณใหม่ในอัตราร้อยละ
ขั้นตอนที่ 2 หักเป็นรายได้แผ่นดิน 5/100 * 200 = 10 บาท ที่เหลืออีก 190 บาท เป็นเงินรางวัลจราจร
ขั้นตอนที่ 3 ผู้จับกุมจะได้เงิน 60/100 * 190 = 114 บาท ส่วนผู้สนับสนุน
งานจราจรจะได้รับ 76 บาท
3. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ แตกต่างไปจากหมวดอื่นที่กล่าวมาใน 2 กลุ่มแรก ความผิดในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตัวรถยนต์ของ ผู้ขับขี่โดยตรง เช่น การใช้รถยนต์ที่มิได้จดทะเบียน หรือใช้รถที่จดทะเบียนแต่มิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ถูกต้อง, การใช้รถที่ไม่แสดงแผ่นป้ายทะเบียนและเครื่องหมายให้ครบถ้วน, อนุญาตให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถหรือมีใบอนุญาตขับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้เข้าขับรถของตนหรือรถที่ตนเป็นคนขับ เป็นต้น การคิดสัดส่วนเงินค่าปรับในกลุ่มนี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 5% จะหักเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง อีก 95% จะเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุม โดยจะนำเงินฝากไปยังกระทรวงการคลังก่อนเพื่อรอการเบิกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมอีกครั้งหนึ่ง โดยสถานีตำรวจซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่จราจรก็จะทำหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานไปยังกระทรวงการคลังเพื่อขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวกลับคืนมาเป็นเงินรางวัลจราจร
4. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ. ขนส่งทางบก พ.ศ. 2535
เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ. 2535 เป็นอีกหมวดหนึ่งที่มีลักษณะมีการจัดสรรเงินค่าปรับคล้ายกับของ พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ซับซ้อนน้อยกว่า โดยเงินค่าปรับที่ได้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก 45% จะนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง 15% จะส่งไปจัดเก็บที่กระทรวงการคลังเช่นกัน แต่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงบดำเนินงานซึ่งสามารถจะขอเบิกจ่ายได้ตามระเบียบที่กำหนดไว้ เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าบำรุงรักษาต่างๆ ส่วนสุดท้ายอีก 40% จะจัดสรรเป็นเงินรางวัลสำหรับ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับโดยใช้ระเบียบเช่นเดียวกับค่าปรับที่ได้จาก พ.ร.บ.รถยนต์ กล่าวคือ ต้องส่งเงินส่วนนี้ไปกระทรวงการคลังก่อน จากนั้นจึงทำรายงานพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเบิกกลับคืนเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอีกครั้งหนึ่ง
นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ในการจัดสรรเงินที่ได้ตั้งเบิกและรับมาจากกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรางวัลสำหรับ เจ้าหน้าที่จราจรยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่านี้ซึ่งเป็นเรื่องภายในหน่วยงาน เช่น เงิน อุดหนุน (ที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของตำรวจในกรุงเทพฯ) จากกรุงเทพมหานครให้กองบัญชา การตำรวจนครบาลขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติมจากกรุงเทพมหานครเป็นเงินอุดหนุน เพื่อจ่ายเป็นเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรให้เพียงพอกับการใช้จ่าย เป็นต้น เนื่องจากเป็นรายละเอียดในเชิงการบริหารขององค์กร ผู้เขียนจึงไม่ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเห็นได้ว่า ค่าปรับที่ประชาชนถูกปรับตามกฎหมายการจราจรนั้น มีกระบวนการจัดเก็บและการคำนวณเงินค่าปรับอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดสรรนำส่งกระทรวงการคลัง และจัดสรรเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุมและสนับสนุนอย่างเหมาะสม หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ระบบของวงจรเงินค่าปรับมีการตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ตัวเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด
ค่าปรับจราจร : รายได้ของรัฐ ถูกนำส่งเข้าคลังอย่างไรหรือเป็นรางวัลของใคร (ก๊อบมาแปะ)
ค่าปรับจราจร : รายได้ของรัฐ ถูกนำส่งเข้าคลังอย่างไรหรือเป็นรางวัลของใคร
ในบรรดาหน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจไทย งานหนึ่งที่ดูจะเกี่ยวข้องกับประชาชนไม่น้อยไปกว่างานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และดูจะเป็นที่กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งในแง่บวกและลบคือ งานจราจร ในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาหรือบางประเทศในแถบทวีปยุโรป งานจราจรอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แต่ในแถบทวีปเอเชียโดย เฉพาะไทย กัมพูชาหรือลาว นั้น งานจราจรยังเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
บทบาทตำรวจจราจรในประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเริ่ม ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนหรือบางช่วงก็ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฐานะ กล่าวคือ ในฐานะเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรบนท้องถนน และในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจราจร อันที่จริงหมวกทั้งสองใบที่สวมอยู่บนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่น่าจะก่อให้ความแตกต่างในเชิงบทบาทมากนักถ้าไม่มีเรื่องการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร ซึ่งเกี่ยวข้องกับโทษทางอาญาเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ข้อเท็จจริงนี้ดูจะไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะขึ้นชื่อว่ากฎหมายแล้วย่อมต้องมีการบังคับใช้ และหากมีการฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษตามอัตราที่กำหนดไว้
ประเด็นเรื่องการจราจรที่ดูจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้ง คือ การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การเลือกปฏิบัติ การทุจริตติดสินบนของตำรวจจราจร และเรื่องของเงินค่าปรับจราจรซึ่งประชาชนต้องถูกเปรียบเทียบปรับที่สถานีตำรวจ ในบทความนี้จะแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าปรับจราจรในฐานะรายได้ของรัฐ ซึ่งประชาชนทั่วไปต้องเสียให้แก่รัฐเมื่อกระทำผิดกฎหมายจราจร เพื่อชี้ให้เห็นว่าตามกฎหมายเมื่อผู้ขับขี่รถหรือเจ้าของรถเสียเงินค่าปรับจราจรไปแล้ว เงินเหล่านี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดสรรเป็นรายได้แผ่นดิน และย้อนกลับมาเป็นรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับอย่างไร
ประเภทของเงินค่าปรับจราจร
โดยทั่วไปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้รถใช้ถนนมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระ-ราชบัญญัติการจราจรทางบก, พระราชบัญญัติรถยนต์, พระราชบัญญัติขนส่ง, กฎกระทรวงต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินั้น และอาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษจำคุกด้วยหากมีกรณีที่มีการเฉี่ยวชนกันและมีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงเฉพาะในของเรื่องเงินค่าปรับจราจรแล้ว หลักเกณฑ์ในการนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินและการจัดสรรเงินที่เหลือเป็นรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุมเป็นไปตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี และระเบียบกระทรวงการคลังต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ค่าปรับจราจรที่ได้จากการเคลื่อนย้ายรถ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้รถเคลื่อนย้าย (เงินล็อคล้อ)
เงินค่าปรับประเภทนี้ดูจะเป็นที่หวาดกลัวของคนทั่วไปมากเป็นพิเศษ เพราะมีอัตราสูง สมัยผู้เขียนดำรงตำแหน่งเป็นรองสารวัตรสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจมักจะถูกร้องขอจากผู้ขับขี่รถที่ถูกล็อคล้อรถให้ช่วยปรับในอัตราขั้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีสาเหตุต่างๆ นานา แต่ก็ได้ตอบบุคคลเหล่านั้นว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำได้เพราะเงินค่าปรับประเภทนี้ถูกกำหนดไว้ค่อนข้างจะชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว กฎหมายจราจรกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อมีการใช้เครื่องมือบังคับล้อรถ และมีการสอบสวนแล้ว พบว่า เจ้าของรถจอดรถผิดกฎจราจรจริง ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถผู้ที่ประสงค์จะให้ปลดล็อคเครื่องมือบังคับล้อจะต้องถูกปรับในอัตรา 500 บาท ต่อคัน
สำหรับคำถามว่า เมื่อใดที่ตำรวจจะใช้เครื่องมือบังคับล้อ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องของนโยบายของการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าที่เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัว อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการบังคับล้อรถดูจะสัมพันธ์กับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความยำเกรงอยู่ ไม่น้อย จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับผู้บริหาร ทำให้ได้คำตอบว่า ส่วนใหญ่แล้ว เครื่องมือบังคับล้อรถจะถูกนำมาตามถนนเส้นสำคัญๆ หรือตรอก, ซอยที่มีการจราจรคับคั่ง โดยมุ่งหวังจะให้เกิดความหลาบจำ และเกรงกลัวที่จะกระทำผิดซ้ำอีก นั่นหมายความว่า หากผู้ที่เขียนใบสั่งจราจรพร้อมกับเครื่องมือบังคับล้อรถแล้ว ผู้ขับขี่หรือเจ้าของไม่สามารถจะขับรถต่อไปได้จนกว่าจะได้เสียค่าปรับก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ล็อคล้อรถจึงมาปลดเครื่องมือให้ ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่ต้องเสียเวลามากขึ้นกว่าการที่ ได้รับใบสั่งติดหน้ารถ ซึ่งมองดูเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่แข็งกร้าวมากกว่าการออกใบสั่ง แต่เพียงอย่างเดียว
ไม่เพียงแต่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถจะต้องเสียค่าบังคับล้อรถจำนวน 500 บาท แต่ยังจะต้องถูกปรับในเรื่องการจอดรถผิดที่ผิดทางอีก ในอัตราค่าปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน โดยสรุป ผู้ขับขี่จะต้องถูกปรับในอัตราขั้นต่ำที่สุด 600 บาทเงินค่าปรับในกลุ่มนี้ สถานีตำรวจท้องที่ผู้ทำการปรับจะถูกแยกส่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ เฉพาะค่าปรับกรณีการเคลื่อนย้ายรถ (รถยก) หรือการใช้เครื่องบังคับล้อ ซึ่งมีอัตรา 500 บาท ต่อคัน จะถูกนำส่งไปฝากไว้ที่กระทรวงการคลังโดยไม่มีหักออก เงินดังกล่าวจะยังอยู่กับกระทรวง การคลังจนกว่าจะมีการคำขอเบิกจ่ายเพื่อ เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ค่าเช่าสถานที่จอดรถกลาง ค่าจัดซื้อจัดหารถยนต์และอุปกรณ์ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน และไม่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณได้ ค่าป้าย เอกสารเครื่องหมาย ค่าซ่อมแซม บำรุงรักษารถยกอุปกรณ์ ค่าประกันภัย ค่าฝึกอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน1 เป็นต้น ส่วนที่สองคือ เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งสามารถปันส่วนเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วน ต่อไป
2. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
เงินค่าปรับในหมวดนี้ได้มาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เช่น การจอดรถที่ที่ห้ามจอด การขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจร การขับรถเฉี่ยวชนกันบนท้องถนน อัตราค่าปรับในตาม พ.ร.บ.จราจร มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่อัตราโทษปรับขั้นต่ำไม่เกิน 500 บาท จนถึง 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม การจัดสรรและจัดส่งจราจรในหมวดที่แล้ว หลักเกณฑ์การนำเงินส่งหน่วยการเงินที่เกี่ยวข้องในส่วนนี้สามารถแยกคิดคำนวณได้เป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
ขั้นตอนที่ 1 แบ่งเงินค่าปรับออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ครึ่งหนึ่งของเงินค่าปรับจะนำส่งกรุงเทพมหานคร ส่วนที่สอง อีกครึ่งหนึ่งจะนำมาคิดคำนวณใหม่โดยตั้งฐานแบบร้อยละอีกสองชั้น
ขั้นตอนที่ 2 นำเงินที่เหลือครึ่งหนึ่งของค่าปรับมาคิดหักเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 5 เปอร์เซนต์ หักนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง จัดสรรเป็นเงินรางวัลผู้จับกุมและผู้สนับสนุนตามขั้นตอนที่สาม
ขั้นตอนที่ 3 นำเงินที่เหลือจากหัก 5 เปอร์เซนต์แล้ว มาจัดสรรสำหรับเป็นรางวัลผู้จับกุมและผู้สนับสนุนงานจราจร ในอัตรา 60 : 40 กล่าวคือ ผู้จับกุมจะได้ส่วนแบ่งในอัตราร้อยละ 60 ส่วนผู้สนับสนุนจะได้ร้อยละ 40
ซึ่งสามารถเขียนแผนภาพประกอบความเข้าใจได้ดังนี้
ลองดูตัวอย่างประกอบแผนภาพดังต่อไปนี้ สมมติว่า นาย เอบี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรปรับในฐานความผิดจอดรถในบริเวณพื้นที่ ห้ามจอด และถูกปรับในอัตราขั้นต่ำ 400 บาท เงินจำนวนดังกล่าวสามารถคำนวณได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 200 บาท ส่งให้กับกรุงเทพมหานคร ที่เหลืออีก 200 บาท ส่งนำมาคิดคำนวณใหม่ในอัตราร้อยละ
ขั้นตอนที่ 2 หักเป็นรายได้แผ่นดิน 5/100 * 200 = 10 บาท ที่เหลืออีก 190 บาท เป็นเงินรางวัลจราจร
ขั้นตอนที่ 3 ผู้จับกุมจะได้เงิน 60/100 * 190 = 114 บาท ส่วนผู้สนับสนุน
งานจราจรจะได้รับ 76 บาท
3. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ แตกต่างไปจากหมวดอื่นที่กล่าวมาใน 2 กลุ่มแรก ความผิดในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตัวรถยนต์ของ ผู้ขับขี่โดยตรง เช่น การใช้รถยนต์ที่มิได้จดทะเบียน หรือใช้รถที่จดทะเบียนแต่มิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ถูกต้อง, การใช้รถที่ไม่แสดงแผ่นป้ายทะเบียนและเครื่องหมายให้ครบถ้วน, อนุญาตให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถหรือมีใบอนุญาตขับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้เข้าขับรถของตนหรือรถที่ตนเป็นคนขับ เป็นต้น การคิดสัดส่วนเงินค่าปรับในกลุ่มนี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 5% จะหักเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง อีก 95% จะเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุม โดยจะนำเงินฝากไปยังกระทรวงการคลังก่อนเพื่อรอการเบิกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมอีกครั้งหนึ่ง โดยสถานีตำรวจซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่จราจรก็จะทำหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานไปยังกระทรวงการคลังเพื่อขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวกลับคืนมาเป็นเงินรางวัลจราจร
4. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ. ขนส่งทางบก พ.ศ. 2535
เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ. 2535 เป็นอีกหมวดหนึ่งที่มีลักษณะมีการจัดสรรเงินค่าปรับคล้ายกับของ พ.ร.บ.จราจรทางบก แต่ซับซ้อนน้อยกว่า โดยเงินค่าปรับที่ได้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก 45% จะนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง 15% จะส่งไปจัดเก็บที่กระทรวงการคลังเช่นกัน แต่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงบดำเนินงานซึ่งสามารถจะขอเบิกจ่ายได้ตามระเบียบที่กำหนดไว้ เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าบำรุงรักษาต่างๆ ส่วนสุดท้ายอีก 40% จะจัดสรรเป็นเงินรางวัลสำหรับ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับโดยใช้ระเบียบเช่นเดียวกับค่าปรับที่ได้จาก พ.ร.บ.รถยนต์ กล่าวคือ ต้องส่งเงินส่วนนี้ไปกระทรวงการคลังก่อน จากนั้นจึงทำรายงานพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเบิกกลับคืนเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอีกครั้งหนึ่ง
นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ในการจัดสรรเงินที่ได้ตั้งเบิกและรับมาจากกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรางวัลสำหรับ เจ้าหน้าที่จราจรยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่านี้ซึ่งเป็นเรื่องภายในหน่วยงาน เช่น เงิน อุดหนุน (ที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของตำรวจในกรุงเทพฯ) จากกรุงเทพมหานครให้กองบัญชา การตำรวจนครบาลขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติมจากกรุงเทพมหานครเป็นเงินอุดหนุน เพื่อจ่ายเป็นเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรให้เพียงพอกับการใช้จ่าย เป็นต้น เนื่องจากเป็นรายละเอียดในเชิงการบริหารขององค์กร ผู้เขียนจึงไม่ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเห็นได้ว่า ค่าปรับที่ประชาชนถูกปรับตามกฎหมายการจราจรนั้น มีกระบวนการจัดเก็บและการคำนวณเงินค่าปรับอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดสรรนำส่งกระทรวงการคลัง และจัดสรรเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุมและสนับสนุนอย่างเหมาะสม หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ระบบของวงจรเงินค่าปรับมีการตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ตัวเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด