บช.น.เลิกล็อกล้อ เจ้าของรถเจอสองเด้ง จ่ายทั้งค่าปรับและค่ารถยก
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 7 ตุลาคม 2556 17:29 น.
บช.น.แจงกระแส ตร.ภูธร วิ่งเต้นเพื่อขอย้ายมาเป็น ตร.จราจรใน กทม.เพื่อหวังส่วนแบ่งจากยอดใบสั่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด ชี้ยอดเฉลี่ยแต่ละนายประมาณ 15,000 ต่อเดือนเท่านั้น เตรียมเล่นงานพวกไม่จ่ายค่าปรับขึ้นศาลจราจร เลิกระบบล็อกล้อ หันไปใช้บริการรถยก แต่ผู้กระทำผิดต้องจ่ายทั้งค่าปรับและค่ารถยกเอง
วันนี้ (7 ต.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) รับผิดชอบงานด้านการจราจร กล่าวถึงกระแสข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในต่างจังหวัดมีความพยายามวิ่งเต้นโยกย้ายเข้ามาเป็นตำรวจจราจรใน กทม.ช่วงฤดูแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับรอง ผบก.-รอง สว.ประจำปี 2556 เดือน พ.ย.นี้ เนื่องจากมีรายได้ดีอยู่ที่เดือนละ 7-8 หมื่นบาทว่า อาจเป็นการเข้าใจผิด เพราะปกติแล้วเงินส่วนแบ่งจากการออกใบสั่งและจับกุมข้อหาความผิด พ.ร.บ.จราจรต่างๆ แบ่งเป็นสองส่วนโดยส่งให้ กทม. 100เปอร์เซ็นต์ เข้าหลวง 60 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่เหลือ กทม.จะส่งกลับมาให้ผู้จับกุม 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยเฉลี่ยตัวเลขรายได้ของจราจรที่จับกุมแต่ละนายจะได้ไม่มากนักประมาณ 15,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น ตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ภูธรอาจจะมองผิดและคิดไปเอง
รอง ผบช.น.กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาตำรวจจราจรรับส่วยรีดไถเงินจากผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดตามที่มีคลิปภาพปรากฏในช่วงที่ผ่านมาว่า จากนี้ไปจะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชันใดๆ เพราะจะนำระบบเทคโนโลยีตรวจจับการกระทำผิดด้วยอิเล็กทรอนิกส์ กล้องวงจรปิดซีซีทีวี ซึ่งในบ่ายวันนี้มีการติดตั้งเพิ่มอีก 500 ตัว ตามทางแยกสำคัญต่างๆ แล้ว รวมถึงการนำระบบการเสียค่าปรับทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายประเทศทำกันเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ถูกต้องชัดเจน สามารถแก้ปัญหาการฉ้อโกงได้เป็นอย่างดี จากการตรวจ วิเคราะห์รายงานผลการออกใบสั่งในแต่ละเดือนที่ผ่านมาพบว่ามีผู้กระทำความผิด เสียค่าปรับจากใบสั่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเขียนออกไปเพียง 25% ส่วนอีก 75% นั้นไม่ได้มาเสียค่าปรับ และไม่ทราบว่าไปไหน อาจเป็นเพราะไม่มีมาตรการดำเนินการอย่างจริงจังใน ส่วนนี้หรืออาจเกิดการคอร์รัปชันระหว่างกระบวนการคือเจ้าหน้าที่ทำการปรับเอง หรือส่วนที่ 3 เป็นการว่ากล่าวตักเตือน
แต่หากในอนาคตเรามีระบบจับปรับทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายภายใน 7 วันต้องไปเสียค่าปรับในอัตราปกติ ซึ่งจะมีบริการรับจ่ายค่าปรับอิเล็กทรอนิคผ่านทางธนาคารและร้านสะดวกซื้อต่างๆ แต่หากปล่อยให้เกิน 7 วันไปแล้วไม่มาเสียค่าปรับก็จะต้องขึ้นศาลจราจร และเสียค่าปรับในอัตราที่แพงขึ้น และอาจมีโทษทำดีให้สังคมด้วย เช่น กวาดถนน ทาสีช่องจราจร หรือการทำประโยชน์ทางสาธารณะในรูปแบบต่างๆ ในชุมชนที่มีคนพลุกพล่านเพื่อให้เกิดความอับอายจะได้เข็ดหลาบ และเมื่อเป็นเช่นนี้ใบสั่งทุกใบที่ออกไปจะต้องมีการปรับกลับมาเข้าหลวงถึง 100% ทีเดียว
รอง ผบช.น.กล่าวต่อว่า โครงการศาลจราจรและโครงการใบสั่งและค่าปรับอิเล็กทรอนิกส์ได้รวบรวมอยู่ใน 16 โครงการ แผนงานพัฒนาจราจร กทม.ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยเสนอเป็นแผนปฏิบัติจราจรกองบัญชาการตำรวจ นครบาลที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนหลังจากได้รับมอบหมายจาก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.ให้ดูแลงานด้านการจราจรซึ่งโครงการจัดตั้งศาลจราจรใน กทม.นั้นจะเร่งผลักดันนำเสนอรัฐบาลในทันทีเพื่อบังคับใช้กฎหมายจราจรได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดซีซีทีวีในการตรวจจับและใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ยังมีนโยบายปฏิบัติในส่วนของการจัดระเบียบจราจรผู้ขับขี่บนท้องถนนในกรณีที่ชอบจอดรถในที่ห้ามจอด ซึ่งเป็นความผิดด้านการจราจรที่ตรวจพบมากที่สุด ในช่วงที่ผ่านมาโดยเป็นหนึ่งในโครงการแผนพัฒนาจราจรคือการบังคับใช้กฎหมาย สำหรับรถจอดผิดกฎจากนี้ไปจะไม่มีการล็อกล้อ แต่จะใช้การยกรถไปไว้ที่โรงพัก โดยผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้เสียค่าปรับและจ่ายค่ารถยกด้วย ถือว่าเป็นการบังคับใช้โดยเด็ดขาด
บช.น.แจงกระแส ตร.ภูธร วิ่งเต้นเพื่อขอย้ายมาเป็น ตร.จราจรใน กทม.เพื่อหวังส่วนแบ่งจากยอดใบสั่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 7 ตุลาคม 2556 17:29 น.
บช.น.แจงกระแส ตร.ภูธร วิ่งเต้นเพื่อขอย้ายมาเป็น ตร.จราจรใน กทม.เพื่อหวังส่วนแบ่งจากยอดใบสั่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด ชี้ยอดเฉลี่ยแต่ละนายประมาณ 15,000 ต่อเดือนเท่านั้น เตรียมเล่นงานพวกไม่จ่ายค่าปรับขึ้นศาลจราจร เลิกระบบล็อกล้อ หันไปใช้บริการรถยก แต่ผู้กระทำผิดต้องจ่ายทั้งค่าปรับและค่ารถยกเอง
วันนี้ (7 ต.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) รับผิดชอบงานด้านการจราจร กล่าวถึงกระแสข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในต่างจังหวัดมีความพยายามวิ่งเต้นโยกย้ายเข้ามาเป็นตำรวจจราจรใน กทม.ช่วงฤดูแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจระดับรอง ผบก.-รอง สว.ประจำปี 2556 เดือน พ.ย.นี้ เนื่องจากมีรายได้ดีอยู่ที่เดือนละ 7-8 หมื่นบาทว่า อาจเป็นการเข้าใจผิด เพราะปกติแล้วเงินส่วนแบ่งจากการออกใบสั่งและจับกุมข้อหาความผิด พ.ร.บ.จราจรต่างๆ แบ่งเป็นสองส่วนโดยส่งให้ กทม. 100เปอร์เซ็นต์ เข้าหลวง 60 เปอร์เซ็นต์
ส่วนที่เหลือ กทม.จะส่งกลับมาให้ผู้จับกุม 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยเฉลี่ยตัวเลขรายได้ของจราจรที่จับกุมแต่ละนายจะได้ไม่มากนักประมาณ 15,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น ตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ภูธรอาจจะมองผิดและคิดไปเอง
รอง ผบช.น.กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาตำรวจจราจรรับส่วยรีดไถเงินจากผู้ขับขี่ที่กระทำความผิดตามที่มีคลิปภาพปรากฏในช่วงที่ผ่านมาว่า จากนี้ไปจะไม่มีการทุจริตคอร์รัปชันใดๆ เพราะจะนำระบบเทคโนโลยีตรวจจับการกระทำผิดด้วยอิเล็กทรอนิกส์ กล้องวงจรปิดซีซีทีวี ซึ่งในบ่ายวันนี้มีการติดตั้งเพิ่มอีก 500 ตัว ตามทางแยกสำคัญต่างๆ แล้ว รวมถึงการนำระบบการเสียค่าปรับทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายประเทศทำกันเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ถูกต้องชัดเจน สามารถแก้ปัญหาการฉ้อโกงได้เป็นอย่างดี จากการตรวจ วิเคราะห์รายงานผลการออกใบสั่งในแต่ละเดือนที่ผ่านมาพบว่ามีผู้กระทำความผิด เสียค่าปรับจากใบสั่งที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเขียนออกไปเพียง 25% ส่วนอีก 75% นั้นไม่ได้มาเสียค่าปรับ และไม่ทราบว่าไปไหน อาจเป็นเพราะไม่มีมาตรการดำเนินการอย่างจริงจังใน ส่วนนี้หรืออาจเกิดการคอร์รัปชันระหว่างกระบวนการคือเจ้าหน้าที่ทำการปรับเอง หรือส่วนที่ 3 เป็นการว่ากล่าวตักเตือน
แต่หากในอนาคตเรามีระบบจับปรับทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายภายใน 7 วันต้องไปเสียค่าปรับในอัตราปกติ ซึ่งจะมีบริการรับจ่ายค่าปรับอิเล็กทรอนิคผ่านทางธนาคารและร้านสะดวกซื้อต่างๆ แต่หากปล่อยให้เกิน 7 วันไปแล้วไม่มาเสียค่าปรับก็จะต้องขึ้นศาลจราจร และเสียค่าปรับในอัตราที่แพงขึ้น และอาจมีโทษทำดีให้สังคมด้วย เช่น กวาดถนน ทาสีช่องจราจร หรือการทำประโยชน์ทางสาธารณะในรูปแบบต่างๆ ในชุมชนที่มีคนพลุกพล่านเพื่อให้เกิดความอับอายจะได้เข็ดหลาบ และเมื่อเป็นเช่นนี้ใบสั่งทุกใบที่ออกไปจะต้องมีการปรับกลับมาเข้าหลวงถึง 100% ทีเดียว
รอง ผบช.น.กล่าวต่อว่า โครงการศาลจราจรและโครงการใบสั่งและค่าปรับอิเล็กทรอนิกส์ได้รวบรวมอยู่ใน 16 โครงการ แผนงานพัฒนาจราจร กทม.ที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยเสนอเป็นแผนปฏิบัติจราจรกองบัญชาการตำรวจ นครบาลที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนหลังจากได้รับมอบหมายจาก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น.ให้ดูแลงานด้านการจราจรซึ่งโครงการจัดตั้งศาลจราจรใน กทม.นั้นจะเร่งผลักดันนำเสนอรัฐบาลในทันทีเพื่อบังคับใช้กฎหมายจราจรได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดซีซีทีวีในการตรวจจับและใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ยังมีนโยบายปฏิบัติในส่วนของการจัดระเบียบจราจรผู้ขับขี่บนท้องถนนในกรณีที่ชอบจอดรถในที่ห้ามจอด ซึ่งเป็นความผิดด้านการจราจรที่ตรวจพบมากที่สุด ในช่วงที่ผ่านมาโดยเป็นหนึ่งในโครงการแผนพัฒนาจราจรคือการบังคับใช้กฎหมาย สำหรับรถจอดผิดกฎจากนี้ไปจะไม่มีการล็อกล้อ แต่จะใช้การยกรถไปไว้ที่โรงพัก โดยผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้เสียค่าปรับและจ่ายค่ารถยกด้วย ถือว่าเป็นการบังคับใช้โดยเด็ดขาด