สวัสดีครับวันนี้ชวนชาว pantip มาจับผิดละคร จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คิดมานานละครับว่าน่าจะเอามาเขียนซักครั้ง เพราะเวลาดูละครที่มีฉากเกี่ยวกับการแพทย์ การรักษา การปฐมพยาบาล บุคลากรในวงการแพทย์ทุกคนจะก่นด่า บ่นกันจน facebook แตก เพราะเราจะเห็นจุดผิด จุดมั่วอยู่มากมาย แต่เพิ่งมีโอกาสได้เขียนยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ
ถามว่าผิดแล้วจะเป็นยังไง??? ข้อมูลที่ผิดพลาดที่ออกมาในละคร อาจจะทำให้คนดูเชื่อว่าความจริง เค้าทำ เค้ามีวิธีรักษากันอย่างนี้ ความเข้าใจผิดนี้อาจทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจ คลางแคลงใจได้ครับเวลาไปรักษาจริงๆ หรือเจอเหตุการณ์จริง สร้างความยากลำบากในการรักษาขึ้นไปอีกขั้นนึง และในหลายๆฉาก โดยเฉพาะการปั๊มหัวใจเพื่อฟื้นคืนชีพ(CPR) ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่ส่วนตัวผมเห็นว่าประชาชนทั่วไป ควรจะเรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้ถูกต้องถ้าเจอสถานการณ์ ถ้าดูละครแล้วจำไปว่าแบบในละครถูก ก็แย่แน่ครับเพราะผิดหมด ทำไปไม่ได้ประโยชน์แถมมีอันตรายกับตัวคนไข้ตามมาอีก
ซึ่งผมต้องบอกว่าจากการสังเกตละครไทยมา กว่า90%ของละครที่มีฉากการรักษาและการแพทย์อยู่ ผิดและมั่วทั้งหมด
แม้กระทั่งในละครที่มีหมอจริงๆแสดงอยู่ด้วย อย่างหมอก้องในพรพรหมอลเวง ก็เต็มไปด้วยฉากการรักษามั่วๆ ทำให้เกิดคำถามว่าเค้าไม่มีทีมหาข้อมูล (research team) กันหรืออย่างไร ถึงมั่วได้ขนาดนี้
ถ้าแฟนเพจเคยได้ดูซีรีส์ ต่างชาติอย่างเช่น Grey's anatomy หรือเก่าหน่อยก็ ER จะเห็นได้เลยถึงความแตกต่างความสมจริงที่เทียบชั้นกันไม่ติดครับ เพราะซีรีส์ต่างๆเหล่านี้มีที่ปรึกษาและทีมหาข้อมูลอย่างดี จึงเป๊ะ สมจริงแทบทุกจุด อาจมีหลุดๆบ้างแต่ก็จับยากมาก
จนเราเชื่อว่าตัวละครเหล่านั้นเป็นหมอเป็นพยาบาลกันจริงๆ สมจริงขนาดนั้น หันมามองละครบ้านเราแล้วก็หายใจ เฮือก!!!
เดี๋ยววันนี้เรามาชำแหละละครกันซัก2-3ข้อครับ
อะ เอาอย่างแรกเลยก็ได้ ดูจากในรูปเลยนะครับ การใช้หน้ากากช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจน ในกรณีนี้คือเด็กแล้วดูขนาดหน้ากากสิครับ ใหญ่ขนาดนั้นครอบเลยปากเลยจมูก บีบไปอากาศก็รั่วออกหมด ไม่ได้ช่วยอะไรเลยแถมถุงที่บีบเพื่อช่วยหายใจ(ambu bag) ก็ใหญ่มาก มันไม่ใช่ขนาดสำหรับเด็กครับ การบีบ ambu bag นี้ต้องใช้ขนาดที่พอดีสำหรับแต่ละวัย และบีบในความแรงที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อากาศเข้าปอดมากจนเกินไป
นี่แค่อย่างแรกนะเนี่ย^^
เรื่องต่อมา เธอจะสวยไปไหนน่ะ? แต่งหน้ามาเต็ม ขนตาเด้ง เล็บ7สี นี่เธอจะไปเข้าห้องผ่าตัด/ห้องคลอดนะ
-เชื่อเลยว่าแฟนละครต้องเคยเห็นฉากแบบนี้บ่อยๆเวลานางเอกเข้าโรงพยาบาลเพื่อไปผ่าตัด หน้าจะสวยฉ่ำมาเลยก่อนเข้าห้องผ่าตัดหรือกระทั่งอยู่บนเตียงผ่าตัดแล้วก็ตาม แถมเล็บก็จะจัดสีมาเต็ม พอเห็นฉากแบบนี้ก็จะเกิดคำถามว่า เอ๊ะ!!!นี่ป่วยจริง และเตรียมตัวผ่าตัดมาแล้วจริงๆเหรอ????เหมือนเตรียมไปผับมากกว่า
- ข้อท็จจริงคือ ในคนไข้ที่ต้องเข้าห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้ามแต่งหน้า ครับล้างเครื่องสำอางค์ออกให้หมด ถ้าทาเล็บก็ต้องล้างออกให้หมด แปรงฟันบ้วนปากให้สะอาด นี่ผมพูดโดยมาตรฐานทั่วไปนะครับ ถ้าจะมีบางโรงพยาบาลทำแตกต่างไปจากนี้ เช่น ให้แต่งหน้าได้เบาๆทาเล็บได้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ครับ เหตุผลที่ต้องให้ล้างเครื่องสำอางค์หมด เพราะในการผ่าตัดเราต้องการดูลักษณะสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคนไข้เกิดความผิดปกติ เช่น เสียเลือดมากปากจะซีด หน้าจะซีด ขาดออกซิเจน หน้าจะเขียวคล้ำ ถ้าแต่งหน้ามาเต็มการดูสิ่งเหล่านี้ก็จะยาก
- สำหรับยาทาเล็บสีต่างๆ จะมีผลต่อการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง(SpO2) ที่ใช้เครื่องมือมาหนีบที่นิ้วนั่นแหละครับ โดยพบว่าค่า SpO2 ต่างกันไปตามสีที่ทาเล็บ ส่วนใหญทำใหอ่านค่าได้ต่ำลง การศึกษาในผู้ป่วยพบว่ายาทาเล็บสีดำ เขียว น้ำเงิน (dark coloured nail polish) ทําให้อ่านค่า SpO2 ไดน้อยลงร้อยละ 3, 5 และ 6 ตามลําดับ จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและอาจวินิจฉัยผิดไปว่าคนไข้มีปัญหาการหายใจหรือขาดออกซิเจนได้
ต่อมาลองมาดูเรื่องการแจ้งข่าวร้าย (breaking bad news) ในละครไทยกันครับ
"หมอช่วยเต็มที่แล้ว คนไข้ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียใจด้วยครับ"
"หมอพยายามเต็มที่แล้ว คนไข้มาถึงช้าไป ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ"
เป็นประโยคที่คุ้นใช่มั้ยละครับ รับรองว่าถ้าในละครมีตัวละครเสียชีวิตหมอที่เดินออกมาจากห้องผ่าตัด หรือห้องฉุกเฉน ต้องพูดประโยคนี้แน่ แต่!!!! โดยส่วนตัว และในชีวิตจริงที่เห็น ไม่เคยใช้ประโยคนี้เลยครับ
ถ้าลองย้อนกลับไปอ่านใหม่จะเห็นว่า มันสั้นเกินไป และมีช่องโหว่ของประโยคเหล่านี้อยู่หลายจุด ลองไปดูทีละจุดแล้วเราค่อยมาว่ากันว่าชีวิตจริงๆใช้อย่างไร
"ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ทำให้เกิดคำถามเนาะ ว่ามั้ยครับ ว่าบาดแผลมันมีพิษยังไง แบบพิษงูอะไรแบบนี้รึป่าว ส่วนตัวสงสัยทุกครั้ง เลยครับที่ได้ยินประโยคนี้ว่าเอามาจากไหน บาดแผลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุถูกทำร้ายหรืออะไรก็ว่าไป ไม่น่าจะมีพิษจนทำให้คนไข้ทนไม่ไหว
- ประโยคที่ใช้จริงและควรใช้ ก็อธิบายไปเลยครับว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น คนไข้โดนยิงเข้าหน้าอกโดนปอด โดนเส้นเลือดใหญ่ วิธีการอธิบายก็บอกไปว่า กระสุนถูกยิงเข้าปอดและโดนเส้นเลือดใหญ่บริเวณปอดทำให้คนไข้เสียเลือดมากจนความดันตกและหัวใจหยุดเต้น อย่างนี้เป็นต้น
"หมอพยายามเต็มที่แล้ว" บางทีถ้าเป็นญาติพี่น้องเรา เราก็คงอยากรู้จริงมั้ยครับ ว่าที่หมอบอกว่าพยายามเต็มที่แล้ว หมอได้ทำอะไรไปบ้าง เช่น ในกรณีที่คนไข้หมดสติแล้วนำส่งโรงพยาบาล หมอคงทำการปั๊มหัวใจ CPR เป็นต้น คำอธิบายก็น่าจะเป็น "ตอนคนไข้มาถึงโรงพยาบาลหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว หมอได้ทำการปั๊มหัวใจ ให้ยากระตุ้นหัวใจอยู่นานประมาณ 30 นาทีครับ แต่คนไข้ไม่ตอบสนอง ไม่มีการกลับมาเต้นของหัวใจ"
สิ่งเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ที่วงการละครไทยไม่เห็นความสำคัญ กลายมาเป็นประโยคจำ ประโยคติดปากของตัวละครหมอไป ถ้าลองดูซีรีส์ต่างประเทศจะเจอคำอธิบายอย่างที่ผมบอกข้างต้นครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราพูดจริงๆเมื่อเกิดเหตุการณ์ คนเสียชีวิตคนนึง คนเป็นญาติคงต้องการคำอธิบายที่ชัดเจนกว่าประโยคสั้นๆพวกนี้ จริงมั้ยครับ ?
สุดท้ายแล้วเรื่องนี้สำคัญมากครับ และก็มีจุดผิดหลายจุดในละครทุกเรื่องเพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีหลายขั้นตอน
นั่นคือเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือปั๊มหัวใจ หรือ CPR ครับ ความเห็นส่วนตัวคือประชาชนทั่วไปควรจะรู้วิธีการและสามารถทำการ CPR ได้อย่างถูกต้องเพราะมีโอกาสเจอสถานการณ์จริงได้ตลอดเวลา แต่ละครก็ยังทำออกมามั่วมาก ทุกจุด จะมาชี้ให้ดูเป็นจุดๆนะครับว่ามีตรงไหนบ้าง
1. ไปกดอยู่ที่นมปั๊มยังไงหัวใจก็ไม่กลับมาเต้นหรอกนะ!!!
ตำแหน่งที่ถูกต้องของการกดหน้าอกเพื่อ CPR จะอยู่ตรงกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ไปเล็กน้อย หรือลากเส้นสมมติระหว่างหัวนม2ข้าง มาตรงกลาง ตำแหน่งตรงนั้นละครับถูกต้อง ในละครบ้างก็กดนม บ้างก็กดต่ำลงมาที่ท้อง ผิดหมดครับ และเป็นอันตรายกับการบาดเจ็บหน้าอก กระดูกซี่โครงหักทิ่มปอด หรือบาดเจ็บช่องท้องด้วย
2. 5 วินาทีกดหน้าอกทีนึง ไร้ประโยชน์มากครับ!!!
อัตราการกดหน้าอกที่ถูกต้องคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 100ครั้ง/นาที วิธีการนับคือ 1และ2และ3....และ10,11,12... จนถึง 30 ครั้ง/1รอบ แล้วช่วยหายใจ 2 ครั้งนะครับในกรณีที่อยู่นอกโรงพยาบาล ทำไปเรื่อยๆจนกว่ารถพยาบาลจะมา ยังไงลองดูในคลิปนี้นะครับ
สอนได้ดีทีเดียวน้องออมกับทีน่าจาก yes or no นำแสดง น่ารักเชียว
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=hwD98SH9Wq4#!
การกดหน้าอกเป็นการใช้แรงจากภายนอกเพื่อกระต้นหัวใจ และส่งแรงไปที่หัวใจให้เกิดแรงบีบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะสมอง ซึ่งต้องใช้ความแรงในการกดและความเร็วที่เหมาะสม(push hard and fast) ความลึกในการกดไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว ความเร็วในการกดไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที
3. ในการCPRถ้าถึงโรงพยาบาลแล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจครับเพื่อให้คนไข้ได้รับออกซิเจนต่อเนื่องเพียงพอ ในละครที่เราเห็นจะแปะๆออกซิเจนที่จมูกหรือ ใช้หน้ากากออกซิเจน นั่นผิดหมดครับ แล้วก็การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นการใส่ผ่านเส้นเสียง (vocal cord ที่เห็นแดงๆจากในรูปนะครับ) ลงไปในหลอดลม (trachea) ดังนั้นคนไข้จะพูดไม่ได้ในช่วงระหว่างที่ใส่ท่อช่วยหายใจครับ เห็นในละครหลายๆเรื่องนะ เช่น เวลาคนไข้อยู่ในห้อง ICU มีท่อช่วยหายใจติดอยู่มุมปาก แต่สามารถพูดสั่งเสียได้ยาว 3 หน้ากระดาษ นั่นแสดงให้เห็นถึงการหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของคนทำละครนะครับ
4.เอะอะๆช็อคไฟฟ้าช๊อตหัวใจ !!!!แล้วฟื้น!!!!
การช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ(defibrillation) นั้นจะใช้เฉพาะในกรณีที่ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แต่ไม่มีชีพจรครับ ในกรณีคลื่นไฟฟ้าเป็นเส้นตรงยาวยืด การช็อคไฟฟ้าไม่มีประโยชน์ครับ ทำได้แค่กดหน้าอกต่อไปเรื่อยๆ
สำหรับ CPR อย่างไรให้ผิด clip นี้จากพรพรหมอลเวงได้แสดงให้เราดูอย่างครบถ้วนครับ เข้าไปดูกันได้ตั้งแต่ประมาณนาทีที่ 5 เป็นต้นไป
http://www.youtube.com/watch?v=g820ui_XPp0
CPR อยู่บนผ้านี่ก็ผิดแล้วครับ วางตำแหน่งมือผิด ลักษณะการวางมือผิด ขนาดหน้ากากให้ออกซิเจนใหญ่ไปวางลอยอยู่ไม่แนบปากจมูกคนไข้ ไม่มีการใส่ท่อช่วยหายใจ กดหน้าอกด้วยความเร็วและแรงที่ไม่ถูก defibrillation ก็ทำบนผ้านะเออ สุดท้ายแล้วการ CPR ทำคนเดียวไม่ได้นะครับ ต้องมีคนเปิดเส้น ฉีดยากระตุ้นหัวใจ ช่วยหายใจ ไม่ใช่ยืนสวยอยู่ข้างๆ นะ แค้นน้าวี!!! CPR ไม่ถูกน้องเมไม่รอดเลย
ต้องทำยังไงนะเราถึงจะทำให้คนที่ทำละครเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ผิดๆในเรื่องคอขาดบาดตายแบบนี้ได้ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ
ก็มาฝากๆเอาไว้ในนี้เผื่อจะได้ให้ความรู้และเผื่อจะมีคนในแวดวงเข้ามาอ่าน จะรับไปปรับปรุงบ้างก็จะดีมากครับ
ความสมจริงบ่งบอกถึงการหาข้อมูล ความละเอียด ไม่ชุ่ย และเรื่องเหล่านี้เป็นองค์ความรู้ที่ควรทำให้ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ในการให้ความรู้กับคนที่เสพสื่อนะ ผมว่า
tag เฉลิมไทยเพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับละครนะครับ
ป.ล.เพิ่มเติมเนื้อหา ใครไม่เชื่อไม่เห็นความสำคัญของความถูกต้องของหนังละครว่ามันมีอิทธิพลแค่ไหน ลองอ่านข่าวนี้นะครับ เด็ก9ขวบในอเมริกา ช่วย CPR น้องสาวที่จมน้ำจนหัวใจกลับมาเต้น จากการที่เคยดูฉาก CPR ในหนังเรื่อง Black Hawk Down แล้วสนใจจนต่อยอดพ่อสอนให้ทำเป็น จนเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ ช่วย1ชีวิตน้อยๆไว้ได้นะครับ เด็ก9ขวบน่ะ
http://edition.cnn.com/2011/HEALTH/05/12/ep.kid.save.life.bonifield/index.html
ละครไทยกับการแพทย์ ที่ผ่านไปกี่ปี่ก็ยังไม่สมจริงเหมือนเดิม
ถามว่าผิดแล้วจะเป็นยังไง??? ข้อมูลที่ผิดพลาดที่ออกมาในละคร อาจจะทำให้คนดูเชื่อว่าความจริง เค้าทำ เค้ามีวิธีรักษากันอย่างนี้ ความเข้าใจผิดนี้อาจทำให้เกิดความสับสน ไม่แน่ใจ คลางแคลงใจได้ครับเวลาไปรักษาจริงๆ หรือเจอเหตุการณ์จริง สร้างความยากลำบากในการรักษาขึ้นไปอีกขั้นนึง และในหลายๆฉาก โดยเฉพาะการปั๊มหัวใจเพื่อฟื้นคืนชีพ(CPR) ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่ส่วนตัวผมเห็นว่าประชาชนทั่วไป ควรจะเรียนรู้เพื่อจะได้ทำได้ถูกต้องถ้าเจอสถานการณ์ ถ้าดูละครแล้วจำไปว่าแบบในละครถูก ก็แย่แน่ครับเพราะผิดหมด ทำไปไม่ได้ประโยชน์แถมมีอันตรายกับตัวคนไข้ตามมาอีก
ซึ่งผมต้องบอกว่าจากการสังเกตละครไทยมา กว่า90%ของละครที่มีฉากการรักษาและการแพทย์อยู่ ผิดและมั่วทั้งหมด
แม้กระทั่งในละครที่มีหมอจริงๆแสดงอยู่ด้วย อย่างหมอก้องในพรพรหมอลเวง ก็เต็มไปด้วยฉากการรักษามั่วๆ ทำให้เกิดคำถามว่าเค้าไม่มีทีมหาข้อมูล (research team) กันหรืออย่างไร ถึงมั่วได้ขนาดนี้
ถ้าแฟนเพจเคยได้ดูซีรีส์ ต่างชาติอย่างเช่น Grey's anatomy หรือเก่าหน่อยก็ ER จะเห็นได้เลยถึงความแตกต่างความสมจริงที่เทียบชั้นกันไม่ติดครับ เพราะซีรีส์ต่างๆเหล่านี้มีที่ปรึกษาและทีมหาข้อมูลอย่างดี จึงเป๊ะ สมจริงแทบทุกจุด อาจมีหลุดๆบ้างแต่ก็จับยากมาก
จนเราเชื่อว่าตัวละครเหล่านั้นเป็นหมอเป็นพยาบาลกันจริงๆ สมจริงขนาดนั้น หันมามองละครบ้านเราแล้วก็หายใจ เฮือก!!!
เดี๋ยววันนี้เรามาชำแหละละครกันซัก2-3ข้อครับ
อะ เอาอย่างแรกเลยก็ได้ ดูจากในรูปเลยนะครับ การใช้หน้ากากช่วยหายใจเพื่อให้ออกซิเจน ในกรณีนี้คือเด็กแล้วดูขนาดหน้ากากสิครับ ใหญ่ขนาดนั้นครอบเลยปากเลยจมูก บีบไปอากาศก็รั่วออกหมด ไม่ได้ช่วยอะไรเลยแถมถุงที่บีบเพื่อช่วยหายใจ(ambu bag) ก็ใหญ่มาก มันไม่ใช่ขนาดสำหรับเด็กครับ การบีบ ambu bag นี้ต้องใช้ขนาดที่พอดีสำหรับแต่ละวัย และบีบในความแรงที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อากาศเข้าปอดมากจนเกินไป
นี่แค่อย่างแรกนะเนี่ย^^
เรื่องต่อมา เธอจะสวยไปไหนน่ะ? แต่งหน้ามาเต็ม ขนตาเด้ง เล็บ7สี นี่เธอจะไปเข้าห้องผ่าตัด/ห้องคลอดนะ
-เชื่อเลยว่าแฟนละครต้องเคยเห็นฉากแบบนี้บ่อยๆเวลานางเอกเข้าโรงพยาบาลเพื่อไปผ่าตัด หน้าจะสวยฉ่ำมาเลยก่อนเข้าห้องผ่าตัดหรือกระทั่งอยู่บนเตียงผ่าตัดแล้วก็ตาม แถมเล็บก็จะจัดสีมาเต็ม พอเห็นฉากแบบนี้ก็จะเกิดคำถามว่า เอ๊ะ!!!นี่ป่วยจริง และเตรียมตัวผ่าตัดมาแล้วจริงๆเหรอ????เหมือนเตรียมไปผับมากกว่า
- ข้อท็จจริงคือ ในคนไข้ที่ต้องเข้าห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้ามแต่งหน้า ครับล้างเครื่องสำอางค์ออกให้หมด ถ้าทาเล็บก็ต้องล้างออกให้หมด แปรงฟันบ้วนปากให้สะอาด นี่ผมพูดโดยมาตรฐานทั่วไปนะครับ ถ้าจะมีบางโรงพยาบาลทำแตกต่างไปจากนี้ เช่น ให้แต่งหน้าได้เบาๆทาเล็บได้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ครับ เหตุผลที่ต้องให้ล้างเครื่องสำอางค์หมด เพราะในการผ่าตัดเราต้องการดูลักษณะสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคนไข้เกิดความผิดปกติ เช่น เสียเลือดมากปากจะซีด หน้าจะซีด ขาดออกซิเจน หน้าจะเขียวคล้ำ ถ้าแต่งหน้ามาเต็มการดูสิ่งเหล่านี้ก็จะยาก
- สำหรับยาทาเล็บสีต่างๆ จะมีผลต่อการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง(SpO2) ที่ใช้เครื่องมือมาหนีบที่นิ้วนั่นแหละครับ โดยพบว่าค่า SpO2 ต่างกันไปตามสีที่ทาเล็บ ส่วนใหญทำใหอ่านค่าได้ต่ำลง การศึกษาในผู้ป่วยพบว่ายาทาเล็บสีดำ เขียว น้ำเงิน (dark coloured nail polish) ทําให้อ่านค่า SpO2 ไดน้อยลงร้อยละ 3, 5 และ 6 ตามลําดับ จึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและอาจวินิจฉัยผิดไปว่าคนไข้มีปัญหาการหายใจหรือขาดออกซิเจนได้
ต่อมาลองมาดูเรื่องการแจ้งข่าวร้าย (breaking bad news) ในละครไทยกันครับ
"หมอช่วยเต็มที่แล้ว คนไข้ทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียใจด้วยครับ"
"หมอพยายามเต็มที่แล้ว คนไข้มาถึงช้าไป ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ"
เป็นประโยคที่คุ้นใช่มั้ยละครับ รับรองว่าถ้าในละครมีตัวละครเสียชีวิตหมอที่เดินออกมาจากห้องผ่าตัด หรือห้องฉุกเฉน ต้องพูดประโยคนี้แน่ แต่!!!! โดยส่วนตัว และในชีวิตจริงที่เห็น ไม่เคยใช้ประโยคนี้เลยครับ
ถ้าลองย้อนกลับไปอ่านใหม่จะเห็นว่า มันสั้นเกินไป และมีช่องโหว่ของประโยคเหล่านี้อยู่หลายจุด ลองไปดูทีละจุดแล้วเราค่อยมาว่ากันว่าชีวิตจริงๆใช้อย่างไร
"ทนพิษบาดแผลไม่ไหว" ทำให้เกิดคำถามเนาะ ว่ามั้ยครับ ว่าบาดแผลมันมีพิษยังไง แบบพิษงูอะไรแบบนี้รึป่าว ส่วนตัวสงสัยทุกครั้ง เลยครับที่ได้ยินประโยคนี้ว่าเอามาจากไหน บาดแผลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุถูกทำร้ายหรืออะไรก็ว่าไป ไม่น่าจะมีพิษจนทำให้คนไข้ทนไม่ไหว
- ประโยคที่ใช้จริงและควรใช้ ก็อธิบายไปเลยครับว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น คนไข้โดนยิงเข้าหน้าอกโดนปอด โดนเส้นเลือดใหญ่ วิธีการอธิบายก็บอกไปว่า กระสุนถูกยิงเข้าปอดและโดนเส้นเลือดใหญ่บริเวณปอดทำให้คนไข้เสียเลือดมากจนความดันตกและหัวใจหยุดเต้น อย่างนี้เป็นต้น
"หมอพยายามเต็มที่แล้ว" บางทีถ้าเป็นญาติพี่น้องเรา เราก็คงอยากรู้จริงมั้ยครับ ว่าที่หมอบอกว่าพยายามเต็มที่แล้ว หมอได้ทำอะไรไปบ้าง เช่น ในกรณีที่คนไข้หมดสติแล้วนำส่งโรงพยาบาล หมอคงทำการปั๊มหัวใจ CPR เป็นต้น คำอธิบายก็น่าจะเป็น "ตอนคนไข้มาถึงโรงพยาบาลหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว หมอได้ทำการปั๊มหัวใจ ให้ยากระตุ้นหัวใจอยู่นานประมาณ 30 นาทีครับ แต่คนไข้ไม่ตอบสนอง ไม่มีการกลับมาเต้นของหัวใจ"
สิ่งเล็กๆน้อยๆอย่างนี้ที่วงการละครไทยไม่เห็นความสำคัญ กลายมาเป็นประโยคจำ ประโยคติดปากของตัวละครหมอไป ถ้าลองดูซีรีส์ต่างประเทศจะเจอคำอธิบายอย่างที่ผมบอกข้างต้นครับ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราพูดจริงๆเมื่อเกิดเหตุการณ์ คนเสียชีวิตคนนึง คนเป็นญาติคงต้องการคำอธิบายที่ชัดเจนกว่าประโยคสั้นๆพวกนี้ จริงมั้ยครับ ?
สุดท้ายแล้วเรื่องนี้สำคัญมากครับ และก็มีจุดผิดหลายจุดในละครทุกเรื่องเพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีหลายขั้นตอน
นั่นคือเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือปั๊มหัวใจ หรือ CPR ครับ ความเห็นส่วนตัวคือประชาชนทั่วไปควรจะรู้วิธีการและสามารถทำการ CPR ได้อย่างถูกต้องเพราะมีโอกาสเจอสถานการณ์จริงได้ตลอดเวลา แต่ละครก็ยังทำออกมามั่วมาก ทุกจุด จะมาชี้ให้ดูเป็นจุดๆนะครับว่ามีตรงไหนบ้าง
1. ไปกดอยู่ที่นมปั๊มยังไงหัวใจก็ไม่กลับมาเต้นหรอกนะ!!!
ตำแหน่งที่ถูกต้องของการกดหน้าอกเพื่อ CPR จะอยู่ตรงกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ไปเล็กน้อย หรือลากเส้นสมมติระหว่างหัวนม2ข้าง มาตรงกลาง ตำแหน่งตรงนั้นละครับถูกต้อง ในละครบ้างก็กดนม บ้างก็กดต่ำลงมาที่ท้อง ผิดหมดครับ และเป็นอันตรายกับการบาดเจ็บหน้าอก กระดูกซี่โครงหักทิ่มปอด หรือบาดเจ็บช่องท้องด้วย
2. 5 วินาทีกดหน้าอกทีนึง ไร้ประโยชน์มากครับ!!!
อัตราการกดหน้าอกที่ถูกต้องคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 100ครั้ง/นาที วิธีการนับคือ 1และ2และ3....และ10,11,12... จนถึง 30 ครั้ง/1รอบ แล้วช่วยหายใจ 2 ครั้งนะครับในกรณีที่อยู่นอกโรงพยาบาล ทำไปเรื่อยๆจนกว่ารถพยาบาลจะมา ยังไงลองดูในคลิปนี้นะครับ
สอนได้ดีทีเดียวน้องออมกับทีน่าจาก yes or no นำแสดง น่ารักเชียว
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=hwD98SH9Wq4#!
การกดหน้าอกเป็นการใช้แรงจากภายนอกเพื่อกระต้นหัวใจ และส่งแรงไปที่หัวใจให้เกิดแรงบีบเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะสมอง ซึ่งต้องใช้ความแรงในการกดและความเร็วที่เหมาะสม(push hard and fast) ความลึกในการกดไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว ความเร็วในการกดไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที
3. ในการCPRถ้าถึงโรงพยาบาลแล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจครับเพื่อให้คนไข้ได้รับออกซิเจนต่อเนื่องเพียงพอ ในละครที่เราเห็นจะแปะๆออกซิเจนที่จมูกหรือ ใช้หน้ากากออกซิเจน นั่นผิดหมดครับ แล้วก็การใส่ท่อช่วยหายใจเป็นการใส่ผ่านเส้นเสียง (vocal cord ที่เห็นแดงๆจากในรูปนะครับ) ลงไปในหลอดลม (trachea) ดังนั้นคนไข้จะพูดไม่ได้ในช่วงระหว่างที่ใส่ท่อช่วยหายใจครับ เห็นในละครหลายๆเรื่องนะ เช่น เวลาคนไข้อยู่ในห้อง ICU มีท่อช่วยหายใจติดอยู่มุมปาก แต่สามารถพูดสั่งเสียได้ยาว 3 หน้ากระดาษ นั่นแสดงให้เห็นถึงการหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของคนทำละครนะครับ
4.เอะอะๆช็อคไฟฟ้าช๊อตหัวใจ !!!!แล้วฟื้น!!!!
การช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ(defibrillation) นั้นจะใช้เฉพาะในกรณีที่ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แต่ไม่มีชีพจรครับ ในกรณีคลื่นไฟฟ้าเป็นเส้นตรงยาวยืด การช็อคไฟฟ้าไม่มีประโยชน์ครับ ทำได้แค่กดหน้าอกต่อไปเรื่อยๆ
สำหรับ CPR อย่างไรให้ผิด clip นี้จากพรพรหมอลเวงได้แสดงให้เราดูอย่างครบถ้วนครับ เข้าไปดูกันได้ตั้งแต่ประมาณนาทีที่ 5 เป็นต้นไป http://www.youtube.com/watch?v=g820ui_XPp0
CPR อยู่บนผ้านี่ก็ผิดแล้วครับ วางตำแหน่งมือผิด ลักษณะการวางมือผิด ขนาดหน้ากากให้ออกซิเจนใหญ่ไปวางลอยอยู่ไม่แนบปากจมูกคนไข้ ไม่มีการใส่ท่อช่วยหายใจ กดหน้าอกด้วยความเร็วและแรงที่ไม่ถูก defibrillation ก็ทำบนผ้านะเออ สุดท้ายแล้วการ CPR ทำคนเดียวไม่ได้นะครับ ต้องมีคนเปิดเส้น ฉีดยากระตุ้นหัวใจ ช่วยหายใจ ไม่ใช่ยืนสวยอยู่ข้างๆ นะ แค้นน้าวี!!! CPR ไม่ถูกน้องเมไม่รอดเลย
ต้องทำยังไงนะเราถึงจะทำให้คนที่ทำละครเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ผิดๆในเรื่องคอขาดบาดตายแบบนี้ได้ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ
ก็มาฝากๆเอาไว้ในนี้เผื่อจะได้ให้ความรู้และเผื่อจะมีคนในแวดวงเข้ามาอ่าน จะรับไปปรับปรุงบ้างก็จะดีมากครับ
ความสมจริงบ่งบอกถึงการหาข้อมูล ความละเอียด ไม่ชุ่ย และเรื่องเหล่านี้เป็นองค์ความรู้ที่ควรทำให้ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์ในการให้ความรู้กับคนที่เสพสื่อนะ ผมว่า
tag เฉลิมไทยเพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับละครนะครับ
ป.ล.เพิ่มเติมเนื้อหา ใครไม่เชื่อไม่เห็นความสำคัญของความถูกต้องของหนังละครว่ามันมีอิทธิพลแค่ไหน ลองอ่านข่าวนี้นะครับ เด็ก9ขวบในอเมริกา ช่วย CPR น้องสาวที่จมน้ำจนหัวใจกลับมาเต้น จากการที่เคยดูฉาก CPR ในหนังเรื่อง Black Hawk Down แล้วสนใจจนต่อยอดพ่อสอนให้ทำเป็น จนเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ ช่วย1ชีวิตน้อยๆไว้ได้นะครับ เด็ก9ขวบน่ะ
http://edition.cnn.com/2011/HEALTH/05/12/ep.kid.save.life.bonifield/index.html