เชิญคุณ FirstTouch มาว่ากันต่อ ในเรื่อง คดีที่ดินรัชดา ในประเดน กองทุนฟื้นฟู ที่คุยค้างกันเมื่อคืนครับ

กระทู้สนทนา
กระทู้เดิมของผม   http://ppantip.com/topic/30401703
..........................................................................................................
และนี่ ความเห้นคุณที่ทิ้งท้ายก่อนที่ผมจะบอกว่าค่อยคุยกันใหม่เพราะดึกแล้ว
...........................................................................................................

ตอนแรกว่าจะไม่ตอบ แต่เห็นความคิดเห็นข้างล่างมาโจมตีคนทำงาน

ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรอิสระ ความจริงองค์กรค์อิสระก็หน่วยงานรัฐเหมือนกัน แต่ปราศจากการแทรกแซง

ก่อนนั้นทักษิณเคยแทรกแซง ปลด  ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ออกจากตำแหน่งผู้ว่า ธปท. อ้างว่าเพื่อความเหมาะสม
แต่ปัจจุบันทำไม่ได้ง่ายๆเหมือนก่อน

พ.ร.บ. ระบุมาตราสำคัญไว้ดังนี้ มาตรา ๒๘/๑๘ ผู้ว่าการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปีนับแต่วันที่ทรงแต่งตั้ง และอาจได้รับแต่งตั้งได้อีกไม่เกินหนึ่งวาระ
         มาตรา ๒๘/๑๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๒๘/๑๘ แล้ว ผู้ว่าการพ้น จากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๒๘/๑๗ หน้า ๓๗ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๑ ก ราชกิจจานุเบกษา ๓ มีนาคม ๒๕๕๑
(๔) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคำแนะนำของรัฐมนตรี เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือทุจริตต่อหน้าที่
(๕) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีหรือการเสนอของรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ธปท. เพราะบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถโดยมติดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลในการให้ออกอย่างชัดแจ้ง

ตอบกลับ
FirstTouch
12 ชั่วโมงที่แล้ว
.....................................................................................................................

สิ่งที่คุณตอบผม ผมดูอย่างละเอียดแล้ว มันไม่เกี่ยวกับ หัวข้อกระทู้ผมเลย เพราะหากคุณอ่านคำพิพากษาคดีที่ดินรัชดาในประเดนแห่งคดีคือ(เรื่องการกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟู)  ไม่มีเลยที่ศาลอ้างสิ่งที่คุณพูด หรือยกมา  ผมจึงงงว่ามันเกี่ยวกับสิ่งที่ตั้งเป็นกระทู้อย่างไร

แต่หากจะให้เดาใจคุณก็น่าจะเป็นเรื่อง การแทรกแซง โดยคุณยกเรื่อง นายกทักษิณเคยแทรกแซง ปลด  ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ออกจากตำแหน่งผู้ว่า ธปท.

ถ้าเรื่องนี้คือเหตุที่คุณยกมา ผมก็จะบอกว่านั่นไม่ใช่การแทรกแซง แต่นั่นทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 (2541ฉบับแก้ไข) เพราะ คดีนี้ ถูกฟ้องเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และศาลมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ดังนั้น  พรบ.2551 จึงทำภายหลัง   http://law.longdo.com/law/335/rev535#

ดังนั้น เมื่ออ่านดูอำนาจหน้าที่ตาม มาตรา 19 หมวด 3 พรบ.2485 (2541ฉบับแก้ไข) ระบุว่า

มาตรา ๑๙  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งหรือถอนจากตำแหน่งซึ่งผู้ว่าการและรองผู้ว่าการโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี

ส่วนกรรมการอื่น ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งหรือถอนจากตำแหน่งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรี

......................................................................................................................

ชัดเจนครับว่า การปลดผู้ว่า คืออำนาจหน้าที่ไม่ได้แทรกแซง ตาม พรบ.ที่บัญญัติไว้คือ ถวายคำแนะนำพระมหากษัตริย์หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์เป็นผู้วินิจฉัย

ด้านล่างผมจะเอาคำยืนยันการเปิดใจของ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ที่โดนปลดมาให้อ่าน แล้วคุณจะห็นว่า การปลดมีเหตุผลไหม และที่สำคัญ ในวรรคหนึ่ง ที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล บอก คือ (เนื่องจากกฎหมายแบงก์ชาติฉบับใหม่ที่เริ่มใช้เมื่อ 2551 การปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องมีเหตุผลในการปลดด้วย )  แปลว่า ตอนที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ถูกปลด ไม่ได้ถูกปลดตาม พรบ.2551  แต่ถูกปลด ตาม พรบ.2485(2541ฉบับแก้ไข) ในหมวด3 มาตรา19 ตามที่ผมยกมาให้ดูข้างต้น

และเหตุผลการถูกปลดจากปาก ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล คือ "ที่เขาปลดผมตอนนั้น เพราะเขาต้องการให้แบงก์ชาติสั่งธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อช่วยเอสเอ็มอี แต่ผมไม่ทำและยังไปออกกฎเกณฑ์บางอย่างที่ทำให้การปล่อยสินเชื่อต้องระมัดระวังยิ่งขึ้น เขาก็เลยปลดออก"

ส่วนที่คุณยกมา ก็เห็นชัดว่า พรบ.ก็ให้อำนาจ ครม.ปลดได้ ตาม มาตรา28/19 แต่ที่ รมต.คลัง บอกว่าเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ในเรื่องกำกับสั่งการก็เข้าใจว่าเป็นเพราะ พรบ.2551ไม่ได้ให้อำนาจไว้ จึงทำได้เฉพาะที่ พรบ.ให้อำนาจไว้เท่านั้น

พรบ.2551 มาตรา28/19  ที่คุณยกมาให้ผมดูชัดเจนว่าเขาให้อำนาจปลดเช่นกัน แต่ก็ขึ้นกับน้ำหนักเหตุผลด้วย

(๔) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคำแนะนำของรัฐมนตรี เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือทุจริตต่อหน้าที่
(๕) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีหรือการเสนอของรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ธปท. เพราะบกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถโดยมติดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลในการให้ออกอย่างชัดแจ้ง  

แล้วแบบนี้เขาเรียกว่าแทรกแซงตรงไหน การแทรกแซงต้องเป็นเรื่องที่ กฏหมายไม่ได้บัญญัติให้อำนาจไว้ ยกตัวอย่างเช่น ตลก.ศาล รธน.ที่กำลังแทรกแซงอำนาจ นิติบัญญัติ ในการร่าง ตรา แก้ไข กฏหมาย อย่างที่เห็นกันอยู่นี่ครับ ถึงเรียกว่าแทรกแซง..เข้าใจยังครับ

ปล.นี่ผมฟังความจากปาก ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ข้างเดียวนะ ผมยังไม่ได้ฟังความจากปาก นายกทักษิณ หรือผู้ที่จะมาตอบแทนนายกทักษิณในเรื่องนี้เลย

.................................................................................................................................................................

นี่ครับเหตุที่ถูกปลด.

http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02p0103210952§ionid=0201&day=2009-09-21
เปิดความในใจ "หม่อมเต่า" เบื้องลึกคำสั่งปลด
วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4142  ประชาชาติธุรกิจ

หลายๆ คนคงเข้าใจมาตลอดว่า สาเหตุที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หรือ "หม่อมเต่า" ถูกรัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) เป็นเพราะขัดนโยบายรัฐบาลเรื่องอัตราดอกเบี้ย

เนื่องจากตั้งแต่หม่อมเต่าเข้ามาเป็น ผู้ว่าการ ธปท.ในปี 2541 ซึ่งหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ได้ดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องหลายปี แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดย "พรรคไทยรักไทย" ชนะเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลในปี 2544 คณะรัฐมนตรีของพรรคไทยรักไทยก็มีมติปลด "หม่อมเต่า" จากตำแหน่ง "ผู้ว่าการแบงก์ชาติ" เมื่อวันที่ 29 พ.ค.2544

พร้อมกับแต่งตั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เข้ารับตำแหน่งแทนเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2544 แต่เริ่มงานจริง 4 มิ.ย. เพียงสัปดาห์แรกก็สนองความต้องการรัฐบาลทันที โดยประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายหรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) 14 วัน จาก 1.5% เป็น 2.5%

ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายๆ คนมีความเชื่อมากยิ่งขึ้นว่าหม่อมเต่าถูกปลดฐานขัดนโยบายรัฐบาล และหลายๆ คนก็เชื่อแบบนี้มาโดยตลอดจนถึงทุกวันนี้

แต่เพิ่งถึง "บางอ้อ" เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เข้าใจผิดกันมาตลอด เพราะเพิ่งได้ฟังจากปากของหม่อมเต่า ถึงสาเหตุที่ถูกรัฐบาลทักษิณปลดออกจากตำแหน่งนั้น เป็นเพราะไม่สนองนโยบายการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

"ที่เขาปลดผมตอนนั้น เพราะเขาต้องการให้แบงก์ชาติสั่งธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อช่วยเอสเอ็มอี แต่ผมไม่ทำและยังไปออกกฎเกณฑ์บางอย่างที่ทำให้การปล่อยสินเชื่อต้องระมัดระวังยิ่งขึ้น เขาก็เลยปลดออก"

หม่อมเต่ายังเปรยให้ฟังด้วยว่า หลังจากถูกปลดออกจากตำแหน่งแล้ว อดีตนายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร" ได้เชิญหม่อมเต่าเข้าร่วมพรรคด้วย แต่ด้วยสัญชาตญาณจึงไม่ได้เข้าร่วมพรรค ไม่เช่นนั้นคงได้ไปตีกอล์ฟอยู่ลอนดอนแล้ว

จุดเริ่มต้นที่หม่อมเต่าพูดเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจากในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2552 ของ ธปท.ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา มีนักข่าวถามหม่อมเต่าเกี่ยวกับเรื่องภาวะเศรษฐกิจ และต่อเนื่องถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เรื่องสินเชื่อ และเรื่องคนแบงก์ชาติ คุยกันไปคุยกันมาเลยโยงมาถึงเรื่อง "ปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติ"

สำหรับผู้ว่าการแบงก์ชาติคนปัจจุบัน "ธาริษา วัฒนเกส" ที่ดูเหมือนจะถูกกดดันในเรื่องนโยบายสินเชื่อเหมือนกรณีหม่อมเต่า แต่ประวัติศาสตร์คงไม่ซ้ำรอย เนื่องจากกฎหมายแบงก์ชาติฉบับใหม่ที่เริ่มใช้เมื่อ 2551 การปลดผู้ว่าการแบงก์ชาติไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องมีเหตุผลในการปลดด้วย นอกจากนี้ผู้ว่าการแบงก์ชาติคนปัจจุบันจะหมดวาระในปี 2553 เหลือเวลาทำงานอีกเพียงปีกว่า จึงไม่น่ามีปัญหาอะไร

แต่ประเด็นสำคัญ คือคงเป็นเรื่องยากมากที่ตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติคนต่อไปจะเป็นคนในแบงก์ชาติ เพราะการแต่งตั้ง ผู้ว่าการแบงก์ชาติภายใต้กฎหมายใหม่จะมาจากกระบวนการคัดเลือก ซึ่งมีคณะ กรรมการคัดเลือกเป็นผู้สรรหา และใครที่เป็นรัฐบาลช่วงนั้นก็ต้องเลือกผู้ที่สามารถคุยกับรัฐบาลหรือกระทรวงการคลังได้รู้เรื่อง

ซึ่งการประสานงานของกระทรวงคลังกับแบงก์ชาติในตอนนี้ หม่อมเต่ามองว่า มีปัญหาสำคัญ คือความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงคลังกับแบงก์ชาติอ่อนมาก ตอนนี้มีช่องทางเดียว คือมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เข้ามาเป็นกรรมการแบงก์ชาติโดยตำแหน่ง ถ้ามีความเข้าใจกันและคุยกันได้มากกว่านี้คงจะดี

"ตอนนี้มีปัญหาสำคัญคือการลิงก์ระหว่างคลังกับแบงก์ชาติ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายแบงก์ชาติฉบับใหม่ที่ประกาศใช้ในสมัย คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) แต่เราอยู่ประเทศเดียวกัน ยังไงก็ต้องประสานกันระดับหนึ่ง"

สˆวนสาเหตุที่ "หม่อมเต่า" ได้กลับเข้าวังบางขุนพรหมอีกครั้งในฐานะประธานคณะกรรมการแบงก์ชาติ "หม่อมเต่า" เปิดใจว่า เหตุที่กลับมาเพราะผมเขียนกฎหมายแบงก์ชาติ (ฉบับใหม่) ตั้ง 98% และกำลังทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคลังกับแบงก์ชาติ ช่วงที่ผ่านมา หม่อมเต่าได้ไปคุยกับรัฐมนตรีคลัง "กรณ์ จาติกวณิช" อย่างไม่เป็นทางการ

"ผมค่อนข้างสะดวกที่จะประสานกับรัฐบาลหรือกระทรวงการคลัง เพราะตำแหน่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติไม่ได้ชนกับใคร และไม่มีอำนาจตัดสินใจเรื่องนโยบาย ที่สำคัญ เขาพูดกับผม ก็ไม่เหมือนพูดกับผู้ว่าการแบงก์ชาติ แล้วที่ไปคุยกับรัฐมนตรีคลัง ก็ไปรับฟังปัญหาและมาประสานกับแบงก์ชาติ ส่วนจะผลักดันได้มากน้อยแค่ไหน ค่อยว่ากัน"

นอกจากนี้หม่อมเต่ายังเผยความในใจอีกว่า ช่วงที่เป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติอยู่กว่า 3 ปี ได้ทำอะไรตั้งหลายอย่าง ทั้งปรับปรุงกฎระเบียบภายในแบงก์ชาติ ปรับปรุงโครง สร้างการทำงาน และโครงสร้างเงินเดือน แต่ที่เสียดายคือไม่ได้แก้ไขเรื่องการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในแบงก์ชาติ เพื่อเป็นกลไกปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของ ธปท.ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี

วัฒนธรรมองค์กรของ ธปท.ที่หม่อมเต่าต้องการปรับเปลี่ยน น่าจะเป็นเรื่องแนวทางการทำงานที่มีลักษณะเป็น "desktop paper" หรือ "desktop exercise" ที่มีแต่เด็กเรียนเก่งระดับ ด็อกเตอร์เกรด A และ A บวก เมื่อถูก สั่งให้ทำงาน หรืองานวิจัย ก็จะวิ่งหาข้อมูลในห้องสมุด และต้องยอมรับว่าทำได้ดี แต่หม่อมเต่ามองว่า ต้องมีมากกว่านั้น

"มีเด็กเรียนเก่งๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าเรียนเก่งและเป็นเด็กซ่าๆ หน่อย น่าจะดีกว่า ทำให้เจริญกว่าด้วย"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่