ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวที่หนักหน่วง หวังผลอย่างแยบคายในการ "จะปลด" ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล จากทางฝั่งรัฐบาล และผู้สนับสนุนระบอบทักษิณ
ก่อนอื่นมารู้จัก ท่านผู้ว่าฯประสาร กันก่อนครับ
ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2519 ระดับปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ปี พ.ศ. 2521 ปริญญาโท Master in Business Administration และปี พ.ศ. 2524 ระดับปริญญาเอก Doctor of Business Administration จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
หลังจบวิศวะไฟฟ้า เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬาฯ ระหว่างนั้น ดร.ประสาร ในฐานะนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มีหน้าที่เจรจากับรัฐบาลจอมพลถนอมกิตติขจร ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ซึ่งได้ผล เมื่อรัฐบาลยอมปล่อยตัวทันที โดยไม่มีเงื่อนไข พอเรื่องทางการเมืองจบลง ก็ได้เดินทางไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ โดยได้รับพระราชทานทุนจาก"มูลนิธิอานันทมหิดล"แผนกวิศวกรรมศาสตร์ และจบด้านการบริหารธุรกิจ จากฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ จนได้ปริญญาเอก
ต่อมา ดร.ประสารเข้ามาทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยในตำแหน่ง เศรษฐกร ฝ่ายวิชาการ และเป็นหัวหน้าหน่วย ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ จนก้าวขึ้นมาถึง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ต่อมาขยับย้ายมาเป็น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในปี 2535 และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.ในปี 2542 จนถึงปี 2546 ทั้งหมดนี้ การันตีได้ว่า ดร.ประสาร เชี่ยวชาญรอบด้านทั้งตลาดเงิน และตลาดทุน ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน เพราะก่อนจะก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เป็นถึง กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย
จากความทรงจำของผมตอนนั้น คุณบัณฑูร ล่ำซำบอสใหญ่แบงก์กสิกร ให้สัมภาษณ์บ่อยครั้งถึงความเสียดายที่ ดร.ประสารต้องไปจากแบงก์กสิกร และกำชับ รัฐบาลที่เชิญมารับตำแหน่งตอนนั้น ว่า ดูแลให้ดี เพราะบุคลากรที่ เก่ง ดี มีความสามารถขนาดนี้ ประเทศไทย หาไม่ได้ง่ายๆ และสุดท้ายตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 6 ก.ค.2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีมติแต่งตั้ง ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ด้วยความครบเครื่องของดร.ประสาร ขอบอกจากความเห็นส่วนตัวว่า การคิดปลด ออกจากการเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพียงเพราะ รัฐบาล"สั่งไม่ได้"นั้น ไม่ง่ายแน่นอน ก่อนนี้มีความพยายามปลดมาแล้วครั้งหนึ่ง ช่วงที่มีการออก พรก.โอนหนี้,พรก.กู้เงิน และพยายามล้วงเงินคลังหลวงมาใช้ ทั้งโจมตีแบงก์ชาติ ดร.ประสาร ก็ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึง ดร.ป๋วย ตอกหน้ารัฐบาลหงายเงิบกลับไป ด้วยเหตุผลทางวิชาการ จารีตอันดีงามของธนาคารชาติ และความมั่นคงของชาติทางการเงิน
ครั้งนี้มีความพยายามหนักหน่วงขึ้น โดยในการประชุม ครม.วันอังคารที่ผ่านมา มีการประชุมลับ ถามถึงการ "ปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ" กันตรงๆเลยว่า ต้องทำอย่างไร ก็มีการชี้แจงไปว่า ตาม พรบ.แบงก์ชาติ 2551 ที่ร่างโดยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นมีการเสริมใยเหล็ก ให้ปลดกันไม่ได้ง่ายๆ เหมือนที่ทักษิณ เคยปลดหม่อมเต่า คือ ตามมาตรา 28 ผู้ว่าฯจะพ้นจากตำแหน่ง 4 ข้อ 1.ตาย (หวังว่ารัฐบาลคงไม่ใจโจรถึงขนาดเล่นกันถึงตาย) 2.ลาออก (ผมมั่นใจว่าดร.ประสารมีความเข้มแข็งเพื่อชาติมากพอ) ซึ่งตัดสองข้อนี้ไปได้เลย มาที่ประเด็นครับ ข้อ 3 คือ ให้ปลดออกโดย มติครม.โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่า เสื่อมเสียร้ายแรง– ทุจริตต่อหน้าที่ และข้อ 4. ให้ปลดออกโดยมติครม.โดยคำแนะนำของรัฐมนตรี จากคำแนะนำบอร์ดแบงก์ชาติ ว่า บกพร่องร้ายแรง – หย่อนความสามารถ โดยสรุปคือ ผู้ว่าฯประสาร จะถูกปลดได้ ต้องมาจากมติคณะรัฐมนตรี เท่านั้น
และนี่ใช่หรือไม่ ที่ ดร.โกร่งต้องออกมาชงประเด็น ลากยาวถึงผลขาดทุนแบงก์ชาติ ที่แท้จริงแล้วรวมถึงผลขาดทุนในอดีตด้วย และรวมถึงผลขาดทุนทางบัญชีที่หลักการบัญชีต้องตีมูลค่าจากเงินสกุลต่างประเทศเป็นเงินบาท หลายตัวเลขที่ฝ่ายการเมืองใช้โจมตีผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เป็นตัวเลขสะสมตั้งแต่สมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง 2540 ความจริง ดร.โกร่ง ในฐานะประธานบอร์ดแบงก์ชาติ สามารถช่วย ดร.ประสารทำงานได้อย่างแข็งขัน แต่นี่กลับจับมือฝ่ายการเมือง เล่นลิเกโรงใหญ่ แถลงข่าวโจมตีชิ่งแบงก์ชาติ ให้ประชาชนสับสน แล้วชี้ช่องไปว่านายกฯและครม.มีอำนาจปลดและเปรยเป็นนัยยะว่า ให้ทำซะ !
ประเด็นปลดไม่ได้ มีอยู่อีกนิดเดียวครับ ตรงที่ว่า คณะรัฐมนตรี จะมีมติต้องมาจากการเสนอของรัฐมนตรี และควรจะเป็นรัฐมนตรีคลัง แต่ข่าวแว่วกันมาว่า ดร.โกร่ง ถึงกับสบถลอยๆ ว่า รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง "ปอดแหก" ไม่กล้ารับในการประชุมลับว่า จะเป็นคนเสนอปลด เพราะอะไรครับ เพราะเขารู้กันดีว่า เหตุผลที่จะปลดผู้ว่านั้น ยังไม่หนักพอ ดังใน พรบ.แบงก์ชาติที่ว่า เสื่อมเสียร้ายแรง ทุจริตต่อหน้าที่ บกพร่องร้ายแรง หย่อนความสามารถ มิเช่นนั้นแล้ว บูมเมอแรง จากทั้งทางสังคม และทางกฎหมายจะพุ่งกลับสู่คณะรัฐมนตรีทั้งคณะจนเสียกระบวนได้ง่ายๆ
ทางที่ดีสังคมไทยควรคิดกลับกันว่า หากใช้เกณฑ์ ในการปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติมาใช้กับ "คณะรัฐมนตรี"โดยเฉพาะ"นายกรัฐมนตรี"แทนล่ะก็ โดนปลดไปนานแล้วครับ แต่ละเรื่องที่ทำ ล้วนแล้วแต่เสื่อมเสียร้ายแรง (ว.5 โฟร์ซีซันส์) ทุจริตต่อหน้าที่ (โกงจำนำข้าว และสารพัดนโยบาย) บกพร่องร้ายแรง (ด่าประเทศไทยให้โลกฟัง) หย่อนความสามารถ (ลอง Google คำหยาบๆดูสิครับ)
สรุปสั้นๆ ก่อนจะคิดปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ขอให้ชะโงกดูเงา แล้วปลดตัวเองเถอะครับ นี่อาจเป็นเหตุการณ์เดียวที่คนไทยปรบมือให้คณะรัฐบาลชุดนี้ก็เป็นได้
ที่มา:
http://www.naewna.com/politic/columnist/6504
ปล.รัฐบาลห่วย ๆ ทำงานไม่เป็น กำลังหาแพะอยู่ใช่ไหมครับ...เอิ๊ก ๆ ๆ
จะปลดแบงก์ชาติ ดูตัวเองแล้วยัง !?
ก่อนอื่นมารู้จัก ท่านผู้ว่าฯประสาร กันก่อนครับ
ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2519 ระดับปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ปี พ.ศ. 2521 ปริญญาโท Master in Business Administration และปี พ.ศ. 2524 ระดับปริญญาเอก Doctor of Business Administration จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
หลังจบวิศวะไฟฟ้า เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬาฯ ระหว่างนั้น ดร.ประสาร ในฐานะนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มีหน้าที่เจรจากับรัฐบาลจอมพลถนอมกิตติขจร ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ซึ่งได้ผล เมื่อรัฐบาลยอมปล่อยตัวทันที โดยไม่มีเงื่อนไข พอเรื่องทางการเมืองจบลง ก็ได้เดินทางไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ โดยได้รับพระราชทานทุนจาก"มูลนิธิอานันทมหิดล"แผนกวิศวกรรมศาสตร์ และจบด้านการบริหารธุรกิจ จากฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ จนได้ปริญญาเอก
ต่อมา ดร.ประสารเข้ามาทำงานที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยในตำแหน่ง เศรษฐกร ฝ่ายวิชาการ และเป็นหัวหน้าหน่วย ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ จนก้าวขึ้นมาถึง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ต่อมาขยับย้ายมาเป็น รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในปี 2535 และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.ในปี 2542 จนถึงปี 2546 ทั้งหมดนี้ การันตีได้ว่า ดร.ประสาร เชี่ยวชาญรอบด้านทั้งตลาดเงิน และตลาดทุน ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน เพราะก่อนจะก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เป็นถึง กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย
จากความทรงจำของผมตอนนั้น คุณบัณฑูร ล่ำซำบอสใหญ่แบงก์กสิกร ให้สัมภาษณ์บ่อยครั้งถึงความเสียดายที่ ดร.ประสารต้องไปจากแบงก์กสิกร และกำชับ รัฐบาลที่เชิญมารับตำแหน่งตอนนั้น ว่า ดูแลให้ดี เพราะบุคลากรที่ เก่ง ดี มีความสามารถขนาดนี้ ประเทศไทย หาไม่ได้ง่ายๆ และสุดท้ายตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อ 6 ก.ค.2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีมติแต่งตั้ง ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ด้วยความครบเครื่องของดร.ประสาร ขอบอกจากความเห็นส่วนตัวว่า การคิดปลด ออกจากการเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพียงเพราะ รัฐบาล"สั่งไม่ได้"นั้น ไม่ง่ายแน่นอน ก่อนนี้มีความพยายามปลดมาแล้วครั้งหนึ่ง ช่วงที่มีการออก พรก.โอนหนี้,พรก.กู้เงิน และพยายามล้วงเงินคลังหลวงมาใช้ ทั้งโจมตีแบงก์ชาติ ดร.ประสาร ก็ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึง ดร.ป๋วย ตอกหน้ารัฐบาลหงายเงิบกลับไป ด้วยเหตุผลทางวิชาการ จารีตอันดีงามของธนาคารชาติ และความมั่นคงของชาติทางการเงิน
ครั้งนี้มีความพยายามหนักหน่วงขึ้น โดยในการประชุม ครม.วันอังคารที่ผ่านมา มีการประชุมลับ ถามถึงการ "ปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ" กันตรงๆเลยว่า ต้องทำอย่างไร ก็มีการชี้แจงไปว่า ตาม พรบ.แบงก์ชาติ 2551 ที่ร่างโดยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นั้นมีการเสริมใยเหล็ก ให้ปลดกันไม่ได้ง่ายๆ เหมือนที่ทักษิณ เคยปลดหม่อมเต่า คือ ตามมาตรา 28 ผู้ว่าฯจะพ้นจากตำแหน่ง 4 ข้อ 1.ตาย (หวังว่ารัฐบาลคงไม่ใจโจรถึงขนาดเล่นกันถึงตาย) 2.ลาออก (ผมมั่นใจว่าดร.ประสารมีความเข้มแข็งเพื่อชาติมากพอ) ซึ่งตัดสองข้อนี้ไปได้เลย มาที่ประเด็นครับ ข้อ 3 คือ ให้ปลดออกโดย มติครม.โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่า เสื่อมเสียร้ายแรง– ทุจริตต่อหน้าที่ และข้อ 4. ให้ปลดออกโดยมติครม.โดยคำแนะนำของรัฐมนตรี จากคำแนะนำบอร์ดแบงก์ชาติ ว่า บกพร่องร้ายแรง – หย่อนความสามารถ โดยสรุปคือ ผู้ว่าฯประสาร จะถูกปลดได้ ต้องมาจากมติคณะรัฐมนตรี เท่านั้น
และนี่ใช่หรือไม่ ที่ ดร.โกร่งต้องออกมาชงประเด็น ลากยาวถึงผลขาดทุนแบงก์ชาติ ที่แท้จริงแล้วรวมถึงผลขาดทุนในอดีตด้วย และรวมถึงผลขาดทุนทางบัญชีที่หลักการบัญชีต้องตีมูลค่าจากเงินสกุลต่างประเทศเป็นเงินบาท หลายตัวเลขที่ฝ่ายการเมืองใช้โจมตีผู้ว่าฯแบงก์ชาติ เป็นตัวเลขสะสมตั้งแต่สมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง 2540 ความจริง ดร.โกร่ง ในฐานะประธานบอร์ดแบงก์ชาติ สามารถช่วย ดร.ประสารทำงานได้อย่างแข็งขัน แต่นี่กลับจับมือฝ่ายการเมือง เล่นลิเกโรงใหญ่ แถลงข่าวโจมตีชิ่งแบงก์ชาติ ให้ประชาชนสับสน แล้วชี้ช่องไปว่านายกฯและครม.มีอำนาจปลดและเปรยเป็นนัยยะว่า ให้ทำซะ !
ประเด็นปลดไม่ได้ มีอยู่อีกนิดเดียวครับ ตรงที่ว่า คณะรัฐมนตรี จะมีมติต้องมาจากการเสนอของรัฐมนตรี และควรจะเป็นรัฐมนตรีคลัง แต่ข่าวแว่วกันมาว่า ดร.โกร่ง ถึงกับสบถลอยๆ ว่า รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง "ปอดแหก" ไม่กล้ารับในการประชุมลับว่า จะเป็นคนเสนอปลด เพราะอะไรครับ เพราะเขารู้กันดีว่า เหตุผลที่จะปลดผู้ว่านั้น ยังไม่หนักพอ ดังใน พรบ.แบงก์ชาติที่ว่า เสื่อมเสียร้ายแรง ทุจริตต่อหน้าที่ บกพร่องร้ายแรง หย่อนความสามารถ มิเช่นนั้นแล้ว บูมเมอแรง จากทั้งทางสังคม และทางกฎหมายจะพุ่งกลับสู่คณะรัฐมนตรีทั้งคณะจนเสียกระบวนได้ง่ายๆ
ทางที่ดีสังคมไทยควรคิดกลับกันว่า หากใช้เกณฑ์ ในการปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติมาใช้กับ "คณะรัฐมนตรี"โดยเฉพาะ"นายกรัฐมนตรี"แทนล่ะก็ โดนปลดไปนานแล้วครับ แต่ละเรื่องที่ทำ ล้วนแล้วแต่เสื่อมเสียร้ายแรง (ว.5 โฟร์ซีซันส์) ทุจริตต่อหน้าที่ (โกงจำนำข้าว และสารพัดนโยบาย) บกพร่องร้ายแรง (ด่าประเทศไทยให้โลกฟัง) หย่อนความสามารถ (ลอง Google คำหยาบๆดูสิครับ)
สรุปสั้นๆ ก่อนจะคิดปลดผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ขอให้ชะโงกดูเงา แล้วปลดตัวเองเถอะครับ นี่อาจเป็นเหตุการณ์เดียวที่คนไทยปรบมือให้คณะรัฐบาลชุดนี้ก็เป็นได้
ที่มา:http://www.naewna.com/politic/columnist/6504
ปล.รัฐบาลห่วย ๆ ทำงานไม่เป็น กำลังหาแพะอยู่ใช่ไหมครับ...เอิ๊ก ๆ ๆ