วันที่ 13 เม.ย. นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัว (@alongkornpb) โดยกล่าวถึงการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ "การปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จะทำให้เกิดจุดเปลี่ยนที่ส่งผลและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูปประเทศไทย หลายปีมานี้ ประเทศไทยตกอยู่ในวังวนของความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทำลายเอกภาพและศักยภาพของประเทศจนขีดความสามารถของชาติถดถอย ขณะที่การคอร์รัปชั่นในวงการเมืองและราชการระบาดรุนแรงเหมือนมะเร็งร้ายเกาะกินบ้านเมืองจนประเทศชาติเสมือนคนป่วยหนักโคม่า การเมืองพัฒนาสู่ระบบ 2 พรรคใหญ่เหมือนในอังกฤษและอเมริกา โดยมีพรรคเพื่อไทย (พท.) และพรรคประชาธิปัตย์ ผลัดกันเป็นแกนนำรัฐบาล การต่อสู้ทางการเมืองทั้งในและนอกสภาฯ เป็นไปอย่างเข้มข้นแบ่งสีแตกแยก จนมองไม่เห็นอนาคตของประเทศว่าจะจบลงที่ตรงไหน คำถามคือ แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรเมื่อไหร่และโดยใคร ผมคิดว่า เราต้องเริ่มแก้ไขที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่คือปชป. และพท. ผมไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับกิจการภายในของพรรคพท. แต่ก็หวังว่าจะมีการปฏิรูปพรรคสู่ความเป็นสถาบันทางการเมืองพร้อมกับพรรคปชป.
การผลักดันให้มีการปฏิรูปพรรคปชป. ไม่ได้มุ่งหมายจำกัดผลเฉพาะประโยชน์ ที่จะเกิดกับพรรคของตัวเองแต่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค 2 สัปดาห์ก่อน การประชุมใหญ่ประจำปี ผมเสนอให้เอาวันประชุมใหญ่ 23 มี.ค. เป็นวันดีเดย์การปฏิรูป ผมเสนอให้ปฏิรูปพรรคอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม 1.ปฏิรูปโครงสร้าง 2.ปฏิรูปการบริหารจัดการ 3.ปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรและบุคคลากร ผมบอกว่า ถ้าเราต้องการชนะเลือกตั้งก็ต้องปฏิรูปพรรคเพราะหลังจากชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนก.ย. 2535 เราพ่ายแพ้มาตลอด 21 ปี การแพ้ต่อเนื่อง 21 ปี คือโจทย์ใหญ่แม้เราจะพยายามแก้ไขเพื่อให้กลับมาชนะบ้างแต่ก็ทำไม่สำเร็จโดยเฉพาะเมื่อเกิดพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งปี 2544 เราแพ้พรรคไทยรักไทยที่มีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจหมื่นล้านเป็นหัวหน้าพรรคและแพ้มากขึ้นทุกที แม้ว่าหลายคนในพรรคจะปักใจว่าปี 2544 ปชป.แพ้ เพราะเงินแต่หลายคนรวมทั้งผมคิดว่าเราแพ้เพราะ "คิดไม่ทัน ปรับตัวไม่ทัน" สโลแกน "คิดใหม่ ทำใหม่" และรูปแบบหาเสียงใหม่ๆ โดยเฉพาะนโยบายใหม่ๆ คำสั้นๆ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ โดนใจประชาชน
เมื่อทรท. ชนะได้เป็นรัฐบาลก็ลงมือทำทันทีจนสร้างความเชื่อมั่นว่า "ทำได้อย่างที่พูด" จึงผูกใจประชาชนและเป็นเช่นนั้นจนถึงวันนี้ รัฐบาล "ทักษิณ" และรัฐบาลปัจจุบันแยก "การบริหารกับการเมือง" ออกจากกันโดยรัฐบาลบริหารสร้างผลงานและให้พรรครับงานการเมือง เมื่อคู่แข่งเปลี่ยนกลยุทธทั้งการเลือกตั้งและการบริหารจัดการแต่ปชป. ไม่เปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำงาน เราจึงสู้ไม่ได้มากขึ้นๆ อีกปัญหาคือเวลาสื่อ, นักวิชาการหรือองค์กรใดๆ วิจารณ์พรรคก็จะตอบโต้ทันทีและสรุปว่า "นั่นคือพวกทักษิณ" ทำให้เสียแนวร่วมไปมาก ปัญหาใหญ่อีกเรื่องคือการที่พรรคของเราถูกมองว่าอิงแอบเผด็จการและปล่อยปละละเลยให้มีการคอร์รัปชั่นอย่างมากตอนเป็นรัฐบาล นอกจากนั้น เราก็ไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้างและระบบมานานมากแล้ว เรามีสาขาพรรคเกือบ 200 สาขา แต่เราก็ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาเท่าที่ควร เพราะพรรคการเมืองไม่ได้มีหน้าที่เพียงการชนะเลือกตั้งให้ได้ส.ส. เท่านั้นแต่ต้องขยายและพัฒนาสาขาเพื่อเป็นกลไกดูแลปประชาชนด้วย ปชป.มีจุดอ่อนที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วและมีจุดแข็งคือความเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอุดมการณ์ไม่มีคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365827836&grpid=00&catid=01&subcatid=0100
ถ้าคนนี้เป็นหัวหน้าพรรค ปชป. ประมาทไม่ได้เลย
"อลงกรณ์" ชี้จุดอ่อนปชป. เราไม่ได้แพ้ "ทักษิณ" เพราะเงิน
การผลักดันให้มีการปฏิรูปพรรคปชป. ไม่ได้มุ่งหมายจำกัดผลเฉพาะประโยชน์ ที่จะเกิดกับพรรคของตัวเองแต่เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม การประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค 2 สัปดาห์ก่อน การประชุมใหญ่ประจำปี ผมเสนอให้เอาวันประชุมใหญ่ 23 มี.ค. เป็นวันดีเดย์การปฏิรูป ผมเสนอให้ปฏิรูปพรรคอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม 1.ปฏิรูปโครงสร้าง 2.ปฏิรูปการบริหารจัดการ 3.ปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรและบุคคลากร ผมบอกว่า ถ้าเราต้องการชนะเลือกตั้งก็ต้องปฏิรูปพรรคเพราะหลังจากชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนก.ย. 2535 เราพ่ายแพ้มาตลอด 21 ปี การแพ้ต่อเนื่อง 21 ปี คือโจทย์ใหญ่แม้เราจะพยายามแก้ไขเพื่อให้กลับมาชนะบ้างแต่ก็ทำไม่สำเร็จโดยเฉพาะเมื่อเกิดพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งปี 2544 เราแพ้พรรคไทยรักไทยที่มีพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจหมื่นล้านเป็นหัวหน้าพรรคและแพ้มากขึ้นทุกที แม้ว่าหลายคนในพรรคจะปักใจว่าปี 2544 ปชป.แพ้ เพราะเงินแต่หลายคนรวมทั้งผมคิดว่าเราแพ้เพราะ "คิดไม่ทัน ปรับตัวไม่ทัน" สโลแกน "คิดใหม่ ทำใหม่" และรูปแบบหาเสียงใหม่ๆ โดยเฉพาะนโยบายใหม่ๆ คำสั้นๆ เช่น 30 บาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ โดนใจประชาชน
เมื่อทรท. ชนะได้เป็นรัฐบาลก็ลงมือทำทันทีจนสร้างความเชื่อมั่นว่า "ทำได้อย่างที่พูด" จึงผูกใจประชาชนและเป็นเช่นนั้นจนถึงวันนี้ รัฐบาล "ทักษิณ" และรัฐบาลปัจจุบันแยก "การบริหารกับการเมือง" ออกจากกันโดยรัฐบาลบริหารสร้างผลงานและให้พรรครับงานการเมือง เมื่อคู่แข่งเปลี่ยนกลยุทธทั้งการเลือกตั้งและการบริหารจัดการแต่ปชป. ไม่เปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำงาน เราจึงสู้ไม่ได้มากขึ้นๆ อีกปัญหาคือเวลาสื่อ, นักวิชาการหรือองค์กรใดๆ วิจารณ์พรรคก็จะตอบโต้ทันทีและสรุปว่า "นั่นคือพวกทักษิณ" ทำให้เสียแนวร่วมไปมาก ปัญหาใหญ่อีกเรื่องคือการที่พรรคของเราถูกมองว่าอิงแอบเผด็จการและปล่อยปละละเลยให้มีการคอร์รัปชั่นอย่างมากตอนเป็นรัฐบาล นอกจากนั้น เราก็ไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้างและระบบมานานมากแล้ว เรามีสาขาพรรคเกือบ 200 สาขา แต่เราก็ไม่ได้ส่งเสริมพัฒนาเท่าที่ควร เพราะพรรคการเมืองไม่ได้มีหน้าที่เพียงการชนะเลือกตั้งให้ได้ส.ส. เท่านั้นแต่ต้องขยายและพัฒนาสาขาเพื่อเป็นกลไกดูแลปประชาชนด้วย ปชป.มีจุดอ่อนที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วและมีจุดแข็งคือความเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอุดมการณ์ไม่มีคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365827836&grpid=00&catid=01&subcatid=0100
ถ้าคนนี้เป็นหัวหน้าพรรค ปชป. ประมาทไม่ได้เลย