คอลัมน์ แมกซ์ มูวี เซกชัน แมกกาซีน หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2556
เรื่อง ตุลย์ จตุรภัทร
คุณมีเหตุผลของคุณ ผมมีหัวใจของผม...ก็พอแล้ว
ถ้าคุณปรารถนาจะดูภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งด้วยหัวใจ โดยไม่ใช้เหตุผลว่าหนังดีหรือเปล่า บทจะเข้าท่าไหม นักแสดง โดยเฉพาะนักแสดงนำจะตีบทแตกกระจุยกระจายหรือไม่ และผู้กำกับการแสดงจะเอาอยู่หรือเปล่า ผมแนะนำให้คุณดูภาพยนตร์ไทยเรื่อง “คู่กรรม” ครับ
ที่กล่าวอ้างเช่นนี้ มิใช่ว่าผมได้ค่าโฆษณาชวนเชื่อจากทางต้นสังกัดของภาพยนตร์เรื่องนี้ (เอ็ม39) แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะผมเข้าโรงภาพยนตร์เพื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยใจที่ “ใส” และ “ว่าง” ด้วยหัวใจของคนที่ชื่นชอบในบทประพันธ์จากปลายปากกา (เขียนด้วยปากกาจริงๆ มิใช่เคาะแป้นพิมพ์อย่างยุคสมัยนี้) ของ “คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ” ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2555 เพียงแค่นั้น
แม้ทางต้นสังกัดจะโหมโรงว่า ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เลือกที่จะตีความใหม่ และเล่าเรื่องใหม่ แต่การเข้าไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยใจที่ใสและว่าง ก็เพื่อที่ผมจะได้เป็นผู้ชมที่นั่งชมภาพยนตร์ในโรงโดยไม่พกความคาดหวังกับการตีความและเล่าเรื่องในรูปแบบใหม่เข้าไปแต่อย่างใด
เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มต้นฉาย ผมเริ่มเห็นอะไรบางอย่างในการตีความ และการเล่าเรื่องผ่านความกุ๊กกิ๊กน่ารักของพระเอกนางเอก ที่พบเจอกันในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยพระเอกตกหลุมรักนางเอกตั้งแต่แรกพบ ในขณะที่นางเอกแอบซ่อนความเกลียดชังคนญี่ปุ่นไว้ในใจ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทยที่ได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับกองทัพญี่ปุ่นในฐานะพันธมิตร
จุดเริ่มต้นของรักแรกพบและความเกลียดชัง มีความกุ๊กกิ๊กน่ารักอยู่ตลอดในช่วงแรก คนดูดูแล้วยิ้ม หัวเราะ และตกหลุมรักการแสดงของณเดชน์ (พระเอก) ไปเต็มๆ แม้จะขัดเคืองใจไปกับการแสดงของอรเณศ (นางเอก) ที่พูดตามบท “ไม่” “ออกไป” “เราเกลียดนาย” ฯลฯ อย่างไม่สื่อความหมายใดๆ ผ่านการแสดงออกมา
เมื่อเรื่องราวดำเนินไปเรื่อยๆ ท่ามกลางการตีความใหม่ และการเล่าเรื่องใหม่ (อย่างที่ผู้สร้างกล่าวอ้าง) สิ่งที่ผมค้นพบคือ มันมีความใหม่อย่างที่ทีมผู้สร้างกล่าวอ้างไว้จริงๆ ใหม่เสียจนคนที่รักในบทประพันธ์คู่กรรม หรือเคยชื่นชอบคู่กรรมในเวอร์ชันละคร หรือเวอร์ชันภาพยนตร์ครั้งก่อนหน้านี้ อาจไม่ชอบใจ หรืออาจฉงนในวิธีการตีความและการเล่าเรื่อง
และเพราะผมเข้าไปชมภาพยนตร์ด้วยใจที่ใสและว่าง ผมจึงเหมือนได้ดูคู่กรรมอย่าง “สด” และ “ใหม่” เหมือนได้เพลิดเพลินไปกับการเล่าเรื่องของผู้กำกับการแสดง (เรียว-กิตติกร เลียวศิริกุล) ที่กระชับ ฉับไว และไม่เยิ่นเย้อ รวมทั้งวิธีนำเสนอเรื่องราวความรักที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงคราม โดยมีอุปสรรคจากเชื้อชาติและเหตุผลทางการเมือง ก็ชัดเจนมากเหลือเกิน จนทำให้คนดูอิ่มใจไปกับวิธีการให้ได้มาซึ่งความรักของโกโบริ และอดสงสารอังศุมาลิน ที่มีรักแรกฝังใจ และมีความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทยแอบซ่อนอยู่ จนทำให้ไม่อาจใจอ่อนไปกับการพยายามเอาชนะใจของโกโบริได้
ทั้งหมดทั้งมวล ผมประทับใจในฉากที่โกโบริเมามายด้วยความเศร้าเสียใจในการเป็นคนมาทีหลังของตนเอง และพยายามจะเป็นคู่ผัวตัวเมียกับอังศุมาลินให้ได้ในคืนที่ตนเมามายกลับบ้านมา (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากโกโบริและอังศุมาลินแต่งงานกันแล้ว แต่เป็นการแต่งงานที่มีเหตุผลซับซ้อนมากมาย โดยเฉพาะเหตุผลทางการเมือง) กว่าจะได้มาซึ่งการเป็นคู่ผัวตัวเมียแบบสมบูรณ์ เล่นเอาโกโบริใช้ทุกวิถีทางในการเอาชนะการขัดขืนของอังศุมาลิน ตรงนี้แหละที่วิธีการแสดง รวมทั้งวิธีการกำกับการแสดงของผู้กำกับ ได้ใจผมไปเต็มๆ มันน่ารัก มันสมจริง และมันมีความเป็นมนุษย์อย่างบอกไม่ถูก มันเป็น “การแสดงที่ไม่ใช่การแสดง” อย่างที่ผมได้ร่ำเรียนมา
และอีกฉากหนึ่งซึ่งผมประทับใจ คือฉากจบ พลังของฉากจบ ทำให้ผมถึงกับซึมเศร้าออกจากโรง เนื่องด้วยผมเพิ่งค้นพบว่า นางเอกของเรื่อง (อรเณศ) ก็มีความสามารถทางการแสดงเช่นกัน มิใช่ไก่กามาคว้าบทนี้ได้ด้วยบารมีของผู้จัดการส่วนตัว (เอ ศุภชัย) อย่างที่หลายคนร่ำลือ (แม้ว่าอาจจะจริง) มันเป็นฉากจบที่การแสดงของนางเอกดูจริงเสียจนผมเชื่อว่านี่การสูญเสียคนที่ตัวเองรัก (แม้ว่ามันจะสายไปเสียแล้ว) อย่างไม่มีวันหวนคืนกลับมา
เอาเป็นว่า หากที่ผมพูดมา คุณยังไม่ปักใจเชื่อ เพราะเหตุผลต่างๆ มากมายของคุณ ผมก็จะบอกกับคุณว่า ผมก็มีหัวใจของผม เพื่อนั่งชมภาพยนตร์เรื่องนี้ และมันก็เพียงพอแล้วที่ผมจะบอกกับคุณว่า ถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสื่อถึง “ความรัก” ผมก็ได้รับ “ความรัก” กลับบ้านไปอย่างอิ่มอกอิ่มใจที่สุดแล้ว
แค่นี้่ก็เพียงพอแล้วใช่ไหมครับ?
(ล้อมกรอบ 1)
คู่กรรม
ประเภท รัก/ดรามา/สงคราม
กำกับ กิตติกร เลียวศิริกุล
แสดงนำ ณเดชน์ คูกิมิยะ / อรเณศ ดีคาบาเลส
(ล้อมกรอบ 2)
@ เมื่อเรียว กิตติกร รู้ตัวว่าจะได้มาเป็นผู้กำกับของภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม เขาไม่ดูหนังเวอร์ชันเก่า ก่อนจะลงมือสร้างเลย ด้วยเหตุผลที่ว่า ตนเองจะได้ไม่รู้สึกกดดัน
@ ณเดชน์เผยว่า ตนเองตีความบทโกโบริในแบบที่รู้สึก อย่างการตกหลุมรักอังศุมาลิน เขาก็ตีความว่า โกโบริเป็นวัยรุ่นที่ห่างบ้านมาไกล ทำให้ไม่ได้เจอผู้หญิง พอเจอผู้หญิงอย่างอังศุมาลิน ที่กล้าเข้ามาอู่ต่อเรือคนเดียว แถมยังกล้าต่อปากต่อคำกับทหารญี่ปุ่นอีก ก็เลยทำให้เขาตกหลุมรัก
@ เอ็ม 39 ต้องการนางเอกที่พายเรือได้ และอรเณศก็สามารถพายเรือได้ เธอจึงได้รับบทนี้ไป แต่เมื่อถ่ายทำไปได้สักพัก ความจริงก็ถูกเปิดเผยว่า เธอพายเรือได้ แต่ว่ายน้ำไม่เป็น
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง คู่กรรม จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
เรื่อง ตุลย์ จตุรภัทร
คุณมีเหตุผลของคุณ ผมมีหัวใจของผม...ก็พอแล้ว
ถ้าคุณปรารถนาจะดูภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งด้วยหัวใจ โดยไม่ใช้เหตุผลว่าหนังดีหรือเปล่า บทจะเข้าท่าไหม นักแสดง โดยเฉพาะนักแสดงนำจะตีบทแตกกระจุยกระจายหรือไม่ และผู้กำกับการแสดงจะเอาอยู่หรือเปล่า ผมแนะนำให้คุณดูภาพยนตร์ไทยเรื่อง “คู่กรรม” ครับ
ที่กล่าวอ้างเช่นนี้ มิใช่ว่าผมได้ค่าโฆษณาชวนเชื่อจากทางต้นสังกัดของภาพยนตร์เรื่องนี้ (เอ็ม39) แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะผมเข้าโรงภาพยนตร์เพื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยใจที่ “ใส” และ “ว่าง” ด้วยหัวใจของคนที่ชื่นชอบในบทประพันธ์จากปลายปากกา (เขียนด้วยปากกาจริงๆ มิใช่เคาะแป้นพิมพ์อย่างยุคสมัยนี้) ของ “คุณหญิงวิมล เจียมเจริญ” ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2555 เพียงแค่นั้น
แม้ทางต้นสังกัดจะโหมโรงว่า ทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ เลือกที่จะตีความใหม่ และเล่าเรื่องใหม่ แต่การเข้าไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยใจที่ใสและว่าง ก็เพื่อที่ผมจะได้เป็นผู้ชมที่นั่งชมภาพยนตร์ในโรงโดยไม่พกความคาดหวังกับการตีความและเล่าเรื่องในรูปแบบใหม่เข้าไปแต่อย่างใด
เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้เริ่มต้นฉาย ผมเริ่มเห็นอะไรบางอย่างในการตีความ และการเล่าเรื่องผ่านความกุ๊กกิ๊กน่ารักของพระเอกนางเอก ที่พบเจอกันในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยพระเอกตกหลุมรักนางเอกตั้งแต่แรกพบ ในขณะที่นางเอกแอบซ่อนความเกลียดชังคนญี่ปุ่นไว้ในใจ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทยที่ได้เซ็นสัญญาร่วมรบกับกองทัพญี่ปุ่นในฐานะพันธมิตร
จุดเริ่มต้นของรักแรกพบและความเกลียดชัง มีความกุ๊กกิ๊กน่ารักอยู่ตลอดในช่วงแรก คนดูดูแล้วยิ้ม หัวเราะ และตกหลุมรักการแสดงของณเดชน์ (พระเอก) ไปเต็มๆ แม้จะขัดเคืองใจไปกับการแสดงของอรเณศ (นางเอก) ที่พูดตามบท “ไม่” “ออกไป” “เราเกลียดนาย” ฯลฯ อย่างไม่สื่อความหมายใดๆ ผ่านการแสดงออกมา
เมื่อเรื่องราวดำเนินไปเรื่อยๆ ท่ามกลางการตีความใหม่ และการเล่าเรื่องใหม่ (อย่างที่ผู้สร้างกล่าวอ้าง) สิ่งที่ผมค้นพบคือ มันมีความใหม่อย่างที่ทีมผู้สร้างกล่าวอ้างไว้จริงๆ ใหม่เสียจนคนที่รักในบทประพันธ์คู่กรรม หรือเคยชื่นชอบคู่กรรมในเวอร์ชันละคร หรือเวอร์ชันภาพยนตร์ครั้งก่อนหน้านี้ อาจไม่ชอบใจ หรืออาจฉงนในวิธีการตีความและการเล่าเรื่อง
และเพราะผมเข้าไปชมภาพยนตร์ด้วยใจที่ใสและว่าง ผมจึงเหมือนได้ดูคู่กรรมอย่าง “สด” และ “ใหม่” เหมือนได้เพลิดเพลินไปกับการเล่าเรื่องของผู้กำกับการแสดง (เรียว-กิตติกร เลียวศิริกุล) ที่กระชับ ฉับไว และไม่เยิ่นเย้อ รวมทั้งวิธีนำเสนอเรื่องราวความรักที่เกิดขึ้นท่ามกลางสงคราม โดยมีอุปสรรคจากเชื้อชาติและเหตุผลทางการเมือง ก็ชัดเจนมากเหลือเกิน จนทำให้คนดูอิ่มใจไปกับวิธีการให้ได้มาซึ่งความรักของโกโบริ และอดสงสารอังศุมาลิน ที่มีรักแรกฝังใจ และมีความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทยแอบซ่อนอยู่ จนทำให้ไม่อาจใจอ่อนไปกับการพยายามเอาชนะใจของโกโบริได้
ทั้งหมดทั้งมวล ผมประทับใจในฉากที่โกโบริเมามายด้วยความเศร้าเสียใจในการเป็นคนมาทีหลังของตนเอง และพยายามจะเป็นคู่ผัวตัวเมียกับอังศุมาลินให้ได้ในคืนที่ตนเมามายกลับบ้านมา (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากโกโบริและอังศุมาลินแต่งงานกันแล้ว แต่เป็นการแต่งงานที่มีเหตุผลซับซ้อนมากมาย โดยเฉพาะเหตุผลทางการเมือง) กว่าจะได้มาซึ่งการเป็นคู่ผัวตัวเมียแบบสมบูรณ์ เล่นเอาโกโบริใช้ทุกวิถีทางในการเอาชนะการขัดขืนของอังศุมาลิน ตรงนี้แหละที่วิธีการแสดง รวมทั้งวิธีการกำกับการแสดงของผู้กำกับ ได้ใจผมไปเต็มๆ มันน่ารัก มันสมจริง และมันมีความเป็นมนุษย์อย่างบอกไม่ถูก มันเป็น “การแสดงที่ไม่ใช่การแสดง” อย่างที่ผมได้ร่ำเรียนมา
และอีกฉากหนึ่งซึ่งผมประทับใจ คือฉากจบ พลังของฉากจบ ทำให้ผมถึงกับซึมเศร้าออกจากโรง เนื่องด้วยผมเพิ่งค้นพบว่า นางเอกของเรื่อง (อรเณศ) ก็มีความสามารถทางการแสดงเช่นกัน มิใช่ไก่กามาคว้าบทนี้ได้ด้วยบารมีของผู้จัดการส่วนตัว (เอ ศุภชัย) อย่างที่หลายคนร่ำลือ (แม้ว่าอาจจะจริง) มันเป็นฉากจบที่การแสดงของนางเอกดูจริงเสียจนผมเชื่อว่านี่การสูญเสียคนที่ตัวเองรัก (แม้ว่ามันจะสายไปเสียแล้ว) อย่างไม่มีวันหวนคืนกลับมา
เอาเป็นว่า หากที่ผมพูดมา คุณยังไม่ปักใจเชื่อ เพราะเหตุผลต่างๆ มากมายของคุณ ผมก็จะบอกกับคุณว่า ผมก็มีหัวใจของผม เพื่อนั่งชมภาพยนตร์เรื่องนี้ และมันก็เพียงพอแล้วที่ผมจะบอกกับคุณว่า ถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการสื่อถึง “ความรัก” ผมก็ได้รับ “ความรัก” กลับบ้านไปอย่างอิ่มอกอิ่มใจที่สุดแล้ว
แค่นี้่ก็เพียงพอแล้วใช่ไหมครับ?
(ล้อมกรอบ 1)
คู่กรรม
ประเภท รัก/ดรามา/สงคราม
กำกับ กิตติกร เลียวศิริกุล
แสดงนำ ณเดชน์ คูกิมิยะ / อรเณศ ดีคาบาเลส
(ล้อมกรอบ 2)
@ เมื่อเรียว กิตติกร รู้ตัวว่าจะได้มาเป็นผู้กำกับของภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม เขาไม่ดูหนังเวอร์ชันเก่า ก่อนจะลงมือสร้างเลย ด้วยเหตุผลที่ว่า ตนเองจะได้ไม่รู้สึกกดดัน
@ ณเดชน์เผยว่า ตนเองตีความบทโกโบริในแบบที่รู้สึก อย่างการตกหลุมรักอังศุมาลิน เขาก็ตีความว่า โกโบริเป็นวัยรุ่นที่ห่างบ้านมาไกล ทำให้ไม่ได้เจอผู้หญิง พอเจอผู้หญิงอย่างอังศุมาลิน ที่กล้าเข้ามาอู่ต่อเรือคนเดียว แถมยังกล้าต่อปากต่อคำกับทหารญี่ปุ่นอีก ก็เลยทำให้เขาตกหลุมรัก
@ เอ็ม 39 ต้องการนางเอกที่พายเรือได้ และอรเณศก็สามารถพายเรือได้ เธอจึงได้รับบทนี้ไป แต่เมื่อถ่ายทำไปได้สักพัก ความจริงก็ถูกเปิดเผยว่า เธอพายเรือได้ แต่ว่ายน้ำไม่เป็น