The Matrix Really . Pt 18 . เสรีภาพอันสูงสุด ในการรับและนับถือธรรมะประจำชีวิตอยู่ในจิตใจ

กระทู้สนทนา
.     
            เสรีภาพอันสูงสุด ในการที่จะรับและนับถือธรรมะประจำ

ชีวิต ( ให้มาอยู่ในจิตใจ ) ของตน ขอให้ทุกคนได้รับของขวัญอันนี้

คือ มีเสรีภาพในการที่จะรับถือธรรมะมาเป็นที่พึ่งของตน เสรีภาพ

เช่นนี้ เป็นเครื่องมือสำหรับขุดเพชร กล่าวคือเสรีภาพในการพิจาร

ณาเลือกเฟ้นข้อผิดถูก ในการที่จะรับถือพระพุทธศาสนานั่นเองดังที่

จะได้กล่าวต่อไปตามลำดับ

             เสรีภาพในการรับถือพระพุทธศาสนานั้น คือหลักพระบาลี

กาลามสูตร ที่ตรัสไว้อย่างเป็นการประทานเสรีภาพสูงสุด เป็นประชา

ธิปไตยสูงสุด และก็เคยพูดเรื่องนี้มาหลายครั้งหลายหนแล้ว โดยใจ

ความก็มีว่า พวกชาวกาลามะได้ทูลถามพระองค์ว่า มีเจ้าลัทธิมาสอน

ลัทธิหลาย ๆ อย่างต่างกัน จนไม่รู้จะรับถืออย่างไรแล้ว จะทำอย่างไร

ดี พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องที่เรียกว่ากาลามสูตร มี ๑๐ หัวข้อด้วยกัน

           ขอให้จำไว้ว่า คำสอนทั้ง ๑๐ ข้อนี้ เรียกว่าเสรีภาพในการรับ

ถือธรรมะมาเป็นที่พึ่งของตน ดังนั้น อาตมาจะขอกล่าวเน้นและขยาย

ความทบทวนอีกทีหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ขอให้ตั้งใจฟัง

ให้ดี

       ข้อที่ ๑  อย่ารับถือเอามาเป็นหลักปฏิบัติ เพราะเหตุว่าฟังบอก

ตาม ๆ กันมา

        ข้อที่ ๒  อย่ารับถือเอามาเป็นหลักปฏิบัติ เพราะเหตุว่า เป็นการ

ปฏิบัติตาม ๆ กันมาอย่างปรัมปรา แบบเถรส่องบาตร

        ข้อที่ ๓  อย่ารับถือเอามาปฏิบัติเพราะเหตุว่าเป็นเรื่องที่เล่าลือ

กันอยู่กระฉ่อนไป เหมือนครั้งหนึ่งเล่าลือกันเรื่องคนเกิดปีมะโรง มะ

เมีย มะแม อะไรก็ตาม จะต้องปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ มิฉะนั้นมัจจุราช

จะเอาตัวไป          

        ข้อที่ ๔  ว่าอย่ารับถือเอาด้วยเหตุผลเพียงว่า มีที่อ้างอยู่ในปิฎก

ข้อนี้จะได้กล่าวให้มากที่สุดในการบรรยายต่อไปข้างหน้า เพราะว่า

เป็นเรื่องสำคัญ คือเราในปัจจุบันงมงายต่อสิ่งที่เรียกว่าปิฎก หรือพระ

ไตรปิฎกกันมากเกินไป ทำให้เป็นที่เยาะเย้ยได้ว่าเป็นทาสของพระไตร

ปิฎกกันเสียทุกตัวอักษรอย่าขัดต่อคำสั่งสอนข้อนี้ของพระพุทธองค์

        ข้อที่ ๕  อย่าถือเอาโดยอาศัยหลัก ตรรกะ เพราะเหตุเพียงมัน

เข้ากันได้กับเหตุผลทางตรรกะ

        ข้อที่ ๖  อย่าถือเอาโดยอาศัยหลักปรัชญา เพราะมันเพียงแต่

เข้ากันได้กับหลักเหตุผลทางปรัชญา อย่าได้เชื่อโดยการคาดคะเน

        ข้อที่ ๗  อย่าถือเอาโดยใช้ Commonsense คือ ตริตรึกไป

ตามอาการของความรู้สึกที่แวดล้อมอยู่ อย่าได้เชื่อโดยเพียงเห็นกิริ

ยาอาการภายนอก

        ข้อที่ ๘  อย่าถือเอาเพราะมันเข้าได้กับความคิดเห็นของตนเอง

อย่าได้เชื่อโดยความชอบใจ ว่าต้องกันกับความคิดเห็นของตน ซึ่งที่

แท้อาจจะผิดทั้งหมดก็ได้

        ทีนี้ก็มาถึงข้อที่ ๙  อย่ารับถือเอาเพราะเหตุว่า ผู้พูดมีคำพูด มี

ลักษณะท่าทาง หรือมีเครดิตใด ๆ ซึ่งน่าเชื่อหรือควรเชื่อ

        ข้อสุดท้าย คือข้อที่ ๑๐  อย่ารับถือเอาเพราะเหตุว่า พระสมณะ

ผู้พูดนั้น เป็น " ครูของตน "

             พระพุทธเจ้าทรงประทานเสรีภาพสูงสุดเกี่ยวกับพระองค์เอง

คือ พระองค์เองก็เป็นสมณะ และคนทั้งหลายก็นับถือว่าเป็นบรมครู แม้

กระนั้นก็อย่าเชื่อทันทีด้วยเหตุผลเพียงว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา อาต

มาขอท้าทายให้ค้นหาคำสั่งสอนชนิดนี้ ว่ามีในศาสนาไหนบ้าง มันไม่มี

ในศาสนาไหนเลยมันมีแต่การผูกขาดให้เชื่อโดยส่วนเดียวไปเสียทั้งหมด

            ทั้งหมดนี้ขอให้ทำความเข้าใจให้ดี ๆ อย่าได้ตกเป็นทาสของ

ความงมงาย ๑๐ ประการนั้น แต่ขอบอกว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้าม

ไม่ให้เกี่ยวข้องกับสิ่งทั้ง ๑๐ ประการนั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น

สำหรับนำมาใคร่ครวญได้ตามสมควร จะฟังเขาพูดก็ได้ จะฟังเสียงเล่า

ลือก็ได้ แต่ยังไม่เชื่อ เอามาใคร่ครวญดูว่ามันจะดับทุกข์ได้หรือไม่ ถ้ามี

วี่แววว่าจะดับทุกข์ได้ ก็ลองปฏิบัติดูได้ แล้วจึงค่อยเชื่อ

           พระพุทธองค์ได้ทรงประทานคำแนะนำอันเป็นคำแนะนำที่ยอด

เยี่ยมที่สุด ในประวัติศาสตร์ศาสนาทั้งหลายว่า

           " ดูก่อนกาลามะชนทั้งหลาย เมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ประจักษ์

ด้วยตนเองว่า ธรรมะทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอกุศล ผิดพลาด

ชั่วร้าย มีโทษ เมื่อนั้นจงละทิ้งธรรมะเหล่านั้นเสีย  

           และเมื่อใดท่านทั้งหลาย รู้ประจักษ์ด้วยตนเองว่า ธรรมะทั้ง

หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นกุศล ถูกต้อง ดีงาม มีประโยชน์เมื่อนั้นจง

ยอมรับเอาและปฏิบัติตามธรรมะเหล่านั้นเถิด

           พระพุทธเจ้ายังทรงตรัสยิ่งไปกว่านั้นอีก คือพระองค์ตรัสบอก

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า

           " สาวกควรจะพิจารณาตรวจสอบแม้แต่องค์พระตถาคต

( พระพุทธเจ้า ) เอง เพื่อที่ว่าเหล่าสาวกทั้งหลาย จะได้มีความมั่นใจ

โดยสมบูรณ์ ในคุณค่าที่แท้จริงของศาสดาที่ตนประพฤติปฏิบัติตาม

            หลัก ๑๐ ประการนี้ เรียกว่าเสรีภาพในการที่จะรับ หรือจะถือ

หรือจะมี หรือจะปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องประจำชีวิต ถ้าเวลาที่แล้วมา

ท่านทั้งหลายยังไม่มีหรือยังไม่ได้ถือ ต่อไปนี้ก็ขอร้องให้ถือในฐานะ

เป็นของขวัญที่อาตมารับมอบมาจากพระพุทธเจ้า

            เราอาศัยสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองแล้วก็ใช้วิพากษ์วิจารณ์

ต่อธรรมะ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้ ทั้งหมดทั้งสิ้น ก็จะได้พบของ

จริงตามพระพุทธประสงค์ ที่จะให้เราได้รับสิ่งเหล่านี้ แม้สิ่งที่เรียกกันว่า

พระไตรปิฎกก็ขอให้ใช้หลัก ๑๐ ประการนี้ กับพระไตรปิฎก แล้วเราก็จะ

ได้เนื้อแท้ของพระไตรปิฎก


                                    จากหนังสือ การขุดเพชร ในพระไตรปิฎก

                                         ของท่านอาจารย์ พระพุทธทาส ภิกขุ


The Matrix Really . Pt 1 . " เพชร " ในพระไตรปิฏก ... หัวใจ ของ " พระพุทธศาสนา "

The Matrix Really . Pt 17 . ยุคที่สำคัญที่สุด ของมนุษยโลก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่