คมนาคมกดปุ่มเคาะประมูลลอตแรกโครงการ 2 ล้านล้านปีนี้ มูลค่ากว่า 5 แสนล้าน ประเดิมรถไฟฟ้า 2 สาย "เขียว-ชมพู" ตั้งไข่ไฮสปีดเทรน 4 สาย ร.ฟ.ท.สบช่องเทกระจาด งานปรับปรุงราง-ทางคู่ 5 สาย ส่วนกรมทางหลวงซอยยิบงานซ่อม-ขยาย 4 เลนเชื่อมเพื่อนบ้าน-มอเตอร์เวย์ไปโคราช สานต่อถนน "รอยัลโคสต์" ไปภาคใต้
ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 คาดว่าต้องใช้เวลาถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ กว่ากระบวนการในรัฐสภาจะแล้วเสร็จ
ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทเดินหน้าไปได้ควบคู่กัน กระทรวงคมนาคมซึ่งรับผิดชอบดูแลเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน กว่า 80-90% ได้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้สามารถเปิดประมูลแต่ละโครงการได้โดยเร็วที่สุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เบื้องต้นมีโครงการในร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่กระทรวงพร้อมเปิดประมูลได้ทันที มูลค่างานรวม 515,176 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีแบบรายละเอียดทั้งหมด และได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว และบางโครงการไม่ต้องทำอีไอเอ
สายสีเขียว-ชมพู จ่อคิวประมูล
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในส่วนของคมนาคมมีโครงการที่พร้อมประมูลในปี 2556 อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 58,590 ล้านบาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 58,624 ล้านบาท รถไฟทางคู่, ถนน 4 ช่องจราจร, มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-โคราช เป็นต้น วิธีประมูลมีทั้งอีออกชั่น ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟฯ ส่วนรถไฟฟ้าจะประมูลแบบนานาชาติ
ซื้อรถตั้งไข่ไฮสปีดเทรน 4 สาย
สำหรับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) คาดว่าจะเปิดประกาศเชิญชวนให้ทั่วโลกประมูลเฉพาะในส่วนการจัดซื้อระบบและรถไฟฟ้าก่อนทั้ง 4 สาย ไตรมาส 3 ปีนี้ คิดเป็นมูลค่างาน 20% หรือ 156,645 ล้านบาท ของเงินลงทุนรวมทั้ง 4 โครงการ 783,229 ล้านบาท ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะก่อสร้างถึง จ.นครราชสีมาก่อนในเฟสแรก, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ เฟสแรกถึงหัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง ส่วนงานโยธาจะเปิดประมูลได้ในปี 2557
ร.ฟ.ท.เทกระจาด 1.34 แสนล้าน
ขณะที่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า โครงการของ ร.ฟ.ท.ที่พร้อมประมูลปีนี้ วงเงินรวม 134,176.60 ล้านบาท เป็นโครงการที่โยกมาจากกรอบวงเงิน 176,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติไว้ แต่ยังไม่ได้รับจัดสรรเงิน เป็นโครงการเร่งด่วนจึงขอจัดสรรงบฯจากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
ประกอบด้วย งานปรับปรุงทางรถไฟ 406 ล้านบาท ปรับปรุงรางรับน้ำหนักได้ 100 ปอนด์ 11,388 ล้านบาท ติดตั้งรั้วสองข้างทาง 3,430 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องกั้น 4,368 ล้านบาท ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 7,281 ล้านบาท ติดตั้งโครงข่ายคมนาคม 2,152 ล้านบาท แต่ละโครงการเริ่มต้น 2,000-3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ มีรถไฟทางคู่ 5 สาย ระยะทาง 797 กิโลเมตร วงเงินรวม 105,148 ล้านบาท คือ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร สายจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดประมูลพร้อมกันทั้ง 5 สาย สายละ 1 สัญญา รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 7,688 ล้านบาท กำลังรอบริษัทที่ปรึกษาว่าต้องทำอีไอเอเพิ่มหรือไม่ หากทันจะเปิดประมูลปีนี้เช่นกัน
ทล. ซอยงานถนน-มอเตอร์เวย์
เช่นเดียวกับที่นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า มีงานกรมทางหลวงพร้อมประมูลและเซ็นสัญญาในปีงบฯ 2556 หรือก่อนเดือนกันยายนนี้ 85,754 ล้านบาท แบ่งประมูลตามมาตรฐานของงาน และชั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนกับกรมไว้ เพื่อกระจายงานให้ผู้รับเหมาได้งานถ้วนหน้า
งานพร้อมประมูลปีนี้ ได้แก่ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร 30% หรือ 24,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 45 โครงการ 80,610 ล้านบาท แบ่งประมูลสัญญาละ 500-600 ล้านบาท บูรณะทางสายหลักระหว่างภาค 235 โครงการ 31,600 ล้านบาท ประมูลปีนี้ 20,000 ล้านบาท สัญญาละ 90 ล้านบาท
โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช 196 กิโลเมตร เฉพาะค่าก่อสร้าง 78,000 ล้านบาท ปีนี้จะเริ่มประมูลก่อน 50% หรือ 39,000 ล้านบาท ผู้รับเหมาจะให้เฉพาะชั้นพิเศษเข้าร่วมประมูล
นอกจากนี้ มีโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 11 โครงการ มูลค่าลงทุน 13,770 ล้านบาท จะประมูลปีนี้ 20% หรือ 3-4 โครงการ 2,754 ล้านบาท แบ่งประมูลสัญญาละ 300-700 ล้านบาท ส่วนสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง 23,280 ล้านบาท รอรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จะเปิดประมูลปี 2557
"จะทยอยประมูลและเซ็นสัญญางานก่อสร้างตั้งแต่ปีนี้ เช่น งานบูรณะทางสายหลักประมูล 2 ปี คือ ปี 2556-2557 งานขยาย 4 เลน 3 ปี ปี 2556-2558"
สตาร์ตรอยัลโคสต์ 22 โครงการ
ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ในส่วนของ ทช.มีโครงการพร้อมประมูลทันทีในปีนี้ 10,000 ล้านบาท กว่า 20 โครงการ เช่น ถนนรอยัลโคสต์ 22 โครงการ 4,192 ล้านบาท เฟสแรกจะประมูลก่อน 2,000 ล้านบาท ถนนสายองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว 33 กิโลเมตร 1,796 ล้านบาท ถนนสายแยกทางหลวง 314-ลาดกระบัง 20.33 กิโลเมตร 3,969 ล้านบาท เป็นต้น
เจ้าท่าประมูลเขื่อนแม่น้ำป่าสัก
ส่วนกรมเจ้าท่า (จท.) นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดี จท. เปิดเผยว่า โครงการที่พร้อมประมูลปีนี้หลัก ๆ คือ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งน้ำพังในแม่น้ำป่าสัก วงเงิน 11,387.87 ล้านบาท ขณะที่โครงการอื่น ๆ เช่น ท่าเรือชุมพร ท่าเรือสงขลา แห่งที่ 2 ท่าเรือน้ำลึกปากบารา และสถานีขนส่งทางน้ำที่อ่างทอง ต้องทำอีไอเอก่อน จะเริ่มประมูลในปี 2557
โต้งถก กมธ. 2 ล้านล.นัดแรก
สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน วาระที่ 2 วันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯจัดประชุมเป็นครั้งแรก ก่อนเริ่มประชุม นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมชั่วคราว เนื่องจากอาวุโสสูงสุด ก่อนให้ที่ประชุมเสนอชื่อบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นประธาน รองประธาน 6 คน เลขานุการ 1 คน ฯลฯ
ซึ่งที่ประชุมเลือกนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รมว.คลัง เป็นประธาน กมธ. ่รองประธาน กมธ. 1.นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ 2.นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหาร
พรรคไทยรักไทย 3.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์ฯ 4.นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 5.นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย 6.นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เลขานุการคือ นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผู้ช่วยเลขานุการ 2 คน 1.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกฯ 2.นายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์
จากนั้นที่ประชุมได้วางปฏิทินการประชุม นัดประชุมทุกวันจันทร์และอังคาร เริ่มประชุมครั้งแรก 9-30 เมษายนนี้ จากนั้นจะหารือปรับเปลี่ยนการประชุมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม กรอบการประชุมวันที่ 9 เมษายน จะพิจารณา 1.ความจำเป็นของการลงทุน 2.แหล่งที่มาของเงิน 3.การบริหารจัดการโครงการ 4.กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ที่มา: ประชาชาติธรุกิจ
กดปุ่ม 2 ล้านล้าน ลอตแรก Q3 ลุย "ไฮสปีดเทรน-มอเตอร์เวย์-ทางคู่"
ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...หรือร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 คาดว่าต้องใช้เวลาถึงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ กว่ากระบวนการในรัฐสภาจะแล้วเสร็จ
ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทเดินหน้าไปได้ควบคู่กัน กระทรวงคมนาคมซึ่งรับผิดชอบดูแลเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน กว่า 80-90% ได้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าให้สามารถเปิดประมูลแต่ละโครงการได้โดยเร็วที่สุด
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เบื้องต้นมีโครงการในร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่กระทรวงพร้อมเปิดประมูลได้ทันที มูลค่างานรวม 515,176 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีแบบรายละเอียดทั้งหมด และได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว และบางโครงการไม่ต้องทำอีไอเอ
สายสีเขียว-ชมพู จ่อคิวประมูล
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในส่วนของคมนาคมมีโครงการที่พร้อมประมูลในปี 2556 อาทิ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 58,590 ล้านบาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 58,624 ล้านบาท รถไฟทางคู่, ถนน 4 ช่องจราจร, มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-สระบุรี-โคราช เป็นต้น วิธีประมูลมีทั้งอีออกชั่น ของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟฯ ส่วนรถไฟฟ้าจะประมูลแบบนานาชาติ
ซื้อรถตั้งไข่ไฮสปีดเทรน 4 สาย
สำหรับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) คาดว่าจะเปิดประกาศเชิญชวนให้ทั่วโลกประมูลเฉพาะในส่วนการจัดซื้อระบบและรถไฟฟ้าก่อนทั้ง 4 สาย ไตรมาส 3 ปีนี้ คิดเป็นมูลค่างาน 20% หรือ 156,645 ล้านบาท ของเงินลงทุนรวมทั้ง 4 โครงการ 783,229 ล้านบาท ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะก่อสร้างถึง จ.นครราชสีมาก่อนในเฟสแรก, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ เฟสแรกถึงหัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง ส่วนงานโยธาจะเปิดประมูลได้ในปี 2557
ร.ฟ.ท.เทกระจาด 1.34 แสนล้าน
ขณะที่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า โครงการของ ร.ฟ.ท.ที่พร้อมประมูลปีนี้ วงเงินรวม 134,176.60 ล้านบาท เป็นโครงการที่โยกมาจากกรอบวงเงิน 176,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติไว้ แต่ยังไม่ได้รับจัดสรรเงิน เป็นโครงการเร่งด่วนจึงขอจัดสรรงบฯจากเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
ประกอบด้วย งานปรับปรุงทางรถไฟ 406 ล้านบาท ปรับปรุงรางรับน้ำหนักได้ 100 ปอนด์ 11,388 ล้านบาท ติดตั้งรั้วสองข้างทาง 3,430 ล้านบาท ติดตั้งเครื่องกั้น 4,368 ล้านบาท ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 7,281 ล้านบาท ติดตั้งโครงข่ายคมนาคม 2,152 ล้านบาท แต่ละโครงการเริ่มต้น 2,000-3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ มีรถไฟทางคู่ 5 สาย ระยะทาง 797 กิโลเมตร วงเงินรวม 105,148 ล้านบาท คือ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร สายจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร สายนครปฐม-หัวหิน 165 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดประมูลพร้อมกันทั้ง 5 สาย สายละ 1 สัญญา รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ 7,688 ล้านบาท กำลังรอบริษัทที่ปรึกษาว่าต้องทำอีไอเอเพิ่มหรือไม่ หากทันจะเปิดประมูลปีนี้เช่นกัน
ทล. ซอยงานถนน-มอเตอร์เวย์
เช่นเดียวกับที่นายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ระบุว่า มีงานกรมทางหลวงพร้อมประมูลและเซ็นสัญญาในปีงบฯ 2556 หรือก่อนเดือนกันยายนนี้ 85,754 ล้านบาท แบ่งประมูลตามมาตรฐานของงาน และชั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนกับกรมไว้ เพื่อกระจายงานให้ผู้รับเหมาได้งานถ้วนหน้า
งานพร้อมประมูลปีนี้ ได้แก่ โครงการขยายถนน 4 ช่องจราจร 30% หรือ 24,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 45 โครงการ 80,610 ล้านบาท แบ่งประมูลสัญญาละ 500-600 ล้านบาท บูรณะทางสายหลักระหว่างภาค 235 โครงการ 31,600 ล้านบาท ประมูลปีนี้ 20,000 ล้านบาท สัญญาละ 90 ล้านบาท
โครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช 196 กิโลเมตร เฉพาะค่าก่อสร้าง 78,000 ล้านบาท ปีนี้จะเริ่มประมูลก่อน 50% หรือ 39,000 ล้านบาท ผู้รับเหมาจะให้เฉพาะชั้นพิเศษเข้าร่วมประมูล
นอกจากนี้ มีโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 11 โครงการ มูลค่าลงทุน 13,770 ล้านบาท จะประมูลปีนี้ 20% หรือ 3-4 โครงการ 2,754 ล้านบาท แบ่งประมูลสัญญาละ 300-700 ล้านบาท ส่วนสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง 23,280 ล้านบาท รอรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จะเปิดประมูลปี 2557
"จะทยอยประมูลและเซ็นสัญญางานก่อสร้างตั้งแต่ปีนี้ เช่น งานบูรณะทางสายหลักประมูล 2 ปี คือ ปี 2556-2557 งานขยาย 4 เลน 3 ปี ปี 2556-2558"
สตาร์ตรอยัลโคสต์ 22 โครงการ
ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ในส่วนของ ทช.มีโครงการพร้อมประมูลทันทีในปีนี้ 10,000 ล้านบาท กว่า 20 โครงการ เช่น ถนนรอยัลโคสต์ 22 โครงการ 4,192 ล้านบาท เฟสแรกจะประมูลก่อน 2,000 ล้านบาท ถนนสายองครักษ์-บางน้ำเปรี้ยว 33 กิโลเมตร 1,796 ล้านบาท ถนนสายแยกทางหลวง 314-ลาดกระบัง 20.33 กิโลเมตร 3,969 ล้านบาท เป็นต้น
เจ้าท่าประมูลเขื่อนแม่น้ำป่าสัก
ส่วนกรมเจ้าท่า (จท.) นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดี จท. เปิดเผยว่า โครงการที่พร้อมประมูลปีนี้หลัก ๆ คือ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งน้ำพังในแม่น้ำป่าสัก วงเงิน 11,387.87 ล้านบาท ขณะที่โครงการอื่น ๆ เช่น ท่าเรือชุมพร ท่าเรือสงขลา แห่งที่ 2 ท่าเรือน้ำลึกปากบารา และสถานีขนส่งทางน้ำที่อ่างทอง ต้องทำอีไอเอก่อน จะเริ่มประมูลในปี 2557
โต้งถก กมธ. 2 ล้านล.นัดแรก
สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน วาระที่ 2 วันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯจัดประชุมเป็นครั้งแรก ก่อนเริ่มประชุม นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมชั่วคราว เนื่องจากอาวุโสสูงสุด ก่อนให้ที่ประชุมเสนอชื่อบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นประธาน รองประธาน 6 คน เลขานุการ 1 คน ฯลฯ
ซึ่งที่ประชุมเลือกนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รมว.คลัง เป็นประธาน กมธ. ่รองประธาน กมธ. 1.นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ 2.นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหาร
พรรคไทยรักไทย 3.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วิทยาศาสตร์ฯ 4.นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 5.นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย 6.นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เลขานุการคือ นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผู้ช่วยเลขานุการ 2 คน 1.นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ผู้ช่วย รมต.ประจำสำนักนายกฯ 2.นายอนุชา บูรพชัยศรี ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์
จากนั้นที่ประชุมได้วางปฏิทินการประชุม นัดประชุมทุกวันจันทร์และอังคาร เริ่มประชุมครั้งแรก 9-30 เมษายนนี้ จากนั้นจะหารือปรับเปลี่ยนการประชุมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม กรอบการประชุมวันที่ 9 เมษายน จะพิจารณา 1.ความจำเป็นของการลงทุน 2.แหล่งที่มาของเงิน 3.การบริหารจัดการโครงการ 4.กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ที่มา: ประชาชาติธรุกิจ