หลอก 2 ส่งเกรียน ไปแซ้บบนถนนอินเดีย(รีวิวการท่องเที่ยวนิวเดลี แคชเมียร์ เลห์ อักรา)

ต่อจากกระทู้เดิมนะครับ เพื่อฟามมันในการรับชม
เชิญไปชมกระทู้ก่อนนะครับ
หลอก1 ส่งเกรียน ไปเสี้ยมที่อินเดีย  http://ppantip.com/topic/30337507

..........................................................
หลังจากที่ก้าวลงรถตุ๊กตุ๊กอินเดีย

พวกเราสามคนก็ได้รับประสบการณ์บนท้องถนนของนิวเดลีแบบ 4D

รูป รส กลิ่น เสียง แสง อุณหภูมิ พรั่งพรูเข้ามากระทบผัสสะทั้ง 6 ที่เรามีแบบไม่มีการกรอง


ความรู้สึกแรกเลยคือม่าง ...ร้อนครับ

แม้นิวเดลีจะอยู่เส้นลองติจูดที่สูงกว่าเชียงใหม่ จะกี่องศา กี่ลิปดา กระผมไม่อาจทราบได้ครับ แต่อุณหภูมิเหมือนการนั่งตุ๊กตุ๊กที่ กทม. ก็ไม่ปาน


ความรู้สึกที่สองคือม่าง ...เสียงดังเชรี่ยๆ

ตอนแรกนั่งบนแท็กซี่ ยังรู้สึกไม่มากเท่าไหร่ แต่พอนั่งตุ๊กตุ๊กแล้ว กระผมสัมผัสได้เลยว่า ถนนอินเดียหนวกหูมากครับ

เพราะที่นี่บีบแตรกันเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของการขับรถ คือ เลี้ยวบีบแตร ตรงบีบแตร แซงบีบแตร เบรคบีบแตร ด่าบีบแตร ซึ่งกระผมเข้าใจว่า ถ้าปวดขี้ ปวดเยี่ยว ปวดตด คนที่นี่ก็จะบีบแตรด้วย

โหน่งเพื่อนกระผมผู้สันทัดด้านอินเดียบอกว่า ชาวอินเดียเวลาไปลองรถในโชว์รูมอย่างแรกที่ ชาวอินเดียทำคือ เข้าไปบีบแตร

คือถ้าไม่มาเห็นเอง กระผมคงไม่เชื่อ


ความรู้สึกที่สามคือม่าง  ... อยากลงครับ

เชรี่ยย เมิงอยากลงแล้วหรอ

คุณเมิงขอให้ลอง ให้ได้ลองนั่งอยู่บนนี้ รับรองไม่อยากนั่งนาน เพราะทั้งร้อน ทั้งดัง ทั้งเหม็น แต่ก็ลงไม่ได้ เลยต้องนั่งสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวไปเรื่อยๆเอาเรื่องมาเล่าให้ท่านเจ้าประคุณทั้งหลายครับ


ความรู้สึกที่สี่ คือม่าง รถโครสสสติดครับ

อันนี้ไม่ใช่ความรู้สึก แต่ม่างติดจริงๆ  คือรถเยอะมาก จนน่าจะทำถนนซักสิบเลน(อาจจะยังไม่พอ)

เคยถามดูอินเดียนี่ผลิตรถราคาถูกที่สุดในโลก คือ รถตาต้า ไม่รู้รุ่นแต่เป็นซิตี้คาร์ เค้าบอกว่าขายกันที่ 900 ยูโร

ถูกพอๆกับฟิโน่!!!

รถม่างเลยเยอะยังกับ อะไรดี... เยอะยังกับคนอินเดียแล้วกัน เพราะคนอินเดียเยอะจริงๆ (ประชากรประมาณ 800 ล้าน เป็นรองแค่จีนเท่านั้นในโลก แถมไม่มีแผนคุมกำเนิดแบบจีนด้วย)



บนฟุตบาทออกไป ที่นี่ยังมีระบบวรรณะกันอยู่ครับ

แต่ความรู้สึกที่ห้าของกระผม บอกว่า บนท้องถนนแห่งนี้ ที่นี่ทุกคนเท่าเทียมกันครับ

ไม่ว่าจะ มอไซค์ รถยนต์ รถบรรทุก รถถูก รถแพง วัว ควาย สามล้อ ต่างมีสิทธิและเสรีภาพบนถนนเท่าเทียมกัน

อยู่เมืองไทย มอไซค์สามารถลัดเลาะไปตามช่องว่างระหว่างรถ เพื่อให้ไปอยู่หน้าสุดได้ ไปก่อนได้

แต่ที่นี่ไม่ได้ครับ มอไซค์กับรถยนต์เท่ากัน รถยนต์ติด มอไซค์ก็ต้องติดครับ ไม่มีสิทธิไปก่อน

เพราะรถม่างขับเบียดกันล้อต่อล้อ ช่องว่างระหว่างคันแทบไม่มี มอไซค์ม่างแทรกไปไม่ได้ครับ


หลายคนอาจคิดว่า ทำไม มันมีเลน ไม่ใช่หรอ

กระผมขอบอกว่า มีน่ะมีครับ แต่ไม่แน่ใจว่า คนอินเดียเห็นรึเปล่า เพราะกระผมไม่เคยเห็นใครขับรถตรงเลนเลย ขับเบียดขับแทรก จนถนนสองเลน อาจจะจุรถยนต์ได้สี่คัน +วัวอีก1 ตัว

ผลที่ได้หรอครับ กระผมไม่เห็นรถคันไหนที่วิ่งบนท้องถนน ไม่มีรอยขีดข่วน ยุบบุบเลยสักคันเดียว

แต่คนอินเดียคงไม่ซีเรียส เพราะถือเป็นของนอกกาย ขูดนิดบุบหน่อย ตามสภาพ

พวกรถแพง เช่นรถเบนซ์ รถจากัวร์ มีเห็นบ้างครับ ไม่มีรอยครับ แต่ว่าไม่ได้วิ่ง  เชื่อว่า ซื้อมาจอดไว้เฉยๆให้ดูมีฐานะ เหมือนซื้อรูปปั้นสำริดมาประดับบ้านน่ะครับ


มาเข้าเรื่องความเท่าเทียมกันบนท้องถนนกันต่อ

ที่นี่ มอไซค์ กับรถบรรทุก สิทธิเท่ากันครับ แม้ขนาดจะต่างกัน แต่สิทธิและเสรีภาพของรถแต่ละคันเท่ากัน

คือรถบรรทุกจะชิดซ้าย หรือขวา ถ้ามอไซค์วิ่งมา

มอไซค์บีบแตรไล่ทันที และไม่ชะลอครับ ขู่ครับ เมิงหักมาตรู เอาเมิงคว่ำแน่ ประมาณนี้ครับ


ด้วยเหตุที่ใช้แตรแทนการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา กระจกมองข้างของรถส่วนใหญ่จึงถูกพับเข้ามา

คือถ้ากางออกไป ตรูก็ไม่ได้มองอยู่แล้ว แถมไปเบียดรถคนอื่นเดี๋ยวแตก เดี๋ยวหักอีก อีนี่จ๋าเลยพับเข้ามาซะเลย

บางคันม่างถอดกระจกออกไปเลย เหลือแต่กรอบหูช้างอย่างเดียว

...ไหนๆอยู่บนถนนไม่ได้ใช้ เก็บไว้ให้เมียแต่งหน้าที่บ้านดีกว่า


อย่าเข้าใจว่า บนท้องถนนนี่มีแต่การแข่งขัน แข่งกันแซง นะครับ

กระผมก็พบเรื่องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่น่ารักๆอยู่เหมือนกัน

เพราะขณะนั่งรถ กระผมเห็นรถตุ๊กตุ๊กสองคัน คันนึงเยื้องหลังอีกคันนิดหน่อย

ม่างมีเท้าจากคันด้านหลัง ยื่นไปยันคันหน้าไว้

นัยว่าคันหน้าแรงม้าไม่พอ คนอินเดียเลยต้องช่วยกัน

ปากกัดหรือเปล่าไม่รู้ แต่ตีนถีบอยู่ชัวร์ครับ   ถีบไปคุยไปขับรถไป จอยๆครับ คนที่นี่


ที่จริงเรื่องเล่าบนท้องถนนอินเดีย ยังมีอีกมากครับ เล่าได้สามวันเจ็ดวัน เอาเป็นว่า กระผมจะมีเรื่องบนท้องถนนมาแซมเป็นระยะๆแน่นอนครับ

วันนี้ลาไปก่อน




ตอน3 นะครับ
หลอก3 ส่งเกรียน ไปโดนต้มhttp://ppantip.com/topic/30337974
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่