วันที่ 30 มี.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องนโยบายประชานิยมกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ กรณีศึกษาจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2556 พบว่า ประชาชนในภาพรวม หรือร้อยละ 52.16 มีความกังวลต่อการเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตกเหมือนปี 2540 เพราะราคาสินค้ามีแนวโน้มแพงขึ้น และเชื่อว่า สถานการณ์คล้ายกันน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ รองลงมาร้อยละ 39.60 ระบุว่า ไม่กังวล เพราะ ยังเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ และการขยายตัวเศรษฐกิจของไทย เพราะเคยมีบทเรียนในเรื่องนี้มาแล้ว รัฐบาลน่าจะบริหารการทำงานได้ มีเพียงร้อยละ 8.24 กังวลมาก เพราะ ไม่แน่ใจในการบริหารงานของรัฐบาล มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายหรือโครงการต่างๆ ของรัฐบาล
ส่วนนโยบายหรือโครงการของรัฐบาลที่อาจจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตมากที่สุดพบว่า ประชาชนในภาพรวม ร้อยละ 39.68 ระบุว่า การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล รองลงมาร้อยละ 22.40 เป็นนโยบายรถยนต์คันแรก ร้อยละ 13.12 เป็นนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ร้อยละ 11.20 เป็นโครงการจำนำข้าวที่ราคาสูงกว่าราคาตลาด ร้อยละ 3.28 เป็นโครงการบัตรเครดิตเกษตรกร ร้อยละ 1.28 เป็นโครงการบัตรเครดิตพลังงาน และมีเพียง ร้อยละ 1.76 ที่ระบุว่าไม่มีโครงการใดที่น่าจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าววา การสำรวจครั้งนี้เน้นเฉพาะเพียงกลุ่มของผู้มีการศึกษาสูง คือตั้งแต่ในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะเข้าใจสภาพเศรษฐกิจ และสะท้อนมุมมองทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ผลจากการสำรวจนี้ยังสะท้อนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่คาดว่า ฟองสบู่จะแตกเหมือนปี 2540 นั้นยังมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน
เนื่องจากภาวะฟองสบู่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น แต่มาจากการที่ราคาของสินทรัพย์ (Asset Price) เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และหน่วยลงทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าราคาตามความเป็นจริง จนเกิดอุปสงค์เทียมจากการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นวงจร และขยายตัวเหมือนฟองสบู่
ขณะที่จากการสำรวจความคิดเห็นทางด้านโครงการประชานิยมนั้นต้องยอมรับว่า การกู้เงิน 2.2 ล้านบาท ของรัฐบาลกำลังเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจที่สุดในขณะนี้ และสร้างความหนักใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมากเพราะเป็นกรอบการลงทุนในจำนวนเงินที่สูงซึ่งจะส่งผลต่อภาวะทางการคลังและสุ่มเสี่ยงต่อระดับหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวจะนำมาใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงก็ตาม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EWXlPRE0xTVE9PQ==
"นิด้าโพล" เผยปชช.ห่วงภาวะฟองสบู่แตก ชี้เงินกู้ 2 ล้านล้าน-โครงการรถคันแรก ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
ส่วนนโยบายหรือโครงการของรัฐบาลที่อาจจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตมากที่สุดพบว่า ประชาชนในภาพรวม ร้อยละ 39.68 ระบุว่า การกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล รองลงมาร้อยละ 22.40 เป็นนโยบายรถยนต์คันแรก ร้อยละ 13.12 เป็นนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ร้อยละ 11.20 เป็นโครงการจำนำข้าวที่ราคาสูงกว่าราคาตลาด ร้อยละ 3.28 เป็นโครงการบัตรเครดิตเกษตรกร ร้อยละ 1.28 เป็นโครงการบัตรเครดิตพลังงาน และมีเพียง ร้อยละ 1.76 ที่ระบุว่าไม่มีโครงการใดที่น่าจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าววา การสำรวจครั้งนี้เน้นเฉพาะเพียงกลุ่มของผู้มีการศึกษาสูง คือตั้งแต่ในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะเข้าใจสภาพเศรษฐกิจ และสะท้อนมุมมองทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ผลจากการสำรวจนี้ยังสะท้อนว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่คาดว่า ฟองสบู่จะแตกเหมือนปี 2540 นั้นยังมีความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เนื่องจากภาวะฟองสบู่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงจากการที่ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น แต่มาจากการที่ราคาของสินทรัพย์ (Asset Price) เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น และหน่วยลงทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าราคาตามความเป็นจริง จนเกิดอุปสงค์เทียมจากการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นวงจร และขยายตัวเหมือนฟองสบู่
ขณะที่จากการสำรวจความคิดเห็นทางด้านโครงการประชานิยมนั้นต้องยอมรับว่า การกู้เงิน 2.2 ล้านบาท ของรัฐบาลกำลังเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจที่สุดในขณะนี้ และสร้างความหนักใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมากเพราะเป็นกรอบการลงทุนในจำนวนเงินที่สูงซึ่งจะส่งผลต่อภาวะทางการคลังและสุ่มเสี่ยงต่อระดับหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวจะนำมาใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงก็ตาม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk5EWXlPRE0xTVE9PQ==