คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าสามีภรรยาทำสัญญตกลงกันโดยทำเป็นหนังสือในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากัน(ระหว่างสมรส)
หรือทำสัญญากันขณะจดทะเบียนหย่า โดยบันทึกข้อตกลงไว้ตามแบบฟอร์มของนายทะเบียน
ข้อตกลงตามสัญญาเรื่องการยกทรัพย์ที่เป็นสินสมรสกันนั้น มีผลบังคับได้ครับ
แม้จะเป็นการตกลงยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส เป็นประเภทที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ตาม
กรณีนี้ศาลฎีกาตัดสิน มาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกับนางเฉลิม วัฒนารมย์ภริยาในที่ดินโฉนดที่ 73 ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เมื่อภริยาโจทก์ถึง
แก่กรรมไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการได้ขายที่ดินดังกล่าวไป แล้วไม่ยอมแบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง จึงขอให้บังคับจำเลยชำระ
เงินแก่โจทก์จำนวน100,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลยให้การมีสาระสำคัญว่า โจทก์ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาสละทรัพย์สินของโจทก์แก่ภริยาโจทก์แล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้สละที่ดินพิพาทให้ภริยาโจทก์ไปแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ถึงแก่กรรม ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้นายเแลา รัตนา เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คงมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่ดินพิพาทให้นางเฉลิมไปแล้วหรือไม่ตามปัญหาดังกล่าว จำเลยนำ
สืบก่อนว่าโจทก์เคยทำหนังสือสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับนางเฉลิม ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งโจทก์ยอมรับว่าได้ทำหนังสือฉบับดังกล่าว
จริง ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ข้อความในเอกสารดังกล่าวซึ่งระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "ทรัพย์สินทั้งหลายที่ข้าพเข้ามีสิทธิร่วมกันกับนางเฉลิม วัฒนารมย์
ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นสิทธิแก่นางเฉลิม วัฒนารมย์ แต่ผู้เดียวข้าพเข้าขอสละสิทธิอันจะพึงมีพึงได้นี้ นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2517 เป็นต้นไป และ
ต่อไปนี้นางเแลิม วัฒนารมย์ มีสิทธิที่จะทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือจะให้ใตรย่อมทำได้โดยบริบูรณ์ โดยมิต้องเกี่ยวข้องถึงข้าพเจ้า"เห็นว่าตามข้อ
ความดังกล่าวในเอกสารหมาย ล.2 โจทก์ได้สละสิทธิในทรัพย์สมบัติทั้งปวง ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทให้แก่นายเฉลิมแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2517
และเนื่องจากโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อนางเฉลิมแต่ผู้เดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
ที่สำคัญ..ต้องเป็นการทำสัญญากันระหว่างที่เป็นสามีภรรยากัน หรือ ทำสัญญาขณะจดทะเบียนหย่าและบันทึกขอตกลงไว้ตามแบบฟอร์มของนายทะเบียน นะครับ
..ถ้าจดทะเบียนหย่ากันเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่มีบันทึกข้อตกลง หลังจากนั้นจะมาทำสัญญายกทรัพย์สินให้แก่กัน
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องทำเป็หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นก็จะตกเป็นโมฆะ..ครับ
หรือทำสัญญากันขณะจดทะเบียนหย่า โดยบันทึกข้อตกลงไว้ตามแบบฟอร์มของนายทะเบียน
ข้อตกลงตามสัญญาเรื่องการยกทรัพย์ที่เป็นสินสมรสกันนั้น มีผลบังคับได้ครับ
แม้จะเป็นการตกลงยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส เป็นประเภทที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ตาม
กรณีนี้ศาลฎีกาตัดสิน มาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530
โจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกับนางเฉลิม วัฒนารมย์ภริยาในที่ดินโฉนดที่ 73 ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เมื่อภริยาโจทก์ถึง
แก่กรรมไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการได้ขายที่ดินดังกล่าวไป แล้วไม่ยอมแบ่งเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง จึงขอให้บังคับจำเลยชำระ
เงินแก่โจทก์จำนวน100,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ย
จำเลยให้การมีสาระสำคัญว่า โจทก์ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาสละทรัพย์สินของโจทก์แก่ภริยาโจทก์แล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้สละที่ดินพิพาทให้ภริยาโจทก์ไปแล้ว พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ถึงแก่กรรม ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้นายเแลา รัตนา เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คงมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่ดินพิพาทให้นางเฉลิมไปแล้วหรือไม่ตามปัญหาดังกล่าว จำเลยนำ
สืบก่อนว่าโจทก์เคยทำหนังสือสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับนางเฉลิม ปรากฏตามเอกสารหมาย ล.2 ซึ่งโจทก์ยอมรับว่าได้ทำหนังสือฉบับดังกล่าว
จริง ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ข้อความในเอกสารดังกล่าวซึ่งระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "ทรัพย์สินทั้งหลายที่ข้าพเข้ามีสิทธิร่วมกันกับนางเฉลิม วัฒนารมย์
ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นสิทธิแก่นางเฉลิม วัฒนารมย์ แต่ผู้เดียวข้าพเข้าขอสละสิทธิอันจะพึงมีพึงได้นี้ นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2517 เป็นต้นไป และ
ต่อไปนี้นางเแลิม วัฒนารมย์ มีสิทธิที่จะทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือจะให้ใตรย่อมทำได้โดยบริบูรณ์ โดยมิต้องเกี่ยวข้องถึงข้าพเจ้า"เห็นว่าตามข้อ
ความดังกล่าวในเอกสารหมาย ล.2 โจทก์ได้สละสิทธิในทรัพย์สมบัติทั้งปวง ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทให้แก่นายเฉลิมแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2517
และเนื่องจากโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อนางเฉลิมแต่ผู้เดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ กรณีจึงไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันอีก ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
ที่สำคัญ..ต้องเป็นการทำสัญญากันระหว่างที่เป็นสามีภรรยากัน หรือ ทำสัญญาขณะจดทะเบียนหย่าและบันทึกขอตกลงไว้ตามแบบฟอร์มของนายทะเบียน นะครับ
..ถ้าจดทะเบียนหย่ากันเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่มีบันทึกข้อตกลง หลังจากนั้นจะมาทำสัญญายกทรัพย์สินให้แก่กัน
ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องทำเป็หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นก็จะตกเป็นโมฆะ..ครับ
แสดงความคิดเห็น
พี่ชายพี่สะใภ้หย่ากัน แต่มีบ้านและที่ดินติดจำนองเป็นชื่อพี่สะใภ้ จะทำงัยดีีะ
1. ถ้าทำแค่หนังสือไว้ที่อำเภอว่าผ่อนหมดจะยกบ้านให้พี่ชายจะทำได้ไหม จะมีปัญหาอะไรไหมเมื่อผ่อนหมดและจะโอนเป็นชื่อพี่ชาย (เพราะเมื่อผ่อนหมดกลัวจะติดต่อพี่สะใภ้ไม่ได้)
2. หรือจะไปทำการแก้สัญญาจดจำนองกับธนาคารให้เป็นชื่อพี่ชาย (แต่พี่ชายค้าขายและไม่มีเงินเดินในบัญชีธนาคาร) และถ้าเปลี่ยนเป็นชื่อพี่ชายได้ จะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างและประมาณเท่าไร
3. หรือจะเป็นชื่อการจดจำนองเป็นของดิฉันซึ่งมีเงินเดือนประจำ และสามารถเอาดอกเบี้ยมาลดภาษีได้ และถ้าทำวิธีนี้ต้อง
3.1 มีขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง (ตอนนี้กำลังงง เริ่มต้นไม่ถูก)
3.2 มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และประมาณเท่าไร
3.3 คุ้มไหมที่จะทำวิธีนี้ เพราะตัวดิฉันทำงานอยู่กรุงเทพ แต่ทรัพย์สินและการจดจำนองอยู่ต่างจังหวัด