ภาค 1 :
http://ppantip.com/topic/30273928
ภาค 2 :
http://ppantip.com/topic/30286107
---------------------------------
ตอนแรกภาคนี้ ผมกะว่าจะลงรายละเอียดเรื่อง อัตราส่งมอบข้าว แต่หาข้อมูลเพิ่มเติมก็ไม่เจอเพิ่มเท่าไหร่ ก็เลยยกไว้ก่อน
ตอนนี้ก็เลยจะมาลงรายละเอียดไล่ขั้นตอนการจำนำข้าวไป ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
จากหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวฯ มีอยู่ว่า
เกษตรกรผู้มีสิทธิจำนำ จะต้อง
(1) มีหนังสือรับรองเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือปลัดเทศบาลตำบลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
(2) เป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และ
(3) เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
นั่นหมายความว่า เกษตรกรที่จะเข้าโครงการรับจำนำ จะต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบและรับรองจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหนังสือรับรองเกษตรกรจะมีรายละเอียดดังนี้
1.ชื่อผู้ได้หนังสือรับรอง พร้อมเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน และที่อยู่
2.รอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกข้าว วันที่ทำประชาคม
3.ตำแหน่งที่ดิน เลขที่เอกสารสิทธิ
4.กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ปลูก วันที่เริ่มปลูก วันที่คาดจะเก็บเกี่ยว
5.พื้นที่ ที่ดิน
6.ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ในพื้นที่นั้น ๆ และผลผลิตรวมที่คาดว่าจะได้
(ซึ่งจุดนี้ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า จากในช่วงเดือนกว่าที่ผ่านมา มีการพยายามลดการใช้เงินในการจำนำข้าวให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลถึงไม่ยอมเอาหลักเกณฑ์ข้อที่ว่า สามารถจำนำข้าวได้เพิ่ม 20% ของผลผลิตคาดการณ์ หรือจำนำได้เกิน 5 แสนบาท
เช่นกรณีตัวอย่าง คาดว่าจะมีผลผลิต 8,140 กก. หมายความว่า เจ้าของที่ดินนี้ จะมีสิทธินำข้าวจำนำได้ 8,140*1.20 = 9,768 กก. ซึ่งจริง ๆ ถ้าจำกัดไว้ว่า ห้ามจำนำข้าวเกินปริมาณ 8,140 กก. เลย ก็น่า่จะประหยัดได้มากพอสมควรแล้ว
และกรณีที่ให้จำำนำได้ไม่จำกัด แต่ถ้าเกิน 5 แสนบาท จะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้ง ก็ทำไมไม่ห้ามจำนำเกินไปเลย ก็น่าจะจบ รัฐก็ประหยัดเงินได้อีกก้อนนึง)
ซึ่งในปี 54/55 การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทั้ง 2 รอบ มีดังนี้
ตัวเลขในตารางทั้งสอง เป็นยอดรวมทั้งประเทศ (เนื่องจากตารางกว้างเกินไป ก็เลยตัดมาแค่นี้) โดยสรุปก็คือ เมื่อนำปริมาณที่ออกใบรับรองไป มาเทียบกับปริมาณรับจำนำจริง จะเห็นว่า จะมีตัวเลขต่างกันพอสมควร
ส่วนสาเหตุที่ตัวเลขแตกต่างกัน ก็คงเป็นแบบที่เคยพูด ๆ กันมา ทั้งเรื่อง น้ำท่วมทำให้เสียหาย หรือนาปรังที่มีมาก เพราะรอบแรกสุดเจอน้ำท่วมเสียหาย ก็จะต้องนำข้าวเข้าจำนำสองรอบ ในรอบนาปรัง เลยทำให้ปริมาณนาปรัง มีจำนำเพิ่มสูงมาก
จำนำข้าว (ฉบับปรับปรุง) ภาค 3 : ขึ้นทะเบียนชาวนา
ภาค 2 : http://ppantip.com/topic/30286107
---------------------------------
ตอนแรกภาคนี้ ผมกะว่าจะลงรายละเอียดเรื่อง อัตราส่งมอบข้าว แต่หาข้อมูลเพิ่มเติมก็ไม่เจอเพิ่มเท่าไหร่ ก็เลยยกไว้ก่อน
ตอนนี้ก็เลยจะมาลงรายละเอียดไล่ขั้นตอนการจำนำข้าวไป ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
จากหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวฯ มีอยู่ว่า
เกษตรกรผู้มีสิทธิจำนำ จะต้อง
(1) มีหนังสือรับรองเกษตรกรจากกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งผ่านการทำประชาคม และเกษตรกรลงชื่อรับรองตัวเอง พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรและปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือปลัดเทศบาลตำบลหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อรับรองด้วย
(2) เป็นข้าวเปลือกที่เกษตรกรเพาะปลูกเองในปีการผลิต 2554/55 และ
(3) เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
นั่นหมายความว่า เกษตรกรที่จะเข้าโครงการรับจำนำ จะต้องผ่านขั้นตอนตรวจสอบและรับรองจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหนังสือรับรองเกษตรกรจะมีรายละเอียดดังนี้
1.ชื่อผู้ได้หนังสือรับรอง พร้อมเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน และที่อยู่
2.รอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรปลูกข้าว วันที่ทำประชาคม
3.ตำแหน่งที่ดิน เลขที่เอกสารสิทธิ
4.กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ปลูก วันที่เริ่มปลูก วันที่คาดจะเก็บเกี่ยว
5.พื้นที่ ที่ดิน
6.ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ในพื้นที่นั้น ๆ และผลผลิตรวมที่คาดว่าจะได้
(ซึ่งจุดนี้ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า จากในช่วงเดือนกว่าที่ผ่านมา มีการพยายามลดการใช้เงินในการจำนำข้าวให้ลดลงเหลือน้อยที่สุด ก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลถึงไม่ยอมเอาหลักเกณฑ์ข้อที่ว่า สามารถจำนำข้าวได้เพิ่ม 20% ของผลผลิตคาดการณ์ หรือจำนำได้เกิน 5 แสนบาท
เช่นกรณีตัวอย่าง คาดว่าจะมีผลผลิต 8,140 กก. หมายความว่า เจ้าของที่ดินนี้ จะมีสิทธินำข้าวจำนำได้ 8,140*1.20 = 9,768 กก. ซึ่งจริง ๆ ถ้าจำกัดไว้ว่า ห้ามจำนำข้าวเกินปริมาณ 8,140 กก. เลย ก็น่า่จะประหยัดได้มากพอสมควรแล้ว
และกรณีที่ให้จำำนำได้ไม่จำกัด แต่ถ้าเกิน 5 แสนบาท จะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้ง ก็ทำไมไม่ห้ามจำนำเกินไปเลย ก็น่าจะจบ รัฐก็ประหยัดเงินได้อีกก้อนนึง)
ซึ่งในปี 54/55 การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทั้ง 2 รอบ มีดังนี้
ตัวเลขในตารางทั้งสอง เป็นยอดรวมทั้งประเทศ (เนื่องจากตารางกว้างเกินไป ก็เลยตัดมาแค่นี้) โดยสรุปก็คือ เมื่อนำปริมาณที่ออกใบรับรองไป มาเทียบกับปริมาณรับจำนำจริง จะเห็นว่า จะมีตัวเลขต่างกันพอสมควร
ส่วนสาเหตุที่ตัวเลขแตกต่างกัน ก็คงเป็นแบบที่เคยพูด ๆ กันมา ทั้งเรื่อง น้ำท่วมทำให้เสียหาย หรือนาปรังที่มีมาก เพราะรอบแรกสุดเจอน้ำท่วมเสียหาย ก็จะต้องนำข้าวเข้าจำนำสองรอบ ในรอบนาปรัง เลยทำให้ปริมาณนาปรัง มีจำนำเพิ่มสูงมาก