เป็นกรณีของพ่อเรานะคะ รบกวนขอความรู้และคำชี้แนะว่า พ่อควรใช้สิทธิ์ไหน ระหว่างสิทธิ์ประกันสังคมของพ่อเองหรือสิทธิ์ข้าราชการของลูก (น้องสาวเราค่ะ) เรื่องออกจะยาวเพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ต้องขอโทษด้วยนะคะ
เท้าความนิดหน่อย....... ตุลาคม ปี 2548 พ่อมีอาการแน่นหน้าอกทั้งคืน จึงไปโรงพยาบาลเอกชนที่พ่อมีสิทธิ์ประกันสังคมอยู่ หมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ต่อมา 1 มกราคม 2549 โรงพยาบาลเอกชนนี้ออกจากระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจึงโอนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสำมะโนครัวของผู้มีสิทธิ์ ทำให้พ่อเราเป็นคนไข้ประกันสังคมของโรงพยาบาลจังหวัด
มาเข้าเรื่องกันเลย....... พ่อรักษาโรคหัวใจที่โรงพยาบาลจังหวัดแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน หมอวินิจฉัยว่า พ่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยหมอพิจารณาจากอาการ หมอรักษาด้วยการให้ทานยามาตลอด ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ยาลดคอเลสเตอรอล อีกทั้งหมอก็ให้ยาอมใต้ลิ้น ไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็นฉุกเฉิน
ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา นอกจากยาที่หมอให้ทาน ก็จะได้ตรวจเลือด ซึ่งผลโดยรวมดี, ทำ ECG เป็นครั้งคราว ผลไม่ปกติทุกครั้ง แต่ได้ทำ EST ไปครั้งเดียว วิ่งได้ 8 นาที หมอลงบันทึกว่า Inadequate แต่ก็ไม่เรียกมาทำซ้ำ คนไข้และเรา ในฐานะคนดูแลคนไข้ เห็นว่า อาการแน่นหน้าอกของพ่อไม่ลดลง ยังคงแน่นหน้าอกง่ายจากหลายๆ สาเหตุ เช่น การเดิน, การออกกำลังกาย, อารมณ์, ความเครียด หรือเมื่อตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน เป็นต้น เราสองคนเคยเรียนคุณหมอ และเคยเรียนสอบถามว่า พ่อเป็นโรคหัวใจแบบไหน เลวร้ายแค่ไหน จำเป็นต้องสวนหัวใจฉีดสีเหมือนคนอื่นๆ ทำกันหรือไม่ ซึ่งหมอบอกว่า มันเป็นโรคที่ต้องทานยาตลอดชีวิต ก็ให้กินยาไปเรื่อยๆ เราพูดเรื่องนี้กับหมอเฉลี่ยราวปีละครั้งถึงสองครั้ง ทุกครั้ง-เราจะโดนหมอปฏิเสธ เราและพ่อยังเก็บความสงสัยว่าทำไมอาการแน่นหน้าอกถึงไม่ลดลงเลย แต่ด้วยพ่อไม่ต้องการย้ายโรงพยาบาล เพราะพ่อเห็นว่า นี่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดและอยู่ใกล้บ้านที่สุด ถึงแม้เครื่องมือแพทย์จะไม่พร้อม อย่างน้อยการถึงมือหมอในเวลาฉุกเฉิน และประวัติการรักษาของพ่อก็อยู่ที่นี่ตลอด พ่อจึงเลือกที่จะอดทนรอหมอวินิจฉัยเชิงลึกต่อไป
ที่โรงพยาบาลจังหวัดแห่งนี้ มีหมอโรคหัวใจเพียงท่านเดียว ไม่มีเครื่องมือเฉพาะทางอื่นๆ เช่น ห้องผ่าตัดสวนหัวใจฉีดสี การรักษาและจ่ายยาของที่นี่จึงทำโดยแพทย์แผนกอายุรกรรม พ่อได้ตรวจกับหมอโรคหัวใจท่านนี้บ้าง หมออายุรกรรมทั่วไปท่านอื่นบ้าง สลับกันไป เคยลองพูดกับหมอท่านอื่น เวลาไปรับยา เผื่อจะมีหมอท่านไหนเห็นใจ และช่วยพูดกับแพทย์เฉพาะทางให้ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเหมือนกันทุกคราว
วันที่ 18 มกราคม 2556 ขอหมออายุรกรรมอีกครั้ง ก็ถูกปฏิเสธ จึงตกลงกันในครอบครัวว่า ไม่ไหวแล้ว มันเกินไปแล้ว ในวันพฤหัสฯถัดไป พ่อจึงไปที่ศูนย์หัวใจของโรงพยาบาลแพทย์แห่งเดียวของจังหวัด เล่าอาการและประวัติการรักษาให้หมอฟัง หมอบอกว่า แค่ฟังอาการก็รู้ว่าแย่แล้ว ยิ่งปล่อยนานขนาดนี้ ยิ่งน่าเป็นห่วง จึงสั่งทำ EST ให้แน่ใจ และผลเป็น positive high risk หมอแนะนำให้สวนหัวใจฉีดสีโดยเร็ว ผ่านไปสามวัน คุณหมอแจ้งว่า ห้องผ่าตัดและหมอว่างในวันรุ่งขึ้น (เป็นวันจันทร์) สามารถทำการสวนหัวใจฉีดสีได้ จะทำหรือไม่ เราตกลง จากตอนแรกที่คิดว่าเพียงฉีดสีแล้วจะวางแผนการรักษา แต่ผลปรากฎว่า เส้นเลือดหลักตีบราว 80% เส้นรองตีบเกือบ 50% เส้นที่สามยังโอเค หมอตัดสินใจใส่บอลลูนและขดลวดในทันที แต่ Fail เพราะสิ่งที่ก่อตัวในหลอดเลือดหัวใจไม่ใช่คอเลสเตอรอล แต่เป็นแคลเซียม หมอจำเป็นต้องกรอก่อน ถึงจะใส่บอลลูนและขดลวดได้ พ่อนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหนึ่งวัน
<<<<< ถึงปัญหาซะที.......... >>>>>
ก่อนตัดสินใจจะทำการสวนหัวใจ ............. น้องสาวบอกว่า สามารถใช้สิทธิ์เบิกข้าราชการของเขาได้ เพียงแต่ไม่ใช่สิทธิ์เบิกตรง ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน เราโอเค เพราะการขอหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลจังหวัด ตามสิทธิ์ประกันสังคมของพ่อ มันคงเป็นไปได้ยากมากๆ
หลังการผ่าตัดจบลง ............... น้องสาวเอาใบเสร็จรับเงินไปเบิกที่หน่วยงานของเขา ก็ถูกปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า เพราะพ่อมีสิทธิ์ประกันสังคม ต้องใช้สิทธิ์ของตนเองก่อน
เรากลับมาโรงพยาบาลจังหวัด.............. เล่าเรื่องต่างๆ ให้หมอโรคหัวใจท่านนั้นทราบ เพื่อขอให้รับรองค่าใช้จ่ายและส่งตัวต่อ หมอปฏิเสธ และให้เราไปพบฝ่ายสิทธิ์ ซึ่งได้รับข้อมูลว่า เราต้องกลับไปศูนย์หัวใจของโรงพยาบาลแพทย์ เพื่อขอประวัติการรักษาและใบรับรองแพทย์ แล้วมาคุยกับหมอท่านนี้ใหม่ เผื่อหมอจะยอมทำหนังสือส่งตัวและพิจารณาค่าใช้จ่ายให้
ด้วยความที่หมอคุยยากมาก เราจึงไปปรึกษาหาลู่ทางที่สำนักงานประกันสังคมของจังหวัด.............. เจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน เรามีทางเลือกทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางนี้ คือ
1) ส่งเรื่องขอเบิกจาก ประกันสังคม เขาก็จะออกหนังสือปฏิเสธ เพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน หรือ
2) ฟ้องร้อง ทำเรื่องที่ฝ่ายมาตรฐานของประกันสังคม เจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องไปตรวจสอบการรักษาที่โรงพยาบาล หากโรงพยาบาลทำผิดจริง ก็จะมีการบังคับให้จ่ายค่ารักษานี้ให้ แต่วิธีนี้กินเวลานานมาก อาจจะถึงสองปี!!!!!! หรือ
3) ไปฟ้องร้องโดยตรงเอากับโรงพยาบาลจังหวัดด้วยตนเอง
เพื่อนของเราที่ทราบเรื่อง ช่วยโทรเข้ากรมบัญชีกลางเพื่อสอบถามอีกทาง แต่ก็ยิ่งทำให้หดหู่ คือ หากสิทธิ์ที่หนึ่งซึ่งเป็นสิทธิ์ของคนไข้เอง ถูกปฏิเสธ การมาขอเบิกจากสิทธิ์ข้าราชการของลูกสาว ซึ่งเป็นสิทธิ์รองนั้น ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ หากประกันสังคมจ่ายส่วนหนึ่ง แล้วเอาส่วนเกินมาเบิกจากสิทธิ์ราชการนั้น ทำได้
งงมากค่ะ ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่เคยเจอ ที่เราพยายามขอเบิกเพราะว่า ค่าใช้จ่ายสูงค่ะ วันนั้นวันเดียว ร่วมสามแสนบาท ทำอย่างไรดีคะ
เพิ่มเติมนะคะ
- เป็นเรื่องราวที่เกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ค่ะ
- ผู้ชายในครอบครัวฝั่งของพ่อ เป็นโรคหัวใจกันทุกคน
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆ ความคิดเห็น ขอบคุณที่สละเวลาอ่านนะคะ
ยังไงกัน สิทธิ์ประกันสังคม หรือ เบิกราชการของลูก
เท้าความนิดหน่อย....... ตุลาคม ปี 2548 พ่อมีอาการแน่นหน้าอกทั้งคืน จึงไปโรงพยาบาลเอกชนที่พ่อมีสิทธิ์ประกันสังคมอยู่ หมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ต่อมา 1 มกราคม 2549 โรงพยาบาลเอกชนนี้ออกจากระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจึงโอนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับสำมะโนครัวของผู้มีสิทธิ์ ทำให้พ่อเราเป็นคนไข้ประกันสังคมของโรงพยาบาลจังหวัด
มาเข้าเรื่องกันเลย....... พ่อรักษาโรคหัวใจที่โรงพยาบาลจังหวัดแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน หมอวินิจฉัยว่า พ่อเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยหมอพิจารณาจากอาการ หมอรักษาด้วยการให้ทานยามาตลอด ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ยาลดคอเลสเตอรอล อีกทั้งหมอก็ให้ยาอมใต้ลิ้น ไว้ใช้เมื่อคราวจำเป็นฉุกเฉิน
ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา นอกจากยาที่หมอให้ทาน ก็จะได้ตรวจเลือด ซึ่งผลโดยรวมดี, ทำ ECG เป็นครั้งคราว ผลไม่ปกติทุกครั้ง แต่ได้ทำ EST ไปครั้งเดียว วิ่งได้ 8 นาที หมอลงบันทึกว่า Inadequate แต่ก็ไม่เรียกมาทำซ้ำ คนไข้และเรา ในฐานะคนดูแลคนไข้ เห็นว่า อาการแน่นหน้าอกของพ่อไม่ลดลง ยังคงแน่นหน้าอกง่ายจากหลายๆ สาเหตุ เช่น การเดิน, การออกกำลังกาย, อารมณ์, ความเครียด หรือเมื่อตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน เป็นต้น เราสองคนเคยเรียนคุณหมอ และเคยเรียนสอบถามว่า พ่อเป็นโรคหัวใจแบบไหน เลวร้ายแค่ไหน จำเป็นต้องสวนหัวใจฉีดสีเหมือนคนอื่นๆ ทำกันหรือไม่ ซึ่งหมอบอกว่า มันเป็นโรคที่ต้องทานยาตลอดชีวิต ก็ให้กินยาไปเรื่อยๆ เราพูดเรื่องนี้กับหมอเฉลี่ยราวปีละครั้งถึงสองครั้ง ทุกครั้ง-เราจะโดนหมอปฏิเสธ เราและพ่อยังเก็บความสงสัยว่าทำไมอาการแน่นหน้าอกถึงไม่ลดลงเลย แต่ด้วยพ่อไม่ต้องการย้ายโรงพยาบาล เพราะพ่อเห็นว่า นี่เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดและอยู่ใกล้บ้านที่สุด ถึงแม้เครื่องมือแพทย์จะไม่พร้อม อย่างน้อยการถึงมือหมอในเวลาฉุกเฉิน และประวัติการรักษาของพ่อก็อยู่ที่นี่ตลอด พ่อจึงเลือกที่จะอดทนรอหมอวินิจฉัยเชิงลึกต่อไป
ที่โรงพยาบาลจังหวัดแห่งนี้ มีหมอโรคหัวใจเพียงท่านเดียว ไม่มีเครื่องมือเฉพาะทางอื่นๆ เช่น ห้องผ่าตัดสวนหัวใจฉีดสี การรักษาและจ่ายยาของที่นี่จึงทำโดยแพทย์แผนกอายุรกรรม พ่อได้ตรวจกับหมอโรคหัวใจท่านนี้บ้าง หมออายุรกรรมทั่วไปท่านอื่นบ้าง สลับกันไป เคยลองพูดกับหมอท่านอื่น เวลาไปรับยา เผื่อจะมีหมอท่านไหนเห็นใจ และช่วยพูดกับแพทย์เฉพาะทางให้ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเหมือนกันทุกคราว
วันที่ 18 มกราคม 2556 ขอหมออายุรกรรมอีกครั้ง ก็ถูกปฏิเสธ จึงตกลงกันในครอบครัวว่า ไม่ไหวแล้ว มันเกินไปแล้ว ในวันพฤหัสฯถัดไป พ่อจึงไปที่ศูนย์หัวใจของโรงพยาบาลแพทย์แห่งเดียวของจังหวัด เล่าอาการและประวัติการรักษาให้หมอฟัง หมอบอกว่า แค่ฟังอาการก็รู้ว่าแย่แล้ว ยิ่งปล่อยนานขนาดนี้ ยิ่งน่าเป็นห่วง จึงสั่งทำ EST ให้แน่ใจ และผลเป็น positive high risk หมอแนะนำให้สวนหัวใจฉีดสีโดยเร็ว ผ่านไปสามวัน คุณหมอแจ้งว่า ห้องผ่าตัดและหมอว่างในวันรุ่งขึ้น (เป็นวันจันทร์) สามารถทำการสวนหัวใจฉีดสีได้ จะทำหรือไม่ เราตกลง จากตอนแรกที่คิดว่าเพียงฉีดสีแล้วจะวางแผนการรักษา แต่ผลปรากฎว่า เส้นเลือดหลักตีบราว 80% เส้นรองตีบเกือบ 50% เส้นที่สามยังโอเค หมอตัดสินใจใส่บอลลูนและขดลวดในทันที แต่ Fail เพราะสิ่งที่ก่อตัวในหลอดเลือดหัวใจไม่ใช่คอเลสเตอรอล แต่เป็นแคลเซียม หมอจำเป็นต้องกรอก่อน ถึงจะใส่บอลลูนและขดลวดได้ พ่อนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหนึ่งวัน
<<<<< ถึงปัญหาซะที.......... >>>>>
ก่อนตัดสินใจจะทำการสวนหัวใจ ............. น้องสาวบอกว่า สามารถใช้สิทธิ์เบิกข้าราชการของเขาได้ เพียงแต่ไม่ใช่สิทธิ์เบิกตรง ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน เราโอเค เพราะการขอหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลจังหวัด ตามสิทธิ์ประกันสังคมของพ่อ มันคงเป็นไปได้ยากมากๆ
หลังการผ่าตัดจบลง ............... น้องสาวเอาใบเสร็จรับเงินไปเบิกที่หน่วยงานของเขา ก็ถูกปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า เพราะพ่อมีสิทธิ์ประกันสังคม ต้องใช้สิทธิ์ของตนเองก่อน
เรากลับมาโรงพยาบาลจังหวัด.............. เล่าเรื่องต่างๆ ให้หมอโรคหัวใจท่านนั้นทราบ เพื่อขอให้รับรองค่าใช้จ่ายและส่งตัวต่อ หมอปฏิเสธ และให้เราไปพบฝ่ายสิทธิ์ ซึ่งได้รับข้อมูลว่า เราต้องกลับไปศูนย์หัวใจของโรงพยาบาลแพทย์ เพื่อขอประวัติการรักษาและใบรับรองแพทย์ แล้วมาคุยกับหมอท่านนี้ใหม่ เผื่อหมอจะยอมทำหนังสือส่งตัวและพิจารณาค่าใช้จ่ายให้
ด้วยความที่หมอคุยยากมาก เราจึงไปปรึกษาหาลู่ทางที่สำนักงานประกันสังคมของจังหวัด.............. เจ้าหน้าที่บอกว่า ไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน เรามีทางเลือกทางใดทางหนึ่งใน 3 ทางนี้ คือ
1) ส่งเรื่องขอเบิกจาก ประกันสังคม เขาก็จะออกหนังสือปฏิเสธ เพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน หรือ
2) ฟ้องร้อง ทำเรื่องที่ฝ่ายมาตรฐานของประกันสังคม เจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องไปตรวจสอบการรักษาที่โรงพยาบาล หากโรงพยาบาลทำผิดจริง ก็จะมีการบังคับให้จ่ายค่ารักษานี้ให้ แต่วิธีนี้กินเวลานานมาก อาจจะถึงสองปี!!!!!! หรือ
3) ไปฟ้องร้องโดยตรงเอากับโรงพยาบาลจังหวัดด้วยตนเอง
เพื่อนของเราที่ทราบเรื่อง ช่วยโทรเข้ากรมบัญชีกลางเพื่อสอบถามอีกทาง แต่ก็ยิ่งทำให้หดหู่ คือ หากสิทธิ์ที่หนึ่งซึ่งเป็นสิทธิ์ของคนไข้เอง ถูกปฏิเสธ การมาขอเบิกจากสิทธิ์ข้าราชการของลูกสาว ซึ่งเป็นสิทธิ์รองนั้น ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ หากประกันสังคมจ่ายส่วนหนึ่ง แล้วเอาส่วนเกินมาเบิกจากสิทธิ์ราชการนั้น ทำได้
งงมากค่ะ ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่เคยเจอ ที่เราพยายามขอเบิกเพราะว่า ค่าใช้จ่ายสูงค่ะ วันนั้นวันเดียว ร่วมสามแสนบาท ทำอย่างไรดีคะ
เพิ่มเติมนะคะ
- เป็นเรื่องราวที่เกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ค่ะ
- ผู้ชายในครอบครัวฝั่งของพ่อ เป็นโรคหัวใจกันทุกคน
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆ ความคิดเห็น ขอบคุณที่สละเวลาอ่านนะคะ