คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
เราจะรู้ได้ไงว่าขณะนั้นเรามี สติ หรือ สัมปชัญญะ หรือมี แค่ สติ ไม่มี สัมปชัญญะ คับ
แยกแบบนี้ก่อนครับ สติ ก็อย่างหนึ่ง สัมปชัญญะ ก็อย่างหนึ่ง
สติ ในการปฏิบัติ สติพร้อมกับจิต ระลึกรู้อยู่ที่อิริยาบท ใหญ่ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
สัมปชัญญะ หมายถึง สติ + จิต ระลึกรู้ อิริยาบทที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป เช่น เคี้ยว กลืน (รายละเอียดของอิริยาบทใหญ่ๆทุกขณะ)
วิธีที่จะรู้ว่าเรามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ไหม ให้พิจารณาจากการระลึกรู้นั่นแหระ ว่า ทันปัจจุบันที่ปรากฏไหม เช่น
ขณะกิน เรารู้อยู่ว่ากิน ถ้าเผลอคิด หรือชอบใจว่า อร่อย ไม่อร่อย แสดงว่าปรุงแต่งเพิ่มแล้ว สติไม่ได้อยู่กับอิริยาบทกินแล้ว แต่นึกไป เผลอไป แบบนี้สติไม่แข็งแรง เรียกว่าไม่มีโยนิโสมนสิการด้วย เพราะไม่รู้อย่างใดก็อย่างนั้น แต่ปรุงแต่งไป
ในการกิน ย่อมมีรายละเอียด เช่น ตักอาหาร ยกมาไกล้ปาก ใส่ปาก เคี้ยว กลืน ในขณะที่กิน เรารู้แค่กิน แต่รายละเอียดเหล่านี้ เราไม่ได้รู้เลย แสดงว่า เราไม่ได้ปัจจุบัน หมายถึง เช่น ขณะนั้นเราเคี้ยว แต่เรารู้ว่ากิน จริงๆคือเคี้ยว ไม่ใช่กิน เพราะกินเป็นคำเรียกกิริยาทั้งหมด แต่ขณะนั้นเราเคี้ยว จะว่าเป็นกิริยาทั้งหมดไม่ได้ ปัจจุบันขณะ (ขณะนั้นๆที่ทำอยู่) คือการเคี้ยว ข้อนี้ถ้าตรงปับปัจจุบันของอิริยาบทจริงในขณะนั้น เรียกว่ามีสัมปชัญญะ
ทั้งสติและสมัปชัญญะ ถ้าไม่ตรงปัจจุบัน ไม่มีผลดีกับการปฏิบัติ ถ้าสติดี ไว ได้ปัจจุบันขณะ สมาธิก็มีได้เกิดได้ สติพร้อมสมาธิดีแล้ว สัมปชัญญะ ก็จะเกิดขึ้นตามมาได้อย่างดี
ให้สังเกตุนิวรณ์ทั้ง ๕ ครับ ถ้านิวรณ์เบาบางหรือหายไปชั่วขณะนั้น ตอนนี้ จิต + สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ เริ่มดีแล้วครับ
การจะวัดผลว่าอย่างไรมากหรือน้อย หรือขาไป ควรที่จะให้ครูอาจารย์เป็นผู้วิเคราะห์และปรับวิธีหรือขั้นตอนปฏิบัติจะดีกว่าครับ
ยินดีครับ
แยกแบบนี้ก่อนครับ สติ ก็อย่างหนึ่ง สัมปชัญญะ ก็อย่างหนึ่ง
สติ ในการปฏิบัติ สติพร้อมกับจิต ระลึกรู้อยู่ที่อิริยาบท ใหญ่ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
สัมปชัญญะ หมายถึง สติ + จิต ระลึกรู้ อิริยาบทที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป เช่น เคี้ยว กลืน (รายละเอียดของอิริยาบทใหญ่ๆทุกขณะ)
วิธีที่จะรู้ว่าเรามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ไหม ให้พิจารณาจากการระลึกรู้นั่นแหระ ว่า ทันปัจจุบันที่ปรากฏไหม เช่น
ขณะกิน เรารู้อยู่ว่ากิน ถ้าเผลอคิด หรือชอบใจว่า อร่อย ไม่อร่อย แสดงว่าปรุงแต่งเพิ่มแล้ว สติไม่ได้อยู่กับอิริยาบทกินแล้ว แต่นึกไป เผลอไป แบบนี้สติไม่แข็งแรง เรียกว่าไม่มีโยนิโสมนสิการด้วย เพราะไม่รู้อย่างใดก็อย่างนั้น แต่ปรุงแต่งไป
ในการกิน ย่อมมีรายละเอียด เช่น ตักอาหาร ยกมาไกล้ปาก ใส่ปาก เคี้ยว กลืน ในขณะที่กิน เรารู้แค่กิน แต่รายละเอียดเหล่านี้ เราไม่ได้รู้เลย แสดงว่า เราไม่ได้ปัจจุบัน หมายถึง เช่น ขณะนั้นเราเคี้ยว แต่เรารู้ว่ากิน จริงๆคือเคี้ยว ไม่ใช่กิน เพราะกินเป็นคำเรียกกิริยาทั้งหมด แต่ขณะนั้นเราเคี้ยว จะว่าเป็นกิริยาทั้งหมดไม่ได้ ปัจจุบันขณะ (ขณะนั้นๆที่ทำอยู่) คือการเคี้ยว ข้อนี้ถ้าตรงปับปัจจุบันของอิริยาบทจริงในขณะนั้น เรียกว่ามีสัมปชัญญะ
ทั้งสติและสมัปชัญญะ ถ้าไม่ตรงปัจจุบัน ไม่มีผลดีกับการปฏิบัติ ถ้าสติดี ไว ได้ปัจจุบันขณะ สมาธิก็มีได้เกิดได้ สติพร้อมสมาธิดีแล้ว สัมปชัญญะ ก็จะเกิดขึ้นตามมาได้อย่างดี
ให้สังเกตุนิวรณ์ทั้ง ๕ ครับ ถ้านิวรณ์เบาบางหรือหายไปชั่วขณะนั้น ตอนนี้ จิต + สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ เริ่มดีแล้วครับ
การจะวัดผลว่าอย่างไรมากหรือน้อย หรือขาไป ควรที่จะให้ครูอาจารย์เป็นผู้วิเคราะห์และปรับวิธีหรือขั้นตอนปฏิบัติจะดีกว่าครับ
ยินดีครับ
แสดงความคิดเห็น
รบกวนผู้มีปัญญา ผมขอถามเรื่อง โยนิโส,สติ,สัมปชัญญะ ด้วยครับ