พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง

ตอนแรกกะว่า วันนี้จะตั้งกระทู้เรื่องข้าวภาค 2 แต่เห็นหลายข่าว ของวันนี้มีความน่าสนใจ ก็ขอตั้งกระทู้พวกนี้ก่อน

http://www.thairath.co.th/content/pol/334110




ตอนแรกตามความเข้าใจของผม คือคิดว่า การที่รัฐบาลบอกมาตลอดว่า การออกเป็นพรบ. จะมีรายละเอียดโครงการ ให้พิจารณาอย่างละเอียดก่อนออกเป็นกฎหมาย ไม่เหมือนสมัยพรก.ไทยเข้มแข็ง ที่มีกระดาษไม่กี่แผ่นเท่านั้น

ก็เข้าใจว่า ในพรบ.ฉบับนี้ จะมีการแยกหมวดหมู่ชัดเจน แล้วมีแผนงานก่อสร้าง อย่างน้อยก็ต้องมีบอกว่า จะสร้างอะไร จากไหนถึงไหน ตั้งงบประมาณเฉพาะจุดนั้น ๆ เท่าไหร่

คือทำพรบ. ในลักษณะพรบ.งบประมาณขึ้นมาเลย

และเมื่อผ่านวาระหนึ่งไปแล้ว ให้สส.แปรญัตติ ก็จะได้มีประเด็นว่า ตรงไหนแพงไป ตรงไหนน่าจะเพิ่ม เพื่อให้สส.แย่งกันปรับลด ขยับเส้นทาง ไปยังพื้นที่ของตนเอง เหมือนกับการพิจารณางบประมาณ

แต่เมื่ออ่านข่าวนี้ ก็อึ้งตามพาดหัวข่าว เพราะการที่ พรบ.มีแค่ 19 มาตรา ที่ไม่ลงรายละเอียด การพิจารณาจะทำอย่างไร แล้วจะมีอะไรเป็นหลักประกันว่า เมื่ออนุมัติไปแล้ว โครงการจะเป็นแบบที่โฆษณาเอาไว้ จะสามารถสร้างทุกอย่างได้ตามที่ระบุไว้ ในกรอบวงเงิน และกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้

เพราะการที่รายละเอียดโครงการ ไม่ได้ถูกระบุในกฎหมาย ก็น่าจะทำให้ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ โดยตรวจสอบได้ยาก


ก็เลยอยากจะถามความเห็นดูว่า พรบ.เงินกู้อันนี้ ทำแบบนี้ คือมี 4 หน้า 19 มาตรา มีความเหมาะสมดีหรือไม่ หรือว่าควรจะมีรายละเอียดโครงการต่าง ๆ แยกไปเป็นรายมาตรา ระบุให้ชัดเจนเหมือนการแยกงบประมาณรายกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ เลย เพราะเมื่อเกิดมีจำเป็นต้องแก้ไขโครงการ ในช่วงต่อ ๆ ไป ก็จะได้นำเสนอกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พรบ. เพื่อปรับปรุงโครงการ ไม่ใช่แอบไปเปลี่ยนเอง โดยไม่ต้องนำมาผ่านสภาอีก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่