พังลา

กระทู้สนทนา
ต้นรัชกาลที่สาม
กบฎแขกมาลายูมันเหิมเกริมนัก
การศึกปราบกบฎไทรบุรีครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก
ต้องเกณฑ์ทัพจากนครศรีธรรมราช พัทลุง
มาสมทบกับทัพหลวงที่มาตั้งกองกำลังทัพพร้อมรบ
รอทัพอื่นมาสบทบที่สงขลา

เมื่อรวมทัพพร้อมกันได้ฤกษ์ยามมหาพิชัยยุทธ์
จึงเริ่มเดินทางผ่านเส้นทางบกตามเส้นทางเดินโบราณ
ผ่านบ้านหลายแห่งรวมทั้งบ้านทุ่งหาดใหญ่
ตามพงศาวดารสงขลา
หรือบ้านหาดทรายใหญ่
ตามหนังสือประพาศต้นรัชกาลที่ 5

ส่วนทางน้ำเดินเรือทวนน้ำเข้าทางคลองอู่ตะเภา
ไหลมาจากมาเลย์ลงทางทิศใต้มาออกทางทิศเหนือ
ลงสู่ทะเลสาบสงขลาออกอ่าวไทยในบั้นปลาย
มีลำน้ำชื่อว่า คลองอู่ตะเภา
ทำให้หาดใหญ่มีชื่อเดิมว่า อำเภอเหนือ

การทำศึกต้องเตรียมสร้างเรือและแพ
ไว้ขนทหารกับเสบียงอาหารพร้อมกับเตรียมการศึก
มีการตัดไม้มาทำเรือที่คลองแงะ ทุ่งลุง
ดังจะปรากฎซากเรือโบราณแถวนี้หลายลำ
ร่วมกับตำนานเล่าขานของชาวบ้านสืบเนื่องกันมา

วันที่จากลาก็มาถึง
พี่ต้องเดินทัพไปทางใต้
ตอนเหนือของไทรบุรี หรือ รัฐเกดาห์
น้องต้องจากพี่แล้ว
การศึกถ้าเสร็จสิ้น
พี่ไม่ตาย เราคงต้องพบกันอีก
เสียงร่ำลาครวญครางของทั้งสอง
ด้วยเสียงน้องร้องไห้สะท้อนดังกึกก้อง คร่ำครวญ
ชาวบ้านและนายทหารนายกองต่างรับรู้และสงสาร

จึงตั้งนามหมู่บ้าน ณ ที่แห่งนี้ว่า  บ้านพังลา
ช้างพัง บอกลา ช้างพลาย แต่นั้นมา

คำบอกเล่า เจ้าอาวาสวัดพังลา
ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

แต่ภาคใต้จะมีต้นกล้วยชื่อ กล้วยพังลา

ส่วนแถวคาบสมุทรสทิงพระ
มีร่องรอยอารยธรรมขอมในพื้นที่และภาษา เช่น
คำว่า พัง คือ ที่เก็บน้ำ
ไม่ใช่พังบ้านพังเรือน
เช่น พังใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรสทิงพระ อยู่ใกล้วัดพะโคะ
มีเทวสถานพราหมณ์  ศิวลึงค์ กับ โยนี  อยู่ใกล้ ๆ กัน
ไม่ค่อยมีคนรับรู้หรือไปท่องเที่ยว ไว้จะเขียนในภายหลัง
พังใหญ่ พังเสม็ด พังเถียะ พังตรุ  เป็นต้น

คำว่า พัง กร่อนมาจาก คำว่า
ตะพัง-แปลว่า ที่เก็บน้ำหรือสระน้ำ ตะพังสุรินทร์
สะทิ้งเปรียะ จะทิ้งเปรี๊ยะ
คลอง/ท่าน้ำ = จะทิ้ง  สะทึง = ชัก หรือ ดึง  เปรี๊ยะ = พระ
กร่อนจากภาษาขอมมาเป็น วัดจะทิ้งพระ
หรือที่เป็นข่าว เปรี๊ยะวิเฮียร์



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่