โดย สายสร้อยอินทนิล *
22 มีนาคม 2013
โหมโรง
สร้อยอินเป็นคนหนึ่งที่สอดส่ายสายตาหาอะไรอร่อย ๆ อยู่ตลอดเพราะถือหลัก เรื่องกินเรื่องใหญ่ ตามประสาลูกหลานคนจีน ไม่ว่าไปที่ไหนก็ต้องหาข้อมูลเรื่องอาหารการกิน ผลหมากรากไม้ติดตัวไว้เสมอ แม้บางครั้งอาจเตรียมได้ไม่ดีก็ยังอาศัยสอบถามผู้รู้ หรือคนท้องถิ่นเพราะความอยากลองของแปลกใหม่ไปเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและการเรียนรู้ของสร้อยอินเสมอมา สำหรับการเริ่มแบ่งปันประสบการณ์เรื่องอาหารครั้งนี้ ก็ถือเป็นการกินเกาะกระแส ASEAN ในปี ค.ศ. 2015 ก็ด้วยเหตุของพม่าได้เริ่มส่งสัญญาณเปิดประเทศต่อชาวโลก นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกของพม่าในรอบ 20 ปี เมื่อปลายปี ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมา พม่ากลายเป็นแม่เหล็กขนาดมหึมาดึงดูดความสนใจผู้คนได้จากทั่วทุกสารทิศ สร้อยอินก็เป็นคนหนึ่งที่โดนดูดให้เข้าไปพม่ากับเขาด้วยเช่นกัน โดยเริ่มโดนดูเข้าไปได้แค่แนวชายขอบเท่านั้น การเดินทางครั้งแรกก็เป็นเพราะต้องไปรับน้ำผึ้งป่ากับแม่บ้านชาวกะเหรี่ยงเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อนำมาทำยาให้ป๊า จากกรุงเทพ สู่ แม่สอด ข้ามแม่น้ำเมยไปเมียวดี ที่มาของเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย
เริ่มสนใจขยับเข้าใกล้พม่ามากขึ้น
สร้อยอินยอมรับแบบไม่อายว่าสร้อยอินมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพม่าน้อยมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่พม่าเป็นประเทศติดต่อกับไทย เมื่อสร้อยอินได้เดินทางไปสัมผัสเมียวดีแม้เป็นเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจกลับมาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และความเชื่อ รวมทั้งความเป็นอยู่ในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องอาหารการกิน ซึ่งเป็นจุดเล็กที่สุดจุดหนึ่งที่จะโยงเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไปได้อีก\
เกาะชายขอบ ข้ามแม่น้ำเมย มาทำความรู้จักเมียวดีซักหน่อย
ก่อนไปถึงเรื่องอาหาร ขอกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเมืองเมียวดี หรือที่ชาวพื้นเมืองเรียก บะล้ำบะตี๋ พอให้เห็นภาพสำหรับท่านที่ยังไม่เคยสนใจ หรือยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปสัมผัส เมืองเมียวดีอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นพม่า ต่อมาเริ่มมีการค่าขาย มีชาวจีน แขก กะเหรี่ยง มุสลิม เข้ามาอยู่ มาค้าขาย ทำให้ปัจจุบันคนเมียวดีที่แท้จริงเหลืออยู่น้อยมาก ผู้คนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มาจากต่างเมือง มาทำมาหากินที่เมียวดีซึ่งเป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่ามาอย่างยาวนาน พม่าจึงได้จัดเมียวดีเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนในเรื่องการปกครองนั้น เป็นการปกครองแบบท้องถิ่นที่มีทหารพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยงร่วมกันปกครอง หลายท่านอาจมีคำถามในใจว่าหากต้องการจะเดินทางไปเมียวดีเราจะปลอดภัยหรือไม่นั้น จากประสบการณ์ของการเดินทางของสร้อยอินแล้ว ถือได้ว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ปัจจุบันสถานการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ความสงบระดับหนึ่งหลังจากรัฐบาลทหารพม่าได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงกับกองกำลังกะเหรี่ยง Karen National Union (KNU) ที่เมืองผาอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง ไปเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2012 ที่ผ่านมา เพื่อจะกลับไปร่วมกันพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า มากกว่าการสู้รบกันเองยาวนานอย่างที่ผ่านมา แม้จะเพิ่งผ่านไปเพียงปีเดียวเท่านั้น เท่าที่ได้สอบถาม ก็ถือได้ว่าผู้คนเริ่มมองเห็นสัญญาณที่ดีที่จะเดินร่วมทางกันไปอย่างสันติเช่นนี้ เพื่อความเจริญของประเทศร่วมกัน สำหรับภูมิประเทศ เมียวดีมีชัยภูมิที่เป็นภูเขาหินปูน มีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ อุดมสมบูรณ์ มีฤดูกาล ร้อน ฝน หนาวที่ชัดเจน พม่ามีเวลาที่ช้ากว่าไทยไปครึ่งชั่วโมง การสัญจรทางรถยนต์ เมียวดีถือได้ว่าเป็นเส้นทางขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกหลักจากประเทศไทย และอินโดจีน รวมทั้งเราสามารถใช้เงินบาทได้สบาย ๆ แม้พ่อค้าแม่ค้าจะทอนเงินจ๊าดให้เรา แบงค์จ๊าดตามแนวตะเข็บก็ยังสะอาดดูดีกว่าที่คิดไว้มากมายค่ะ
วัฒนธรรมการกิน
พม่าถือได้ว่าสามารถดำรงวัฒนธรรมการกินอย่างไม่เปลี่ยนแปลง อาหารพม่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นการผสมผสานระหว่าง อินเดีย จีน ไทย และลาว ชาวพม่าสามารถนำกรรมวิธีการปรุง เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ และวัตถุดิบอื่น ๆ มาปรับใช้ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้การนั่งกินข้าวของชาวพม่า ยังมีความคล้ายคลึงกับคนไทย คือปูเสื่อนั่งล้อมวงโต๊ะไม้เตี้ย ๆ ที่เต็มไปด้วยอาหาร เปิบด้วยมือ หรือหากเป็นคนเมือง อาจพบการนั่งกินบนโต๊ะเช่นกัน สำหรับคนเมียวดีส่วนใหญ่แล้วยังคงดำรงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ยังคงหุงหาอาหารกันเองในบ้าน ไม่นิยมไปทานข้าวนอกบ้านกัน ยกเว้นคนต่างถิ่นที่เข้าไปทำมาหากิน เช่น คนไทยที่เข้าไปทำงานก่อสร้างถนนหนทางตามโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-พม่า เป็นต้น
แนะนำร้านอาหารท้องถิ่น
การเดินทางสองสามครั้งที่ผ่านมาส่วนใหญ่แล้วญาติฝ่ายเมียวดีก็จะช่วยเมตตาจัดหาอาหารมารับรองพวกเราอย่างอบอุ่น เริ่มตั้งแต่ ติ่มซำ ชา กาแฟสำหรับอาหารเช้าแบบคนจีน ไก่บ้าน เนื้อวัว อาหารป่าจำพวก เก้ง กวาง หมูป่า เป็นต้น กุ้งแม่น้ำพม่า แกงจืด แกงป่า แกงเผ็ด ขนมจีนพม่า กระบองจ่อ ฯลฯ ยกกันมารับแขกต่างบ้านต่างเมืองอย่างมากมาย อาหารพม่ามีรสชาติที่แตกต่างกับอาหารไทย จึงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว หากเพื่อน ๆ เดินทางไปที่พม่าอาจลองแวะร้านอาหารท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใต้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า เมื่อขับรถลงสะพานฯ ร้านอาหารจะอยู่ด้านขวามือ หาไม่ยาก โดยต้องขับไปวนซ้ายลอดใต้สะพานฯ กลับมา ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใดตามแผนที่ตำแหน่งด้านล่างนี้ สำหรับรถพม่าพวงมาลัยขวาเหมือนเรา แต่ที่แตกต่างคือพม่าขับชิดขวา คงต้องเปลี่ยนโหมดให้ทันด้วยค่ะ
ร้านอาหารร้านนี้สร้อยอินยังไม่รู้ชื่อร้านเลย เห็นมีป้ายบนซ้ายเป็นภาษาพม่าอยู่ หากมีโอกาสได้เดินทางไปอีกสัญญาจะเก็บรายละเอียดมาเล่าสู่กันฟังให้มากกว่านี้ค่ะ
ก่อนจบ ญาติฝ่ายเมียวดีบอกว่าขณะนี้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าได้มีการเจรจากันเพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางระหว่างกันมากขึ้น เขาเล่าว่าสงกรานต์ปีนี้ที่แนวตะเข็บชายแดนแม่สอดเมียวดี อาจมีการออกวีซ่าอายุ 7 วันให้ นั่นหมายความว่าคนไทยจะสามารถเข้าไปพักค้างคืนที่พม่าได้ และในทางตรงข้ามคนพม่าก็พักค้างคืนในไทยได้เช่นกันเป็นครั้งแรก ในปัจจุบันรัฐบาลพม่ายังคงถือกฎไม่อนุญาตให้คนไทยพักค้างคืนที่พม่าได้ หากโชคดีสถานการณ์ต่าง ๆ เอื้ออำนวย พวกเราคงได้มีโอกาสไปเยือนพม่าผ่านแม่สอด เมียวดี เจดีย์แขวน ย่างกุ้ง ฯลฯ เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่ให้พวกเราทำความรู้จักกันและกันมากขึ้น มีความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งขึ้น บนมิตรภาพที่ยาวนานต่อไป
* มือใหม่หัดเขียนฉบับแรก ถือโอกาสฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ
สุดท้ายขอบพระคุณทุกความเห็นที่จะคุยกันต่อไปแบบเดินไปพร้อมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันค่ะ เออ... เหมือนคนขาดกำลังใจอย่างไรชอบพิกล ^^
[CR][SR] รู้จักกะเหรี่ยง/พม่า ผ่านร้านอาหารท้องถิ่นในเมียวดี (Recommended Myanmar Street Food)
22 มีนาคม 2013
โหมโรง
สร้อยอินเป็นคนหนึ่งที่สอดส่ายสายตาหาอะไรอร่อย ๆ อยู่ตลอดเพราะถือหลัก เรื่องกินเรื่องใหญ่ ตามประสาลูกหลานคนจีน ไม่ว่าไปที่ไหนก็ต้องหาข้อมูลเรื่องอาหารการกิน ผลหมากรากไม้ติดตัวไว้เสมอ แม้บางครั้งอาจเตรียมได้ไม่ดีก็ยังอาศัยสอบถามผู้รู้ หรือคนท้องถิ่นเพราะความอยากลองของแปลกใหม่ไปเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและการเรียนรู้ของสร้อยอินเสมอมา สำหรับการเริ่มแบ่งปันประสบการณ์เรื่องอาหารครั้งนี้ ก็ถือเป็นการกินเกาะกระแส ASEAN ในปี ค.ศ. 2015 ก็ด้วยเหตุของพม่าได้เริ่มส่งสัญญาณเปิดประเทศต่อชาวโลก นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกของพม่าในรอบ 20 ปี เมื่อปลายปี ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมา พม่ากลายเป็นแม่เหล็กขนาดมหึมาดึงดูดความสนใจผู้คนได้จากทั่วทุกสารทิศ สร้อยอินก็เป็นคนหนึ่งที่โดนดูดให้เข้าไปพม่ากับเขาด้วยเช่นกัน โดยเริ่มโดนดูเข้าไปได้แค่แนวชายขอบเท่านั้น การเดินทางครั้งแรกก็เป็นเพราะต้องไปรับน้ำผึ้งป่ากับแม่บ้านชาวกะเหรี่ยงเมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อนำมาทำยาให้ป๊า จากกรุงเทพ สู่ แม่สอด ข้ามแม่น้ำเมยไปเมียวดี ที่มาของเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย
เริ่มสนใจขยับเข้าใกล้พม่ามากขึ้น
สร้อยอินยอมรับแบบไม่อายว่าสร้อยอินมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องพม่าน้อยมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่พม่าเป็นประเทศติดต่อกับไทย เมื่อสร้อยอินได้เดินทางไปสัมผัสเมียวดีแม้เป็นเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจกลับมาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และความเชื่อ รวมทั้งความเป็นอยู่ในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องอาหารการกิน ซึ่งเป็นจุดเล็กที่สุดจุดหนึ่งที่จะโยงเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไปได้อีก\
เกาะชายขอบ ข้ามแม่น้ำเมย มาทำความรู้จักเมียวดีซักหน่อย
ก่อนไปถึงเรื่องอาหาร ขอกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเมืองเมียวดี หรือที่ชาวพื้นเมืองเรียก บะล้ำบะตี๋ พอให้เห็นภาพสำหรับท่านที่ยังไม่เคยสนใจ หรือยังไม่เคยมีโอกาสได้ไปสัมผัส เมืองเมียวดีอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นพม่า ต่อมาเริ่มมีการค่าขาย มีชาวจีน แขก กะเหรี่ยง มุสลิม เข้ามาอยู่ มาค้าขาย ทำให้ปัจจุบันคนเมียวดีที่แท้จริงเหลืออยู่น้อยมาก ผู้คนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มาจากต่างเมือง มาทำมาหากินที่เมียวดีซึ่งเป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของพม่ามาอย่างยาวนาน พม่าจึงได้จัดเมียวดีเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนในเรื่องการปกครองนั้น เป็นการปกครองแบบท้องถิ่นที่มีทหารพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยงร่วมกันปกครอง หลายท่านอาจมีคำถามในใจว่าหากต้องการจะเดินทางไปเมียวดีเราจะปลอดภัยหรือไม่นั้น จากประสบการณ์ของการเดินทางของสร้อยอินแล้ว ถือได้ว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ปัจจุบันสถานการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ความสงบระดับหนึ่งหลังจากรัฐบาลทหารพม่าได้ลงนามในสัญญาหยุดยิงกับกองกำลังกะเหรี่ยง Karen National Union (KNU) ที่เมืองผาอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง ไปเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2012 ที่ผ่านมา เพื่อจะกลับไปร่วมกันพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า มากกว่าการสู้รบกันเองยาวนานอย่างที่ผ่านมา แม้จะเพิ่งผ่านไปเพียงปีเดียวเท่านั้น เท่าที่ได้สอบถาม ก็ถือได้ว่าผู้คนเริ่มมองเห็นสัญญาณที่ดีที่จะเดินร่วมทางกันไปอย่างสันติเช่นนี้ เพื่อความเจริญของประเทศร่วมกัน สำหรับภูมิประเทศ เมียวดีมีชัยภูมิที่เป็นภูเขาหินปูน มีทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุต่าง ๆ อุดมสมบูรณ์ มีฤดูกาล ร้อน ฝน หนาวที่ชัดเจน พม่ามีเวลาที่ช้ากว่าไทยไปครึ่งชั่วโมง การสัญจรทางรถยนต์ เมียวดีถือได้ว่าเป็นเส้นทางขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกหลักจากประเทศไทย และอินโดจีน รวมทั้งเราสามารถใช้เงินบาทได้สบาย ๆ แม้พ่อค้าแม่ค้าจะทอนเงินจ๊าดให้เรา แบงค์จ๊าดตามแนวตะเข็บก็ยังสะอาดดูดีกว่าที่คิดไว้มากมายค่ะ
วัฒนธรรมการกิน
พม่าถือได้ว่าสามารถดำรงวัฒนธรรมการกินอย่างไม่เปลี่ยนแปลง อาหารพม่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นการผสมผสานระหว่าง อินเดีย จีน ไทย และลาว ชาวพม่าสามารถนำกรรมวิธีการปรุง เครื่องปรุงรส เครื่องเทศ และวัตถุดิบอื่น ๆ มาปรับใช้ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้การนั่งกินข้าวของชาวพม่า ยังมีความคล้ายคลึงกับคนไทย คือปูเสื่อนั่งล้อมวงโต๊ะไม้เตี้ย ๆ ที่เต็มไปด้วยอาหาร เปิบด้วยมือ หรือหากเป็นคนเมือง อาจพบการนั่งกินบนโต๊ะเช่นกัน สำหรับคนเมียวดีส่วนใหญ่แล้วยังคงดำรงวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ยังคงหุงหาอาหารกันเองในบ้าน ไม่นิยมไปทานข้าวนอกบ้านกัน ยกเว้นคนต่างถิ่นที่เข้าไปทำมาหากิน เช่น คนไทยที่เข้าไปทำงานก่อสร้างถนนหนทางตามโครงการความร่วมมือระหว่างไทย-พม่า เป็นต้น
แนะนำร้านอาหารท้องถิ่น
การเดินทางสองสามครั้งที่ผ่านมาส่วนใหญ่แล้วญาติฝ่ายเมียวดีก็จะช่วยเมตตาจัดหาอาหารมารับรองพวกเราอย่างอบอุ่น เริ่มตั้งแต่ ติ่มซำ ชา กาแฟสำหรับอาหารเช้าแบบคนจีน ไก่บ้าน เนื้อวัว อาหารป่าจำพวก เก้ง กวาง หมูป่า เป็นต้น กุ้งแม่น้ำพม่า แกงจืด แกงป่า แกงเผ็ด ขนมจีนพม่า กระบองจ่อ ฯลฯ ยกกันมารับแขกต่างบ้านต่างเมืองอย่างมากมาย อาหารพม่ามีรสชาติที่แตกต่างกับอาหารไทย จึงถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว หากเพื่อน ๆ เดินทางไปที่พม่าอาจลองแวะร้านอาหารท้องถิ่น ซึ่งอยู่ใต้สะพานมิตรภาพไทย-พม่า เมื่อขับรถลงสะพานฯ ร้านอาหารจะอยู่ด้านขวามือ หาไม่ยาก โดยต้องขับไปวนซ้ายลอดใต้สะพานฯ กลับมา ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใดตามแผนที่ตำแหน่งด้านล่างนี้ สำหรับรถพม่าพวงมาลัยขวาเหมือนเรา แต่ที่แตกต่างคือพม่าขับชิดขวา คงต้องเปลี่ยนโหมดให้ทันด้วยค่ะ
ร้านอาหารร้านนี้สร้อยอินยังไม่รู้ชื่อร้านเลย เห็นมีป้ายบนซ้ายเป็นภาษาพม่าอยู่ หากมีโอกาสได้เดินทางไปอีกสัญญาจะเก็บรายละเอียดมาเล่าสู่กันฟังให้มากกว่านี้ค่ะ
ก่อนจบ ญาติฝ่ายเมียวดีบอกว่าขณะนี้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าได้มีการเจรจากันเพื่อส่งเสริมให้มีการเดินทางระหว่างกันมากขึ้น เขาเล่าว่าสงกรานต์ปีนี้ที่แนวตะเข็บชายแดนแม่สอดเมียวดี อาจมีการออกวีซ่าอายุ 7 วันให้ นั่นหมายความว่าคนไทยจะสามารถเข้าไปพักค้างคืนที่พม่าได้ และในทางตรงข้ามคนพม่าก็พักค้างคืนในไทยได้เช่นกันเป็นครั้งแรก ในปัจจุบันรัฐบาลพม่ายังคงถือกฎไม่อนุญาตให้คนไทยพักค้างคืนที่พม่าได้ หากโชคดีสถานการณ์ต่าง ๆ เอื้ออำนวย พวกเราคงได้มีโอกาสไปเยือนพม่าผ่านแม่สอด เมียวดี เจดีย์แขวน ย่างกุ้ง ฯลฯ เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่ให้พวกเราทำความรู้จักกันและกันมากขึ้น มีความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งขึ้น บนมิตรภาพที่ยาวนานต่อไป
* มือใหม่หัดเขียนฉบับแรก ถือโอกาสฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ
สุดท้ายขอบพระคุณทุกความเห็นที่จะคุยกันต่อไปแบบเดินไปพร้อมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันค่ะ เออ... เหมือนคนขาดกำลังใจอย่างไรชอบพิกล ^^
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น