เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
วันที่ 20 มีนาคม สหประชาชาติ เชิญชวนร่วมฉลอง วันความสุขสากล พร้อมรำลึกถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชาติ เสริมสร้างความสุขอย่างยั่งยืนให้แก่ตนเองและช่วยเหลือคนรอบข้าง
ความสุขนั้นเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต และความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ แต่ท่ามกลางสภาพสังคมที่มีการเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีการแข่งขันสูงนั้น ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คนมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า ความสุข ไปในบางครั้ง ทำให้พวกเขาลืมที่จะหาความสุขให้แก่ตนเอง ลืมมองความสุขของคนรอบข้าง และลืมคิดถึงการมอบความสุขให้แก่คนอื่น ๆ สังคม
ดังนั้น เพื่อให้มนุษย์ทุก ๆ คนได้ตระหนักถึงความสุข อันเป็นเป้าหมายสำคัญในการดำรงชีพและสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตที่ดีให้แก่ตัวเองและคนรอบข้าง ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 องค์กรหลักของสหประชาชาติ (UN) จึงได้มีมติก่อตั้ง “วันความสุขสากล” (The International Day of Happiness) โดยกำหนดให้ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี โดยจะครบรอบวันความสุขสากลเป็นปีแรก ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2013
วัตถุประสงค์
จากมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในการก่อตั้งวันความสุขสากลนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อให้เป็นวันที่ทุก ๆ คนจะได้ร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชน รวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของมนุษย์
2. เพื่อเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุก ๆ โดยสหประชาชาติได้มุ่งเป้าไปที่ความสนใจของโลกต่อแนวคิดในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจว่าจะต้อง ประกอบไปด้วย การรวบรวม ความเสมอภาค และสมดุล เช่นเดียวกับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบรรเทาความยากจน นอกจากนี้สหประชาชาติยังระบุว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจจะต้องมาพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุความสุขของโลก
ที่มาของวันความสุขสากล
ความคิดริเริ่มของการประกาศวันความแห่งความสุขสากลนั้น มีต้นแบบความคิดมาจากประเทศภูฏาน อันเป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขมากที่สุดในโลก โดยได้เป็นที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติและความสำเร็จทางสังคม หรือ ดัชนีมวลรวมความสุข (Gross National Happiness Index : GNH) ซึ่งเป็นการวัดที่ปฏิเสธการใช้เศรษฐกิจและความร่ำรวยทางวัตถุ มาเป็นชี้วัดการพัฒนา และหันมามองแบบองค์รวม ว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าวัตถุ
และเนื่องในวันครบรอบ วันความสุขสากล เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 สหประชาชาติก็ได้เชิญประเทศสมาชิก ทั้งองค์กรระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค และภาคประชาสังคม รวมถึงองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ และภาคบุคคล มาร่วมประชุมเพื่อหารือถึงวิธีการที่เหมาะสม ในด้านการศึกษา และกิจกรรมเพื่อเพิ่มความตระหนักของสาธารณะ ในวันความสุขสากลนี้ด้วย
อีกทั้ง สหประชาชาติก็ยังได้สำรวจวัดระดับความสุขใน 156 ประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยความสุขที่สำคัญ เช่น รายได้ การมีงานทำ ความสัมพันธ์ที่ดี ความไว้วางใจกันในชุมชน การมีค่านิยมที่เอื้อต่อความสุขและศาสนา สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษา เสรีภาพทางการเมือง ความเข้มแข็งของเครือข่ายสังคม การไม่มีคอร์รัปชั่น และความเท่าเทียมทางเพศและสังคม เป็นต้น มาเป็นตัวชี้วัดความสุขของประเทศต่าง ๆ อีกด้วย
นอกเหนือจากนี้ นายบันคีมูน เลขานุการแห่งสหประชาชาติ ก็ยังได้กล่าวเนื่องในวันครบรอบวันความสุขสากล ปี ค.ศ. 2013 ไว้ดังนี้
"เนื่องในวันแห่งความสุขสากลวันแรกนี้ ขอให้เราเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราที่จะรวบรวม และพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน รวมทั้งต่ออายุสัญญาของเราที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และเมื่อใดที่เราสร้างในสิ่งที่ดีแล้ว ตัวเราก็จะดีขึ้น ความเมตตาจะช่วยยกระดับความสุข และช่วยให้เราสร้างอนาคตอย่างที่เราต้องการได้"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
timeanddate.com, un.org, unmultimedia.org
เอ้า เฮ...
20 มีนาคม วันความสุขสากล
วันที่ 20 มีนาคม สหประชาชาติ เชิญชวนร่วมฉลอง วันความสุขสากล พร้อมรำลึกถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชาติ เสริมสร้างความสุขอย่างยั่งยืนให้แก่ตนเองและช่วยเหลือคนรอบข้าง
ความสุขนั้นเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิต และความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ แต่ท่ามกลางสภาพสังคมที่มีการเร่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีการแข่งขันสูงนั้น ก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คนมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า ความสุข ไปในบางครั้ง ทำให้พวกเขาลืมที่จะหาความสุขให้แก่ตนเอง ลืมมองความสุขของคนรอบข้าง และลืมคิดถึงการมอบความสุขให้แก่คนอื่น ๆ สังคม
ดังนั้น เพื่อให้มนุษย์ทุก ๆ คนได้ตระหนักถึงความสุข อันเป็นเป้าหมายสำคัญในการดำรงชีพและสร้างเสริมสุขภาพกายและจิตที่ดีให้แก่ตัวเองและคนรอบข้าง ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 องค์กรหลักของสหประชาชาติ (UN) จึงได้มีมติก่อตั้ง “วันความสุขสากล” (The International Day of Happiness) โดยกำหนดให้ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี โดยจะครบรอบวันความสุขสากลเป็นปีแรก ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2013
วัตถุประสงค์
จากมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ในการก่อตั้งวันความสุขสากลนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1. เพื่อให้เป็นวันที่ทุก ๆ คนจะได้ร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของมนุษยชน รวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของมนุษย์
2. เพื่อเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุก ๆ โดยสหประชาชาติได้มุ่งเป้าไปที่ความสนใจของโลกต่อแนวคิดในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจว่าจะต้อง ประกอบไปด้วย การรวบรวม ความเสมอภาค และสมดุล เช่นเดียวกับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบรรเทาความยากจน นอกจากนี้สหประชาชาติยังระบุว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจจะต้องมาพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุความสุขของโลก
ที่มาของวันความสุขสากล
ความคิดริเริ่มของการประกาศวันความแห่งความสุขสากลนั้น มีต้นแบบความคิดมาจากประเทศภูฏาน อันเป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขมากที่สุดในโลก โดยได้เป็นที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติและความสำเร็จทางสังคม หรือ ดัชนีมวลรวมความสุข (Gross National Happiness Index : GNH) ซึ่งเป็นการวัดที่ปฏิเสธการใช้เศรษฐกิจและความร่ำรวยทางวัตถุ มาเป็นชี้วัดการพัฒนา และหันมามองแบบองค์รวม ว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าวัตถุ
และเนื่องในวันครบรอบ วันความสุขสากล เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 สหประชาชาติก็ได้เชิญประเทศสมาชิก ทั้งองค์กรระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค และภาคประชาสังคม รวมถึงองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ และภาคบุคคล มาร่วมประชุมเพื่อหารือถึงวิธีการที่เหมาะสม ในด้านการศึกษา และกิจกรรมเพื่อเพิ่มความตระหนักของสาธารณะ ในวันความสุขสากลนี้ด้วย
อีกทั้ง สหประชาชาติก็ยังได้สำรวจวัดระดับความสุขใน 156 ประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยความสุขที่สำคัญ เช่น รายได้ การมีงานทำ ความสัมพันธ์ที่ดี ความไว้วางใจกันในชุมชน การมีค่านิยมที่เอื้อต่อความสุขและศาสนา สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษา เสรีภาพทางการเมือง ความเข้มแข็งของเครือข่ายสังคม การไม่มีคอร์รัปชั่น และความเท่าเทียมทางเพศและสังคม เป็นต้น มาเป็นตัวชี้วัดความสุขของประเทศต่าง ๆ อีกด้วย
นอกเหนือจากนี้ นายบันคีมูน เลขานุการแห่งสหประชาชาติ ก็ยังได้กล่าวเนื่องในวันครบรอบวันความสุขสากล ปี ค.ศ. 2013 ไว้ดังนี้
"เนื่องในวันแห่งความสุขสากลวันแรกนี้ ขอให้เราเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราที่จะรวบรวม และพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน รวมทั้งต่ออายุสัญญาของเราที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และเมื่อใดที่เราสร้างในสิ่งที่ดีแล้ว ตัวเราก็จะดีขึ้น ความเมตตาจะช่วยยกระดับความสุข และช่วยให้เราสร้างอนาคตอย่างที่เราต้องการได้"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
timeanddate.com, un.org, unmultimedia.org
เอ้า เฮ...