กรมส่งเสริมวัฒนธรรมระดมความคิดเห็นภาคีเครือข่าย ยกระดับสมัชชาวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน
ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาอาหารไทย เชิดชูอาหารถิ่น หนุนการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ
วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปบทเรียนการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ประธานกล่าวว่า ในนามกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอขอบคุณนายกเหล่ากาชาดจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ทุกจังหวัด รวมถึงคณะผู้ทรงคุณวุฒิประจำโครงการ ที่ให้การสนับสนุนร่วมกันขับเคลื่อนโครงการฯ และขอแสดงความยินดีกับเมนูจังหวัด ที่ได้รับการยกย่องเป็น “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ประจำปี นี้ และการประชุม เสวนาในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีที่สร้างสรรค์เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายด้านอาหาร และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันขับเคลื่อน ยกระดับเมนูอาหารพื้นบ้าน พัฒนาต่อยอดให้เป็นเมนูยอดนิยม เพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่น กระตุ้นการท่องเที่ยว สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้จังหวัดและประเทศ ต่อไป
ด้านนางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้คนเกิดความตระหนักภาคภูมิใจในอาหารไทยพื้นถิ่น และต่อยอดเป็น soft power พัฒนายกระดับสู่อาหารจานเด็ด เพิ่มมูลค่าให้อาหารไทย ด้วยวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรจากชุมชน นำมาสร้างสรรค์นำเสนอในมุมมองใหม่ เพิ่มศักยภาพยกระดับเมนูอาหารนานาชาติเทียบเท่าสากล และปลูกฝังค่านิยมการรับประทานอาหารที่ปรุงจากภูมิปัญญาพื้นบ้านแก่เยาวชนรุ่นใหม่ สร้างความโหยหาอดีตให้แก่คนรุ่นเก่า รวมถึง การส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วมในระดับประเทศต่อไป การประชุมในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 250 คน ประกอบด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ภาคีเครือข่าย ผู้ทรงคุณวุฒิโครการและวิทยากร รวมถึงผู้ประกอบการด้านอาหารโภชนาการรวมถึงการท่องเที่ยว
รสชาติ...ที่หายไป The Lost Taste : นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กิจกรรมในวันที่ 20 กันยาน 2566 ประกอบด้วย
1)การเสวนา “การพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย” โดย ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการฯ อาทิ ดร.สง่า ดามาพงษ์ ดร.ปุญญภณ เทพประสิทธิ์ ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล เชฟสตางค์ (ภัตตาคารบ้านทุ่ง) ต่อด้วย
2)การเสวนา หัวข้อ “ก้าวแรกสู่การยกระดับของสมัชชาวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน” และปิดท้ายด้วยหัวข้อ “อาหารถิ่น อาหารไทย ยกระดับอย่างไร ให้สร้างสรรค์ ได้อย่างยั่งยืน” โดยผู้แทนจากททท. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มูลนิธิชีววิถี (BioThai) เชฟอ๊อฟ(เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย) คุณสตางค์(พิธีกรรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง) และวรพงศ์ ผูกภู่ ดำเนินรายการ ซึ่งผลจากการประชุมในครั้งนี้ สวธ.และหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จะสามารถนำไปกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนต่อไป
และ ในวันที่ 21 กันยายน นี้ ในงาน “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” เวลา 14.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม มีกำหนดจัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลองค์กร หน่วยงานผู้ทำคุณประโยชน์ต่อมรดกภูมิปัญญาของชาติ และมีการมอบโล่ยกย่องเชิดชูเกียรติ “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” รสชาติ...ที่หายไป โดยเปิดให้ประชาชนที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ชมและ *ชิม 77 เมนู ฟรี (รอบประชาชน เวลา 14.00 น.) ณ ลานหน้าศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งในวันสุดท้ายของการประชุม วันที่ 22 กันยายน 2566 มีการบรรยายหัวข้อ “การถอดบทเรียนและพัฒนาการของเครือข่ายทางวัฒนธรรม รวมถึงความก้าวหน้าและพัฒนาการจากการทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม” โดย นายวรพงศ์ ผูกภู่ วิทยากรผู้ทรงคุณวูฒิของโครงการ
วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน ต่อยอดมรดกภูมิปัญญาอาหารไทย เชิดชูอาหารถิ่น หนุนการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ
ด้านนางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ กำหนดจัดในระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้คนเกิดความตระหนักภาคภูมิใจในอาหารไทยพื้นถิ่น และต่อยอดเป็น soft power พัฒนายกระดับสู่อาหารจานเด็ด เพิ่มมูลค่าให้อาหารไทย ด้วยวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรจากชุมชน นำมาสร้างสรรค์นำเสนอในมุมมองใหม่ เพิ่มศักยภาพยกระดับเมนูอาหารนานาชาติเทียบเท่าสากล และปลูกฝังค่านิยมการรับประทานอาหารที่ปรุงจากภูมิปัญญาพื้นบ้านแก่เยาวชนรุ่นใหม่ สร้างความโหยหาอดีตให้แก่คนรุ่นเก่า รวมถึง การส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่ สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วมในระดับประเทศต่อไป การประชุมในครั้งนี้ มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 250 คน ประกอบด้วย นายกเหล่ากาชาดจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ภาคีเครือข่าย ผู้ทรงคุณวุฒิโครการและวิทยากร รวมถึงผู้ประกอบการด้านอาหารโภชนาการรวมถึงการท่องเที่ยว