เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท : รถไฟความเร็วสูง

กระทู้สนทนา
จริง ๆ แล้วเรื่องรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย มีการพูดถึงกันมาตั้งแต่ปี 2537 มีการศึกษาความเป็นไปได้โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ



http://www.nesdb.go.th/specialWork/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20march2537.pdf

และมีการพูดถึงในการสร้างรถไฟความเร็วสูง มาเป็นระยะ ๆ ในหลายรัฐบาล

ในรัฐบาลนี้ก็มีการพูดในต้นรัฐบาลเหมือนกัน โดยมีการเสนอแผนการสร้าง 5 เส้นทาง

http://www.thairath.co.th/page/trainPage

โดยในตอนนั้นก็มีการพูดถึงเรื่องค่าโดยสาร ว่าจะเก็บประมาณเท่าไหร่ อย่างไร



และเมื่อมีการเสนอแนวทางกู้เงิน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ก็ได้มีการรวมเอาการสร้างรถไฟความเร็วสูงเข้าไป ในโครงการนี้ด้วย

โดยมีรถไฟความเร็วสูงสายหนึ่ง (กรุงเทพฯ - เชียงใหม่) จะใช้งบประมาณ 4 แสนล้านกว่าบาท หรือ 20% ของเงินก้อนนี้

ก็เลยเกิดความสงสัยขึ้นว่า การลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ จำเป็นที่สุดใช่หรือไม่ มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ได้ค่าโดยสารที่เหมาะสม ที่ราคาไหน ใช่ราคาเดิมที่คิดไว้ตอนต้นรัฐบาลหรือไม่

เมื่อตอนเย็น ได้ฟังคุณกรณ์ เล่าถึงเหตุผล ของการเลือกสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ -หนองคาย และ กรุงเทพ - สุไหงโกลก ก่อน เพื่อเป็นทางเชื่อม จากคุนหมิง ไปหาสิงคโปร์ โดยจีนจะมาร่วมลงทุนด้วย

แต่ก็คิดว่า เรื่องเชื่อมอย่างที่พูด อาจจะยังอีกนาน เพราะทุกเส้นทางก็ยังไม่ได้เกิดอย่างจริงจัง แต่อย่างน้อย ก็ยังคิดว่า เส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ กับกรุงเทพ- หนองคายนั้น สองเส้นทางนี้ อันไหนน่าจะมีความสำคัญมากกว่า และน่าจะมีความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่า เพราะจากหนองคาย เชื่อมเวียงจันทน์ ไปจีนตอนใต้ ก็ไม่น่าจะเกิดยาก แต่จากเชียงใหม่ น่าจะต่อเส้นทางได้ยากกว่า

แต่เมื่อรัฐบาลเลือกเส้นทางกรุงเทพฯ เชียงใหม่ มาเป็นเส้นทางหลักในการเริ่มต้นสร้างก่อน ก็อยากจะลองคิดถึงความเป็นไปได้ของโครงการ ว่าจะมีความเป็นไปได้ขนาดไหน ถ้าเก็บค่าโดยสาร อย่างในข่าวข้างบน

ในข่าวข้างบน ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ เก็บค่าโดยสาร 1,190 บาท

ขออ้างอิงกระทู้คุณ sky เมื่อเช้า ยืมคลิป แล้วก็เนื้อข่าวมาประกอบกระทู้นะครับ

http://ppantip.com/topic/30268082

จากเนื้อข่าวในกระทู้โน้น จะได้ข้อมูลว่า เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ จะมีทางเลือก 5 แนวทางในการสร้าง ค่าก่อสร้างรวมค่าเวนคืน มากกว่า 4 แสนล้านบาท





ถ้าหากคิดว่ามีดอกเบี้ยปีละ 5% ก็จะมีต้นทุนการเงินอยู่ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี

และค่าใช้จ่ายในการให้บริการ อันนี้หาข้อมูลไม่ได้ ก็เลยขอยืมจากการศึกษาความเป็นไปได้ของสภาพัฒน์ข้างบน ซึ่งจากเงินลงทุน สามหมื่นกว่าล้านบาท มีค่าใช้จ่ายการบริการ อยู่ที่ แปดร้อยกว่าล้านบาท



แต่อันนี้ใช้เงินลงทุนสี่แสนกว่าล้านบาท

ดังนั้นขอประมาณว่า เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายในการบริการประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี

เมื่่อรวมกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ปีละ 2 หมื่นล้าน ก็รวมเป็นต้นทุน 3 หมื่นล้านบาทต่อปี

ถ้าเก็บค่าโดยสารคนละ 1,200 บาท ต้องมีผู้โดยสาร 25 ล้านคนต่อปี (ถ้าหากมีคนเดินทางสายสั้นไม่สุดสาย ค่าโดยสารถูกลง ก็ต้องการจำนวนผู้โดยสารสูงขึ้น)

ก็ไม่รู้ว่า ความเป็นไปได้ ที่จะมีผู้โดยสารจำนวนนี้ มีมากขนาดไหน

เพราะเมื่อเปิดคลิปดูจากกระทู้คุณ sky  ก็ได้มาภาพนึง

สรุปได้ว่า รถไฟความเร็วสูง จะสร้าง 1,477 กิโลเมตร

มี 200 ขบวนต่อวัน

คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 30 ล้านเที่ยวต่อปี



ก็ไม่รู้ว่า เมื่อทั้งหมดมีผู้โดยสาร 30 ล้านคนเที่ยวต่อปี จะเป็นของสายเชียงใหม่ ถึง 25 ล้านคนเที่ยว เพื่อมีเงินพอกับต้นทุนแต่ละปีหรือไม่

ก็คงได้แต่หวังว่า ค่าโดยสารที่ใช้คำนวณ จนได้ผู้โดยสารจำนวนดังกล่าวออกมา จะสูงกว่าตัวเลขเดิมพอสมควร

ไม่อย่างนั้น ทำไปขาดทุนไป แทนที่เป็นหนี้ 50 ปี จะกลายเป็นเป็นหนี้ตลอดกาล เพราะแต่ละปี หาเงินยังไม่พอต้นทุนที่ต้องใช้

แล้วจะไปหวังกับเงินต้นที่จะไปคืนเพื่อลดหนี้ให้ต่ำลงได้ยังไง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่