18 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช. เตรียมแถมใบอนุญาต “โมบาย ทีวี” หากใครชนะการประมูลในครั้งนี้
ประเด็นหลัก
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยไทยจะมีการออกใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)เพื่อให้บริการช่องทีวีดิจิตอล ประเภทใบอนุญาตบริการช่องสาธารณะ ธุรกิจ และสาธารณะ รวม 48 ช่องรายการ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว อาจจะมีการระบุให้ผู้ถือครองใบอนุญาตจะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการรายการทีวีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อาทิ สมาร์ท โฟนฯลฯหรือ “โมบายทีวี” ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างศึกษาในรายละเอียดต่างๆในการเพิ่มสิทธิ์การทำโมบายทีวีดังกล่าว
สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.naewna.com/business/45128
___________________________________
ผู้ชนะประมูล“ทีวี ดิจิตอล”ลุ้น กสทช.ให้ได้รับใบอนุญาต “โมบาย ทีวี”เป็นของแถม
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต “ทีวี ดิจิตอล” อาจได้รับไลเซ่นส์ให้บริการรายการทีวีบน สมาร์ท โฟนหรือ “โมบายทีวี” ด้วย โดยขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างศึกษาในรายละเอียดในการเพิ่มสิทธิ์ดังกล่าว
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยไทยจะมีการออกใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)เพื่อให้บริการช่องทีวีดิจิตอล ประเภทใบอนุญาตบริการช่องสาธารณะ ธุรกิจ และสาธารณะ รวม 48 ช่องรายการ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว อาจจะมีการระบุให้ผู้ถือครองใบอนุญาตจะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการรายการทีวีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อาทิ สมาร์ท โฟนฯลฯหรือ “โมบายทีวี” ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างศึกษาในรายละเอียดต่างๆในการเพิ่มสิทธิ์การทำโมบายทีวีดังกล่าว
สำหรับการให้บริการโมบายทีวี ผู้รับชมจะสามารถรับสัญญาณภาพจากผู้ให้บริการช่องรายการที่ส่งสัญญาณสำหรับทีวีดิจิตอลเข้าเครื่องรับทีวีปกติตามครัวเรือน ผ่ามาตรฐานเทคโนโลยี ดีวีบี-ที2 รุ่น 1.3.1 ซึ่งในกรณีมาตรฐานดังกล่าวถืออยู่ในเกณฑ์ที่ กสท. กำหนดให้มาตรฐานเครื่องรับสัญญาณในประเทศไทยเป็นในรูปแบบ ดีวีบี-ที2 1.2.1 หรือสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม การทำโมบายทีวีที่ผ่านมามีเพียงประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ เพราะประชาชนทุกคนสามารถดูได้ผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ต่างจากประเทศอื่นๆโดยเฉพาะในยุโรป ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีการเก็บค่าบริการ หรือเป็นทีวีแบบทีวีบอกรับสมาชิก และการให้บริการในขณะนี้หน้าจอสมาร์ทโฟน ยังมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน
“สำหรับในประเทศไทยหากจะทำให้สำเร็จ จะต้องทำในรูปแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ผูกติดค่าบริการในการใช้งานผ่านโครงข่ายของค่ายมือถือต่างๆ” พ.อ.นที กล่าว
ด้าน นายพสุ ศรีหิรัญ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ และจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและ โทรทัศน์ ในกสท. กล่าวว่า โมบายทีวี จะเป็นการรับชมโทรทัศน์ผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือในลักษณะเดียวกันกับโทรทัศน์จริงตามครัวเรื่องจริงทุกประการ มีจำนวนช่อง และเนื้อหารายการแบบเดียวกันทั้งหมด แต่จะสามารถชมได้ทุกที่ทุกเวลาแม้อยู่ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ทั้งนี้ในส่วนของความคมชัดจะถือว่าอยู่ในขั้นที่ดีแต่ความคมชัดจะไม่สูงเท่าโทรทัศน์จริง
ด้าน นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)เสนอให้กสทช.พิจารณานำอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม หรือค่าไอซี (Interconnection Charge) ที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) เคยกำหนดค่าไอซีเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2100 MHz หรือ 3G ที่อัตรา 0.45 บาท โดยทีโอที เสนอว่า ควรนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับกับผู้ประกอบการทุกราย ทั้งที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 3Gและที่ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่(โทรศัพท์บ้าน) โดยทีโอทีให้เหตุผลว่าจะเป็นการลดอุปสรรคในการเจรจาเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายของผู้ประกอบการและทำให้โครงข่ายโทรคมนาคมสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับอุตสาหกรรมและผู้ใช้บริการต่อไป
นายแพทย์ประวิทย์ กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวแล้ว มองว่าการกำหนดอัตราค่าไอซีสำหรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 3G เป็นอัตราเดียวกัน ก็เพื่อความเป็นธรรมในการให้บริการของทั้งสองตลาด แต่ไม่เห็นด้วยที่รวมถึงบริการโทรศัพท์บ้าน เพราะเป็นคนละบริการ และอัตราค่าไอซีของแบบประจำที่ก็ต่ำกว่าอยู่แล้ว ถ้ากำหนดเป็นอัตราเดียวกันก็จะส่งผลให้ค่าบริการสูงขึ้น เป็นโทษต่อผู้บริโภคมากกว่าจึงไม่สมควรทำ
http://www.naewna.com/business/45128
(เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช. เตรียมแถมใบอนุญาต “โมบาย ทีวี” หากใครชนะการประมูลในครั้งนี้
ประเด็นหลัก
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยไทยจะมีการออกใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)เพื่อให้บริการช่องทีวีดิจิตอล ประเภทใบอนุญาตบริการช่องสาธารณะ ธุรกิจ และสาธารณะ รวม 48 ช่องรายการ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว อาจจะมีการระบุให้ผู้ถือครองใบอนุญาตจะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการรายการทีวีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อาทิ สมาร์ท โฟนฯลฯหรือ “โมบายทีวี” ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างศึกษาในรายละเอียดต่างๆในการเพิ่มสิทธิ์การทำโมบายทีวีดังกล่าว
สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.naewna.com/business/45128
___________________________________
ผู้ชนะประมูล“ทีวี ดิจิตอล”ลุ้น กสทช.ให้ได้รับใบอนุญาต “โมบาย ทีวี”เป็นของแถม
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต “ทีวี ดิจิตอล” อาจได้รับไลเซ่นส์ให้บริการรายการทีวีบน สมาร์ท โฟนหรือ “โมบายทีวี” ด้วย โดยขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างศึกษาในรายละเอียดในการเพิ่มสิทธิ์ดังกล่าว
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์(กสท.) เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยไทยจะมีการออกใบอนุญาต(ไลเซ่นส์)เพื่อให้บริการช่องทีวีดิจิตอล ประเภทใบอนุญาตบริการช่องสาธารณะ ธุรกิจ และสาธารณะ รวม 48 ช่องรายการ ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตดังกล่าว อาจจะมีการระบุให้ผู้ถือครองใบอนุญาตจะได้รับสิทธิ์ในการให้บริการรายการทีวีบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อาทิ สมาร์ท โฟนฯลฯหรือ “โมบายทีวี” ด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างศึกษาในรายละเอียดต่างๆในการเพิ่มสิทธิ์การทำโมบายทีวีดังกล่าว
สำหรับการให้บริการโมบายทีวี ผู้รับชมจะสามารถรับสัญญาณภาพจากผู้ให้บริการช่องรายการที่ส่งสัญญาณสำหรับทีวีดิจิตอลเข้าเครื่องรับทีวีปกติตามครัวเรือน ผ่ามาตรฐานเทคโนโลยี ดีวีบี-ที2 รุ่น 1.3.1 ซึ่งในกรณีมาตรฐานดังกล่าวถืออยู่ในเกณฑ์ที่ กสท. กำหนดให้มาตรฐานเครื่องรับสัญญาณในประเทศไทยเป็นในรูปแบบ ดีวีบี-ที2 1.2.1 หรือสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม การทำโมบายทีวีที่ผ่านมามีเพียงประเทศญี่ปุ่นประเทศเดียวเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ เพราะประชาชนทุกคนสามารถดูได้ผ่านโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ต่างจากประเทศอื่นๆโดยเฉพาะในยุโรป ที่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีการเก็บค่าบริการ หรือเป็นทีวีแบบทีวีบอกรับสมาชิก และการให้บริการในขณะนี้หน้าจอสมาร์ทโฟน ยังมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน
“สำหรับในประเทศไทยหากจะทำให้สำเร็จ จะต้องทำในรูปแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ผูกติดค่าบริการในการใช้งานผ่านโครงข่ายของค่ายมือถือต่างๆ” พ.อ.นที กล่าว
ด้าน นายพสุ ศรีหิรัญ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ และจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและ โทรทัศน์ ในกสท. กล่าวว่า โมบายทีวี จะเป็นการรับชมโทรทัศน์ผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือในลักษณะเดียวกันกับโทรทัศน์จริงตามครัวเรื่องจริงทุกประการ มีจำนวนช่อง และเนื้อหารายการแบบเดียวกันทั้งหมด แต่จะสามารถชมได้ทุกที่ทุกเวลาแม้อยู่ในระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ทั้งนี้ในส่วนของความคมชัดจะถือว่าอยู่ในขั้นที่ดีแต่ความคมชัดจะไม่สูงเท่าโทรทัศน์จริง
ด้าน นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)เสนอให้กสทช.พิจารณานำอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม หรือค่าไอซี (Interconnection Charge) ที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) เคยกำหนดค่าไอซีเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2100 MHz หรือ 3G ที่อัตรา 0.45 บาท โดยทีโอที เสนอว่า ควรนำประกาศดังกล่าวมาใช้บังคับกับผู้ประกอบการทุกราย ทั้งที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 3Gและที่ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่(โทรศัพท์บ้าน) โดยทีโอทีให้เหตุผลว่าจะเป็นการลดอุปสรรคในการเจรจาเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายของผู้ประกอบการและทำให้โครงข่ายโทรคมนาคมสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับอุตสาหกรรมและผู้ใช้บริการต่อไป
นายแพทย์ประวิทย์ กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวแล้ว มองว่าการกำหนดอัตราค่าไอซีสำหรับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 3G เป็นอัตราเดียวกัน ก็เพื่อความเป็นธรรมในการให้บริการของทั้งสองตลาด แต่ไม่เห็นด้วยที่รวมถึงบริการโทรศัพท์บ้าน เพราะเป็นคนละบริการ และอัตราค่าไอซีของแบบประจำที่ก็ต่ำกว่าอยู่แล้ว ถ้ากำหนดเป็นอัตราเดียวกันก็จะส่งผลให้ค่าบริการสูงขึ้น เป็นโทษต่อผู้บริโภคมากกว่าจึงไม่สมควรทำ
http://www.naewna.com/business/45128