03 มิถุนายน 2556 กสทช. (หาทางออก 4G 700) ส่งสัญญาณเรียกคืนคลื่นความถี่470MHz ทั้ง TOT และ กองทัพ ออกมาเพื่อให้บริการ อินเตอร์เน็ต (อ้างความถี่ให้บริการประชาชนไม่พอความต้องการ)
ประเด็นหลัก
พันเอกนทีกล่าวว่า หากจะนำคลื่น 700 MHz เพื่อมารองรับการให้บริการอินเตอร์เนตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะต้องเรียกคืนคลื่นจากหน่วยงานต่างๆที่ถือครองอยู่ เพราะคลื่นความถี่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และจะไม่สามารถนำมาให้บริการโมบายบรอดแบนด์ได้ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อาจจะต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง 470-510 เพื่อนำมาทำการจัดสรรใหม่ ซึ่งขณะนี้พบว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เป็นผู้ถือครองคลื่นช่วงดังกล่าว และมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการใช้งานของกองทัพ
______________________________________
กสทช.ส่งสัญญาณจี้TOT คืนคลื่นความถี่470MHz
กสทช.ยังไม่สรุปว่า จะนำคลื่นความถี่ย่าน 690-790 MHz มารองรับการให้บริการ “อินเตอร์เนตบนมือถือ” หรือไม่ แย้มอาจต้องเรียกคืนคลื่นจาก “กองทัพ” รวมทั้ง ทีโอที เพื่อนำมารองรับบริการดังกล่าว
พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ตามที่ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ(International TelecommunicationUnion - : ITU)ได้กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 690-790 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)สำหรับบริการอินเตอร์เนตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่(โมบายบรอดแบนด์) นั้น ยังมีเวลาในการจัดเตรียมคลื่นดังกล่าวอีกนาน
“การที่ ITU หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาก็เป็นเพียงคำแนะนำที่ประเทศไทยจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลขององค์กรอิสระ และปัจจัยแวดล้อม อย่างไรก็ดี กสท. จะต้องตั้งคณะมาทำงานและศึกษาเรื่องนี้ร่วมกันกับบอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) แต่คงมีเวลาจัดเตรียมคลื่นดังกล่าว” พันเอกนที กล่าว
ก่อนหน้านี้บอร์ดกทค. ที่มีพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นประธาน ได้รับทราบรายงานของ ITU ว่า ขณะนี้ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ได้นำความถี่ย่านดังกล่าวมาให้บริการโมบายบรอดแบนด์ ขณะที่ประเทศไทย โดย กสทช.จะนำคลื่นดังกล่าวมาให้บริการทีวีดิจิตอล เกรงว่าจะมีปัญหาคลื่นรบกวน โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน
“ที่มาเลเซีย จะนำคลื่น 700 MHz ไปทำโมบายบรอดแบนด์ ในปีคศ.2020 ตรงนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้รับชมที่อยู่แนวตะเข็บชายแดน เพราะไทย-มาเลเซีย ยังคงมีข้อตกลงเดิม รวมถึงมีการกำหนดการใช้งานในช่วงคลื่นที่ไม่ให้กระทบเดิมอยู่แล้ว”
พันเอกนทีกล่าวว่า หากจะนำคลื่น 700 MHz เพื่อมารองรับการให้บริการอินเตอร์เนตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะต้องเรียกคืนคลื่นจากหน่วยงานต่างๆที่ถือครองอยู่ เพราะคลื่นความถี่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และจะไม่สามารถนำมาให้บริการโมบายบรอดแบนด์ได้ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อาจจะต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง 470-510 เพื่อนำมาทำการจัดสรรใหม่ ซึ่งขณะนี้พบว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เป็นผู้ถือครองคลื่นช่วงดังกล่าว และมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการใช้งานของกองทัพ
http://www.naewna.com/business/54117
กสทช.(หาทางออก4G 700)ส่งสัญญาณเรียกคืนคลื่นความถี่470MHzทั้ง TOT และกองทัพ (อ้างความถี่ให้บริการประชาชนไม่พอความต้องการ)
ประเด็นหลัก
พันเอกนทีกล่าวว่า หากจะนำคลื่น 700 MHz เพื่อมารองรับการให้บริการอินเตอร์เนตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะต้องเรียกคืนคลื่นจากหน่วยงานต่างๆที่ถือครองอยู่ เพราะคลื่นความถี่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และจะไม่สามารถนำมาให้บริการโมบายบรอดแบนด์ได้ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อาจจะต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง 470-510 เพื่อนำมาทำการจัดสรรใหม่ ซึ่งขณะนี้พบว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เป็นผู้ถือครองคลื่นช่วงดังกล่าว และมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการใช้งานของกองทัพ
______________________________________
กสทช.ส่งสัญญาณจี้TOT คืนคลื่นความถี่470MHz
กสทช.ยังไม่สรุปว่า จะนำคลื่นความถี่ย่าน 690-790 MHz มารองรับการให้บริการ “อินเตอร์เนตบนมือถือ” หรือไม่ แย้มอาจต้องเรียกคืนคลื่นจาก “กองทัพ” รวมทั้ง ทีโอที เพื่อนำมารองรับบริการดังกล่าว
พันเอกนที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) และ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ตามที่ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ(International TelecommunicationUnion - : ITU)ได้กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 690-790 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)สำหรับบริการอินเตอร์เนตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่(โมบายบรอดแบนด์) นั้น ยังมีเวลาในการจัดเตรียมคลื่นดังกล่าวอีกนาน
“การที่ ITU หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาก็เป็นเพียงคำแนะนำที่ประเทศไทยจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลขององค์กรอิสระ และปัจจัยแวดล้อม อย่างไรก็ดี กสท. จะต้องตั้งคณะมาทำงานและศึกษาเรื่องนี้ร่วมกันกับบอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) แต่คงมีเวลาจัดเตรียมคลื่นดังกล่าว” พันเอกนที กล่าว
ก่อนหน้านี้บอร์ดกทค. ที่มีพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นประธาน ได้รับทราบรายงานของ ITU ว่า ขณะนี้ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ได้นำความถี่ย่านดังกล่าวมาให้บริการโมบายบรอดแบนด์ ขณะที่ประเทศไทย โดย กสทช.จะนำคลื่นดังกล่าวมาให้บริการทีวีดิจิตอล เกรงว่าจะมีปัญหาคลื่นรบกวน โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน
“ที่มาเลเซีย จะนำคลื่น 700 MHz ไปทำโมบายบรอดแบนด์ ในปีคศ.2020 ตรงนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้รับชมที่อยู่แนวตะเข็บชายแดน เพราะไทย-มาเลเซีย ยังคงมีข้อตกลงเดิม รวมถึงมีการกำหนดการใช้งานในช่วงคลื่นที่ไม่ให้กระทบเดิมอยู่แล้ว”
พันเอกนทีกล่าวว่า หากจะนำคลื่น 700 MHz เพื่อมารองรับการให้บริการอินเตอร์เนตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะต้องเรียกคืนคลื่นจากหน่วยงานต่างๆที่ถือครองอยู่ เพราะคลื่นความถี่ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และจะไม่สามารถนำมาให้บริการโมบายบรอดแบนด์ได้ดังนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อาจจะต้องเรียกคืนคลื่นความถี่ช่วง 470-510 เพื่อนำมาทำการจัดสรรใหม่ ซึ่งขณะนี้พบว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เป็นผู้ถือครองคลื่นช่วงดังกล่าว และมีบางส่วนที่ยังอยู่ในการใช้งานของกองทัพ
http://www.naewna.com/business/54117