กสทช.กำหนดคลื่น 1400-470 MHz ให้บริการโทรคมนาคม
“กสทช.” เตรียมเสนอแผนปรับปรุงบริหารคลื่นความถี่ 5 ปี ตีกรอบตารางคลื่นความถี่แห่งชาติ เล็งดึงคลื่นย่าน 1400 MHz กับ 470 MHz ที่ “ทีโอที-กสท โทรคมนาคม” ถือครองให้เป็นคลื่นสำหรับโทรคม เหมือนคลื่น 700 MHz เพื่อให้ผู้ถือครองอยู่เดิมเตรียมความพร้อมก่อนเรียกคืนคลื่น
พล.อ.ต.ธนพันธ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.ได้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ 5 ปี โดยนับตั้งแต่ปี 2560 ที่จะต้องปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องต่อข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (Radio Regulations) ฉลับล่าสุดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ซึ่งจะมีการปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ.2558) ในส่วนของตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ และรายละเอียดเกี่ยวกับคลื่นความถี่ ที่เสนอให้มีการปรับปรุงการใช้งานคลื่นใน จำนวน 28 ย่านความถี่ และเพิ่มเติมรายละเอียดการใช้งานในหลายประเด็น ซึ่งได้พิจารณาโดยคำนึงถึงการใช้งานคลี่นความถี่ในปัจจุบัน ความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต
ทั้งนี้ คลื่นความถี่ที่เสนอปรับปรุงเพิ่มเติมในย่านความถี่ 1427-1518 MHz ให้เป็นคลื่นความถี่ที่กำหนดให้ใช้ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีอยู่ จำนวน 91 MHz โดยทีโอที ได้มีการใช้งานอยู่ในกิจการอื่นๆ และคลื่นความถี่ย่าน 450 MHz ที่มีจำนวน 20 MHz อยู่ภายใต้การถือครองของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และทีโอที
อย่างไรก็ตาม การกำหนดกิจการหลักสำหรับแต่ละย่านคลื่นในแผนแม่บทฉบับนี้ เป็นการคุ้มครองสิทธิในการใช้งาน และจัดระเบียบการใช้คลื่นให้สอดคล้องต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ปัญหาการใช้คลื่นที่ทับซ้อนกันของหลายกิจการ มีสาเหตุจากการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม และบรอดคาสต์ได้เอง ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เป็นผู้กำหนดว่าจะใช้คลื่นใดเพื่อบริการใด บางครั้งแต่ละประเทศก็ใช้มาตรฐานต่างกัน
ทั้งนี้ การกำหนดแผนคลื่นความถี่ เป็นการกำหนดกรอบการใช้งานคลื่นความถี่ เพื่อให้เป็นแนวทางหลักในการใช้งานคลื่นของประเทศ กสทช.ต้องแก้ปัญหา และจัดระเบียบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ตามต้องการ ต้องพิจารณาเหตุผล และความจำเป็น พร้อมกับต้องปรับปรุงแผนแม่บทให้สอดคล้องต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เช่น คลื่น 470 MHz ที่มีการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุแบบทรังก์ (Trunked radio) และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการโทรศัพท์ประจำที่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล (ฟิกซ์ลิงค์) ทั้ง กสท โทรคมนาคม และทีโอทีที่ให้บริการอยู่ ซึ่ง กสทช.ออกใบอนุญาตเป็นรายปี และคลื่นดังกล่าวซึ่งถ้าไม่ได้สิทธิในการใช้คลื่น ก็จะไม่สามารถใช้คลื่นดังกล่าวได้ แต่ทีโอทีได้อ้างสิทธิว่าได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีโทรเลขให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว
พล.อ.ต.ธนพันธ์ กล่าวว่า แผนแม่บทดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า กสทช.จะนำคลื่นดังกล่าวคืนมาทันที แต่เป็นการกำหนดกรอบไว้ให้ตรงกับหลักสากลซึ่งแต่ละประเทศสามารถสงวนสิทธิใช้คลื่นตามรูปแบบเดิมไปได้ก่อน เหมือนกรณีคลื่น 700 MHz ที่ประเทศไทยยังคงสงวนสิทธิให้กิจการกระจายเสียงคือ ทีวีดิจิทัลใช้ จนกว่า กสทช.จะมีวิธีการในการนำคลื่นคืนที่เหมาะสม เช่น การชดเชยค่าเยียวยาตาม พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ที่มีการระบุไว้ โดยแต่ละคลื่นก็มีเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ การทำแผนแม่บทดังกล่าวเป็นการทำคู่ขนานกับ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่วาระ 3 ในสภานิติบัญญัติ (สนช.) ภายในเดือน มี.ค.นี้ จากนั้นก็ต้องมาดูยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องต่อ พ.ร.บ.ฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง แผนแม่บทดังกล่าวจะได้เสร็จทันเวลาพอดี โดยเร็วๆ นี้จะต้องนำแผนที่ผ่านการประชาพิจารณ์ดังกล่าวให้ที่ประชุม กสทช. รับทราบด้วย
แหล่งข่าว
MGR Online 1 กุมภาพันธ์ 2560
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9600000010675
กสทช.กำหนดคลื่น 1400-470 MHz ให้บริการโทรคมนาคม
กสทช.กำหนดคลื่น 1400-470 MHz ให้บริการโทรคมนาคม
“กสทช.” เตรียมเสนอแผนปรับปรุงบริหารคลื่นความถี่ 5 ปี ตีกรอบตารางคลื่นความถี่แห่งชาติ เล็งดึงคลื่นย่าน 1400 MHz กับ 470 MHz ที่ “ทีโอที-กสท โทรคมนาคม” ถือครองให้เป็นคลื่นสำหรับโทรคม เหมือนคลื่น 700 MHz เพื่อให้ผู้ถือครองอยู่เดิมเตรียมความพร้อมก่อนเรียกคืนคลื่น
พล.อ.ต.ธนพันธ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช.ได้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่อง แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ 5 ปี โดยนับตั้งแต่ปี 2560 ที่จะต้องปรับปรุงใหม่เพื่อให้สอดคล้องต่อข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ (Radio Regulations) ฉลับล่าสุดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ที่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะไปแล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ซึ่งจะมีการปรับปรุงแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ.2558) ในส่วนของตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ และรายละเอียดเกี่ยวกับคลื่นความถี่ ที่เสนอให้มีการปรับปรุงการใช้งานคลื่นใน จำนวน 28 ย่านความถี่ และเพิ่มเติมรายละเอียดการใช้งานในหลายประเด็น ซึ่งได้พิจารณาโดยคำนึงถึงการใช้งานคลี่นความถี่ในปัจจุบัน ความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคต
ทั้งนี้ คลื่นความถี่ที่เสนอปรับปรุงเพิ่มเติมในย่านความถี่ 1427-1518 MHz ให้เป็นคลื่นความถี่ที่กำหนดให้ใช้ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีอยู่ จำนวน 91 MHz โดยทีโอที ได้มีการใช้งานอยู่ในกิจการอื่นๆ และคลื่นความถี่ย่าน 450 MHz ที่มีจำนวน 20 MHz อยู่ภายใต้การถือครองของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และทีโอที
อย่างไรก็ตาม การกำหนดกิจการหลักสำหรับแต่ละย่านคลื่นในแผนแม่บทฉบับนี้ เป็นการคุ้มครองสิทธิในการใช้งาน และจัดระเบียบการใช้คลื่นให้สอดคล้องต่อข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ปัญหาการใช้คลื่นที่ทับซ้อนกันของหลายกิจการ มีสาเหตุจากการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม และบรอดคาสต์ได้เอง ทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์เป็นผู้กำหนดว่าจะใช้คลื่นใดเพื่อบริการใด บางครั้งแต่ละประเทศก็ใช้มาตรฐานต่างกัน
ทั้งนี้ การกำหนดแผนคลื่นความถี่ เป็นการกำหนดกรอบการใช้งานคลื่นความถี่ เพื่อให้เป็นแนวทางหลักในการใช้งานคลื่นของประเทศ กสทช.ต้องแก้ปัญหา และจัดระเบียบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกฝ่ายได้ตามต้องการ ต้องพิจารณาเหตุผล และความจำเป็น พร้อมกับต้องปรับปรุงแผนแม่บทให้สอดคล้องต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เช่น คลื่น 470 MHz ที่มีการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุแบบทรังก์ (Trunked radio) และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และบริการโทรศัพท์ประจำที่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล (ฟิกซ์ลิงค์) ทั้ง กสท โทรคมนาคม และทีโอทีที่ให้บริการอยู่ ซึ่ง กสทช.ออกใบอนุญาตเป็นรายปี และคลื่นดังกล่าวซึ่งถ้าไม่ได้สิทธิในการใช้คลื่น ก็จะไม่สามารถใช้คลื่นดังกล่าวได้ แต่ทีโอทีได้อ้างสิทธิว่าได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีโทรเลขให้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว
พล.อ.ต.ธนพันธ์ กล่าวว่า แผนแม่บทดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า กสทช.จะนำคลื่นดังกล่าวคืนมาทันที แต่เป็นการกำหนดกรอบไว้ให้ตรงกับหลักสากลซึ่งแต่ละประเทศสามารถสงวนสิทธิใช้คลื่นตามรูปแบบเดิมไปได้ก่อน เหมือนกรณีคลื่น 700 MHz ที่ประเทศไทยยังคงสงวนสิทธิให้กิจการกระจายเสียงคือ ทีวีดิจิทัลใช้ จนกว่า กสทช.จะมีวิธีการในการนำคลื่นคืนที่เหมาะสม เช่น การชดเชยค่าเยียวยาตาม พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ที่มีการระบุไว้ โดยแต่ละคลื่นก็มีเงื่อนไข และเงื่อนเวลาที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ การทำแผนแม่บทดังกล่าวเป็นการทำคู่ขนานกับ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่วาระ 3 ในสภานิติบัญญัติ (สนช.) ภายในเดือน มี.ค.นี้ จากนั้นก็ต้องมาดูยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องต่อ พ.ร.บ.ฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง แผนแม่บทดังกล่าวจะได้เสร็จทันเวลาพอดี โดยเร็วๆ นี้จะต้องนำแผนที่ผ่านการประชาพิจารณ์ดังกล่าวให้ที่ประชุม กสทช. รับทราบด้วย
แหล่งข่าว
MGR Online 1 กุมภาพันธ์ 2560
http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9600000010675