จวกแจสทำปท.ขายหน้าตั้ง 'วงศ์สกุล' นำทีมฟันซ้ำ
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
กสทช.ตั้งคณะทำงานไล่บี้เอา ผิด "แจส" มีอธิบดีอัยการคดีทุจริตเป็นประ ธาน นักวิเคราะห์ชี้เบี้ยวจ่ายทำประเทศขายหน้าเสียเครดิต แนะเปิดประมูล 4 จีใหม่ต้องมีมาตรการเข้มงวดกว่านี้ กสท.ย้ำไม่กระ ทบช่องโมโน 29 "สุรพงษ์" บี้ "วิษณุ" แจง 5 ประเด็น ถามหาคนรับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทร ทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาความรับผิด กรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ลงนามโดยนายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.
โดยคณะทำงานฯ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.เลขาธิการ กสทช. เป็นที่ปรึกษา 2.นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน 3.ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้ทำงาน 4.ผู้แทนสำนักงานคณะกรรม การกฤษฎีกา ผู้ทำงาน 5.ผู้แทนสำนัก งานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ผู้ทำงาน 6.ผู้ แทนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ทำงาน 7.รองเลขาธิการสายงานกิจการโทรคมนาคม ผู้ทำงาน 8.รองเลขาธิการสายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ผู้ทำงาน 9.ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายโทรคมนาคม ผู้ทำงานและเลขานุการ 10.น.ส.พรพักตร์ สถิตเวโรจน์ ผู้ทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ 11.น.ส.ณัฐสุดา อัคราวัฒนา ผู้ช่วยเลขานุการ และ 12.น.ส.บัณฑิตา สัตตะพันธ์คีรี ผู้ช่วยเลขานุการ
สำหรับอำนาจหน้าที่ มีดังนี้ 1. พิจารณากำหนดความรับผิด กรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 900 MHz ไม่ดำเนินการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่งวดที่หนึ่ง และจัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือ 2.เสนอแนะแนวทางการกำหนดค่า เสียหาย 3.เสนอแนะวิธีการ แนวทาง หรือขั้นตอนการดำเนินการเอาผิดหรือลงโทษบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ตลอดจนมาตรการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ รัฐ 4.รายงานผลการดำเนินการต่อรอง เลขาธิการ กสทช. เพื่อพิจารณานำเสนอ ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณากำหนดความรับผิดชอบ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ตลอดจนกำหนดมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยว ข้องต่อไป และ 5.ปฏิบัติงานอื่นตามที่ เลขาธิการ กสทช.และ กทค.มอบหมาย ทั้งนี้ ให้คณะทำงานมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่หัวหน้าคณะทำงานรับทราบคำสั่ง
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวถึงกรณีที่ระบุว่าสถานีทีวีดิจิตอลช่องโมโน 29 จะได้รับผลกระทบจากการที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งไม่นำเงินมาจ่ายค่าใบอนุญาตประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การทบทวนคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการนั้นต้องเคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือทำผิดมาก่อน ทั้งนี้ ขอสงวนความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เป็นคนละกิจการกัน
ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า กรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่าเป็นการทำให้ประเทศเสียหน้า และหมดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นครั้งแรกในโลกที่ผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินตามกำหนด ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจและติดตามค่อนข้างมาก ดังนั้นบริษัทควรมีข้อชี้แจงที่ชัดเจนมากกว่านี้ รวมถึงการเปิดประมูลใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการที่เข้มงวดและรัดกุมมากกว่านี้ เช่น การประเมินผู้ประมูลที่มีศักยภาพในการชำระเงินที่แท้จริง
"หลังจากเกิดการผิดนัดชำระของแจส โมบาย บรอดแบนด์ฯ ทำให้นักวิเคราะห์หาข้อมูลได้ยากมาก เนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งด้านบริษัทยืนยันว่าจะได้รับผลกระทบเพียงแค่ยึดเงินประกันการประมูลจำนวน 644 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าเสียหายที่คาดว่ามากกว่าที่บริษัทแจ้ง ดังนั้นช่วงนี้ทำได้เพียงแค่รอข้อมูลที่ชัดเจนเท่านั้น" นายไพบูลย์ระบุ
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีต รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ระบุว่า บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด จะต้องจ่ายส่วนต่าง หาก กสทช.เปิดประมูล 4 จีใหม่ และได้ราคาต่ำกว่าเดิมนั้น (ต่ำกว่า 75,654 ล้านบาท) อาจจะต้องใช้เวลาถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลกันอีกนานว่า มีคำถามที่อยากจะให้นายวิษณุช่วยตอบประชาชนผู้เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ ดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการ กสทช.จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในการประมูลครั้งนี้ด้วยหรือไม่ 2.ค่าเสียโอกาสของภาครัฐที่ต้องสูญ เสียรายได้ที่พึงได้ไป ใครควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ 3.การกำหนดอัตราวง เงินค้ำประกันการประมูลที่น้อยกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบเคียงกับมูลค่าที่แข่งกันเคาะราคาอย่างเมามัน จนชนะการประมูลในราคาที่สูงลิ่วและทิ้งคลื่นความถี่ 4 จี ที่ประมูลได้ไปแบบหน้าตาเฉยเช่นนี้ ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบหรือแสดงสปิริตรับผิดชอบต่อสาธารณชนแบบลูกผู้ชาย 4.รัฐมนตรีที่กำกับดูแล กสทช.จะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ บ้างเลยหรือ แม้กระทั่งคำขอโทษสักคำก็ไม่หลุดออกมาจากปากท่านเลยหรือ และ 5.ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐใช่หรือไม่
"จึงหวังว่าท่านรองนายกฯ จะได้ตอบคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ ให้ประชาชนได้รับความกระจ่างด้วย เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติ ที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ และเราก็ใช้เงินภาษีของประชาชนมาจ่ายเงินเดือนให้คณะกรรมการ กสทช.ให้มานั่งกำกับดูแลแทนพวกเรา ด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงลิ่วมากกว่านักการเมืองและข้าราชการทั่วๆ ไป ก็อยากเห็นและหวังว่าด้วยจิตสำนึกของความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กสทช.ควรที่จะมีการแสดงความรับผิดชอบที่มากกว่าที่พวกท่านกำลังทำกันอยู่ในขณะนี้ นี่คือข้อเสนอแนะและคำแนะนำในมุมมองของผมที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ด้วยคนหนึ่งเท่านั้นเอง" นายสุรพงษ์กล่าว.
เลขาฯ กสทช. ลงนามแล้วตั้ง คณะทำงานสอบฯ แจสฯ ทิ้งใบอนุญาต 4G ให้เวลาสอบ 30วัน
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1,10)
หนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจาก Twitter นายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.
จวก "แจส" ทำประเทศขายหน้าตั้ง 'วงศ์สกุล' นำทีมฟันซ้ำ
จวกแจสทำปท.ขายหน้าตั้ง 'วงศ์สกุล' นำทีมฟันซ้ำ
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559
กสทช.ตั้งคณะทำงานไล่บี้เอา ผิด "แจส" มีอธิบดีอัยการคดีทุจริตเป็นประ ธาน นักวิเคราะห์ชี้เบี้ยวจ่ายทำประเทศขายหน้าเสียเครดิต แนะเปิดประมูล 4 จีใหม่ต้องมีมาตรการเข้มงวดกว่านี้ กสท.ย้ำไม่กระ ทบช่องโมโน 29 "สุรพงษ์" บี้ "วิษณุ" แจง 5 ประเด็น ถามหาคนรับผิดชอบ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทร ทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาความรับผิด กรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ลงนามโดยนายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.
โดยคณะทำงานฯ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.เลขาธิการ กสทช. เป็นที่ปรึกษา 2.นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน 3.ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้ทำงาน 4.ผู้แทนสำนักงานคณะกรรม การกฤษฎีกา ผู้ทำงาน 5.ผู้แทนสำนัก งานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ผู้ทำงาน 6.ผู้ แทนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ทำงาน 7.รองเลขาธิการสายงานกิจการโทรคมนาคม ผู้ทำงาน 8.รองเลขาธิการสายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ผู้ทำงาน 9.ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายโทรคมนาคม ผู้ทำงานและเลขานุการ 10.น.ส.พรพักตร์ สถิตเวโรจน์ ผู้ทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ 11.น.ส.ณัฐสุดา อัคราวัฒนา ผู้ช่วยเลขานุการ และ 12.น.ส.บัณฑิตา สัตตะพันธ์คีรี ผู้ช่วยเลขานุการ
สำหรับอำนาจหน้าที่ มีดังนี้ 1. พิจารณากำหนดความรับผิด กรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 900 MHz ไม่ดำเนินการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่งวดที่หนึ่ง และจัดส่งหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินเพื่อค้ำประกันการชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือ 2.เสนอแนะแนวทางการกำหนดค่า เสียหาย 3.เสนอแนะวิธีการ แนวทาง หรือขั้นตอนการดำเนินการเอาผิดหรือลงโทษบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ตลอดจนมาตรการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ รัฐ 4.รายงานผลการดำเนินการต่อรอง เลขาธิการ กสทช. เพื่อพิจารณานำเสนอ ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณากำหนดความรับผิดชอบ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ตลอดจนกำหนดมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยว ข้องต่อไป และ 5.ปฏิบัติงานอื่นตามที่ เลขาธิการ กสทช.และ กทค.มอบหมาย ทั้งนี้ ให้คณะทำงานมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่หัวหน้าคณะทำงานรับทราบคำสั่ง
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวถึงกรณีที่ระบุว่าสถานีทีวีดิจิตอลช่องโมโน 29 จะได้รับผลกระทบจากการที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งไม่นำเงินมาจ่ายค่าใบอนุญาตประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า การทบทวนคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ผู้ประกอบการนั้นต้องเคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือทำผิดมาก่อน ทั้งนี้ ขอสงวนความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เป็นคนละกิจการกัน
ด้านนายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า กรณีบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ถือว่าเป็นการทำให้ประเทศเสียหน้า และหมดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นครั้งแรกในโลกที่ผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินตามกำหนด ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจและติดตามค่อนข้างมาก ดังนั้นบริษัทควรมีข้อชี้แจงที่ชัดเจนมากกว่านี้ รวมถึงการเปิดประมูลใหม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการที่เข้มงวดและรัดกุมมากกว่านี้ เช่น การประเมินผู้ประมูลที่มีศักยภาพในการชำระเงินที่แท้จริง
"หลังจากเกิดการผิดนัดชำระของแจส โมบาย บรอดแบนด์ฯ ทำให้นักวิเคราะห์หาข้อมูลได้ยากมาก เนื่องจากข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งด้านบริษัทยืนยันว่าจะได้รับผลกระทบเพียงแค่ยึดเงินประกันการประมูลจำนวน 644 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าเสียหายที่คาดว่ามากกว่าที่บริษัทแจ้ง ดังนั้นช่วงนี้ทำได้เพียงแค่รอข้อมูลที่ชัดเจนเท่านั้น" นายไพบูลย์ระบุ
ขณะที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีต รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ระบุว่า บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด จะต้องจ่ายส่วนต่าง หาก กสทช.เปิดประมูล 4 จีใหม่ และได้ราคาต่ำกว่าเดิมนั้น (ต่ำกว่า 75,654 ล้านบาท) อาจจะต้องใช้เวลาถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลกันอีกนานว่า มีคำถามที่อยากจะให้นายวิษณุช่วยตอบประชาชนผู้เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ ดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการ กสทช.จะต้องร่วมรับผิดชอบต่อกรณีที่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นในการประมูลครั้งนี้ด้วยหรือไม่ 2.ค่าเสียโอกาสของภาครัฐที่ต้องสูญ เสียรายได้ที่พึงได้ไป ใครควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ 3.การกำหนดอัตราวง เงินค้ำประกันการประมูลที่น้อยกว่าความเป็นจริงเมื่อเทียบเคียงกับมูลค่าที่แข่งกันเคาะราคาอย่างเมามัน จนชนะการประมูลในราคาที่สูงลิ่วและทิ้งคลื่นความถี่ 4 จี ที่ประมูลได้ไปแบบหน้าตาเฉยเช่นนี้ ใครควรเป็นผู้รับผิดชอบหรือแสดงสปิริตรับผิดชอบต่อสาธารณชนแบบลูกผู้ชาย 4.รัฐมนตรีที่กำกับดูแล กสทช.จะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ บ้างเลยหรือ แม้กระทั่งคำขอโทษสักคำก็ไม่หลุดออกมาจากปากท่านเลยหรือ และ 5.ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐใช่หรือไม่
"จึงหวังว่าท่านรองนายกฯ จะได้ตอบคำถามทั้ง 5 ข้อนี้ ให้ประชาชนได้รับความกระจ่างด้วย เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติ ที่คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ และเราก็ใช้เงินภาษีของประชาชนมาจ่ายเงินเดือนให้คณะกรรมการ กสทช.ให้มานั่งกำกับดูแลแทนพวกเรา ด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงลิ่วมากกว่านักการเมืองและข้าราชการทั่วๆ ไป ก็อยากเห็นและหวังว่าด้วยจิตสำนึกของความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กสทช.ควรที่จะมีการแสดงความรับผิดชอบที่มากกว่าที่พวกท่านกำลังทำกันอยู่ในขณะนี้ นี่คือข้อเสนอแนะและคำแนะนำในมุมมองของผมที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ด้วยคนหนึ่งเท่านั้นเอง" นายสุรพงษ์กล่าว.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1,10)
หนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจาก Twitter นายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.