อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=9161&Z=9310
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)
[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท
สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน กรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ
[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกร โคตมี
พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว
จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง
ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์
โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล
พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า
ดูกรโคตมีพระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว
จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ ฯ
[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด
พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง (เป็นแม่นม)
ประทานพระขีรรสแด่พระผู้มีพระภาคเมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มเต้าพระถัน
แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ (ถึงพระรัตนไตร คือ พระอริยะ)
ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้
ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ (อริยกันตศีล)
ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ฯ
[๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์
จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ (ได้บรรลุธรรมเพราะใคร)
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์
ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ฯ
[๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ (ทำบุญเฉพาะเจาะจงบุคคล มี 14 อย่าง)
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
ให้ทานแก่พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑ (ผู้ทรงฌานนอกพุทธศาสนา)
ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ
[๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนโกฏิเท่า (ล้านๆ เท่า)
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้ จนประมาณไม่ได้ (มากเกินกว่าจะประเมินค่าได้)
จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน (สำหรับผู้บรรลุโสดาบันแล้ว มากเกินกว่าจะกล่าวถึง)
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้งในพระอนาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ
[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย
ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า (นิมนต์ขอตัวเเทนรับสังฆทาน)
แล้วให้ทานนี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖ (ปัจจุบันเหลือแต่อย่างที่ 6 นี้)
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ
[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล
จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก
คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลยฯ
[๗๑๔] ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง
๔ อย่างเป็นไฉน
ดูกรอานนท์
ทักษิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ทายกผู้ให้บริสุทธิ์ / ปฏิคาหกผู้รับไม่บริสุทธิ์)
บางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
บางอย่าง ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
บางอย่าง บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ
[๗๑๕] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้
ทายกมีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ
[๗๑๖] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้
ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ
[๗๑๗] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร
ดูกรอานนท์ในข้อนี้
ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ ฯ
[๗๑๘] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้
ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ
ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ฯ
[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า
(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ
(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ
(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย ฯ
จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒
จบ วิภังควรรค ที่ ๔
ผลของการทำบุญ ให้ทาน ตามพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร (๑๔๒)
[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท
สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉัน กรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค
ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด ฯ
[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกร โคตมี
พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว
จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง
ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์
โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล
พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า
ดูกรโคตมีพระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว
จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ ฯ
[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด
พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง (เป็นแม่นม)
ประทานพระขีรรสแด่พระผู้มีพระภาคเมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มเต้าพระถัน
แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ (ถึงพระรัตนไตร คือ พระอริยะ)
ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงงดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้
ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ (อริยกันตศีล)
ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค
จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ฯ
[๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์
จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ (ได้บรรลุธรรมเพราะใคร)
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์
ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้
เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี
ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ฯ
[๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ (ทำบุญเฉพาะเจาะจงบุคคล มี 14 อย่าง)
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖
ให้ทานแก่พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘
ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑ (ผู้ทรงฌานนอกพุทธศาสนา)
ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ
[๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนโกฏิเท่า (ล้านๆ เท่า)
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้ จนประมาณไม่ได้ (มากเกินกว่าจะประเมินค่าได้)
จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน (สำหรับผู้บรรลุโสดาบันแล้ว มากเกินกว่าจะกล่าวถึง)
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้งในพระอนาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ
[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๑
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย
ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า (นิมนต์ขอตัวเเทนรับสังฆทาน)
แล้วให้ทานนี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖ (ปัจจุบันเหลือแต่อย่างที่ 6 นี้)
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ
[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล
จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก
คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้
แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลยฯ
[๗๑๔] ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง
๔ อย่างเป็นไฉน
ดูกรอานนท์
ทักษิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ทายกผู้ให้บริสุทธิ์ / ปฏิคาหกผู้รับไม่บริสุทธิ์)
บางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
บางอย่าง ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์
บางอย่าง บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ
[๗๑๕] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้
ทายกมีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ
[๗๑๖] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้
ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ
[๗๑๗] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร
ดูกรอานนท์ในข้อนี้
ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ ฯ
[๗๑๘] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร
ดูกรอานนท์ ในข้อนี้
ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม
อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ฯ
ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง ฯ
[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า
(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ฯ
(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล
ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ฯ
(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล
เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี
เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล
เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์ ฯ
(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม
มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย ฯ
จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒
จบ วิภังควรรค ที่ ๔