......................ถึงเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ แต่นักกีฏวิทยาชี้ว่าหากผีเสื้อหายไปจากธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารอย่างรุนแรง และทำให้อาหารหายไป และปัจจุบันผีเสื้อกำลังลดจำนวนลงเรื่อยๆ ไปพร้อมกับป่าที่ลดลง
“ผีเสื้อภูฐาน” หรือ “สมิงเชียงดาว” คือตัวอย่างผีเสื้อที่ไทยสูญพันธุ์ไปแล้ว โดย ดร.วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่าเราไม่พบผีเสื้อชนิดนี้มา 30 ปีแล้ว
ถิ่นอาศัยของผีเสื้อสมิงเชียงอยู่มีอยู่แห่งเดียวคือดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,900 เมตร ซึ่งสาเหตุที่ผีเสื้อชนิดนี้สูญพันธุ์ ดร.วัฒนา ให้น้ำหนักไปที่การบุกรุกป่าที่เป็นถิ่นอาศัยของผีเสื้อ รวมถึงการเข้าไปเก็บผีเสื้อมาเป็นของสะสม
การลดลงของป่ายังเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผีเสื้อส่วนใหญ่ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ โดยผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล เป็นผีเสื้อไทยอีกชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
“อนาคตผีเสื้อและแมลงของไทยจะลดลงไปเรื่อยๆ เพราะป่าถูกบุกรุก เมื่อป่าหาย ผีเสื้อและแมลงจะหายไปอย่างแน่นอน เพราะไม่มีแหล่งที่อยู่ ไม่มีแหล่งวางไข่” ดร.วัฒนา ชี้ถึงปัจจัยที่ทำให้ผีเสื้อสูญพันธุ์
ด้าน ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ผีเสื้ออาจไม่ได้รับความสนใจนัก เพราะ “ตัวเล็ก” หากแต่ผีเสื้อและแมลงกลับมีบทบาทสำคัญต่อห่วงโซ่อาหาร การหายไปของแมลงบางชนิดอาจทำให้ห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศล่มสลาย และส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรได้
ปัญหาดังกล่าว ดร.วัฒนา ได้อธิบายอย่างง่ายๆ ว่า ผีเสื้อช่วยขยายพันธุ์พืช เมื่อพืชหายไป แมลงกินพืชก็หายไป สัตว์ที่กินพืชและแมลงก็หายไป อาหารของคนก็จะหายไปด้วย
ตามกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2546 มีแมลงที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด 20 ชนิด ในจำนวนนั้นมี 4 ชนิดที่จัดอยู่ในบัญชีแนบท้ายที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่า (ไซเตส) ได้แก่ ผีเสื้อภูฐาน ผีเสื้อไกเกอร์อิมพีเรียล ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง และแมลงไทยที่ไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่จัดอยู่ในบัญชี 2 ของไซเตสอีกชนิดคือ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา
“แม้ว่าผีเสื้อภูฐานจะสูญพันธุ์ไปแล้วและผีเสื้อไกเกอร์อิมพีเรียลใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ไทยไม่ขอเลื่อนบัญชีให้ผีเสื้อทั้งสองขึ้นไปอยู่ในบัญชีแนบท้ายที่ 1 เนื่องจากกรณีที่สูญพันธุ์จะต้องถูกยกออกจากบัญชี แต่หากกลับมาพบผีเสื้อชนิดนี้อีกจะไม่ได้รับการคุ้มครอง จึงยังคงไว้ในบัญชี 2 เพื่อคุ้มครองต่อไป” ดร.วัฒนา อธิบาย
สำหรับผีเสื้อและแมลงที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 นั้น จะห้ามไม่ให้มีการล่า ครอบครองและทำการค้า
ที่มา
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000030471
***ผีเสื้อบางชนิดเหลือเพียงซากไว้ให้ดู
***ผีเสื้อที่ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ผีเสื้อคู่ซ้ายบน คือผีเสื้อสมิงเชียงดาวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ซ้ายคือตัวเมีย ขวาคือตัวผู้) ส่วนขวาบนคือผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล (ซ้ายคือตัวผู้ และขวาคือตัวเมีย)
***ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งมีพบเห็นในป่า
***ผีเสื้อ คู่ซ้ายล่าง คือผีเสื้อถึงทองป่าสูง และผีเสื้อคู่ขวาล่างคือผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ที่นอกจากเป็นสัตว์ป่าคุ้ม ครองแล้ว ยังจัดอยู่ในบัญชี 2 ของไซเตสด้วย
ผีเสื้อหายไป...แล้วไง?
“ผีเสื้อภูฐาน” หรือ “สมิงเชียงดาว” คือตัวอย่างผีเสื้อที่ไทยสูญพันธุ์ไปแล้ว โดย ดร.วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่าเราไม่พบผีเสื้อชนิดนี้มา 30 ปีแล้ว
ถิ่นอาศัยของผีเสื้อสมิงเชียงอยู่มีอยู่แห่งเดียวคือดอยเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,900 เมตร ซึ่งสาเหตุที่ผีเสื้อชนิดนี้สูญพันธุ์ ดร.วัฒนา ให้น้ำหนักไปที่การบุกรุกป่าที่เป็นถิ่นอาศัยของผีเสื้อ รวมถึงการเข้าไปเก็บผีเสื้อมาเป็นของสะสม
การลดลงของป่ายังเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผีเสื้อส่วนใหญ่ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ โดยผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล เป็นผีเสื้อไทยอีกชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์
“อนาคตผีเสื้อและแมลงของไทยจะลดลงไปเรื่อยๆ เพราะป่าถูกบุกรุก เมื่อป่าหาย ผีเสื้อและแมลงจะหายไปอย่างแน่นอน เพราะไม่มีแหล่งที่อยู่ ไม่มีแหล่งวางไข่” ดร.วัฒนา ชี้ถึงปัจจัยที่ทำให้ผีเสื้อสูญพันธุ์
ด้าน ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ผีเสื้ออาจไม่ได้รับความสนใจนัก เพราะ “ตัวเล็ก” หากแต่ผีเสื้อและแมลงกลับมีบทบาทสำคัญต่อห่วงโซ่อาหาร การหายไปของแมลงบางชนิดอาจทำให้ห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศล่มสลาย และส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรได้
ปัญหาดังกล่าว ดร.วัฒนา ได้อธิบายอย่างง่ายๆ ว่า ผีเสื้อช่วยขยายพันธุ์พืช เมื่อพืชหายไป แมลงกินพืชก็หายไป สัตว์ที่กินพืชและแมลงก็หายไป อาหารของคนก็จะหายไปด้วย
ตามกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2546 มีแมลงที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด 20 ชนิด ในจำนวนนั้นมี 4 ชนิดที่จัดอยู่ในบัญชีแนบท้ายที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่า (ไซเตส) ได้แก่ ผีเสื้อภูฐาน ผีเสื้อไกเกอร์อิมพีเรียล ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ ผีเสื้อถุงทองป่าสูง และแมลงไทยที่ไม่จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่จัดอยู่ในบัญชี 2 ของไซเตสอีกชนิดคือ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา
“แม้ว่าผีเสื้อภูฐานจะสูญพันธุ์ไปแล้วและผีเสื้อไกเกอร์อิมพีเรียลใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ไทยไม่ขอเลื่อนบัญชีให้ผีเสื้อทั้งสองขึ้นไปอยู่ในบัญชีแนบท้ายที่ 1 เนื่องจากกรณีที่สูญพันธุ์จะต้องถูกยกออกจากบัญชี แต่หากกลับมาพบผีเสื้อชนิดนี้อีกจะไม่ได้รับการคุ้มครอง จึงยังคงไว้ในบัญชี 2 เพื่อคุ้มครองต่อไป” ดร.วัฒนา อธิบาย
สำหรับผีเสื้อและแมลงที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 นั้น จะห้ามไม่ให้มีการล่า ครอบครองและทำการค้า
ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000030471
***ผีเสื้อบางชนิดเหลือเพียงซากไว้ให้ดู
***ผีเสื้อที่ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ผีเสื้อคู่ซ้ายบน คือผีเสื้อสมิงเชียงดาวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ซ้ายคือตัวเมีย ขวาคือตัวผู้) ส่วนขวาบนคือผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล (ซ้ายคือตัวผู้ และขวาคือตัวเมีย)
***ผีเสื้อที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งมีพบเห็นในป่า
***ผีเสื้อ คู่ซ้ายล่าง คือผีเสื้อถึงทองป่าสูง และผีเสื้อคู่ขวาล่างคือผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ที่นอกจากเป็นสัตว์ป่าคุ้ม ครองแล้ว ยังจัดอยู่ในบัญชี 2 ของไซเตสด้วย