ข้าราชการในสมัย ร5-ร7 มีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ทุกคนไหมครับ

คือตำแหน่งใหญ่ๆ มีอยู่แล้ว แต่ตำแหน่งเล็กๆประมาณข้าราชการบรรจุใหม่ เสมียนธรรมดา มี บรรดาศักดิ์ มีราชทินามให้ไหมครับ  

แล้วสมัยนั้น ต้องเรียนอะไร  ต้องไปสอบบรรจุแบบไหนครับ  ถึงทำราชการได้ครับ ทั้งระดับล่างและระดับใช้สมอง

อีกคำถามนะครับ ยศทหารสมัยนั้น  ทำไมเหมือน แยกกับ บรรดาศักดิ์  เพราะเห็นพระยาศรีสิทธิสงคราม เป็น พันเอกตอนอายุ 37 แต่เป็นพระยาตอนอายุ 40 ใช้หลักเกฑณ์อะไรครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ข้าราชการเมื่อแรกเริ่มรับราชการก็จะได้รับพระราชทานยศก่อน  แล้วจึงรับพระราชทานบรรดาศักดิ์  บรรดาศักดิ์คือ พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา  จะต้องมีราชทินนามเป็นของคู่กัน เช่น หลวงปริพนะ์พจนพิสุทธิ์  เช่นนี้หลวงเป็นบรรดาศักดิ์  ส่วนปริพนธ์พจนพิสุทธิ์ นั้นเป็นราชทินนาม

การบบรจุเข้ารับราชการในอดีตนั้นเริ่มจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น ถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวง  หรือฝึกปฏิบัติกับข้าราชการผู้ใหญ่  เมื่อมีตวามรู้ความสามารถพอจะรับราชการได้  ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการ  หรือท่านผู้เป็นใหญ่นั้นก็จะฝากเข้าทำราชการ  ต่อมาเมื่อมีระบบโรงเรียนเกิดขึ้นแล้ว  ก็เล่าเรียนวิชาสามัญหรือวิชาชีพ  จบแล้วก็สมัครเข้ารับราชการ

ในสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนล้วนมียศทั้งสิ้น  ยศนั้นแยกจากบรรดาศักดิ์  มีเกณฑ์กำหนดไว้ เช่น ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโท หรือนายร้อยเอก  ต่อไปก็รับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุน  เมื่อได้รับยศเป็นนายพันตรี  ก็จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง  เป็นลำดับไปจนถึงชั้นยศนายพันเอก อย่างน้อยต้องได้เป็นพระ  แล้วเลื่อนเป็นพระยา  นายพลตรี นายพลโท ก็จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา  เมื่อเป็นนายพลเอกมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีแล้ว ก็มักจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่