"หุ้นล่าฝัน" โดยดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Share on linkedin Share on facebook Share on twitter Share on email More Sharing Services
0
By Digital Media | 25 ก.พ. 2556 12:12 | 990 views | View Comment
หุ้นล่าฝัน
ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังบูมสุดขีดนั้น ถ้าสังเกตดูคร่าว ๆ ก็จะพบว่า หนึ่ง บริษัทขนาดใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนใหญ่ก็ไม่มากนัก คิดทั้งปีก็อาจจะโตซัก 10% -15% เรียกว่าไม่ได้โดดเด่นมากขนาดที่จะทำให้หุ้นขึ้นไปได้ถึง 30%-40% อย่างที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับบริษัทขนาดใหญ่ก็คือ พวกเขามักจะมีแผนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมาก มีการกู้เงินหรือบางทีก็เพิ่มทุนกันขนานใหญ่เพื่อที่จะไปลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ สอง บริษัทเล็ก ๆ นั้นมักมีกำไรที่โตแบบ “ก้าวกระโดด” ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ภาวะเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมที่ดีขึ้นและอื่น ๆ อีกมากมายรวมถึงการที่บริษัทเหล่านั้นมีขนาดเล็ก กำไรที่เคยมีก็มักจะน้อยหรือมีฐานที่ต่ำ ดังนั้น เวลาที่กำไรดีขึ้น เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะสูง บางบริษัทจึงโตได้เป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปนั้นกลับสูงลิ่วยิ่งกว่ามาก ผลก็คือ หุ้นตัวเล็ก ๆ มีค่า PE สูงมาก ค่า PE 30-40 เท่าจึงเป็นเรื่องปกติสำหรับหุ้นกลุ่มนี้ สาม หุ้นจำนวนไม่น้อยนั้น กำไรของบริษัทเองก็ไม่ได้โดดเด่นนัก บางบริษัทเองอยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่โตยากหรือแข่งขันหนัก การหวังให้กำไรเติบโตจึงทำได้ยาก ดังนั้น พวกเขาจะหาอะไรมาเป็นตัว “ขับเคลื่อนหุ้น” ที่มักจะพร้อมจะวิ่งอยู่แล้วถ้ามีอะไรมากระตุ้นในภาวะแบบนี้?
กลยุทธ์ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนราคาหุ้นที่ “ทรงพลัง” มากอย่างหนึ่งในภาวะตลาดหุ้น “กระทิงดุ” ก็คือ การทำธุรกิจที่กำลังร้อนแรง เป็นธุรกิจแห่งอนาคต เป็นธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก และเป็นธุรกิจที่บริษัทเองนั้นก็อาจจะทำอยู่แล้ว หรือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่บริษัทอ้างว่าสามารถทำได้และมีความรู้ความสามารถเพียงพอ ถ้าจะให้เรียกแบบให้เห็นภาพผมอยากจะเรียกว่าเป็น “ธุรกิจในฝัน” ซึ่งความหมายอาจจะออกได้เป็นสองแนวทางนั่นคือ หนึ่ง มันเป็นธุรกิจ “ในฝัน” เพราะว่ามันเป็นธุรกิจที่คนทั่วไปรู้สึกว่ามันมีศักยภาพที่จะโตและทำกำไรได้มากมายซึ่งจะทำให้หุ้นมีมูลค่าสูงมาก เพราะนอกจากกำไรหรือค่า E ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ค่า PE ของหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ผลก็คือ ราคาหุ้นก็จะวิ่งขึ้นไปได้หลาย ๆ เท่าอย่างง่ายดาย และในอีกความหมายหนึ่งก็คือ มันเป็นธุรกิจ “ในฝัน” เพราะว่ามันเป็นธุรกิจที่สามารถ “สร้างฝัน” ให้กับคนทำหรือนักลงทุนก่อนที่ “ผลลัพธ์” จะเกิดขึ้นจริงอีกนาน ซึ่งในระหว่างนี้ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไปได้มากมาย บางทีเป็นหลายเท่าตัว เพียงพอที่จะทำให้ใครต่อใไปได้มากมายอยู่แล้ว
มาดูกันว่าหุ้นบูมในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้มี “ธุรกิจในฝัน” อะไรที่บริษัทจดทะเบียนนำมาใช้ในการขับเคลื่อนหุ้นกันบ้าง เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นที่ราคาน้ำมันกำลังพุ่งขึ้นแรงก็คือ ถ่านหิน ซึ่งก็มีการพูดกันว่าเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่มีมากมายและจะมาแทนที่น้ำมันดิบที่กำลังหมดไป หุ้นที่ทำเกี่ยวกับถ่านหินอยู่แล้วหรือคนที่มีธุรกิจใกล้เคียงต่างก็เตรียมตัว “ลุย” ซึ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปไม่น้อย น่าเสียดายว่าความฝันเรื่องถ่านหินค่อนข้างสั้น นักเล่นหุ้นที่เข้าไปเก็งกำไรกับธุรกิจเกี่ยวกับถ่านหินบางคนที่ถอนตัวไม่ทันจึงน่าจะเจ็บตัวไป แต่เรื่องของพลังงานทดแทนนั้นไม่หมดลงไป ธุรกิจเกี่ยวกับเอทธานอลที่ทำจากผลิตผลการเกษตรก็เกิดขึ้น รวมถึงไบโอดีเซลเช่นน้ำมันที่ทำจากปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ความฝันในเรื่องเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ไปไกลนัก ราคาหุ้นไม่ได้เคลื่อนไหวขึ้นไปมากนัก เหตุผลก็คงเป็นว่ามันได้รับการสนับสนุนจากรัฐค่อนข้างน้อยมากเนื่องจากไม่มีหน่วยงานรัฐที่จะมารับซื้อผลิตผลเป็นเรื่องเป็นราวในราคาที่ทำกำไรได้ ผลก็คือ มันกลายเป็น “ฝันร้าย” ในเวลาอันสั้น คนที่ทำกำไรจากฝันนี้น่าจะมีน้อยมาก
เรื่องของพลังงานทดแทนที่เป็นธุรกิจ “ในฝัน” จริง ๆ น่าจะเป็นเรื่องของโซลาร์เซลหรือการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด และพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลม ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจ “ในฝัน” ก็คือ การที่รัฐบาลมาช่วย “สร้างฝัน” ให้กับบริษัทและนักลงทุน นั่นก็คือ การไฟฟ้าจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับผู้ผลิตและขายไฟทุกหน่วยไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาในระบบของการไฟฟ้าซึ่งทำให้การทำธุรกิจนี้ไม่ขาดทุนและมีผลตอบแทนที่เหมาะสม นั่นก็คือ บริษัทที่ลงทุนได้ผลตอบแทนคุ้มค่าของเงินที่ลงทุนไปเช่น อาจจะปีละ 10% แต่นี่ก็คงจะไม่ใช่อะไรที่จะทำให้นักลงทุนจริง ๆ ตื่นเต้น เพราะผลตอบแทนที่ 10% ต่อปีนั้น เป็นผลตอบแทนที่คนลงเงินจะต้องได้อยู่แล้ว ประเด็นอยู่ที่รัฐนั้น ยินดีที่จะจ่ายค่าชดเชยในช่วงประมาณซัก 8-9 ปีแรกมากผิดปกติที่จะทำให้บริษัทกำไรมาก ๆ และหลังจากนั้นบริษัทก็จะไม่ได้รับการชดเชยเลย พูดง่าย ๆ บริษัทจะกำไรมากผิดปกติใน 8 ปีแรก และหลังจากนั้นจะ “ขาดทุน” และนี่ก็คือความฝันที่ “คนเล่นหุ้น” อยากได้ นั่นก็คือ กำไรของบริษัทในช่วงเวลาถึงแปดปีจะดูดีมาก บริษัทจะเป็นบริษัทที่ กำไรดีและ “โตเร็ว” รวมทั้งมีผลประกอบการที่ “สม่ำเสมอ” และถ้าจะแถมอีกก็คือ มีกระแสเงินสดที่ดีมากเนื่องจากการไฟฟ้าจะจ่ายเงินสดให้ตลอดเวลาโดยที่บริษัทไม่ต้องลงทุนเพิ่ม มองหยาบ ๆ อาจจะกลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ดังนั้น ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะ “พุ่งทะลุฟ้า” เพราะไม่มีคนสนใจว่าอีก 8-9 ปีที่กำไรอาจจะหายไปนั้นบริษัทจะทำอย่างไร คนเล่นหุ้นนั้น มีน้อยคนที่จะมองเกินปีสองปี แม้แต่นักลงทุนระยะยาวบางคนก็มองไม่เกิน 3-4 ปี ดังนั้น นี่คือฝันที่แท้จริงโดยเฉพาะในยามหุ้นบูม
Share Dr. นิเวศน์. หุ้นล่าฝัน 1
Share on linkedin Share on facebook Share on twitter Share on email More Sharing Services
0
By Digital Media | 25 ก.พ. 2556 12:12 | 990 views | View Comment
หุ้นล่าฝัน
ในยามที่ตลาดหุ้นกำลังบูมสุดขีดนั้น ถ้าสังเกตดูคร่าว ๆ ก็จะพบว่า หนึ่ง บริษัทขนาดใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นบ้าง ส่วนใหญ่ก็ไม่มากนัก คิดทั้งปีก็อาจจะโตซัก 10% -15% เรียกว่าไม่ได้โดดเด่นมากขนาดที่จะทำให้หุ้นขึ้นไปได้ถึง 30%-40% อย่างที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับบริษัทขนาดใหญ่ก็คือ พวกเขามักจะมีแผนการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมาก มีการกู้เงินหรือบางทีก็เพิ่มทุนกันขนานใหญ่เพื่อที่จะไปลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ สอง บริษัทเล็ก ๆ นั้นมักมีกำไรที่โตแบบ “ก้าวกระโดด” ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ภาวะเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมที่ดีขึ้นและอื่น ๆ อีกมากมายรวมถึงการที่บริษัทเหล่านั้นมีขนาดเล็ก กำไรที่เคยมีก็มักจะน้อยหรือมีฐานที่ต่ำ ดังนั้น เวลาที่กำไรดีขึ้น เมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็จะสูง บางบริษัทจึงโตได้เป็นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ราคาหุ้นที่ปรับขึ้นไปนั้นกลับสูงลิ่วยิ่งกว่ามาก ผลก็คือ หุ้นตัวเล็ก ๆ มีค่า PE สูงมาก ค่า PE 30-40 เท่าจึงเป็นเรื่องปกติสำหรับหุ้นกลุ่มนี้ สาม หุ้นจำนวนไม่น้อยนั้น กำไรของบริษัทเองก็ไม่ได้โดดเด่นนัก บางบริษัทเองอยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่โตยากหรือแข่งขันหนัก การหวังให้กำไรเติบโตจึงทำได้ยาก ดังนั้น พวกเขาจะหาอะไรมาเป็นตัว “ขับเคลื่อนหุ้น” ที่มักจะพร้อมจะวิ่งอยู่แล้วถ้ามีอะไรมากระตุ้นในภาวะแบบนี้?
กลยุทธ์ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนราคาหุ้นที่ “ทรงพลัง” มากอย่างหนึ่งในภาวะตลาดหุ้น “กระทิงดุ” ก็คือ การทำธุรกิจที่กำลังร้อนแรง เป็นธุรกิจแห่งอนาคต เป็นธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงมาก และเป็นธุรกิจที่บริษัทเองนั้นก็อาจจะทำอยู่แล้ว หรือเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่บริษัทอ้างว่าสามารถทำได้และมีความรู้ความสามารถเพียงพอ ถ้าจะให้เรียกแบบให้เห็นภาพผมอยากจะเรียกว่าเป็น “ธุรกิจในฝัน” ซึ่งความหมายอาจจะออกได้เป็นสองแนวทางนั่นคือ หนึ่ง มันเป็นธุรกิจ “ในฝัน” เพราะว่ามันเป็นธุรกิจที่คนทั่วไปรู้สึกว่ามันมีศักยภาพที่จะโตและทำกำไรได้มากมายซึ่งจะทำให้หุ้นมีมูลค่าสูงมาก เพราะนอกจากกำไรหรือค่า E ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ค่า PE ของหุ้นก็จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ผลก็คือ ราคาหุ้นก็จะวิ่งขึ้นไปได้หลาย ๆ เท่าอย่างง่ายดาย และในอีกความหมายหนึ่งก็คือ มันเป็นธุรกิจ “ในฝัน” เพราะว่ามันเป็นธุรกิจที่สามารถ “สร้างฝัน” ให้กับคนทำหรือนักลงทุนก่อนที่ “ผลลัพธ์” จะเกิดขึ้นจริงอีกนาน ซึ่งในระหว่างนี้ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไปได้มากมาย บางทีเป็นหลายเท่าตัว เพียงพอที่จะทำให้ใครต่อใไปได้มากมายอยู่แล้ว
มาดูกันว่าหุ้นบูมในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้มี “ธุรกิจในฝัน” อะไรที่บริษัทจดทะเบียนนำมาใช้ในการขับเคลื่อนหุ้นกันบ้าง เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นที่ราคาน้ำมันกำลังพุ่งขึ้นแรงก็คือ ถ่านหิน ซึ่งก็มีการพูดกันว่าเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่มีมากมายและจะมาแทนที่น้ำมันดิบที่กำลังหมดไป หุ้นที่ทำเกี่ยวกับถ่านหินอยู่แล้วหรือคนที่มีธุรกิจใกล้เคียงต่างก็เตรียมตัว “ลุย” ซึ่งทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปไม่น้อย น่าเสียดายว่าความฝันเรื่องถ่านหินค่อนข้างสั้น นักเล่นหุ้นที่เข้าไปเก็งกำไรกับธุรกิจเกี่ยวกับถ่านหินบางคนที่ถอนตัวไม่ทันจึงน่าจะเจ็บตัวไป แต่เรื่องของพลังงานทดแทนนั้นไม่หมดลงไป ธุรกิจเกี่ยวกับเอทธานอลที่ทำจากผลิตผลการเกษตรก็เกิดขึ้น รวมถึงไบโอดีเซลเช่นน้ำมันที่ทำจากปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ความฝันในเรื่องเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ไปไกลนัก ราคาหุ้นไม่ได้เคลื่อนไหวขึ้นไปมากนัก เหตุผลก็คงเป็นว่ามันได้รับการสนับสนุนจากรัฐค่อนข้างน้อยมากเนื่องจากไม่มีหน่วยงานรัฐที่จะมารับซื้อผลิตผลเป็นเรื่องเป็นราวในราคาที่ทำกำไรได้ ผลก็คือ มันกลายเป็น “ฝันร้าย” ในเวลาอันสั้น คนที่ทำกำไรจากฝันนี้น่าจะมีน้อยมาก
เรื่องของพลังงานทดแทนที่เป็นธุรกิจ “ในฝัน” จริง ๆ น่าจะเป็นเรื่องของโซลาร์เซลหรือการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด และพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลม ส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจ “ในฝัน” ก็คือ การที่รัฐบาลมาช่วย “สร้างฝัน” ให้กับบริษัทและนักลงทุน นั่นก็คือ การไฟฟ้าจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับผู้ผลิตและขายไฟทุกหน่วยไฟฟ้าที่จ่ายเข้ามาในระบบของการไฟฟ้าซึ่งทำให้การทำธุรกิจนี้ไม่ขาดทุนและมีผลตอบแทนที่เหมาะสม นั่นก็คือ บริษัทที่ลงทุนได้ผลตอบแทนคุ้มค่าของเงินที่ลงทุนไปเช่น อาจจะปีละ 10% แต่นี่ก็คงจะไม่ใช่อะไรที่จะทำให้นักลงทุนจริง ๆ ตื่นเต้น เพราะผลตอบแทนที่ 10% ต่อปีนั้น เป็นผลตอบแทนที่คนลงเงินจะต้องได้อยู่แล้ว ประเด็นอยู่ที่รัฐนั้น ยินดีที่จะจ่ายค่าชดเชยในช่วงประมาณซัก 8-9 ปีแรกมากผิดปกติที่จะทำให้บริษัทกำไรมาก ๆ และหลังจากนั้นบริษัทก็จะไม่ได้รับการชดเชยเลย พูดง่าย ๆ บริษัทจะกำไรมากผิดปกติใน 8 ปีแรก และหลังจากนั้นจะ “ขาดทุน” และนี่ก็คือความฝันที่ “คนเล่นหุ้น” อยากได้ นั่นก็คือ กำไรของบริษัทในช่วงเวลาถึงแปดปีจะดูดีมาก บริษัทจะเป็นบริษัทที่ กำไรดีและ “โตเร็ว” รวมทั้งมีผลประกอบการที่ “สม่ำเสมอ” และถ้าจะแถมอีกก็คือ มีกระแสเงินสดที่ดีมากเนื่องจากการไฟฟ้าจะจ่ายเงินสดให้ตลอดเวลาโดยที่บริษัทไม่ต้องลงทุนเพิ่ม มองหยาบ ๆ อาจจะกลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ดังนั้น ราคาหุ้นมีโอกาสที่จะ “พุ่งทะลุฟ้า” เพราะไม่มีคนสนใจว่าอีก 8-9 ปีที่กำไรอาจจะหายไปนั้นบริษัทจะทำอย่างไร คนเล่นหุ้นนั้น มีน้อยคนที่จะมองเกินปีสองปี แม้แต่นักลงทุนระยะยาวบางคนก็มองไม่เกิน 3-4 ปี ดังนั้น นี่คือฝันที่แท้จริงโดยเฉพาะในยามหุ้นบูม