บทความต่อไปนี้แปลและดัดแปลงจากคำแนะนำ ในเรื่อง ข้อมูลและคำแนะนำที่หมอโรคมะเร็งรับรองว่าถูกต้องและเหมาะสมโดยสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา
การเป็นมะเร็งและการรักษามะเร็งมักมีผลต่ออาหารการกินของผู้ป่วย ทั้งในแง่ความเชื่อ ความสามารถในการกิน บางครั้งผลข้างเคียงของการรักษาก็อาจมีผลต่อผู้ป่วยทำให้ไม่สามารถรับประทานสารอาหารต่างๆได้พอเพียงจนบางครั้งอาจทำให้น้ำหนักซึ่งมักจะน้อยกว่าปกติยิ่งลดลงไปอีก
คำแนะนำทางโภชนาการระหว่างการรักษามะเร็ง
คำแนะนำทั่วไป (หากขี้เกียจอ่านยาวๆ อย่างน้อยควรอ่านส่วนนี้)
1 ควรรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ในผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักหมายถึงกินให้ได้พลังงานมากพอที่จะรักษาน้ำหนักไม่ให้ลดลงไปกว่านี้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจหมายถึงการควบคุมน้ำหนักให้ลดลงอย่างช้าๆ (ราวๆ 1-2 กิโลกรัมต่อเดือน จนได้น้ำหนักที่เหมาะสม)
2 กินสารอาหารต่างๆให้ครบถ้วน และ พอเพียง เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และ น้ำ
3 พยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น ควรพยายามเดินออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน ถ้าผู้ป่วย(ซึ่งยังพอมีเรี่ยวแรงทำไหว)ใช้เวลากับการนอนหรือนั่งเฉยๆมากเกินไปผู้ป่วยก็จะอ่อนแอลงเรื่อยๆ สูญเสียกล้ามเนื้อและอาจถูกแทนที่ด้วยไขมัน (ซึ่งไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง)
ปัญหาของผู้ป่วยซึ่งมีผลข้างเคียงของการรักษาต่อภาวะโภชนาการ
ผลข้างเคียงของการรักษาเช่นคลื่นไส้ เจ็บปาก รสเปลี่ยน อาจส่งผลให้ความสามารถในการกินลดลงได้ คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้
1 การดื่มน้ำให้พอเพียงเป็นสิ่งที่สำคัญมากบางครั้งอาจรับรสน้ำเปล่าผิดเพี้ยนไปมากได้จึงทำให้ดื่มน้ำได้น้อย การกินน้ำจากแหล่งอื่นอาจช่วยคุณได้เช่น น้ำซุป หรือใส่รสชาติให้น้ำด้วยการใส่ผลไม้สดๆลงไป(อย่าลืมความสะอาดนะ)
2 ถ้าอาหารต่างๆมันจืดชืดไร้รสชาติ(เพราะผลข้างเคียงนะไม่ใช่อาหารไม่อร่อย) การเติมเครื่องเทศบางอย่างอาจช่วยคุณได้ สำหรับเมืองไทยเรา รสเผ็ดจัดควรระวังเพราะส่วนมากจะทนรสเผ็ดได้น้อยลง
3 การพยายามกินมื้อใหญ่ๆอาจเป็นปัญหาได้เพราะมันอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ แน่น อึดอัด ทางที่ดีควรค่อยๆทานครั้งละน้อยๆ แต่ทานไปเรื่อยตลอดวัน
4 ถ้าคุณมีความเชื่อที่ทำให้ไม่อยากทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เนื้อแดงอีกต่อไป (ซึ่งหมอไม่เคยห้าม) อาจจะหาโปรตีนทดแทนได้จาก ปลา ไข่ขาว ชีส ถั่ว อย่างไรก็ตามปริมาณของอาหารเหล่านี้ที่จะให้โปรตีนพอเพียงอาจทำให้คุณเบื่อได้
5 ถ้ามีรสชาติฝาดขมของโลหะในปาก (ซึ่งมักนำไปสู่อาการคลื่นไส้หรือเบื่ออาหาร) การเคี้ยวมินต์ หมากฝรั่ง หรือกินผลไม้รสเปรี้ยวอาจช่วยลดความรู้สึกเหล่านั้นได้
6 ถ้ามีแผลในปากหรือเหงือก การบดปั่นอาหาร โดยเฉพาะผักและเนื้อสัตว์อาจช่วยให้ กินได้ง่ายขึ้น การปรุงให้เละหรือชุ่มน้ำกว่าปกติอาจช่วยได้
7 ถ้ารู้สึกได้ถึงรสฝาดขมจากโลหะในอาหารการใช้ภาชนะพลาสติก รวมไปถึงปรุงอาหารบนภาชนะแก้วอาจแก้ปัญหานี้ได้
นอกจากนี้บางผลข้างเคียงอาจมียาที่ช่วยบรรเทาอาการ รักษา หรือ อาจสมควรปรับเปลี่ยนการรักษาจึงควรพูดคุยสื่อสารกับแพทย์ผู้รักษาถึงปัญหาเหล่านี้อยู่เสมอ
เรื่องอาหารเสริมขอติดไว้ก่อนครับ
ความปลอดภัยของอาหาร
อาหารของผู้ป่วยโดยเฉพาะช่วงที่รับการรักษาควรจะสะอาดปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งเพราะมีโอกาสที่ร่างกายจะมีช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ คำแนะนำพื้นฐานต่อไปนี้จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อจากอาหารลงได้
1 ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและระหว่างการเตรียมอาหารและประกอบอาหาร
2 ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้งดการกินผักสดผลไม้สด
3 เก็บอาหารอย่างเหมาะสม และ ถูกวิธี เช่น แยกเนื้อดิบกับอาหารอื่นๆ หากใช้เขียงอาหารก่อนปรุงและหลังปรุงควรเป็นคนละอันหรือ ล้างให้สะอาดก่อนใช้
4 ควรเลี่ยงอาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารดิบๆเช่นปลาดิบ ไข่ลวก
5 ควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่ไม่สะอาดพอเช่น น้ำนมดิบ น้ำผลไม้ที่คั้นกรองทั้งเปลือก
6 ตรวจดูให้แน่ใจว่าอาหารนั้นยังไม่หมดอายุ
7 (อันนี้เพิ่มเอง) ควรเลี่ยงอาหารอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟนะครับ
*** ขยายความเพิ่มเติม สาเหตุที่ควรเลี่ยงเพราะมันมักไม่สะอาดพอครับ การอุ่นร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคให้หมดนั้นทำได้ยากในทางปฏิบัติครับ
เรื่องง่ายๆเหล่านี้บางครั้งหมอก็ไม่มีเวลาจะบอกผู้ป่วยและญาติ บางครั้งผู้ป่วยและญาติก็อาจลืมหรือไม่ใส่ใจ จึงขอเอามาบอกต่อเอาไว้นะตรงนี้ครับ
เรื่องอาหารที่อาจช่วยเสริมประโยชน์ ซึ่งมักจะถูกอ้างหรือเชื่อกันนั้นปัจจุบันยังไม่มีอะไรที่มีข้อมูลที่ดีพอจะมาแนะนำ แต่ เรา(แพทย์โรคมะเร็งและนักวิจัยที่เชื่อถือได้)กำลังหาคำตอบนี้อยู่ครับ
หมอมะเร็งอยากบอก ตอน คำแนะนำสำหรับเรื่องอาหารการกิน ระหว่าง การรักษาโรคมะเร็ง
การเป็นมะเร็งและการรักษามะเร็งมักมีผลต่ออาหารการกินของผู้ป่วย ทั้งในแง่ความเชื่อ ความสามารถในการกิน บางครั้งผลข้างเคียงของการรักษาก็อาจมีผลต่อผู้ป่วยทำให้ไม่สามารถรับประทานสารอาหารต่างๆได้พอเพียงจนบางครั้งอาจทำให้น้ำหนักซึ่งมักจะน้อยกว่าปกติยิ่งลดลงไปอีก
คำแนะนำทางโภชนาการระหว่างการรักษามะเร็ง
คำแนะนำทั่วไป (หากขี้เกียจอ่านยาวๆ อย่างน้อยควรอ่านส่วนนี้)
1 ควรรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ในผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักหมายถึงกินให้ได้พลังงานมากพอที่จะรักษาน้ำหนักไม่ให้ลดลงไปกว่านี้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจหมายถึงการควบคุมน้ำหนักให้ลดลงอย่างช้าๆ (ราวๆ 1-2 กิโลกรัมต่อเดือน จนได้น้ำหนักที่เหมาะสม)
2 กินสารอาหารต่างๆให้ครบถ้วน และ พอเพียง เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และ น้ำ
3 พยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น ควรพยายามเดินออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน ถ้าผู้ป่วย(ซึ่งยังพอมีเรี่ยวแรงทำไหว)ใช้เวลากับการนอนหรือนั่งเฉยๆมากเกินไปผู้ป่วยก็จะอ่อนแอลงเรื่อยๆ สูญเสียกล้ามเนื้อและอาจถูกแทนที่ด้วยไขมัน (ซึ่งไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง)
ปัญหาของผู้ป่วยซึ่งมีผลข้างเคียงของการรักษาต่อภาวะโภชนาการ
ผลข้างเคียงของการรักษาเช่นคลื่นไส้ เจ็บปาก รสเปลี่ยน อาจส่งผลให้ความสามารถในการกินลดลงได้ คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้
1 การดื่มน้ำให้พอเพียงเป็นสิ่งที่สำคัญมากบางครั้งอาจรับรสน้ำเปล่าผิดเพี้ยนไปมากได้จึงทำให้ดื่มน้ำได้น้อย การกินน้ำจากแหล่งอื่นอาจช่วยคุณได้เช่น น้ำซุป หรือใส่รสชาติให้น้ำด้วยการใส่ผลไม้สดๆลงไป(อย่าลืมความสะอาดนะ)
2 ถ้าอาหารต่างๆมันจืดชืดไร้รสชาติ(เพราะผลข้างเคียงนะไม่ใช่อาหารไม่อร่อย) การเติมเครื่องเทศบางอย่างอาจช่วยคุณได้ สำหรับเมืองไทยเรา รสเผ็ดจัดควรระวังเพราะส่วนมากจะทนรสเผ็ดได้น้อยลง
3 การพยายามกินมื้อใหญ่ๆอาจเป็นปัญหาได้เพราะมันอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ แน่น อึดอัด ทางที่ดีควรค่อยๆทานครั้งละน้อยๆ แต่ทานไปเรื่อยตลอดวัน
4 ถ้าคุณมีความเชื่อที่ทำให้ไม่อยากทานเนื้อสัตว์ใหญ่ เนื้อแดงอีกต่อไป (ซึ่งหมอไม่เคยห้าม) อาจจะหาโปรตีนทดแทนได้จาก ปลา ไข่ขาว ชีส ถั่ว อย่างไรก็ตามปริมาณของอาหารเหล่านี้ที่จะให้โปรตีนพอเพียงอาจทำให้คุณเบื่อได้
5 ถ้ามีรสชาติฝาดขมของโลหะในปาก (ซึ่งมักนำไปสู่อาการคลื่นไส้หรือเบื่ออาหาร) การเคี้ยวมินต์ หมากฝรั่ง หรือกินผลไม้รสเปรี้ยวอาจช่วยลดความรู้สึกเหล่านั้นได้
6 ถ้ามีแผลในปากหรือเหงือก การบดปั่นอาหาร โดยเฉพาะผักและเนื้อสัตว์อาจช่วยให้ กินได้ง่ายขึ้น การปรุงให้เละหรือชุ่มน้ำกว่าปกติอาจช่วยได้
7 ถ้ารู้สึกได้ถึงรสฝาดขมจากโลหะในอาหารการใช้ภาชนะพลาสติก รวมไปถึงปรุงอาหารบนภาชนะแก้วอาจแก้ปัญหานี้ได้
นอกจากนี้บางผลข้างเคียงอาจมียาที่ช่วยบรรเทาอาการ รักษา หรือ อาจสมควรปรับเปลี่ยนการรักษาจึงควรพูดคุยสื่อสารกับแพทย์ผู้รักษาถึงปัญหาเหล่านี้อยู่เสมอ
เรื่องอาหารเสริมขอติดไว้ก่อนครับ
ความปลอดภัยของอาหาร
อาหารของผู้ป่วยโดยเฉพาะช่วงที่รับการรักษาควรจะสะอาดปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งเพราะมีโอกาสที่ร่างกายจะมีช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ คำแนะนำพื้นฐานต่อไปนี้จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อจากอาหารลงได้
1 ล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและระหว่างการเตรียมอาหารและประกอบอาหาร
2 ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้งดการกินผักสดผลไม้สด
3 เก็บอาหารอย่างเหมาะสม และ ถูกวิธี เช่น แยกเนื้อดิบกับอาหารอื่นๆ หากใช้เขียงอาหารก่อนปรุงและหลังปรุงควรเป็นคนละอันหรือ ล้างให้สะอาดก่อนใช้
4 ควรเลี่ยงอาหารปรุงสุกๆดิบๆ อาหารดิบๆเช่นปลาดิบ ไข่ลวก
5 ควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่ไม่สะอาดพอเช่น น้ำนมดิบ น้ำผลไม้ที่คั้นกรองทั้งเปลือก
6 ตรวจดูให้แน่ใจว่าอาหารนั้นยังไม่หมดอายุ
7 (อันนี้เพิ่มเอง) ควรเลี่ยงอาหารอุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟนะครับ
*** ขยายความเพิ่มเติม สาเหตุที่ควรเลี่ยงเพราะมันมักไม่สะอาดพอครับ การอุ่นร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคให้หมดนั้นทำได้ยากในทางปฏิบัติครับ
เรื่องง่ายๆเหล่านี้บางครั้งหมอก็ไม่มีเวลาจะบอกผู้ป่วยและญาติ บางครั้งผู้ป่วยและญาติก็อาจลืมหรือไม่ใส่ใจ จึงขอเอามาบอกต่อเอาไว้นะตรงนี้ครับ
เรื่องอาหารที่อาจช่วยเสริมประโยชน์ ซึ่งมักจะถูกอ้างหรือเชื่อกันนั้นปัจจุบันยังไม่มีอะไรที่มีข้อมูลที่ดีพอจะมาแนะนำ แต่ เรา(แพทย์โรคมะเร็งและนักวิจัยที่เชื่อถือได้)กำลังหาคำตอบนี้อยู่ครับ