จริงๆตั้งใจว่าจะตั้งกระทูชวนคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกรณีนี้ตั้งแต่เมื่อวาน แต่รู้สึกว่าเมื่อวานอารมณ์ร้อนแรง คุกรุ่นอยู่ มีเวลาว่างวันนี้เลยอยากแลกเปลี่ยนในมุมมองของเราบ้างนะคะ ขอไม่ดราม่าและถ้าใครไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรค่ะ เราอยู่ในสังคมที่ได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุและผลก็ถือว่าดีแล้วค่ะ
ประเด็นที่เราคิดว่าทุกคนพูดถึงทั้งตามเวบบอร์ด ในเฟสบุค คือต้องมีประโยคว่า คุกมีไว้ขังคนจน,คนรวยรอลงอาญา ไม่มีความเท่าเทียมฯลฯ
ความเห็นส่วนตัวในฐานะคนที่อยู่ในวงการกฎหมาย เราว่า ไม่จริงเสมอไปหรอกค่ะ
ถามว่าทำไมคนรวยถึงอยู่นอกคุก ไม่เห็นติดคุกเหมือนคนจน สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่ามีความสำคัญมากๆเลยคือ "ทนายความ"
คนระดับกลาง-รวย เขาสามารถเข้าถึงทนายเก่งๆได้ ปัจจัยที่สำคัญคือ ค่าจ้าง เมื่อเทียบกับคนจน เมื่อขึ้นศาล ก่อนถามคำให้การศาลจะถามว่า มีทนายหรือไม่ ถ้ามีและต้องการศาลก็จะตั้งทนายให้ (เว้นแต่คดีมีโทษประหารหรือจำคุกตลอดชีวิตหรือคดีที่เด็กเป็นจำเลย ศาลจะตั้งทนายให้ทุกกรณีไม่ว่าจะต้องการหรือไม่) ทนายที่ว่าก็คือ ทนายขอแรง ที่มาขึ้นบัญชีไว้กับศาล ประสบการณ์มากน้อยคละเคล้ากันไป เก่งหรือเปล่า มาจากไหน เราไม่สามารถรู้และเลือกได้ และทนายขอแรงนี้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทนาย ศาลจะให้ค่าทนายเอง
เห็นมั้ยว่า แค่ทนายก็ต่างกันแล้ว ค่าทนายเป็นแสนเป็นล้านกับทำฟรี ต่างกันนะคะ เหมือนสร้งบ้านจ้างวิศวกรดีๆ เขาคิดให้เราหมด จัดการให้ทุกสิ่งอย่าง รู้ปัญหาของบ้านว่ามันมีรอย มีรูรั่วตรงไหน เทียบกับ รับเหมาทั่วไปงูๆปลาๆ สักแต่ว่าทำ ไม่มีเงินให้ก็ทิ้งงาน ไม่ได้สนใจอะไรสักแต่ว่าทำให้เสร็จ ซึ่งตรงนี้เราคิดว่าเป็นปัญหา ทำอย่างไรให้คนระดับกลางถึงล่างสามารถเข้าถึงทนายที่ดี มีความสามารถได้ และทำอย่างไรให้ทนายดีมีความสามารถว่าความให้คนเหล่านี้ โดยไม่ต้องนึกถึงค่าจ้างเป็นสำคัญ (ยากและเป็นอุดมคติมากๆ) ถึงแม้รูปคดีจะสู้ไม่ได้ แต่ถ้าทนายเก่งเขาก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ (เช่นกรณีหมูแฮม)
อีกข้อหนึ่งที่อยากให้คิดคือ คนรวยที่ติดคุกก็มี จำนวนไม่น้อยด้วยนะคะ(เท่าที่รู้และจำได้) เช่น เสี่ยอู๊ด สามีหมอผัสพร ราเกรซ ซักคนที่เพิ่งออกเจาะใจเมื่อไม่กี่อาทิตย์ ฯลฯ แต่สื่อมักจะแพร่ข่าวเฉพาะที่มันดราม่าเพราะมันขายได้
อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะพูดถึง คือ กรณีลดโทษจาก 10 ปี เหลือ 2 ปีกว่า สุดท้ายจบด้วยรอลงอาญา
ถ้าคนที่รู้กฎหมาย เรียนกฎหมายจะทราบว่า คดีหมูแฮมสิ่งที่มันสามารถพลิกจาก 10 ปี เป็น 2 ปี คือ การที่ศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิดขณะจิตบกพร่องหรือไม่ เมื่อท่านผู้พิพากษาฟังข้อเท็จจริงได้ความว่า หมุแฮมกระทำความผิดขณะจิตบกพร่อง ซึ่งตรงนี้กฎหมายเปิดช่องให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ว่าจะลงโทษน้อยกว่ากฎหมายกำหนดเท่าใดก็ได้ จุดนี้อยากให้คนที่กำลังด่ากฎหมายไทยว่าไม่เข้มแข็งหรืออะไรได้รู้ว่า เป็นดุพินิจในการลงโทษของผู้พิพากษา ท่านต้องดูหลายอย่างประกอบ เช่น จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายไปมากน้อยแล้วหรือไม่ ที่ผ่านมาได้บรรเทาผลร้ายอย่างไรบ้าง จริงอยู่คดีอาญาคือการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดี และจำเลยได้บรรเทาเยียวยาผู้เสียหายไปบ้าง การนำจำเลยมาลงโทษจำคุกจึงไม่มีประโยชน์เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่จะได้ เป็นการตัดสินคดีเพื่อคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของสังคม เช่นเดียวกับดุลพินิจการสั่งฟ้องคดีของอัยการ ถ้าอัยการเห็นว่าฟ้องไปไม่มีประโยชน์ ทำให้ประเทศชาติเสียหายก็เป็นดุลพินิจไม่ฟ้องก็ได้ (คดีขนอาวุธมาจากเกาหลีเหนือหรือเปล่าจำชื่อไม่ได้) และมีคดีอีกไม่น้อยที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือลงโทษ 30-40 ปี แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องไปเลยก็มีมาก ไม่อยากให้คิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติเพราะมีอำนาจครอบงำ
สุดท้าย อยากรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือกฎหมาย มันมีแบบอ่านง่ายๆเยอะแยะมากในตลาดหนังสือ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทีหนังสือหวย หนังสือดาราคุณอ่านได้ พอถึงเวลาที่คุณโดนเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก คุณบอกว่า ไม่รู้กฎหมาย ศาลไม่ฟังนะคะว่าคุณจะรู้หรือไม่รู้ ทุกคนว่ากฎหมายไทยอ่อนแอ คุ้มครองผู้กระทำความผิดมาก ไม่เด็ดขาด ฯลฯ อยากจะบอกว่า ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนานะคะ เพราะเราปฏิบัติต่อจำเลยเยี่ยงผู้ที่ถูกศาลตัดสินแล้วว่ากระทำความผิด
อยากให้ทุกคนตัดสินด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานของกฎหมาย ส่วนกฎแห่งกรรมธรรมชาติเขาจะตัดสินเองค่ะ
ว่าด้วยเรื่อง"หมูแฮม"ชวนคุยประเด็นทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมล้วนๆค่ะ
ประเด็นที่เราคิดว่าทุกคนพูดถึงทั้งตามเวบบอร์ด ในเฟสบุค คือต้องมีประโยคว่า คุกมีไว้ขังคนจน,คนรวยรอลงอาญา ไม่มีความเท่าเทียมฯลฯ
ความเห็นส่วนตัวในฐานะคนที่อยู่ในวงการกฎหมาย เราว่า ไม่จริงเสมอไปหรอกค่ะ
ถามว่าทำไมคนรวยถึงอยู่นอกคุก ไม่เห็นติดคุกเหมือนคนจน สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่ามีความสำคัญมากๆเลยคือ "ทนายความ"
คนระดับกลาง-รวย เขาสามารถเข้าถึงทนายเก่งๆได้ ปัจจัยที่สำคัญคือ ค่าจ้าง เมื่อเทียบกับคนจน เมื่อขึ้นศาล ก่อนถามคำให้การศาลจะถามว่า มีทนายหรือไม่ ถ้ามีและต้องการศาลก็จะตั้งทนายให้ (เว้นแต่คดีมีโทษประหารหรือจำคุกตลอดชีวิตหรือคดีที่เด็กเป็นจำเลย ศาลจะตั้งทนายให้ทุกกรณีไม่ว่าจะต้องการหรือไม่) ทนายที่ว่าก็คือ ทนายขอแรง ที่มาขึ้นบัญชีไว้กับศาล ประสบการณ์มากน้อยคละเคล้ากันไป เก่งหรือเปล่า มาจากไหน เราไม่สามารถรู้และเลือกได้ และทนายขอแรงนี้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทนาย ศาลจะให้ค่าทนายเอง
เห็นมั้ยว่า แค่ทนายก็ต่างกันแล้ว ค่าทนายเป็นแสนเป็นล้านกับทำฟรี ต่างกันนะคะ เหมือนสร้งบ้านจ้างวิศวกรดีๆ เขาคิดให้เราหมด จัดการให้ทุกสิ่งอย่าง รู้ปัญหาของบ้านว่ามันมีรอย มีรูรั่วตรงไหน เทียบกับ รับเหมาทั่วไปงูๆปลาๆ สักแต่ว่าทำ ไม่มีเงินให้ก็ทิ้งงาน ไม่ได้สนใจอะไรสักแต่ว่าทำให้เสร็จ ซึ่งตรงนี้เราคิดว่าเป็นปัญหา ทำอย่างไรให้คนระดับกลางถึงล่างสามารถเข้าถึงทนายที่ดี มีความสามารถได้ และทำอย่างไรให้ทนายดีมีความสามารถว่าความให้คนเหล่านี้ โดยไม่ต้องนึกถึงค่าจ้างเป็นสำคัญ (ยากและเป็นอุดมคติมากๆ) ถึงแม้รูปคดีจะสู้ไม่ได้ แต่ถ้าทนายเก่งเขาก็สามารถผ่อนหนักเป็นเบาได้ (เช่นกรณีหมูแฮม)
อีกข้อหนึ่งที่อยากให้คิดคือ คนรวยที่ติดคุกก็มี จำนวนไม่น้อยด้วยนะคะ(เท่าที่รู้และจำได้) เช่น เสี่ยอู๊ด สามีหมอผัสพร ราเกรซ ซักคนที่เพิ่งออกเจาะใจเมื่อไม่กี่อาทิตย์ ฯลฯ แต่สื่อมักจะแพร่ข่าวเฉพาะที่มันดราม่าเพราะมันขายได้
อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะพูดถึง คือ กรณีลดโทษจาก 10 ปี เหลือ 2 ปีกว่า สุดท้ายจบด้วยรอลงอาญา
ถ้าคนที่รู้กฎหมาย เรียนกฎหมายจะทราบว่า คดีหมูแฮมสิ่งที่มันสามารถพลิกจาก 10 ปี เป็น 2 ปี คือ การที่ศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิดขณะจิตบกพร่องหรือไม่ เมื่อท่านผู้พิพากษาฟังข้อเท็จจริงได้ความว่า หมุแฮมกระทำความผิดขณะจิตบกพร่อง ซึ่งตรงนี้กฎหมายเปิดช่องให้ผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ว่าจะลงโทษน้อยกว่ากฎหมายกำหนดเท่าใดก็ได้ จุดนี้อยากให้คนที่กำลังด่ากฎหมายไทยว่าไม่เข้มแข็งหรืออะไรได้รู้ว่า เป็นดุพินิจในการลงโทษของผู้พิพากษา ท่านต้องดูหลายอย่างประกอบ เช่น จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายไปมากน้อยแล้วหรือไม่ ที่ผ่านมาได้บรรเทาผลร้ายอย่างไรบ้าง จริงอยู่คดีอาญาคือการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่เมื่อผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดี และจำเลยได้บรรเทาเยียวยาผู้เสียหายไปบ้าง การนำจำเลยมาลงโทษจำคุกจึงไม่มีประโยชน์เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่จะได้ เป็นการตัดสินคดีเพื่อคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของสังคม เช่นเดียวกับดุลพินิจการสั่งฟ้องคดีของอัยการ ถ้าอัยการเห็นว่าฟ้องไปไม่มีประโยชน์ ทำให้ประเทศชาติเสียหายก็เป็นดุลพินิจไม่ฟ้องก็ได้ (คดีขนอาวุธมาจากเกาหลีเหนือหรือเปล่าจำชื่อไม่ได้) และมีคดีอีกไม่น้อยที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือลงโทษ 30-40 ปี แต่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องไปเลยก็มีมาก ไม่อยากให้คิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติเพราะมีอำนาจครอบงำ
สุดท้าย อยากรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือกฎหมาย มันมีแบบอ่านง่ายๆเยอะแยะมากในตลาดหนังสือ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทีหนังสือหวย หนังสือดาราคุณอ่านได้ พอถึงเวลาที่คุณโดนเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก คุณบอกว่า ไม่รู้กฎหมาย ศาลไม่ฟังนะคะว่าคุณจะรู้หรือไม่รู้ ทุกคนว่ากฎหมายไทยอ่อนแอ คุ้มครองผู้กระทำความผิดมาก ไม่เด็ดขาด ฯลฯ อยากจะบอกว่า ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนานะคะ เพราะเราปฏิบัติต่อจำเลยเยี่ยงผู้ที่ถูกศาลตัดสินแล้วว่ากระทำความผิด
อยากให้ทุกคนตัดสินด้วยเหตุและผลบนพื้นฐานของกฎหมาย ส่วนกฎแห่งกรรมธรรมชาติเขาจะตัดสินเองค่ะ