ในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา มีคดีอุบัติเหตุที่สร้างความสั่นสะเทือนในแก่สังคมมากมาย
ไล่ตั้งแต่ ปี 2550 คดีหมูแฮม เมื่อไฮโซหนุ่มขับรถเบนซ์พุ่งชนคนบนทางเท้าเสียชีวิตบริเวณปากซอยสุขุมวิท 26 หลังไม่พอใจที่ถูกรถเมล์ขับปาดหน้า หลังต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมนาน 8 ปี สุดท้ายศาลสั่งจำคุกหมูแฮม 2 ปี 1 เดือน ไม่รอลงอาญา
2553 เยาวชนหญิง ขับซีวิคเฉี่ยวชนรถตู้โดยสารบนทางด่วนยกระดับโทลล์เวย์ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ ท้ายที่สุดศาลลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา 4 ปี พร้อมให้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
2554 เยาวชนชาย วัย 19 ปี ทายาทนักธุรกิจชื่อดังขับปอร์เช่ป้ายแดงพุ่งชนคนจนร่างขาด 2 ท่อนเสียชีวิต ต่อมามีการตกลงจ่ายเงินชดเชยให้มารดาของผู้เสียชีวิต 5 หมื่นบาท เงินสินไหมทดแทน 2 แสนบาท และเงินช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่ง คดีจบลงตรงที่ญาติไม่ติดใจเอาความ
2555 ทายาทเจ้าของเครื่องดื่มชูกำลังซิ่งเฟอร์รารี่ชนด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่ งานป. สน.ทองหล่อ เสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุด
ล่าสุด เมื่อ 13 มี.ค.2559 หนุ่มซิ่งเบนซ์พุ่งชนรถยนต์ฟอร์ด เฟียสต้าเป็นเหตุให้นิสิตปริญญาโทเสียชีวิต 2 ราย พร้อมถูกแจ้งข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทรัพย์สินเสียหาย ขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ กรณีไม่ยอมให้ตรวจวัดแอลกอฮอล์ในร่างกาย และขับรถโดยเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือหย่อนความสามารถในการขับขี่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.tnamcot.com/wp-content/uploads/image/2016/03/15/1458040017-35d10de71824c63e9c1f8582dbbb20c1.png
ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดคำถามในสังคมไทยถึงกระบวนการยุติธรรมว่า ทำไมคนรวยก่อเหตุถึงไม่ค่อยติดคุก แค่รอลงอาญา หลายรายคดียืดเยื้อจนหมดอายุความ และถูกลืมไปในที่สุด เบื้องหลังการต่อสู้คดีของผู้มีอันจะกินเหล่านี้เป็นอย่างไร ใช้เงิน เส้นสายบารมี หรืออะไรที่มันลึกลับซับซ้อนมากกว่านั้น
5 เหตุผล คนรวยรอดคุก
เกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดัง บอกด้วยน้ำเสียงเฉียบขาดว่า เงินเป็นสัจธรรมของชีวิต แม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมได้ในทางตรง แต่ในทางอ้อมไม่มีใครปฎิเสธได้ลง มีเหตุผล 5 ข้อที่ทำให้เงินสามารถ"ง้าง"ความยุติธรรมได้
การประกันตัว เมื่อเกิดการกระทำความผิดและจับกุมตัวขึ้น สิ่งแรกที่ต้องใช้เพื่อแลกกับอิสรภาพวินาทีนั้นคือ “เงินประกันตัว” ยิ่งโทษสูงก็ต้องใช้เงินประกันตัวมาก สำหรับคนรวย เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา ขณะที่คนจนนั้นแสนลำบากและอาจต้องอยู่ในห้องขังยาวนานกว่าจะหาเงินได้ เรียกว่าแค่เริ่มต้น สภาพจิตใจของพวกเขาในการต่อสู้กับขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมก็ลดฮวบฮาบแล้ว
จ้างทนายความ การต่อสู้คดี เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีทนายความเข้ามาให้คำปรึกษาช่วยเหลือแทบทุกขั้นตอน ไล่ตั้งแต่ ชั้นสอบสวน หลังการประกันตัว การรวบรวมเตรียมพยานหลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะคดีใหญ่ๆ จำเป็นเหลือเกินต้องทำอย่างรอบคอบและรอบด้าน คนรวยสามารถจ้างทนายเก่งๆที่เต็มไปด้วยสายสัมพันธ์ กว้างขวาง ขณะที่ฝั่งคนจน น้อยคนจะมีเงินจ้างทนายความ หรือมีทนายอาสาเข้ามาช่วยเหลือตั้งแต่ก่อนถูกฟ้อง ขณะที่ "ทนายขอแรง"ที่ศาลจัดหาให้กับจำเลย กรณีจำเลยไม่มีทนายความ อาจทำหน้าที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่หรือทุ่มเทเท่ากับกลุ่มทนายมือดีที่ถูกว่าจ้าง
ประวิงเวลาได้ยาวนานกว่า เงินถือเป็นตัวประวิงเวลาในการต่อสู้คดี โดยสามารถขอเลื่อนพิจารณาคดีเพราะทนายป่วย แต่คนจนมีเงินจำกัด ประวิงเวลานานไม่ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการเดินทางมาศาลและจ้างทนายความแต่ละครั้ง นานเข้าก็ถอดใจ บางคนไปกู้หนี้ยืมสิน แม้กระทั่งขายที่ดินมาต่อสู้ก็ยังไม่พอ บางรายเลือกยอมรับผิดโดยภาระจำยอม เมื่อเห็นว่าการต่อสู้ไม่คุ้มกับเงินทองที่ต้องเสีย
ช่องทางกฎหมาย กฎหมายเปิดช่องว่าถ้าผู้กระทำความผิดสำนึกผิด พร้อมกับบรรเทาความเสียหาย ศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษสถานเบาได้ โดยคนรวยนั้นมักจ่ายเงินให้กับคู่กรณีจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจเอาความ ทำให้ศาลเห็นว่าผู้กระทำนั้นสำนึกผิดแล้ว ขณะที่คนจนสำนึกผิดแล้วเช่นกัน แต่ไม่มีปัญญาบรรเทาความเสียหายให้เหยื่อ
ระบบอุปถัมภ์ เส้นสาย พวกพ้อง คนรวยมักมีเครือข่าย รู้จักผู้อำนาจกว้างขวาง ตลอดชีวิตของคนเหล่านั้นบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์ให้กับสำนักงานและองค์กรต่างๆมากมายจนเกิดเป็นระบบอุปถัมภ์ ช่วยเหลือเกื้อกูล และอาจมีความเกรงใจต่อกันในการทำหน้าที่ ผิดกับพวกคนจน อย่าว่าแต่บริจาค เงินจะกินยังไม่มี
“เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของเงินล้วนๆ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม คนจนไม่มีเงิน ไม่มีพวก บางรายไม่มีความรู้อีก คนรวยกระซิบเบาๆ ได้ยินกันทั้งสังคม คนจนตะโกนหน้าโรงพักอาจไม่มีใครได้ยินเลย กฎหมายไม่ได้บอกว่าคนรวยต้องได้รับโทษน้อยหรือมากกว่าคนจน แต่ต้องเข้าใจว่าการมีเงินมันสามารถนำพาตัวเองให้รอดได้ สร้างโอกาส และอาจได้รับการสนับสนุนมากกว่า พวกเขาใช้เงินทำงาน เหมือนที่มีใครเคยเปรียบเปรยไว้ว่า 'ถ้าเงินพูด ความยุติธรรมจะเงียบ' "
ทนายเกิดผล อดีตทนายผู้ว่าความคดีหมูแฮม เผยว่า เขาต้องใช้เวลาในการต่อสู้คดีดังกล่าวถึง 8 ปี กว่าผู้ต้องหาจะถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี 1 เดือนในที่สุด ซึ่งหากผู้ต้องหาเป็นคนจนคงไม่มีเงินจำนวนหลายล้านบาทชดใช้ผู้เสียหาย และต้องติดคุกไปนานแล้ว
“เราก็จะเห็นภาพในลักษณะคนรวยรอดคุกหรือได้รับโทษน้อยกว่าคนจนแบบนี้ไปตลอด ทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ใจอย่างเดียว แต่อยู่ที่เงินด้วย แม้ความยุติธรรมไม่ได้เลือกคนจนหรือรวย แต่เงินมันง้างความยุติธรรมได้ ไม่มากก็น้อย มันทำได้ ตราบใดที่สังคมเห็นเงินมีค่า สัจธรรมนี้ยังมีตลอดไป จนกว่าเงินจะไม่มีค่านั่นแหละ”
เต็มๆ
http://www.posttoday.com/analysis/report/423092
"ถ้าเงินพูด ความยุติธรรมจะเงียบ" ไขปม คาใจสังคม คนรวยทำผิด ไม่ติดคุก
ในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา มีคดีอุบัติเหตุที่สร้างความสั่นสะเทือนในแก่สังคมมากมาย
ไล่ตั้งแต่ ปี 2550 คดีหมูแฮม เมื่อไฮโซหนุ่มขับรถเบนซ์พุ่งชนคนบนทางเท้าเสียชีวิตบริเวณปากซอยสุขุมวิท 26 หลังไม่พอใจที่ถูกรถเมล์ขับปาดหน้า หลังต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมนาน 8 ปี สุดท้ายศาลสั่งจำคุกหมูแฮม 2 ปี 1 เดือน ไม่รอลงอาญา
2553 เยาวชนหญิง ขับซีวิคเฉี่ยวชนรถตู้โดยสารบนทางด่วนยกระดับโทลล์เวย์ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ ท้ายที่สุดศาลลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี แต่ให้รอลงอาญา 4 ปี พร้อมให้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
2554 เยาวชนชาย วัย 19 ปี ทายาทนักธุรกิจชื่อดังขับปอร์เช่ป้ายแดงพุ่งชนคนจนร่างขาด 2 ท่อนเสียชีวิต ต่อมามีการตกลงจ่ายเงินชดเชยให้มารดาของผู้เสียชีวิต 5 หมื่นบาท เงินสินไหมทดแทน 2 แสนบาท และเงินช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่ง คดีจบลงตรงที่ญาติไม่ติดใจเอาความ
2555 ทายาทเจ้าของเครื่องดื่มชูกำลังซิ่งเฟอร์รารี่ชนด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่ งานป. สน.ทองหล่อ เสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ปัจจุบันคดียังไม่สิ้นสุด
ล่าสุด เมื่อ 13 มี.ค.2559 หนุ่มซิ่งเบนซ์พุ่งชนรถยนต์ฟอร์ด เฟียสต้าเป็นเหตุให้นิสิตปริญญาโทเสียชีวิต 2 ราย พร้อมถูกแจ้งข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทรัพย์สินเสียหาย ขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ กรณีไม่ยอมให้ตรวจวัดแอลกอฮอล์ในร่างกาย และขับรถโดยเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นหรือหย่อนความสามารถในการขับขี่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดคำถามในสังคมไทยถึงกระบวนการยุติธรรมว่า ทำไมคนรวยก่อเหตุถึงไม่ค่อยติดคุก แค่รอลงอาญา หลายรายคดียืดเยื้อจนหมดอายุความ และถูกลืมไปในที่สุด เบื้องหลังการต่อสู้คดีของผู้มีอันจะกินเหล่านี้เป็นอย่างไร ใช้เงิน เส้นสายบารมี หรืออะไรที่มันลึกลับซับซ้อนมากกว่านั้น
5 เหตุผล คนรวยรอดคุก
เกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดัง บอกด้วยน้ำเสียงเฉียบขาดว่า เงินเป็นสัจธรรมของชีวิต แม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมได้ในทางตรง แต่ในทางอ้อมไม่มีใครปฎิเสธได้ลง มีเหตุผล 5 ข้อที่ทำให้เงินสามารถ"ง้าง"ความยุติธรรมได้
การประกันตัว เมื่อเกิดการกระทำความผิดและจับกุมตัวขึ้น สิ่งแรกที่ต้องใช้เพื่อแลกกับอิสรภาพวินาทีนั้นคือ “เงินประกันตัว” ยิ่งโทษสูงก็ต้องใช้เงินประกันตัวมาก สำหรับคนรวย เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา ขณะที่คนจนนั้นแสนลำบากและอาจต้องอยู่ในห้องขังยาวนานกว่าจะหาเงินได้ เรียกว่าแค่เริ่มต้น สภาพจิตใจของพวกเขาในการต่อสู้กับขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมก็ลดฮวบฮาบแล้ว
จ้างทนายความ การต่อสู้คดี เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีทนายความเข้ามาให้คำปรึกษาช่วยเหลือแทบทุกขั้นตอน ไล่ตั้งแต่ ชั้นสอบสวน หลังการประกันตัว การรวบรวมเตรียมพยานหลักฐานต่างๆ โดยเฉพาะคดีใหญ่ๆ จำเป็นเหลือเกินต้องทำอย่างรอบคอบและรอบด้าน คนรวยสามารถจ้างทนายเก่งๆที่เต็มไปด้วยสายสัมพันธ์ กว้างขวาง ขณะที่ฝั่งคนจน น้อยคนจะมีเงินจ้างทนายความ หรือมีทนายอาสาเข้ามาช่วยเหลือตั้งแต่ก่อนถูกฟ้อง ขณะที่ "ทนายขอแรง"ที่ศาลจัดหาให้กับจำเลย กรณีจำเลยไม่มีทนายความ อาจทำหน้าที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่หรือทุ่มเทเท่ากับกลุ่มทนายมือดีที่ถูกว่าจ้าง
ประวิงเวลาได้ยาวนานกว่า เงินถือเป็นตัวประวิงเวลาในการต่อสู้คดี โดยสามารถขอเลื่อนพิจารณาคดีเพราะทนายป่วย แต่คนจนมีเงินจำกัด ประวิงเวลานานไม่ได้ เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการเดินทางมาศาลและจ้างทนายความแต่ละครั้ง นานเข้าก็ถอดใจ บางคนไปกู้หนี้ยืมสิน แม้กระทั่งขายที่ดินมาต่อสู้ก็ยังไม่พอ บางรายเลือกยอมรับผิดโดยภาระจำยอม เมื่อเห็นว่าการต่อสู้ไม่คุ้มกับเงินทองที่ต้องเสีย
ช่องทางกฎหมาย กฎหมายเปิดช่องว่าถ้าผู้กระทำความผิดสำนึกผิด พร้อมกับบรรเทาความเสียหาย ศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษสถานเบาได้ โดยคนรวยนั้นมักจ่ายเงินให้กับคู่กรณีจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจเอาความ ทำให้ศาลเห็นว่าผู้กระทำนั้นสำนึกผิดแล้ว ขณะที่คนจนสำนึกผิดแล้วเช่นกัน แต่ไม่มีปัญญาบรรเทาความเสียหายให้เหยื่อ
ระบบอุปถัมภ์ เส้นสาย พวกพ้อง คนรวยมักมีเครือข่าย รู้จักผู้อำนาจกว้างขวาง ตลอดชีวิตของคนเหล่านั้นบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์ให้กับสำนักงานและองค์กรต่างๆมากมายจนเกิดเป็นระบบอุปถัมภ์ ช่วยเหลือเกื้อกูล และอาจมีความเกรงใจต่อกันในการทำหน้าที่ ผิดกับพวกคนจน อย่าว่าแต่บริจาค เงินจะกินยังไม่มี
“เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของเงินล้วนๆ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม คนจนไม่มีเงิน ไม่มีพวก บางรายไม่มีความรู้อีก คนรวยกระซิบเบาๆ ได้ยินกันทั้งสังคม คนจนตะโกนหน้าโรงพักอาจไม่มีใครได้ยินเลย กฎหมายไม่ได้บอกว่าคนรวยต้องได้รับโทษน้อยหรือมากกว่าคนจน แต่ต้องเข้าใจว่าการมีเงินมันสามารถนำพาตัวเองให้รอดได้ สร้างโอกาส และอาจได้รับการสนับสนุนมากกว่า พวกเขาใช้เงินทำงาน เหมือนที่มีใครเคยเปรียบเปรยไว้ว่า 'ถ้าเงินพูด ความยุติธรรมจะเงียบ' "
ทนายเกิดผล อดีตทนายผู้ว่าความคดีหมูแฮม เผยว่า เขาต้องใช้เวลาในการต่อสู้คดีดังกล่าวถึง 8 ปี กว่าผู้ต้องหาจะถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี 1 เดือนในที่สุด ซึ่งหากผู้ต้องหาเป็นคนจนคงไม่มีเงินจำนวนหลายล้านบาทชดใช้ผู้เสียหาย และต้องติดคุกไปนานแล้ว
“เราก็จะเห็นภาพในลักษณะคนรวยรอดคุกหรือได้รับโทษน้อยกว่าคนจนแบบนี้ไปตลอด ทุกอย่างไม่ได้อยู่ที่ใจอย่างเดียว แต่อยู่ที่เงินด้วย แม้ความยุติธรรมไม่ได้เลือกคนจนหรือรวย แต่เงินมันง้างความยุติธรรมได้ ไม่มากก็น้อย มันทำได้ ตราบใดที่สังคมเห็นเงินมีค่า สัจธรรมนี้ยังมีตลอดไป จนกว่าเงินจะไม่มีค่านั่นแหละ”
เต็มๆ http://www.posttoday.com/analysis/report/423092